โรคอ้วน|อ้วนลงพุง มีสาเหตุโรคอ้วนและ การป้องกันโรคอ้วน ลงพุง!!


1,582 ผู้ชม


โรคอ้วน|อ้วนลงพุง มีสาเหตุโรคอ้วนและ การป้องกันโรคอ้วน ลงพุง!!
อ้วนลุงพุง
นอกจากทำให้สวยน้อยลงแล้วยังเป็นสาเหตุ ของสารพัดโรค ยิ่งอ้วนก็ยิ่งมีโรคได้หลายอย่างมากขึ้น  อ้วนลงพุง จะมีสะโพกเล็ก ไหล่กว้าง และลงพุง ซึ่งเป็นลักษณะอ้วน ที่อันตรายที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าคนอ้วนสองคนที่น้ำหนักตัวมากเท่ากัน คนอ้วนที่ลงพุงมากจะเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือดได้มากกว่า คนอ้วนที่สะโพกใหญ่
อ้วนลุงพุง เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในบริเวณช่องท้องมากกว่าปกติ ในขณะเดียวกันก็สะสมในอวัยวะที่สำคัญและอันตรายได้ง่ายด้วย
 
เมื่อไหร่จึงเป็นโรคอ้วนลงพุง
เมื่อ พบ มีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว และเส้นรอบเอวมากกว่ามากกว่า 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้วในหญิง แล้วพร้อมกับพบปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีกตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปใน 4 อย่างต่อไปนี้ ก็จัดได้ว่าคุณเป็น “โรคอ้วนลงพุง” แล้ว
ปัจจัยเสี่ยง 4 อย่าง ได้แก่
1. ความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
2. ระดับไขมันไตรกลีเซอรไรด์ในเลือกมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
3. ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
4. รับ โคเลสเตอรอลชนิดดีในเลือดหรือ High Density Lipoprolein (HDL –cholesterol) น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ชาย และน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้หญิง
สาเหตุของ โรคอ้วนลงพุง
ปัญหา ส่วนใหญ่มักเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่คล้ายคลึงกัน คือ ชอบรับประทานอาหารที่มากเกินความจำเป็นโดยเฉพาะอาหารหวานมัน น้ำหวานในรูปต่างๆ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแม้เพียงการเคลื่อนไหวตามปกติที่นานหน่อย
ทุกข์จากโรคอ้วนลงพุง
นอก จากจะต้องแบกรับความทุกข์ที่เกิดจากความอ้วน เช่น ข้อกระดูกเสื่อม การหายใจไม่อิ่ม ทำให้ง่วงซึม หายใจไม่เต็มปอด เหมือนคนอ้วนแล้วคนที่เป็น โรคอ้วนลงพุงยังมีโอกาสสูงมากๆ  ที่จะเป็นโรคเบาหวาน  โรคหัวใจ ภาวะหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งรุนแรงถึงขึ้นทำให้เป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้มากกว่าคนอ้วนชนิดไม่ลงพุงเป็นเท่าทวี
วิธีป้องกันและบรรเทา โรคอ้วนลงพุง
1. ออก กำลังกายบ้าง ประมาณวัละ 30 นาทีขึ้นไป 3 ครั้ง/สัปดาห์ หรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างกระฉับกระเฉง เช่น เดินอย่างกระฉับกระเฉงวันละ 1 หมื่นก้าว หรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องตาม สมรรถภาพร่างกายของแต่ละคนก็จะได้ผลดีกว่าการนั่งเฉยๆ
2. จำกัดปริมาณ แอลกอฮอล์ที่ดื่ม ไม่ให้เกินละวัน 1 ส่วน เช่น ไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 แก้ว สำหรับผู้หญิง หรือ 2 แก้ว สำหรับผู้ชาย และไม่ควรดื่มทุกวัน เพราะโอกาสดื่มเกินมีมากกว่า โอกาสขาดแคลนการดื่ม
3. ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการทานอาหารอย่างถูกต้อง และจริงจัง เช่น ลดการทานอาหารมีกากใยน้อย เช่นข้าวขาว ขนมปังขาว น้ำตาล และน้ำผลไม้ และเครื่องดื่มหวานๆ อีกหลายชนิด  แต่เพิ่มการทานอาหารที่มีปริมาณกากไยมากเ ช่น  ขนมปังโฮลวีท ผลไม้ที่ไม่หวานจัด อาหารจำพวกถั่วเป็นของดีมีกากใยมาก แต่ก็ได้พลังงานมาก ถ้ากินมากเกินไป อาหารจำพวกผักเป็นสิ่งที่บริโภคได้มากโดยไม่จำกัด ลดการทานอาหารประเภททอดที่ต้องใช้น้ำมันมากๆ ควรเลือกทานอาหารประเภทนึ่ง หรือต้ม หรือย่าง
ข้อมูลที่มา  www.oknation.net

อัพเดทล่าสุด