กล้วยหอม+ชื่อวิทยาศาสตร์และวิธีการปลูกกล้วยหอมพร้อมประโยชน์ของกล้วยหอมและรูปกล้วยหอม !


1,427 ผู้ชม


กล้วยหอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

กล้วยหอม
กล้วยหอม
กล้วยหอม

กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ อาทิเช่น มีวิตามิน ไฟเบอร์ ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีชื่อว่า Escherichia coli ที่เชื่อว่าทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ เป็นต้น ซึ่งกล้วยหอมได้ถูกจัดว่าเป็นผลไม้ของเขตเมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทยสามารถ ปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่สำหรับปลูกกล้วยหอมอยู่ประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ ไร่ (ผลการสำรวจปี พ.ศ. ๒๕๒๙) โดยพบว่าภาคที่มีการปลูกกล้วยหอมมากที่สุดได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ภาคใต้ แต่ภาคใต้ และภาคตะวันออก จะเน้นปลูกกล้วยหอมเพื่อการค้า

เนื้อหา


ลักษณะทั่วไป

กล้วยหอม เป็นพืชล้มลุก ใบอ่อนมีสีเหลือง เมื่อแก่จะมีสีเขียว แผ่นใบยาวประมาณ 1.5 m. กว้าง 40-60 cm. เส้นใบขนาน ก้านใบมีความยาวมากกว่า 30 cm. ดอก มีลักษณะเป็นช่อที่เรียกว่า หัวปลี มีความยาวประมาณ 60-120 cm. ช่อหรือหัวปลีจะมีกาบหุ้มสีแดงปนม่วงเป็นรูปกลมรี ยาว 15-30 cm. ต่อมาช่อดอกจะเจริญกลายเป็นผล ซึ่งประกอบกันเป็นเครือกล้วย เครือละ 7-8 หวี ในแต่ละหวีจะมีกล้วยอยู่ 10 ลูกขึ้นไป รูปร่างของผลมีลักษณะเรียวหัวท้ายแหลม ขณะยังอ่อนจะมีขนาดเล็กสีเขียว แต่เมื่อแก่จะมีขนาดใหญ่สีเหลืองทอง

การปลูก

  • การเตรียมดิน :

ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุยจนหมดวัชพืช ถ้ามียังวัชพืชอยู่มากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่

  • การเตรียมหลุมปลูก:
    1. ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 เมตร
    2. ขนาดหลุมปลูก ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร
    3. รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม
  • การเตรียมพันธุ์และการปลูก:
    1. ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อยาว 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ
    2. วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา
    3. กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

  • การให้น้ำ:

ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก

  • การให้ปุ๋ย:
    1. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
    2. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
    3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง
  • การแต่งหน่อ:

หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์

  • การค้ำยันต้น:

ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง

  • การหุ้มเครือ และตัดใบธง:

การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย

การขยายพันธุ์

เนื่องจากกล้วยหอมเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เหมาะกับดินที่ร่วนซุย และดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี สามารถขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือเหง้า แต่มีข้อจำกัดว่ากล้วยหอมไม่ชอบดินที่มีน้ำขัง

ประโยชน์

กล้วยหอมสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น

  • ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล ราก ยางกล้วยจากใบ เปลือกกล้วยหอม
    1. ผล ขับปัสสาวะ
    2. ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด
    3. ผลดิบ ช่วยแก้โรคท้องเสีย สมานแผลในกระเพาะอาหาร
    4. ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง ช่วยทุเลาอาการปวดท้อง ก่อนหรือขณะมีประจำเดือนได้ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ หรือแม้กระทั่งช่วยทุเลาจากอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มสุรา ของมึนเมา นอกจากนี้การกินกล้วยหอม 1-2 คำ ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังทุเลาอาการแพ้ท้องได้
    5. ราก ใช้ต้มน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
    6. เปลือกกล้วยหอม สามารถลดอาการคันหรือบวม จากบริเวณที่ถูกยุงกัด ได้ โดยใช้เปลือกด้านใน หรือการนำเปลือกกล้วยหอมมาด้มน้ำดื่ม พบว่าสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ พบว่า หากเราใช้ด้านในของเปลือกกล้วยหอมสุก ถูเบาๆ บริเวณที่มีรอยหยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดตามปกติ จะทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่นขึ้น รอยหยาบกร้านจางหายไป
  • ส่วนที่ใช้ในงานฝีมือ ห่ออาหาร เลี้ยงสัตว์ : ลำต้น ใบ
    1. ลำต้น ใช้เป็นฐานกระทง หรือใช้หั่นเลี้ยงสัตว์
    2. ใบ ใช้ห่ออาหาร หรือประดิษฐ์ประดอยในงานฝีมือ
  • ส่วนที่ใช้ด้านการเกษตร : เปลือกกล้วยหอม
    1. นำเปลือกกล้วยหอมวางไว้รอบๆ โคนต้นกุหลาบ แล้วโกยดินทับประมาณ 1 นิ้ว จะช่วยให้กุหลาบแตกกิ่งเร็วขึ้น

การส่งออกกล้วยหอม

ประเทศไทยมีการส่งออกกล้วยหอมไปยังประเทศต่างๆมากมาย เช่น

[แก้] ความเชื่อ

  1. หญิงที่มีครรภ์ห้ามรับประทานกล้วยแฝด เพราะมีความเชื่อว่าจะได้ลูกแฝด แต่เมื่อใดที่อยากมีลูกแฝดก็ให้รับประทานกล้วยแฝดได้
  2. หญิงที่เพิ่งคลอดลูก หรือแม่ลูกอ่อน ให้รับประทานแกงหัวปลี จะทำให้มีน้ำนมมาก ตามหลักวิทยาศาสตร์พบว่าหัวปลีเป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเลือดดี จึงทำให้มีน้ำนมมากเพียงพอต่อการเลี้ยงดูบุตร
  3. ในด้านยาอายุวัฒนะ นำกล้วยแช่น้ำผึ้ง ปิดไห แล้วใช้ปูนแดงทาก่อนปิดฝา จากนั้นเอาไว้ใต้ฐานพระในวันเข้าพรรษา ปล่อยไว้นานสามเดือน ก็สามารถนำมารับประทานได้
  4. ในงานมงคลมัก มีกล้วยเข้ามาร่วมเกี่ยวในพิธีด้วย เช่น กล้วยทั้งเครือ กล้วยดิบ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง และความสงบร่มเย็น
  5. ในสมัยก่อนคนที่เป็นโรคฝีดาษ มีแผลพุพอง จะให้นอนบนใบกล้วยเพราะจะทำให้น้ำเหลืองไม่ติดกับเสื้อผ้า

สำนวนเกี่ยวกับกล้วย

    1. โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก หมายถึง การฆ่าล้างตระกูล ไม่ให้มีโอกาสสืบเชื้อสาย หรือสกุลต่อไป
    2. ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก,ของกล้วยๆ, เรื่องกล้วยๆ หมายถึง ไม่ยาก ง่ายมาก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่มา /th.wikipedia.org

อัพเดทล่าสุด