แปลอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง เรื่องย่ออิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง


44,569 ผู้ชม


อิเหนา  ตอน  ศึกกะหมังกุหนิง

     อิเหนา  เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ  เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา  ทั้งความไพเราะ  ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน  และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราทุกอย่าง  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา  แต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง  อัธยาศัยและรสนิยมของคนไทย

ผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ลักษณะคำประพันธ์

กลอนบทละคร

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

เพื่อใช้ในการแสดงละครใน

ความเป็นมา

อิเหนา  เป็นวรรณคดีที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  มีที่มาจาก

นิทานปันหยี  ซึ่งเป็นคำสามัญที่ชาวชวาใช้เรียกวรรณคดีที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง

คือ  เรื่องอิหนา  ปันหยี  กรัต ปาตี วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องเป็นพงศาวดาร

แต่งขึ้นเพื่อการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ

นักปกครอง  และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมาก

ชาวชวาถือว่าอิหนาเป็นวีรบุรุษ  เป็นผู้มีฤทธิ์  เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา

จนกลายเป็นนิทานจึงเต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์

                                                  ว่าพลางทางชมคณานก                    โผนผกจับไม้อึงมี่

                                             เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                          เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา

                                             นางนวลจับนางนวลนอน                         เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา

                                             จากพรากจับจากจำนรรจา                       เหมือนจากนางสการะวาตี

                                             แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง                           เหมือนร้างท้องมาหยารัศมี

                                             นกแก้วจับแก้วพาที                               เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา

                                             ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร                  เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา

                                             เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา                          เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง

                                             คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว                        เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง

                                             ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง                        คะนึงนางพลางรีบโยธี

เรื่องย่อ

     ดินแดนชวาโบราณมีกษัตริย์วงศ์หนึ่งเรียกว่า  วงศ์สัญแดหวาหรือวงศ์เทวา  เพราะว่าสืบเชื้อสายมาจากเทวดา  คือ  องค์ปะตาระกาหลา  กล่าวกันว่าวงศ์นี้มีพี่น้องสี่องค์  องค์พี่ครองเมืองกุเรปัน  องค์ที่สองครองเมืองดาหา  องค์ที่สามครองเมืองกาหลัง  และองค์ที่สี่ครองเมืองสิงหัดส่าหรี  กษัตริย์วงศ์เทวามีอานุภาพยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์  ถือตัวว่าเป็นชนชั้นสูงจึงอภิเษกกันเฉพาะในวงศ์พี่น้อง  นอกจากนี้ทั้งสี่เมืองเท่านั้นที่สามารถแต่งตั้งมเหสีได้ 5 องค์  ตามลำดับตำแหน่ง  คือ  ประไหมสุหรี  มะเดหวี  มะโต  ลิกู  เหมาหราหงี  แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมืองหมันหยาซึ่งเป็นเมืองเล็กกว่า  กล่าวคือ  เจ้าเมืองนี้มีราชธิดาสามองค์  องค์โตชื่อนิหลาอระตา  ได้ไปเป็นประไหมสุหรีเมืองกุเรปัน  องค์ที่สองชื่อ  ดาหราวาตี  ได้ไปเป็นประไหมสุหรีเมืองดาหา  ส่วนองค์สุดท้องชื่อ  จินดาส่าหรี  ได้อภิเษกกับโอรสท้าวมังกัน  และได้ครองเมืองหมันหยา

          ท้าวกุเรปันมีโอรสองค์แรกกับลิกู  ชื่อว่า  กะหรัดตะปาตี  ต่อมามีโอรสกับประไหมสุหรีเป็นหนุ่มรูปงามและเก่งกล้าสามารถมาก  ชื่อ  อิเหนา  หรือ  ระเด่นมนตรี  และมีราชธิดาชื่อวิยะดา  ส่วนท้าวดาหามีราชธิดากับประไหมสุหรีชื่อ  บุษบา  และมีโอรสชื่อ  สียะตรา  บุษบามีอายุไล่เลี่ยกับอิเหนา  ท้าวกุเรปันจึงหมั้นบุษบาให้กับอิเหนา  และสียะตราก็หมั้นหมายกันไว้กับวิยะดา

          ส่วนระตูหมันหยากับประไหมสุหรีก็มีราชธิดาชื่อระเด่นจินตะหรา  อายุรุ่นราวคราวเดียวกับอิเหนา  ท้าวสิงหัดส่าหรีกับประไหมสุหรีมีโอรสชื่อระเด่นสุหรานากง  ราชธิดาชื่อระเด่นจินดาส่าหรี  ท้าวกาหลังมีราชธิดาชื่อ  ระเด่นสกาหนึ่งรัด  ซึ่งเป็นคู่ตุนาหงันของสุหรานากง

          เมื่อพระอัยยิกาที่เมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์  ท้าวกุเรปันมอบหมายให้อิเหนาไปร่วมพิธีถวายพระเพลิงพร้อมกับกะหรัดตะปาตี  อิเหนาพบจินตะหราก็หลงรัก  จนพิธีถวายพระเพลิงเสร็จแล้วก็ยังไม่ยอมกลับกุเรปัน  ท้าวกุเรปันจึงต้องอ้างว่าประไหมสุหรีจะมีพระประสูติกาลให้กลับมาเป็นกำลังใจให้พระราชมารดา  อิเหนาจำใจต้องกลับมาประจวบกับพระราชมารดาประสูติ  พระราชธิดาหน้าตาน่ารัก  นามว่า  ระเด่นวิยะดา

          อย่างไรก็ตามอิเหนายังหาทางกลับไปเมืองหมันหยาอีก  โดยอ้างว่าจะไปประพาสป่า  แล้วปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่อ  มิสารปันหยี  ระหว่างทางได้รบกับระตูบุศิหนา  น้องชายสุดท้องของระตูปันจะรากันและระตูปักมาหงัน  ปรากฏว่าระตูบุศสิหนาตายในที่รบ  นางดรสาซึ่งเพิ่งเข้าพิธีอภิเษกกับระตูบุศสิหนาจึงกระโดดเข้ากองไฟตายตามพระสวามี  ส่วนระตูจะรากันและระตูปักมาหงันยอมแพ้และถวายพระธิดาและพระโอรสให้อิเหนา  คือ  นางสะการะวาตี  นางมาหยารัศมี  และสังคามาระตา  เมื่ออิเหนาเข้าเมืองหมันหยาได้ก็ลักลอบเข้าหานางจินตะหรา  แล้วได้สองนางคือ  นางสะการะวาตีและนางมาหยารัศมีเป็นชายา  และรับสังคามาระตาเป็นน้องชาย

          ท้าวกุเรปันเรียกอิเหนากลับเมืองถึงสองครั้ง  พร้อมทั้งนัดวันอภิเษกระหว่างอิเหนากับบุษบา  แต่อิเหนาไม่ยอมกลับ  สั่งความตัดรอดนางบุษบา  ท้าวกุเรปันและท้าดาหาทราบเรื่องก็ขัดเคืองพระทัย  ท้าวดาหาถึงกับหลุดปากว่าถ้าใครมาขอบุษบาก้จะยกให้

          ฝ่ายจรกา  ระตูเมืองเล็กเมืองหนึ่ง  และเป็นอนุชาของท้าวล่าส่ำ (ท้าล่าส่ำผู้นี้มีธิดา  คือ  ระเด่นกุสุมา  เป็นคู่หมั้นของสังคามาระตา)  จรกาเป็นชายรูปชั่วตัวดำ  แต่อยากได้ชายารูปงาม  จึงให้ช่วงวาดไปแอบวาดภาพราชธิดาของเมืองสิงหัดส่าหร  คือ  นางจินดาส่าหรี  ครั้นทราบข่าวว่านางบุษบาสวยงามมากจึงให้ช่างวาดแอบวาดภาพนางบุษบาอีก  ช่างวาดแอบวาดภาพได้ 2 ภาพ  คือ  ตอนนางบุษบาเพิ่งตื่นบรรทบและภาพที่แต่งองค์เต็มที่  ขณะเดินทางกลับองค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้รูปนางบุษบาที่ทรงเครื่องตกหายไป  จรกาได้เห็นภาพที่เพิ่งตื่นบรรทมเท่านั้นก็หลงใหลถึงกับสลบลงทันที

          เมื่อจรกาได้ข่าวจากช่างวาดภาพว่าบุษบาร้างคู่ตุนาหงัน  จึงรีบให้ระตูล่าส่ำ  พี่ชายมาสู่ขอบุษบา  ท้าวดาหากำลังโกรธอิเหนาอยู่แม้จะรู้ว่าจรการูปชั่ว  ต่ำศักดิ์  แต่เมื่อพลั้งปากว่าใครมาขอก็จะยกให้  จึงจำใจยากนางบุษบาให้จรกาและกำหนดการวิวาห์ภายในสามเดือน

          กล่าวถึงกษัตริย์อีกวงศ์หนึ่ง  องค์พี่ครองเมืองกะหมังกุหนิงมีพระโอรสชื่อวิหยาสะกำ  องค์รองครองเมืองปาหยัง  องค์สุดท้องครองเมืองปะหมันสลัด

          อยู่มหาวิหยาสะกำโอรสท้าวกะหมังกุหนิง  เสด็จประพาสป่าแล้วพบภาพวาดของนางบุษบาทรงเครื่องที่หายไปก็คลั่งไคล้หลงถึงกับสลบเช่นกัน  ท้าวกะหมันกุหนิงรักและเห็นใจโอรสมาก  จึงให้คนไปสืบว่านางในภาพนั้นเป็นใครแล้วให้แต่งทูตไปขอ  แต่ท้าวดาหามอบนางบุษบาให้จรกาแล้วจึงปฏิเสธไป  เมื่อไม่สมหวังท้าวกะหมังกุหนิงจึงยกทัพมาชิงนางบุษบา  โดยแจ้งระตูปาหยังและระตูปะหมันน้องชายและหัวเมืองทั้งหลายยกทัพมาช่วยรบด้วย

          ท้าวกุเรปันจึงเรียกตัวอิเหนาจากเมืองหมันหยามาช่วยท้าวดาหาทำศึกกับท้าวกะหมังกุหนิง  อิเหนาเป็นฝ่ายมีชัยในศึกครั้งนี้  อิเหนาสังหารกะหมังกุหนิง  สังคามาระตาสังหารวิหยาสะกำ  ระตูปาหยังกับปะหมันยอมแพ้ขอเป็นเมืองขึ้น  เมื่อเสด็จศึกอิเหนาเข้าเฝ้าท้าวดาหา  เมื่อได้พบกับนางบุษบาก็หลงรักทันที  จึงหาทางขัดขวางพิธีอภิเษกโดยการลักพาตัวบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำ  องปะตาระกาหลากริ้วที่อิเหนาทำไม่ถูกต้อง  จึงบันดาลให้เกิดลมหอบนางบุษบาไปจากอิเหนา  อิเหนาและนางบุษบาต่างต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นเวลาหลายปีจึงได้กลับมาพบกัน

วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี

    คุณค่าด้านเนื้อหา

    แนวคิด  เรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก  รักและตามใจทุกอย่าง  แม้นกระทั่วตัวตายก็ยอม

     ฉาก ตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน  มีการตั้งค่าย  การใช้อาวุธ  และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ

     ปมขัดแย้ง  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  มีหลายข้อแย้ง  แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง  และสมเหตุสมผล  เช่น

          ปมแรก  คือ  ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา  แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา

          ปมที่สอง  คือ  ท้าวดาหาขัดเคืองอิเหนา  ยกบุษบาให้จรกา  ทำให้ท้าวกุเรปันและพระญาติทั้งหลายไม่พอพระทัย

          ปมที่สาม  ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ  แต่ท้าวดาหายกให้จรกาไปแล้ว  จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น

          ปมที่สี่  อิเหนาจำเป็นต้องไปช่วยดาหา  จินตะหราคิดว่าอิเหนาจะไปอภิเษกกับบุษบา  จินตะหราขัดแย้งในใจตนเอง  หวั่นใจกับสถานภาพของตนเอง

          ปมที่สามเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด  เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงคิดจะทำสงครามกับกรุงดาหาเพื่อชิงนางบุษบามาให้วิหยาสะกำโอรสองพระองค์  ท้าวกะหมังกุหนิงหารือกับระตูปาหยังและท้าวปะหมันผู้เป็นอนุชา  ทั้งสองทัดทานว่าดาหาเป็นเมืองใหญ่ของกษัตริย์วงศ์อสัญแดหวาผู้มีฝีมือเลื่องลือในการสงคราม  ส่วนกะหมังกุหนิงเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ คงจะสู้ศึกไม่ได้  แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ฟังคำทัดทานเพราะรักลูกมากจนไม่อาจทนเห็นลูกทุกข์ทรมารได้  แม้จะรู้ว่าอาจสู้ศึกไม่ได้  แต่ก็ตัดสินใจทำสงครามด้วยเหตุผลที่บอกแก่อนุชาทั้งสองว่า

                         แม้วิหยาสะกำมอดม้วย               พี่ก็คงตายด้วยโอรสา

                         ไหนไหนจะตายวายชีวา              ถึงเร็วถึงช้าก็เหมือนกัน

                         ผิดก็ทำสงครามดูตามที               เคราะห์ดีก็จะได้ดังใฝ่ฝัน

                         พี่ดังพฤกษาพนาวัน                    จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา

     ตัวละคร  อิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  มีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญปรากฏอยู่มาก  ตัวละครมีบุคลิกลักษณะนิสัยที่โดดเด่นและแตกต่างกัน  เช่น

          ท้าวกุเรปัน

          ถือยศศักดิ์ไม่ไว้หน้าใคร  ไม่เกรงใจใคร  เช่น  ในราชสาส์นถึงระตูหมันหยา  กล่าวตำหนิระตูหมันหยาอย่างไม่ไว้หน้าว่า  เป็นใจให้จินตะหราแย่งคู่หมั้นบุษบา  สอนลูกให้ยั่วยวนอิเหนา  เป็นต้นเหตุให้บุษบาร้างคู่ตุนาหงัน

                              ในลักษณ์อักษรสารา               ว่าระตูหมันหยาเป็นผู้ใหญ่

                         มีราชธิดายาใจ                           แกล้งให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย

                         จนลูกเราร้างคู่ตุนาหงัน                  ไปหลงรักผูกพันมั่นหมาย

                         จะให้ชิงผัวเขาเอาเด็ดดาย              ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน

                         บัดนี้ศึกประชิดติดดาหา                  กิจจาลือแจ้งทุกแห่งหน

                         เสียงงานการวิวาห์จราจล                ต่างคนต่างข้องหมองใจ

                         การสงครามครั้งนี้มีไปช่วย               ยังเห็นชอบด้วยหรือไฉน

                         จะตัดวงศ์ตัดญาติให้ขาดไป              ก็ตามแต่น้ำใจจะเห็นดี

               ในพระราชสาส์นของท้าวกุเรปันถึงอิเหนาได้ยกความผิดให้จินตะหรา  จึงมีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ  แต่ไม่มีเมตตา  ถือยศศักดิ์  และที่ต้องช่วยดาหานั้น  เพราะถ้าดาหาแพ้หมายถึงกษัตริย์วงศ์เทวาพ่ายแพ้ด้วย  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอายอย่างยิ่ง

                              ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว          แต่เขาก็รู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่

                         อันองค์ท้าวดาหาธิบดี                     นั้นมิใช่อาหรือว่าไร

                         มาตรแม้นเสียเมืองดาหา                  จะพลอยอายขายหน้าหรือหาไม่

               ท้าวดาหา

               หยิ่งในศักดิ์สรี  ใจร้อน  เช่น  ตัดสินใจรับศึกกะหมังกุหนิงโดยไม่สนใจว่าจะมีใครมาช่วยหรือไม่  ดังคำประพันธ์

                              คิดพลางทางสั่งเสนาใน               เร่งให้เกณฑ์คนขึ้นหน้าที่

                         รักษามั่นไว้ในบุรี                            จะดูทีข้าศึกซึ่งยกมา

                         อนึ่งจะคอยท่าม้าใช้                         ที่ให้ไปแจ้งเหตุพระเชษฐา

                         กับสองศรีราชอนุชา                         ยังจะมาช่วยหรือประการใด

                         แม้จะเคืองขัดตัดรอน                        ทั้งสามพระนครหาช่วยไม่

                         แต่ผู้เดียวจะเคี่ยวสงครามไป               จะยากเย็นเป็นกระไรก็ตามที

               เป็นคนรักษาสัจจะ  รักษาเกียรติยศชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อได้ยกนางบุษบาให้จรกาไปแล้ว  เมื่อกะหมังกุหนิงมาสู่ขออีกจึงปฏิเสธ  ดังที่ว่า

                              อันอะหนะบุษบาบังอร                  ครั้งก่อนจรกาตุนาหงัน

                         ได้ปลดปลงลงใจให้มั่น                      นัดกันจะแต่งการวิวาห์

                         ซึ่งจะรับของสู่ระตูนี้                           เห็นผิดประเพณีหนักหนา

                         ฝูงคนทั้งแผ่นดินจะนินทา                    สิ่งของที่เอามาจงคืนไป

               อิเหนา

               รอบคอบ  มองการณ์ไกล  ตอนที่สังคามาระตารบกับวิหยาสะกำ  อิเหนาได้เตือน  สังคามาระตาว่าไม่ชำนาญกระบี่  อย่าลงจากหลังม้า  เพราะเพลงทวนนั้นชำนาญอยู่แล้วจะเอาชนะได้ง่ายกว่า

                              เมื่อนั้น                                     ระเด่นมนตรีใจหาญ

                         จึงตอบอนุชาชัยชาญ                         เจ้าจะต้านต่อฤทธิ์ก็ตามใจ

                         แต่อย่าลงจากพาชี                             เพลงกระบี่ยังหาชำนาญไม่

                         เพลงทวนสันทัดจัดเจนใจ                     เห็นจะมีชัยแก่ไพรี

               มีอารมณ์ละเอียดอ่อน  เมื่อจากสามนางมาเห็นสิ่งใดก็คิดถึงนางทั้งสาม  คำประพันธ์ความตอนนี้มีความไพเราะมาก

                              ว่าพลางทางชมคณานก                   โผนผกจับไม้อึงมี่

                         เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                         เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา

                         นางนวลจับนางนวลนอน                        เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา

                         จากพรากจับจากจำนรรจา                      เหมือนจากนางสการะวาตี

                &

https://www.satit.kku.ac.th/~thai/e-learning/rhyme/i-naou/

อัพเดทล่าสุด