ศีลธรรม หมายถึง ศีลธรรมคือ ย้ำ ความหมายของศีลธรรม ทศพิธราชธรรม


955 ผู้ชม


ศีลธรรม (Moral)

         1.  ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ

        2.  หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ

“ธรรมาภิบาล” (Good Governance)

    ธรรมาภิบาล  คือ ธรรมะ + อภิบาล  หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน  มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน

            สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ 

การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
 ธรรมาภิบาล  มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
                - การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)

            - นิติธรรม (Rule of law)

            - ความโปร่งใส (Transparency)

            - การตอบสนอง (Responsiveness)

            - การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)

            - ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)

            - ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)

            - ภาระรับผิดชอบ (Accountability

ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King)

             จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน

          ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้

                - ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ

                - ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ

                - บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

                - ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

                - ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส

                - ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

                - ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

          - ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

                - ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง

                - ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก

 จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics)

จรรยาบรรณ หมายถึง   ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม

1.    ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

2.    หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพ  (Code of Ethics )

n    จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ   *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ* ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ
*ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ

n    จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม

อัพเดทล่าสุด