บ้าน เมืองปอน ตั้งอยู่ในเขตที่ภูเขาล้อมรอบ มีความเงียบ สงบ เป็นหมู่บ้านที่ชาวไตหรือชาวไทยใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นตลาดนัดย้อนยุคหรือกาดพีค การทำจองพารา ขนมชาวไต หรือแม้แต่กระทั่งการแสดงอย่างการฟ้อนรำแบบชาวไต การฟ้อนดาบ รำกระบอง โดยกิจกรรมดังกล่าวมักจะจัดในช่วงออกพรรษา
บ้าน เมืองปอน ยังมีอีกหนึ่งจุดเด่น คือ โฮมสเตย์ ซึ่งผ่านการตรวจมาตรฐาน จากเจ้าหน้าที่กลาง โดยโฮมสเตย์ มีการจัดกิจกรรมสำหรับผู้ที่มาพักผ่อน อยากเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ชาวไต เช่น การเย็บเสื้อไต การสานกุ๊บไต การทำขนม อาหารไต และอื่นๆอีกมากมาย แต่ถ้าเพื่อนๆไม่รู้ว่าควรจะมาเที่ยวเมืองปอนช่วงไหน เรามีข้อมูลมาบอกครับ
หวัง ว่าจากข้อมูล สิบสองเดือนที่เราได้นำมาให้ คงจะช่วยให้เพื่อนๆตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะมาเที่ยวเมืองปอนช่วงไหนดี หากเที่ยวเมืองปอนแล้ว ตามเรามาที่เมืองแม่ฮ่องสอนต่อเลยครับ เพราะเราจะไปทัวร์วัดในตัวเมืองแม่ฮ่องสอนต่อ
เมื่อ เราเดินทางออกจากเมืองปอนใช้เส้นทาง 108 ขับตามทางไป ประมาณ 68 กิโลเมตร ก็จะเข้าสู่เมืองแม่ฮ่องสอน ในตัวเมืองแม่ฮ่องสอนถือได้ว่ามีวัดอยู่หลายต่อหลายแห่ง ซึ่งแต่ละวัดก็จะมีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป ด้วยทางที่ลัดเลาะมาตามภูเขาทำให้เราเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนก็เกือบเย็น ทำให้เราตัดสินใจขึ้นไปชมวิวเมืองแม่ฮ่องสอนกันก่อนที่
วัดพระธาตุดอยกองมู
วัดพระธาตุดอยกองมู ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนจุดที่สูงที่สุดในเมืองแม่ฮ่องสอน สามารถมองเห็นวิวรอบเมืองได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือเวลาคืน พระธาตุดอยกองมูเป็น ปูชนียสถาน คู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วยเจดีย์ 2 องค์ องค์ใหญ่สร้างโดย จองต่องสู่ เมื่อพ.ศ. 2403 ส่วนองค์เล็กสร้างโดย พญาสิงหนาทราชา เมื่อปีพ.ศ. 2417 วัดพระธาตุดอยกองมูจะมีงานประจำปีในช่วง ออกพรรษา ตักบาตรเทโวโรหนะตามทางลงเขาและวันลอยกระทงจะมีการปล่อยกระทงสวรรค์หรือ กระทงลอยฟ้าที่มีความสวยงามแปลกตา เช้าของวันใหม่ เรามุ่งหน้าไปที่วันพระธาตุดอยกองมูอีกรอบ และเมื่อเดินทางถึงก็พบกับความประทับใจ หมอกกำลังลงผ่านองค์พระธาตุ ราวกับอยู่บนปุยเมฆ เก็บเกี่ยวความประทับใจได้สักพัก เราก็ต้องเดินทางไป
วัดก้ำก่อ
วัดก้ำก่อ ซึ้งอยู่เชิงเขาดอยกองมู วัดก้ำก่อแห่งนี้โดดเด่นเรื่องสถาปัตยกรรมซุ้มทางเดินเข้าศาลาซึ่งมีความงด งาม เมื่อชมความงามของสถาปัตยกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็เดินข้ามถนน เพื่อไปยัง
วัดพระนอน
วัดพระนอน ใน วัดพระนอนเป็นที่ประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่ เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ยาว 12 เมตร และภายในวัดยังมีของสะสมที่เป็นเครื่องบ่งบอกถึงวัฒนธรรมชาวไทยใหญ่ เช่นพระพุทธรูป พระเครื่อง ถัดมาอีกนิดคือ
วัดม่วยต่อ
วัดม่วยต่อ ซึ่งมีกำแพงติดกับวัดพระนอน ภายในวัดนี้มีความงดงามในเรื่องขององค์เจดีย์สีขาว ที่ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขา ในช่วงเช้าเราเดินทางได้ 4 วัดครับ และขอพักกินข้าวเติมพลังเพื่อเดินทางต่อไปยังวัดที่เหลือ การเดินทางในช่วงที่สองนี้ เราเริ่มต้นที่
วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเวียง
วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเวียง วัดหัวเวียงเป็นที่ประดิษฐาน ของพระเจ้าพลาละเข่ง พระพุทธรูปทรงเครื่องที่สวยงามมาก มีประวัติว่าจำลองมาจาก พระมหามุณี องค์จริง จากเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า โดยแยกเป็นท่อนล่องมาตามแม่น้ำปายแล้วประกอบที่วัดพระนอน เพื่อนำมาประดิษฐานที่วัดหัวเวียง ซึ่งพระเจ้าพลาเข่ง ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแม่ฮ่องสอนเลยทีเดียว
วัดจองกลาง-จองคำ
วัดจองคำกับวัดจองคำกลาง ซึ่งอยู่ติดกันชนิดที่เรียกได้ว่า กำแพงเดียวกัน วัดจองคำตกแต่งแบบศิลปะไทยใหญ่ ที่สวยงามแปลกตา ภายในวัดยังมีหลวงพ่อโตองค์ใหญ่เกือบ 5 เมตร ประดิษฐานอยู่ ซึ่งเป็นฝีมือช่างชาวพม่า เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะคล้ายกับ พระศรีศากยมุณี(หลวงพ่อโต) ที่วิหารวัดสุทัศน์เทพเทพวราราม จากนั้นก้าวเท้าอีกเพียงไม่กี่ก้าว ก็ถึงวัดจองกลาง ซึ่งอยู่ติดกัน ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ตุ๊กตาไม้แกะสลัก รูปคน สัตว์ เกี่ยวกับพระเวสสันดรชาดก จำนวน 33 ตัว หากใครได้เห็นแล้วต้องทึ่งในผีมือการแกะสลักอย่างแน่นอน
วัดกลางทุ่ง
วัดกลางนา และ แล้วการเดินทางก็มาถึงวัดสุดท้าย ก่อนที่เราจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ นั่นก็คือ วัดกลางนา ซึ่งอยู่ติดกับสนามบินแม่ฮ่องสอน ในสมัยก่อนวัดนี้ตั้งอยู่กลางนา จึงได้ชื่อว่าวัดกลางนาครับ รวมแล้วการเดินทางทัวร์วัดที่เมืองแม่ฮ่องสอนแห่งนี้ได้ 8 วัดครับ
สำหรับ การเดินทางในครั้งนี้ ตั้งแต่บ้านเมืองปอนจนถึงแม่ฮ่องสอน ทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างมากมายที่อยู่ในห้องเรียนธรรมชาติแห่งนี้ และเราก็อยากให้เพื่อนๆได้มาเรียนรู้เช่นเดียวกับเราครับ
Gallery คลิ้กที่ภาพเพื่อชมรูปขยายใหญ่
วัดเมืองปอน แค่ป้ายก็เก่าแล้ว
หลังคาบ้านแบบเดิมๆ ที่ทำจากธรรมชาติ
ก้าวต่อไป ที่ปลายทาง
ภาษาไตแท้ๆ (ใครอ่านออกมารางวัล)
กรอบรูปธรรมชาติ
ยำมะกรอก อาหารยอดนิยม
ก็เหมือนขนมครกบ้านเรา แต่อร่อยกว่า
ลอยทุกข์ ลอยโศก ลอยสิ่งที่ไม่ดีให้ออกไป
ขันโตก มื้อนี้ มีของกินมากมาย
แสงสว่างที่ไม้สน
ประเพณีพื้นบ้าน ฟ้อนสัตว์
ฟังนิทานจากเด็กๆ
ปลาเมืองปอน
ถั่วลิสง
ร่มปะทะหมวก
หนึ่งในโฮมสเตย์เมืองปอน
น้ำใจสำหรับผู้เดินทางอยู่ในนี้
วัดเมืองปอน
พระปานปอง
พระทรงเครื่อง
ชรานี้ที่หน้าต่าง
ลอดช่อง(ที่กินไม่ได้)
ภาพนี้ที่เมืองปอน
พระเครื่อง(จริงๆนะ)
พระบัวเข็ม
อุโบสถวัดม่วยต่อ
บันไดนาคมุ่งสู่เจดีย์
พญานาค
วัดจองคำ
วัดจองกลาง
ขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่้งประเทศไทย อำนวยความสะดวกในการเดินทาง
โทร 1672 เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย