สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปาย ปางอุ๋งแม่ฮองสอนและแพคเกจแม่ฮองสอนปีใหม่ 2554 นี้!


1,457 ผู้ชม


"หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดีประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง"

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 924 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 12,681.259 ตารางกิโลเมตร
แม่ฮ่องสอน ได้ชื่อว่า เมืองสามหมอก เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อนและป่าไม้นานาพันธุ์จนมี คำกล่าวว่าเปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย
ประวัติ และความเป็นมาจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อปี พ.ศ. 2374 พระเจ้ามโหตรประเทศ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ให้ เจ้าแก้วเมืองมา เป็นแม่กอง นำไพร่พลช้างต่อและหมอควาญ ออกไปจับช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลช้างช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลข้ามภูเขา มาทางตะวันตกของเชียงใหม่ ซึ่งมีช้างป่าชุกชุม โดยมอบหน้าที่ให้ พะกาหม่อง เป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อคล้องช้างได้เป็นจำนวนเพียงพอแล้ว จึงพากันเดินทางต่อไปถึงชุมชนบ้านป่าแห่งหนึ่ง มีทำเลดีมีร่องธารน้ำและที่ราบ เหมาะแก่การฝึกช้างป่า จึงหยุดไพร่พลตั้งบ้านเรือนขึ้นที่นี่ และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "แม่ร่องสอน" หมายถึงที่มีร่องน้ำฝึกช้าง ต่อมา ได้เพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน" ครั้นถึงปี พ.ศ. 2399 มีชาวไทยใหญ่ อพยพมาหลบภัยสงครามอยู่ที่แม่ร่องสอนเป็นจำนนมาก โดยมี เจ้าฟ้าโกหล่าน และชานกะเล เป็นหัวหน้า เมื่อมาอยู่ที่นี่ ชานกำเล ได้ช่วยหน่วยงานต่างๆ จนเป็นที่โปรดปรานของพะกาหม่องถึงกับยกลูกสาวชื่อนางไส ให้เป็นภรรยา ต่อมาชานกะเล อพยพครอบครัวลงใต้มาอยู่ที่เมืองกุ๋นลม หรือขุนยวมในปัจจุบัน ได้เป็นเข้าเมืองกุ๋นลมคนแรก ต่อมานางไสถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าโกหล่าน ยกหลานสาวชื่อเจ้านางเมี๊ยะให้เป็นภรรยา ชานกะเลปกครองเมืองกุ๋นลม เจริญมั่งคั่งส่งส่วยตอไม้ให้ได้มากมาย จนถึง พ.ศ. 2417 เจ้าอินทวิชยานนท์ จึงแต่งตั้งชานกะเลเป็น พญาสิงหนาถราชา แล้วสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงถือเอาต้นกำเนิดเมือง คือ ร่องน้ำสอนช้าง และช้างตัวเดียวเล่นน้ำ เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นที่รวมของชนเผ่าไทยและชาวไทยภูเขาหลายเผ่า มาแต่โบราณ ผู้คนเหล่านี้ยังคงดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดังเดิมไว้ เฉกเช่นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ประกอบด้วย ไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลัวะ ลีซอ จีนฮ่อ และกะเหรี่ยง
 
แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ


น้ำตกแม่อูคอ


วัดต่อแพ


วัดม่วยต่อ


ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นอำเภอขุนยวม


อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์


 


ถ้ำซู่ซ่า


ถ้ำน้ำบ่อผี


ถ้ำน้ำลอด สถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า


ถ้ำน้ำลาง


ถ้ำแม่ละนา


 


กองแลน (pai canyon - ปายแคนย่อน)


ตลาด อ.ปาย ตลาดถนนคนเดิน


น้ำตกแม่เย็น


น้ำตกหมอแปง


บ้านปายฟ้าปายฝัน และ ร้าน Coffee in love


โป่งเดือดป่าแป๋


โป่งน้ำร้อนท่าปาย


โป่งน้ำร้อนเมืองแปง


แม่น้ำปาย


วัดกลาง


วัดน้ำฮู


วัดพระธาตุแม่เย็น


ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกะเหรี่ยงแม่ปิง


สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย


หมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนาน


ห้วยจอกหลวง


 


กังหันผลิตน้ำมันงาบ้านสบสอย


เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำผาบ่อง


ตลาดชายแดนห้วยผึ้ง


ตลาดเช้า (กาดเช้า)


น้ำตกซู่ซ่า


บ่อน้ำร้อน


บ่อน้ำร้อนผาบ่อง


บ้านน้ำเพียงดิน


บ้านยอดดอย (หมู่บ้านแม้วไมโครเวฟ)


บ้านรวมไทย (ปางอุ๋ง)


บ้านห้วยเสือเฒ่า


พระตำหนักปางตอง


ภูโคลนคันทรี่คลับ


วนอุทยานถ้ำปลา


วนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ


วัดก้ำก่อ


วัดพระธาตุดอยกองมู


วัดพระนอน


วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเมือง


ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน


หนองจองคำ (สวนสาธารณะ)


หมู่บ้านรักไทย (แม่ออ)


หมู่บ้านรุ่งอรุณ เดิมชื่อหมู่บ้านแม่สุยะ


 


ถ้ำแก้วโกมล

Unseen in Thailand


ถ้ำแม่ฮุ


น้ำตกดาวดึงส์


บ้านกะเหรี่ยงแม่สะกั๊วะ


บ้านกะเหรี่ยงห้วยห้อม


หมู่บ้านละว้า (ลัวะ) แม่ละอูบ


 


ทุ่งบัวตอง ดอยแม่เหาะ


พระธาตุจอมมอญ


วัดกิตติวงศ์


วัดจองสูงหรือวัดอุทยารมณ์


วัดจอมทอง


วัดศรีบุญเรือง


วัดแสนทอง


อุทยานแห่งชาติสาละวิน


 


จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-พม่า บ้านแม่สามแลบ


นั่งเรือหางยาว


บ้านท่าตาฝั่ง


แม่น้ำเงา


แม่น้ำสาละวิน


ล่องแก่งแม่เงา


อุทยานแห่งชาติแม่เงา


 

เทศกาล งานประเพณี และ วัฒนธรรม แม่ฮ่องสอน


งานประเพณีปอยสางลอง หรือ งานบวชลูกแก้ว เป็น ประเพณีบวชเณรตามธรรมเนียมของชาวไทยใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและ มีความเชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร งานนี้จัดให้มีขึ้น ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน โดยชาวบ้านจะตกลงกันกําหนดวันนัดหมายให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆกัน มีการประดับประดาผู้ที่จะบวชด้วยเครื่องประดับมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชตามวัดที่เจ้าภาพศรัทธา แต่เดิมปอยสางลองเป็นประเพณีท่ทจัดเฉพาะในหม่ดญาติมิตร ของเจ้าภาพ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2525 ได้เกิดมีแนวความคิดใหม่ โดยจัดเป็นบรรพชาหมู่รวมกันมากถึง 200 รูป เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ทําให้ในเขตอําเภอเมือง แม่ฮ่องสอนนิยมจัดบรรพชาหมู่สืบต่อมาถึงปัจจุบัน ปอยสางลอง จึงได้กลายเป็นประเพณีที่จูงใจให้มีผู้สนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
งานประเพณีจองพารา คือประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา (งานปอยเหลินสิบเอ็ด) คําว่า จองพารา เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า ปราสาทพระ การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาทเพื่อคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 โดยก่อนถึงวันงานจะมีการจัดงานตลาดนัด ออกพรรษามีการนําสินค้าต่างๆ ที่จะใช้ในการทําบุญ เช่น อาหาร ขนมดอกไม้เครื่องไทยทานมาวางขายเพื่อให้ชาวบานได้หาซื้อข้าวของ เครื่องใช้ในการเตรียมงาน และมีการจัดเตรียมสร้าง จองพารา ซึ่งเป็นปราสาทจําลอง ทําด้วยโครงไม้ไผ่ ประดับลวดลายด้วยกระดาษสา กระดาษสีต่างๆ หน่อกล้วย อ้อยและโคมไฟ ตกแต่งอย่างสวยงาม เพื่อใช้สมมติเป็นปราสาทรับเสด็จพระพุทธองค์จากสวรรค์ จากนั้นก็จะยก จองพารา ขึ้นไว้นอกชายคา นอกรั้ว หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัด
ใน วันขึ้น 15 ค่ำ อันเป็นวันออกพรรษานั้น ต้องแต่เช้าตรู่ ประชาชนพร้อมใจกันไปทําบุญตามวัด บางวัดจัดให้มีการตักบาตรเทโวส่วนในตอนเย็นจะนําดอกไม้ธูปเทียนและขนมข้าว ต้มไปขอขมาบิดามารดา และญาติผู้ใหญ่
ก่อนย่ำรุ่งของวันแรม 1 ค่ำ จะมีพิธี ซ้อมต่อ คือการอุทิศ เครื่องเซ่น แก่สิ่งที่ชาวไตถือว่ามีบุญคุณในการดําเนินชีวิต โดยนํา กระทงอาหารเล็กๆ ที่จุดเทียนติดไว้ด้วยไปตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ แสงประทีปนับร้อยนับพันดวงตามวัดสถูปและบ้านเรือนในตอนใกล้รุ่ง เป็นภาพที่งดงามนาประทับใจมาก
ตลอดระยะเวลาของการจัดงานตั้งแต่แรม 1 ค่ำไปจนถึงแรม 8 ค่ำ จะมีการถวายข้าวที่จองพาราวันละครั้งและจุดเทียนหรือ ประทีปโคมไฟไว้ตลอดในช่วงเวลาตลอดเทศกาล จะมีการละเล่น เฉลิมฉลองหลายชนิด เช่น ฟ้อนโต ฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ ฟ้อนกาแล้ว (ฟ้อนดาบ) เฮ็ดกวาม ฯลฯ ตามถนนหนทางและบ้านเรือนต่างๆ เป็นการละเล่นที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าสัตว์โลกและ สัตว์หิมพานต์ พากันรื่นเริงยินดีออกมาร่ายรําเป็นพุทธรูปรับเสด็จ
ก่อนจะถึงวันแรม 8 ค่ำ จะมีพิธี "หลู่เต้นเหง" คือ การถวาย เทียนพันเล่ม โดยแห่ต้นเทียนไปถวายที่วัด และใน "วันกอยจ้อด" คือวันแรม 8 ค่ำ อันเป็นวันสุดทายของเทศกาลออกพรรษา จะมีพิธีถวายไม้เกี๊ยะ โดยนําฟืนจากไม้เกี๊ยะ (สนภูเขา) มามัดรวมกันเป็นต้นสูงประมาณไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ไม่ต่ำกว่า 30 เซ็นติเมตร แล้วนําเข้าขบวนแห่ประกอบด้วย ฟ้อนรูปสัตวต่างๆ และเครื่องประโคมไปทําพิธีจุดถวายเป็นพุทธบูชาที่ลานวัด เป็นอันสิ้นสุดเทศกาลออกพรรษาของชาวไต
ประเพณีลอยกระทง หรือ งานเหลินสิบสอง จัดขึ้นในวันเพ็ญ เดือนสิบสอง โดยชาวบ้านจะจัดทํากระทงเล็กๆ ไปลอยตามแม่น้ำ มีการประกวดกระทงใหญ่ที่หนองจองคํา ซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะ กลางเมือง มีการแสดงมหรสพรื่นเริง ตามบ้านเรือนจะมีการ จุดประทีปโคมไฟสว่างไสว นอกจากนี้ยังมีการลอยกระทงสวรรค์ โดยนํากระทงที่จุดประทีปโคมไฟแล้วผูกติดกับลูกโปงลอยขึ้นไป ในอากาศ พิธีนี้จัดขึ้นที่วัดพระธาตุดอยกองมู
นอกจากนี้ยังมีศิลปะท่งน่าสนใจ ของชาวไตคือศิลปะการแสดง และดนตรีซึ่งแตกต่างจากของล้านนา และมักจะนําเข้ามารวม ในงานบุญงานแห่ต่างๆ อยู่เสมอ อาทิ ฟ้อนกิงกะหลา หรือฟ้อนกินรี ซึ่งได้รับความนิยมที่สุด ผู้แสดงจะใส่ปีกใส่หางบินร่ายรํา นอกจากนี้ ยังมีการฟ้อนตัวสัตว์ต่างๆที่มีความเชื่อว่าอาศัยอยู่ที่ป่าหิมพานต์เช่น ฟ้อนนก ฟ้อนผีเสื้อ ฟ้อนม้า เป็นต้น
"ฟ้อนโต" เป็นการแสดงที่นิยมกันอีกชุดหนึ่ง ตัวโตนั้น เชื่อกันว่าเป็นสัตว์ป่าในหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีเขาคล้ายกวาง และมีขนยาวคล้ายจามรีมีลักษณะร่ายรําคลายการเชิดสิงโตของจีน
นอกจาก นี้ ยังมีการแสดงอื่นๆ อีกหลายชุด ได้แก่ " ฟ้อนดาบ" หรือที่เรียกว่า ฟ้อนก้าแลว "ฟ้อนไต" เป็นการฟ้อนต้อนรับผู้มาเยือน รําหมอง "ส่วยยี" เป็นการรําออกท่าทางคล้ายพม่า และ "มองเซิง" เป็นการรําประกอบเสียงกลองมองเซิง
งานเทศกาลชิมชาบ้านไท จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหมู่บ้านรักไทหมู่ 6 ตําบลหมอกจําแป อําเภอเมืองหมู่บ้านรักไท เป็นหมู่บ้านชายแดน อยู่ในความควบคุมของกองทัพภาคที่ 3 ราษฏรมีอาชีพปลูกชาเป็นหลักมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเดินทางขึ้นไปเที่ยวเป็นจํานวนมาก การจัดงานเทศกาลชิมชานี้ เพื่อเป็นกาลสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกชาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ภายในงานมีการขี่ม้ารอบหมู่บ้าน เที่ยวชมธรรมชาติ ชิมชาชั้นดี ชมการแสดงจากชาวจีนยูนาน และการละเล่นพื้นบ้าน
งานเทศกาลดอกบัวตอง จะจัดขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ดอกบัวตอง เป็นดอกไม้ป่าสีเหลือง คล้ายดอกทานตะวันแต่ขนาดเล็กกว่า มักขึ้นอยู่ตามป่าเขาสูง ทางตอนเหนือของประเทศไทย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีมากที่บริเวณบ้านแม่เหาะ อําเภอแม่สะเรียง และดอยแม่อูคอ อําเภอขุนยวมเมื่อถึงระยะที่ดอกบัวตองบานตามริมเส้นทางตลอดจน ภูเขาที่สลับซับซ้อนกันอยู่นั้นจะเป็นสีเหลืองสว่างไสวไปด้วยสีของดอกบัวตอง ดูงดงามมากทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้จัดงานเทศกาล บัวตองบานขึ้นเพื่อเป็นการชมความงามของธรรมชาติ และชม วัฒนธรรมประเพณีของชาวไต และชาวไทยภูเขา โดยจะจัดที่ บริเวณอําเภอขุนยวม ในงานมีการละเล่นและมหรสพทั้งของพื้นเมืองและร่วมสมัย มีการประกวดธิดาบัวตอง การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา การแสดงสินค้าพื้นเมือง การแข่งขันกีฬาชาวดอย ฯลฯ ตลอดจนนิทรรศการต่างๆ และการนําเที่ยวชมดอกบัวตองบนดอยแม่อูคอ
 
ของฝาก ของที่ระลึก แม่ฮ่องสอน
ของ ที่ระลึกจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีทั้ง ประเภท อัญมณี ตลอดจนผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมืองต่างๆ เช่น น้ำผึ้งป่า ใบชา หมวกชาวไต (ชาวไทยใหญ่ เรียกว่า กุป) ซี่งมีลักษณะเป็นหมวกปีกกว้างใบกลม ตรงกลางยอดแหลมเหมือนเจดีย์ มู่ลี่ทําจากไม้ไผ่ เสื่อทอไทยใหม ผ้าซิ่นไหมลายฝีมือพม่า อัญมณี เช่นทับทิม หยก และเครื่องใช้ประเภทเสื่อ ผ้าทอฝีมือกะเหรี่ยง ประเภทของขบเคี้ยว เช่น ถั่วแป๊ะหลอ แป๊ะยี เป็นต้น
ข้อมูลการเดินทาง
การเดินทางโดยรถยนต์
แม่ฮ่องสอน ในอดีตเป็นเมืองที่เร้นลับและทุรกันดารในสายตาของนักท่องเที่ยวและประชาชน ทั่วไป เนื่องจากเดิมนั้นการเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีถนนเพียงสายเดียว คือ ทางหลวงหมายเลข 108 ซึ่งตัดจากจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอำเภอหางดง สันป่าตอง จอมทอง ฮอด แม่สะเรียง แม่ลาน้อย และขุนยวม มาถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมระยะทางประมาณ 349 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้เป็นทางตัดขึ้นเขาสูง มีความสวยงามและคดเคี้ยวนับได้มากถึง 1,864 โค้ง ปัจจุบันมีถนนจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงแม่ฮ่องสอนเพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่ง คือทางหลวงหมายเลข 1095 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าเส้นทางสายแม่มาลัย-ปาย ตัดจากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอนเหลือระยะทางเพียง 245 กิโลเมตร นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ด้วย อาทิ ห้วยน้ำดัง และถ้ำต่างๆ ปัจจุบันเป็นถนนลาดยางอย่างดีตลอดสาย และหากนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางจากจังหวัดตากไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยไม่แวะเข้าจังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถเดินทางได้ตามทางหลวงหมายเลข 108 ผ่านอำเภอแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง ถึงอำเภอแม่สะเรียง มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ-มี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศของบริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร ทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมบัติทัวร์ โทร. (02) 936-3587-8
จากเชียงใหม่-มีรถ โดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทางคือ สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน(ทางหลวงหมายเลข 108) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอแม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน(ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 07.00-12.30 น. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อ บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด โทร. (053) 611-318
นอก จากนี้ยังมีรถวิ่งระหว่างแม่ฮ่องสอนและแม่สะเรียง ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้า ถึง ตี 1 รายละเอียดสอบถามสถานีขนส่งแม่ฮ่องสอน โทร. (053) 681-347
การเดินทางโดยเครื่องบิน
บมจ. การบินไทย มีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044-7 สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1297, 0 5361 1194 www.thaiairways.com
สายการบินนกกแอร์ ทำการบินระหว่าง แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0 5361 2057 ต่อ 106 หรือ call center โทร. 1318 หรือ www.nokair.com
และสายการบินพีบีแอร์บินตรงระหว่าง กรุงเทพฯ - แม่ฮ่องสอน สอบถามรายละเอียดที่ โทร. 0 2261 0220-5, 0 2535 4843-4 หรือ www.pbair.com
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน (แม่ฮ่องสอน) โทร. 0 5361 2982-3 โทรสาร 0 5361 2984
บมจ.การบินไทย สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1299
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5361 1198   โทรสาร 0 5361 1808
ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1952, 0 5361 1812   โทรสาร 0 5361 1813
สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง โทร. 0 5361 1239
ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 2057
โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ โทร. 0 5361 1378, 0 5361 1398
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 2079   โทรสาร 0 5361 1349
ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 2156
ที่ว่าการอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1357
ที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง โทร. 0 5368 1220, 0 5368 1231
ที่ว่าการอำเภอขุนยวม โทร. 0 5369 1108
ที่ว่าการอำเภอปาย โทร. 0 5369 9195

                                                                         ข้อมูลที่มา  www.holidaythai.com

อัพเดทล่าสุด