จังหวัด แม่ฮ่องสอน ข้อมูลทั่วไป จังหวัด แม่ฮ่องสอน คำขวัญ ประจำจังหวัด หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดีประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง | แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 924 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 12,681.259 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง แม่สะเรียง ขุนยวม ปาย แม่ลาน้อย สบเมย และปางมะผ้า แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่า เมืองสามหมอก เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อนและป่าไม้นานาพันธุ์จน มีคำกล่าวว่าเปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย ประวัติและความเป็นมาจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อ ปี พ.ศ. 2374 พระเจ้ามโหตรประเทศ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ให้ เจ้าแก้วเมืองมา เป็นแม่กอง นำไพร่พลช้างต่อและหมอควาญ ออกไปจับช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลช้างช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลข้ามภูเขา มาทางตะวันตกของเชียงใหม่ ซึ่งมีช้างป่าชุกชุม โดยมอบหน้าที่ให้ พะกาหม่อง เป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อคล้องช้างได้เป็นจำนวนเพียงพอแล้ว จึงพากันเดินทางต่อไปถึงชุมชนบ้านป่าแห่งหนึ่ง มีทำเลดีมีร่องธารน้ำและที่ราบ เหมาะแก่การฝึกช้างป่า จึงหยุดไพร่พลตั้งบ้านเรือนขึ้นที่นี่ และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "แม่ร่องสอน" หมายถึงที่มีร่องน้ำฝึกช้าง ต่อมา ได้เพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน" ครั้นถึงปี พ.ศ. 2399 มีชาวไทยใหญ่ อพยพมาหลบภัยสงครามอยู่ที่แม่ร่องสอนเป็นจำนนมาก โดยมี เจ้าฟ้าโกหล่าน และชานกะเล เป็นหัวหน้า เมื่อมาอยู่ที่นี่ ชานกำเล ได้ช่วยหน่วยงานต่างๆ จนเป็นที่โปรดปรานของพะกาหม่องถึงกับยกลูกสาวชื่อนางไส ให้เป็นภรรยา ต่อมาชานกะเล อพยพครอบครัวลงใต้มาอยู่ที่เมืองกุ๋นลม หรือขุนยวมในปัจจุบัน ได้เป็นเข้าเมืองกุ๋นลมคนแรก ต่อมานางไสถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าโกหล่าน ยกหลานสาวชื่อเจ้านางเมี๊ยะให้เป็นภรรยา ชานกะเลปกครองเมืองกุ๋นลม เจริญมั่งคั่งส่งส่วยตอไม้ให้ได้มากมาย จนถึง พ.ศ. 2417 เจ้าอินทวิชยานนท์ จึงแต่งตั้งชานกะเลเป็น พญาสิงหนาถราชา แล้วสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงถือเอาต้นกำเนิดเมือง คือ ร่องน้ำสอนช้าง และช้างตัวเดียวเล่นน้ำ เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นที่รวมของชนเผ่าไทยและชาวไทยภูเขา หลายเผ่า มาแต่โบราณ ผู้คนเหล่านี้ยังคงดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดังเดิมไว้ เฉกเช่นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ประกอบด้วย ไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลัวะ ลีซอ จีนฮ่อ และกะเหรี่ยง ข้อมูลการเดินทาง รถยนต์ แม่ฮ่องสอนในอดีตเป็นเมืองที่เร้นลับและทุรกันดารในสายตาของนักท่อง เที่ยวและประชาชนทั่วไป เนื่องจากเดิมนั้นการเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีถนนเพียงสายเดียว คือ ทางหลวงหมายเลข 108 ซึ่งตัดจากจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอำเภอหางดง สันป่าตอง จอมทอง ฮอด แม่สะเรียง แม่ลาน้อย และขุนยวม มาถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมระยะทางประมาณ 349 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้เป็นทางตัดขึ้นเขาสูง มีความสวยงามและคดเคี้ยวนับได้มากถึง 1,864 โค้ง ปัจจุบันมีถนนจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงแม่ฮ่องสอนเพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่ง คือทางหลวงหมายเลข 1095 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าเส้นทางสายแม่มาลัย-ปาย ตัดจากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอนเหลือระยะทางเพียง 245 กิโลเมตร นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ด้วย อาทิ ห้วยน้ำดัง และถ้ำต่างๆ ปัจจุบันเป็นถนนลาดยางอย่างดีตลอดสาย และหากนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางจากจังหวัดตากไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยไม่แวะเข้าจังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถเดินทางได้ตามทางหลวงหมายเลข 108 ผ่านอำเภอแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง ถึงอำเภอแม่สะเรียง มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ -มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศของ บริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร ทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 3587-8 จากเชียงใหม่ -มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทางคือ สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข 108) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอ แม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 07.00-12.30 น. ใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ 6 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อ บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด โทร. 0 5361 1318 นอก จากนี้ยังมีรถวิ่งระหว่างแม่ฮ่องสอนและแม่สะเรียง ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้า ถึง ตี 1 รายละเอียดสอบถามสถานีขนส่งแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5368 1347 เครื่องบิน บมจ. การบินไทย มีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044-7 สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1297, 0 5361 1194 www.thaiairways.com สาย การบินนกแอร์ ทำการบินระหว่าง แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0 5361 2057 ต่อ 106 หรือ call center โทร. 1318 หรือ www.nokair.com สายการบินพีบีแอร์บินตรงระหว่าง กรุงเทพฯ - แม่ฮ่องสอน สอบถามรายละเอียดที่ โทร. 0 2261 0220-5, 0 2535 4843-4 หรือ www.pbair.com สายการบินเอสจีเอ มีบริการเที่ยวบินระหว่างเชียงใหม่-ปาย ทุกวัน โทร. 0 2664 6099 หรือ www.sga.co.th สถานที่ท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ใกล้กับวัดม่วยต่อ ในพิพิธภัณฑ์จัดการแสดงเรื่องราวทางประวิติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ใช้เส้นทางปาย-ขุนยวม โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง) อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน สามารถ เที่ยวชมวิถีชีวิตชาวเขาหลากเผ่า ชิมกาแฟสดจากสวน ชมธรรมชาติและทัศนียภาพของป่าสนสองใบสนสามใบล้อมรอบทะเลสาบ สวนไม้ดอกเมืองหนาวที่สวยงาม อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา - ผาเสื่อ อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน อุทยาน แห่งชาติถ้ำปลา - ผาเสื่อ มีพื้นที่ประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอปางมะผ้า ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง หมู่บ้านรักไทย (แม่ออ) อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 44 กม. บ้านรักไทย หรือบ้านแม่ออ อยู่ติดชายแดนไทย-เมียนม่าร์ บริเวณหมู่บ้านมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมวิถีชีวิต และวัฒนธรรมจีนฮ่อ ภูโคลน อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน เป็น แหล่งค้นพบโคลนจากน้ำพุร้อน นับเป็นหนึ่งในสามแหล่งของโลกที่มีการค้นพบโคลนที่นำมาใช้ในการเสริมสร้าง สุขภาพความงามให้กับผิวพรรณของเรา วัดพระธาตุดอยกองมู อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน วัด นี้เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอย เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญ ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่ จากวัดสามารถมองเห็นภูมิประเทศและสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจนและ สวยงามมาก วัดม่วยต่อ อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน วัด นี้มีสิ่งที่น่าสนใจคือ เจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญ ล้อมรอบด้วยพระเจดีย์บริวาร ยอดประดับด้วยฉัตรโลหะ แขวนกระดิ่งโดยรอบ และ จอง(ปราสาท) ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ วัดกิตติวงศ์ อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระครูกิตตินำมาจากวัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ และยังมีพระคัมภีร์โบราณค้นพบในถ้ำผาแดง วัดจอมทอง อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน วัด นี้มีจุดเด่นที่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่ง ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาและบนลานพระพุทธรูปนี้สามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของ อำเภอแม่สะเรียงได้ วัดจองสูงหรือวัดอุทยารมณ์ อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เดิม เป็นสำนักสงฆ์มีเจ้าอาวาสเป็นไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2431 ถูกไฟไหม้ และได้บูรณะขึ้นใหม่เป็นวัดจองสูง ภายในวัดมีเจดีย์ทรงมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี อยู่ 3 องค์ แม่น้ำสาละวิน อำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เป็น พื้นที่อยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติสาละวินและติดชายแดนพม่า เป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปล่องเรือ ซึ่งมีลักษณะเป็นหุบเขาสูงชัน บางช่วงมีหาดทรายขาวสะอาด อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน มี พื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 179.5 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน มี พื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง มีเนื้อที่ 247,875 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2524 มีจุดเด่นที่น่าสนใจ ดังนี้ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์, โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า - รักษาพันธุ์ไม้, น้ำตกแม่สุรินทร์, ยอดดอยปุย, หนองเขียว วัดต่อแพ อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ตั้ง อยู่ที่บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา ห่างจากตลาดขุนยวมประมาณ 7 กิโลเมตร โดยก่อนที่จะถึงตลาดมีทางแยกจากทางสาย 108 ตรงข้ามกับวัดม่วยต่อ ไปประมาณ 5 กิโลเมตร อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชา อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน ตั้ง อยู่ต้นถนนขุนลุมประพาส ประวัติของพระยาสิงหนาทราชา เดิมชื่อ ชานกะเล เป็นชาวไทยใหญ่ ได้รวบรวมผู้คนตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า บ้านขุนยวม ต่อมาได้ยกขึ้นเป็นเมือง จวบจนปี พ.ศ. 2417 วนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน ตั้ง อยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป๋ ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ตามเส้นทางสู่อำเภอปาย (เส้นทาง 1095) และแยกไปตามทางขึ้นสู่พระตำหนักปางตอง รวมระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร วัดจองคำ อำเภอ จ.แม่ฮ่องสอน อยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองจองคำ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ที่แปลกและงดงามมาก วัดจองกลาง อำเภอ จ.แม่ฮ่องสอน ตั้ง อยู่ข้างกับวัดจองคำ ภายในวิหารมีแท่นบูชาตั้งพระพุทธสิหิงค์จำลอง ปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ มีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น ตุ๊กตาแกะสลักด้วยไม้เป็นรูปคนและสัตว์เกี่ยวกับพระเวสสันดรชาดก ฝีมือแกะสลักของช่างชาวพม่า ซึ่งนำมาจากพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2400 วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเมือง อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน ตั้ง อยู่ที่ถนนสีหนาทบำรุง ตำบลจองคำ (อยู่ติดกับตลาดเช้าบริเวณสี่แยกไฟแดง) เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2406 เป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประจำเมืองที่งดงามมาก ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ ในความรับผิดชอบของโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ 5 กองอนุรักษ์ต้นน้ำ ดอกบัวตองที่นี่เมื่อบานพร้อมๆ กันในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม จะเหลืองอร่ามปกคลุมทั่วทั้งภูเขา มีความสวยงามมาก บ้านน้ำเพียงดิน อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ ในเขตตำบลผาบ่อง เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือตามลำน้ำปาย ผ่านบ้านห้วยเดื่อไปจนถึงบ้านน้ำเพียงดินโดยเรือหางยาว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางที่ล่องเรือไปตามลำน้ำจะผ่านระลอกน้ำที่ลดระดับลดหลั่นกันไป คล้ายธารน้ำตกนับเป็นทัศนียภาพที่งดงามแปลกตา บ้านท่าตาฝั่ง อำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ใช้ เวลาประมาณ 30 นาที จากบ้านแม่สามแลบ ไปตามทิศเหนือจะผ่านบ้าน ซิมูท่า บ้านแม่ปอ ก่อนถึงบ้านท่าตาฝั่งจะเป็นหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ สาละวิน ที่บ้านท่าตาฝั่งมีบ้านพักให้บริการด้วย นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อได้ที่อุทยานฯ จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-พม่า บ้านแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ใน อดีตบริเวณนี้เป็นจุดการค้าผ่านแดนที่คึกคัก สินค้าส่วนมากเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคของไทยและสินค้าพื้นเมืองจากพม่า นักท่องเที่ยวสามารถเหมาเรือล่องไปตามแม่น้ำสาละวินได้ จุดที่จะล่องเรือคือสบเมย นั่งเรือหางยาว อำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เริ่ม จากท่าเรือที่อยู่ริมฝั่งน้ำเชิงสะพานข้ามแม่น้ำเงาถึงบ้านสบโขงช่วงเวลา ที่เหมาะสมในการนั่งเรือหางยาวคือ เดือนมิถุนายน - มกราคม ล่องแก่งแม่เงา อำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เป็น ที่เหมาะสำหรับล่องแพเพื่อผจญภัยอย่างแท้จริง สภาพสองฝั่งเป็นธรรมชาติที่คงสภาพที่ดีเยี่ยม มีความใสสะอาดมาก ฤดูหนาวและฤดูร้อนสามารถมองเห็นเงาในน้ำได้ จึงได้ชื่อว่า 'แม่น้ำเงา' อุทยานแห่งชาติแม่เงา อำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน มี ลักษณะพื้นที่สูงชัน มียอดเขาสูง เช่น ดอยปุยหลวง ดอยเซอเทอลู่ ดอยคุยหลวง มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน แต่ที่น่าสนใจจะเป็นแม่น้ำเงา เป็นลำน้ำที่ใสสะอาดมาก และมีทัศนียภาพที่สวยงาม แม่น้ำปาย อำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เป็น แม่น้ำที่ใหญ่และยาวที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาแดนลาวในเขตอำเภอปายไหลผ่าน 3 อำเภอในจังหวัดเดียว คือ อ.ปาย-อ.ปางมะผ้า-อ.เมือง ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเงา อำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ ที่บ้านแม่เงา ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย เป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับการนั่งเรือหางยาวเพื่อไปหมู่บ้านต่างๆ ได้ สภาพสองฝั่งยังคงเป็นธรรมชาติที่มีสภาพดี พระธาตุจอมมอญ อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ ที่หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านกาด เป็นปูชนียสถานที่มีลักษณะเป็นเจดีย์เก่าแก่ ถือกันว่าเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และมีงานฉลองในเดือนกรกฎาคมของทุกปี ทุ่งบัวตอง ดอยแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ริมทางมีภูมิประเทศที่งดงามของภูเขาและทุ่งดอกบัวตองที่ตระการตาและเบ่งบานสะพรั่งในเดือนตุลาคม - ธันวาคม อุทยานแห่งชาติสาละวิน อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จาก ที่ทำการอุทยานฯ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของลำน้ำสาละวินและฝั่งพม่าได้กว้างไกล และในบริเวณด้านหน้าของที่ทำการอุทยานฯ ยังมีหาดทรายเหมาะแก่การตั้งเต็นท์พักแรม วัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ใกล้กับวัดจองสูงเป็นอีกวัดหนึ่งที่มีสิ่งน่าสนใจ ได้แก่ โบสถ์รูปทรงพม่าซึ่งฉลุลวดลายงดงาม วัดแสนทอง อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน มีสิ่งที่สำคัญคือพระแสนทองพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ อันเป็นศิลปะสมัยเชียงแสนที่เก่าแก่และงดงามมากองค์หนึ่ง บ้านกะเหรี่ยงห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ราษฎรเคร่งศาสนาและสุภาพอ่อนโยน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งศูนย์พัฒนาชาวเขา บ้านกะเหรี่ยงแม่สะกั๊วะ อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน เรือนแถบเชิงเขาดูแปลกตา ในฤดูแล้งจะมองเห็นภาพดอกไม้ป่า ใบไม้เป็นสีส้มสวยงามมาก มีแหล่งน้ำตกใกล้หมู่บ้าน น้ำตกดาวดึงส์ อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน เป็น น้ำตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง อยู่ในเขตบ้านทุ่งรวงทอง ตำบล แม่ลาน้อย ห่างจากอำเภอไปประมาณ 6 กิโลเมตร สายน้ำไหลผ่านซอกหินลดหลั่นกันเป็นชั้น โดยเฉพาะในหน้าน้ำหรือฤดูฝน วนอุทยานแก้วโกมล (ถ้ำแก้วโกมล) อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ความ แวววาวของผลิกแร่แคลไซต์ สีขาวใสที่เคลือบฉาบผนังภายในถ้ำแก้วโกมล หรือที่เรียกกันว่าถ้ำน้ำแข็ง ถูกค้นพบโดยบังเอิญเมื่อวิศวกรสำรวจเหมืองแร่ของสำนักงานทรัพยากรธรณี แม่ฮ่องสอน ถ้ำแม่ฮุ อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ เขตป้านป่าหมาก ตำบลแม่ลาน้อย ห่างจากอำเภอ ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 7 กิโลเมตร ถ้ำนี้ลึกประมาณ 15 เมตร ภายในประกอบด้วยหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก หมู่บ้านละว้า (ลัวะ) แม่ละอูบ อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน มี ลักษณะวัฒนธรรม การสร้างที่อยู่อาศัย การแต่งกายและอุปนิสัยแตกต่างไปจากชาวไทยภูเขาเผ่าอื่นๆ และโดยที่ตั้งอยู่บนยอดดอยสูง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม น้ำตกหมอแปง อำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ หมู่ที่ 4 บ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง เดินทางโดยรถยนต์ได้สะดวก และมีชาวเขาเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง บริเวณรอบน้ำตกมีป่ายางร่มรื่น อยู่ห่างจากตัวอำเภอปาย ประมาณ 8-9 กิโลเมตร (สายปาย - แม่ฮ่องสอน) สถานที่พักแรม ที่พัก โรงแรม ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ ( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน ) ร้านอาหาร ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ ( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน ) ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ ( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน ) สินค้าพื้นเมือง ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ ( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน ) วัฒนธรรมประเพณี ประเพณีสิบสองมนล่องผ่องไต ประเพณีลอยกระทงไทยใหญ่ เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวไตซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีคติความเชื่อว่าเป็นการจัดขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา และบูชาพระอุปคุต 8 องค์ หรือพระอรหันต์ตามความเชื่อของชาวไตโบราณ ซึ่งเชื่อว่าพระอรหันต์ทั้ง 8 องค์นี้ มี 4 องค์ที่มรณภาพแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 4 องค์ยังคงปฏิบัติธรรมอยู่ในกลางมหานพ และทุกวันเพ็ญเดือน 12 พระอรหันต์ทั้ง 4 จะเวียนขึ้นมาโปรดสัตว์และเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยชาวไตจะถวายอัฐบริขารต่างๆอันเป็นประเพณีสืบต่อจากประเพณีจองพาราซึ่งทำ ถวายพระพุทธเจ้า โดยจะบูชาพระอุปคุตและลอยสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆลงในลำน้ำเพื่อเป็นการให้ ทานและถวายเป็นพุทธบูชา ประเพณีลอยกระทง หรืองานเหลินสิบสอง จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยชาวบ้านจะจัดทำกระทงเล็กๆ ไปลอยตามแม่น้ำ มีการประกวดกระทงใหญ่ที่หนองจองคำ ซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะกลางเมือง มีการแสดงมหรสพรื่นเริง ตามบ้านเรือนจะมีการจุดประทีปโคมไฟสว่างไสว นอกจากนี้ยังมีการลอยกระทงสวรรค์ โดยนำกระทงที่จุดประทีปโคมไฟแล้วผูกติดกับลูกโป่งลอยขึ้นไปในอากาศ พิธีนี้จัดขึ้นที่วัดพระธาตุดอยกองมู นอกจากนี้ ยังมีศิลปะที่น่าสนใจของชาวไตคือศิลปะการแสดงและดนตรีซึ่งแตกต่างจากของ ล้านนา และมักจะนำเข้ามาร่วมในงานบุญงานแห่ต่างๆ อยู่เสมอ อาทิ “ฟ้อนกิงกะหล่า” หรือฟ้อนกินรี ซึ่งได้รับความนิยมที่สุด ผู้แสดงจะใส่ปีกใส่หางบินร่ายรำ นอกจากนี้ยังมีการฟ้อนตัวสัตว์ต่างๆ ที่มีความเชื่อว่าอาศัยอยู่ที่ป่าหิมพานต์ เช่น ฟ้อนนก ฟ้อนผีเสื้อ ฟ้อนม้า เป็นต้น “ฟ้อนโต” เป็นการแสดงที่นิยมกันอีกชุดหนึ่ง ตัวโตนั้นเชื่อกันว่าเป็นสัตว์ป่าในหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีเขาคล้ายกวางและมีขนยาวคล้ายจามรี มีลักษณะร่ายรำคล้ายการเชิดสิงโตของจีน นอกจากนี้ ยังมีการแสดงอื่นๆ อีกหลายชุด ได้แก่ “ฟ้อนดาบ” หรือที่เรียกว่า ฟ้อนก้าแลว “ฟ้อนไต” เป็นการฟ้อนต้อนรับผู้มาเยือน รำหม่อง “ส่วยยี” เป็นการรำออกท่าทางคล้ายพม่า และ “มองเซิง” เป็นการรำประกอบเสียงกลองมองเซิง งานเทศกาลดอกบัวตอง จัดขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกป ี“ดอกบัวตอง” เป็นดอกไม้ป่าสีเหลืองคล้ายดอกทานตะวันแต่ขนาดเล็กกว่ามักขึ้นอยู่ตามป่า เขาสูงทางตอนเหนือของประเทศไทยในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีมากที่บริเวณบ้านแม่ เหาะ อำเภอแม่สะเรียง และดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม เมื่อถึงระยะที่ดอกบัวตองบานตามริมเส้นทางตลอดจนภูเขาที่สลับซับซ้อนกัน อยู่นั้นจะเป็นสีเหลืองสว่างไสวไปด้วยสีของดอกบัวตองดูงดงามมาก จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้จัดงานเทศกาลบัวตองบานขึ้นเพื่อเป็นการชมความงาม ของธรรมชาติ และชมวัฒนธรรมประเพณีของชาวไต และชาวไทยภูเขา โดยจะจัดที่บริเวณอำเภอขุนยวมในงานมีการละเล่นและมหรสพทั้งของพื้นเมืองและ ร่วมสมัยมีการประกวดธิดาบัวตอง การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา การแสดงสินค้าพื้นเมือง การแข่งขันกีฬาชาวดอย ฯลฯ ตลอดจนนิทรรศการต่างๆ และการนำเที่ยวชมดอกบัวตองบนดอยแม่อูคอ งานประเพณีจองพารา (งานปอยเหลินสิบเอ็ด) คือประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา คำว่า “จองพารา” เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า “ปราสาทพระ” การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาทเพื่อคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 หรือในราวเดือนตุลาคม กิจกรรมภายในงานชาวบ้านจะช่วยกันสร้างปราสาทจำลองที่เรียกว่า จองพารา ประดับไว้ตามบริเวณวัดและบ้านเรือนและแห่ขบวนรูปสัตว์ต่างๆ เพื่อแสดงความยินดีที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมา ในวันขึ้น 13 ค่ำ จะมีตลาดนัดออกพรรษาหรือกาดหลู่ โดยมีการจุดตะเกียงและเทียนในตลาดตั้งแต่กลางคืนจนถึงรุ่งเช้า เพื่อให้ชาวบ้านได้จับจ่ายซื้อของเตรียมงานไฟ สำหรับวันขึ้น 14 ค่ำเป็นวันดา หรือวันจัดเตรียมของที่ใช้ทำบุญออกพรรษา โดยเฉพาะการเตรียมจองพารา เช่น กระดาษเงิน กระดาษทอง และในวันขึ้น 15 ค่ำ อันเป็นวันออกพรรษานั้น ตั้งแต่เช้าตรู่ประชาชนพร้อมใจกันไปทำบุญตามวัด บางวัดจัดให้มีการตักบาตรเทโว ส่วนในตอนเย็นจะนำดอกไม้ธูปเทียนและขนมข้าวต้มไปขอขมาบิดามารดาและญาติผู้ ใหญ่ งานประเพณีปอยส่างลอง หรืองานบวชลูกแก้ว ตามแบบฉบับของชาวไทยใหญ่ ซึ่งถือว่าการบรรพชาสามเณรได้กุศลแรงกว่าบวชพระ จึงมักจัดกันอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างเดือนมีนาคม- พฤษภาคม เด็กที่จะบรรพชาเรียกว่า “ส่างลอง” เมื่อกำหนดจัดงานก็จะโกนผมแต่ไม่โกนคิ้ว(พระภิกษุพม่าไม่โกนคิ้ว) แล้วแต่งกายอย่างสวยงามด้วยเครื่องประดับอันมีค่า เช่น สวมสายสร้อย กำไล แหวน และใช้ผ้าโพกศีรษะแบบพม่า สวมถุงเท้ายาว นุ่งโสร่ง ทาแป้งขาว เขียนคิ้วทาปาก แล้วพาไปขี่ม้า ถ้าไม่มีม้าก็จะขี่คอคน ซึ่งเรียกว่า “พี่เลี้ยง” หรือ “ตะแปส่างลอง” แล้วแห่ไปตามถนนสายต่างๆ มีกลดทองหรือ “ทึคำ” แบบพม่ากั้นกันแดด ปัจจุบันประเพณีได้มีการกำหนดรูปแบบให้เป็นการบรรพชาสามเณรแบบสามัคคี คือ จัดให้มีการบรรพชาส่างลองเป็นจำนวนมากในคราวเดียวกันทุกปีในช่วงต้นๆ เดือนเมษายนของทุกปีทำให้ประเพณีปอยส่างลองจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความยิ่ง ใหญ่และงดงามเป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว งานเทศกาลชิมชาบ้านรักไท จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหมู่บ้านรักไท หมู่ 6 ตำบลหมอกจำแป๋ อำเภอเมือง หมู่บ้านรักไทเป็นหมู่บ้านชายแดน อยู่ในความควบคุมของกองทัพภาคที่ 3 ราษฏรมีอาชีพปลูกชาเป็นหลักมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดิน ทางขึ้นไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก การจัดงานเทศกาลชิมชานี้เพื่อเป็นการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกชาและส่งเสริม การท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ภายในงานมีการขี่ม้ารอบหมู่บ้านเที่ยวชมธรรมชาติ ชิมชาชั้นดี ชมการแสดงจากชาวจีนยูนาน และการละเล่นพื้นบ้าน งานเมืองสามหมอก จัดขึ้นทุกปีระหว่างวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ มีการออกร้านจากหน่วยงานราชการ เอกชนและองค์กรต่างๆ เพื่อเผยแพร่ผลงานของแต่ละหน่วยงานรวมทั้งการแสดงมหรสพรื่นเริง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับความเพลิดเพลินกับกิจกรรมต่างๆ ในงานหลังจากที่ได้ตรากตรำกับการทำงานมาตลอดปี นอกจากนี้ ในงานยังจัดให้มีการแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อให้งานมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ภูโคลน คันทรี่ คลับ 132 หมู่ 2 ต.หมอกจำแป๋ อ.เมือง โทร. 0 5328 2579 เว็บไซต์: www.pooklon.com เปิด ทุกวน 08.00-18.00 น. สะวันงา คลีนิกส่งเสริมสุขภาพแผนไทย สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ.เมือง โทร. 0 5361 1549, 0 53611281, 0 5361 1324 เปิด จันทร์-ศุกร์ 09.00-16.00 น.
|