ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง


5,955 ผู้ชม


เรื่อง : เทคนิคการปลูกกล้วยหอมทอง
ประเภทเทคนิค : เทคนิคการเพิ่มคุณภาพ/ปริมาณผลผลิต
สาขา : พิษณุโลก สำนักงานจังหวัด : พิษณุโลก
ชื่อ นายเชน มีเมตตา
ชื่อคู่สมรส : สำราญ จำนวนบุตร : 2 คน
วันเกิด : 17 ส.ค. 2504
ที่อยู่ : 44/2 หมู่ 3 บ้านวังวน ต. ท่าโพธิ์ อ. เมืองพิษณุโลก จ. พิษณุโลก
รหัสไปรษณีย์ 65000 โทร (055) 284374
การศึกษา : ประถมศึกษา
การอบรม/ประสบการณ์ : - ไปดูงานทำปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืช - เป็นกรรมการหมู่บ้าน
ปีที่เข้าเป็นลูกค้า : 2532
อาชีพที่ประสบความสำเร็จ : กล้วย
ที่ตั้ง :ตำบล ท่าโพธิ์ อำเภอ เมืองพิษณุโลก จังหวัด พิษณุโลก
ช่วงเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาด : มิ.ย.- ก.ย.
ช่วงเวลาที่ใช้เทคนิคพิเศษ : ตลอดฤดูกาล
การ จัดการด้านการตลาด : การตลาดกล้วยหอมทอง เป็นผลไม้ที่ตลาดต้องการตลอดทั้งปี จะมีพ่อค้ารับซื้อเป็นขาประจำ และบางครั้งจะมาสั่งจองไว้ล่วงหน้าถึงที่สวน ส่วนราคาผลผลิต จะไม่ขึ้นลงมากนัก เฉลี่ยขายส่งให้พ่อค้าลูกละบาท นับว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ
ขั้นตอนการผลิต : เลือกพื้นที่ให้เหมาะสม น้ำไม่ท่วม ดินร่วน ระบายน้ำได้ดี การปลูกเลือกหน่อที่สมบูรณ์แข็งแรง ขนาดเท่า ๆ กัน ขุดหลุมปลูกขนาดกว้างครึ่งเมตร ลึกพอประมาณ ปลูกหลุมละ 2 หน่อ แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 2 เมตร ปลูกสลับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ระหว่างต้นระหว่างแถว เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ ตัดกิ่งพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ให้ได้ผลผลิตที่ตลาดต้องการ ผลใหญ่ รสชาติหอมหวาน
ขั้นตอนการทำเทคนิค พิเศษ :เทคนิคพิเศษในการทำสวนกล้วยหอมทอง สามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งปี การปลูกต้องแบ่งเนื้อที่ปลูกออกเป็น 3 รุ่น เนื้อที่เท่า ๆ กัน ปลูกห่างกันรุ่นละ 4 เดือน แต่ละรุ่นเมื่อครบ 2 ปี ก็ขุดออก และปลูกใหม่สลับกันไป ทั้ง 3 แปลง จะได้กล้วยหอมทองสู่ตลาดทั้งปี ผลใหญ่สวย รสชาติดี มีรายได้มากกว่าไม้ผลอย่างอื่นในเนื้อที่เท่ากัน
แผนการ พัฒนาการผลิต : กล้วยหอมทอง เป็นผลไม้ที่ผู้บริโภคนิยมบริโภคกันโดยทั่วไป ในรูปของกล้วยสุก ผลของกล้วยเมื่อสุกเต็มที่แล้วจะช้ำได้ง่าย จึงไม่สะดวกในการขนย้าย จึงมีแผนในขนส่งเพื่อไม่ให้กล้วยช้ำ และให้สุกตามกำหนด โดยการบรรจุกล่องและบ่มภายในกล่องกำหนดเวลา ให้สุกพอดีเมื่อถึงปลายทาง เนื่องจากกล้วยหอมทองนอกจากจำหน่ายในบ้านเราทั่วไปแล้ว ยังเป็นที่นิยมจากชาวต่างประเทศด้วย จึงมีแผนที่จะพัฒนาเป็นผลไม้ส่งออกบ้าง
สถานภาพ ทางสังคม : ในปัจจุบันนี้ เป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นที่รู้จักอย่างดีของคนในหมู่บ้าน ช่วยเหลืองานและส่งเสริมให้ความร่วมมือทางสังคมโดยส่วนรวม
บทบาทและการมี ส่วนร่วมในสังคม : บทบาทหน้าที่ของสังคม มีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการหมู่บ้าน ประสานงานให้ความช่วยเหลือ เป็นผู้สื่อข่าวของกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้ากลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส.
ความ เห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของธ.ก.ส. : - ความคิดเห็นในบทบาทหน้าที่ของ ธ.ก.ส. ปัจจุบัน - ธ.ก.ส. เป็นธนาคารที่ช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงใจ - ธ.ก.ส. สร้างอาชีพที่มั่นคงให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีฐานะดีขึ้น ไม่มีหนี้สินกับเอกชน - ธ.ก.ส. เป็นธนาคารของรัฐที่บริการเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ต่ำกว่าแหล่งเงินทุนอื่น
โดย: ป้กา [25 มี.ค. 53 11:34] ( IP A:58.8.119.59 X: ) ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง


ความคิดเห็นที่ 2
   การปลูกและการดูแลกล้วย โดย รองศาสตราจารย์เบญจมาศ ศิลาย้อย
กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะกับการปลูกในประเทศไทย ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่า ๑๔ องศาเซลเซียส กล้วยจะชะงักการเจริญเติบโต หรือมีการเติบโตช้าลง รวมทั้งการออกดอกและติดผลจะช้าด้วย อนึ่งกล้วยเป็นพืชที่มีแผ่นใบใหญ่ ดังนั้นจึงไม่ค่อยทนต่อแรงลม เพราะใบจะต้านลม ทำให้ใบแตกได้ ถ้าหากใบแตกมากจนเป็นฝอย จะทำให้มีการสังเคราะห์อาหารได้น้อย ต้นไม่เจริญเท่าที่ควร ดังนั้นถ้าพื้นที่ที่มีลมแรงมาก ควรปลูกต้นไม้อื่นทำเป็นแนวกันลมให้ต้นกล้วย
ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกกล้วย คือ ดินตะกอนธารน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า “ดินน้ำไหลทรายมูล” ซึ่งเป็นดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำ และการหมุนเวียนอากาศดี ถ้าดินเป็นดินเหนียว ควรใส่ปุ๋ยคอก จะทำให้ดินร่วนโปร่งขึ้น
การปลูกกล้วยควรคำนึงถึงเรื่องแสงแดด และความอุดมสมบูรณ์ของดิน และน้ำ
หัวข้อ
ระยะปลูก
การปลูก
การกำจัดหน่อ
การให้ปุ๋ย
การค้ำยัน
การให้ผล
การคลุมถุง
ระยะปลูก
กล้วยเป็นพืชที่มีใบยาว หากปลูกในระยะใกล้กันมาก อาจทำให้ใบเกยกัน หรือซ้อนกัน ทำให้ได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ และดูแลลำบาก การกำหนดระยะปลูกจึงควรคำนึงถึงเรื่องแสงแดด ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความต้องการของผู้ปลูกว่าต้องการปลูกกล้วยเพื่อเก็บเกี่ยวกี่ครั้ง หากต้องการเก็บเกี่ยวเพียงครั้งเดียวก็อาจปลูกถี่ได้ แต่ถ้าต้องการเก็บเกี่ยวหลายๆ ครั้ง ต้องปลูกให้ห่างกันเพื่อมีพื้นที่สำหรับการแตกหน่อ การปลูกกล้วยระยะต่างๆ กัน จะได้จำนวนต้นมากน้อย ดังแสดงในตารางที่ ๑
ตารางที่ ๑ แสดงจำนวนต้นที่ปลูกได้ในพื้นที่ ๑ ไร่ เมื่อปลูกกล้วยระยะต่างๆ กัน
ระหว่างแถว x ระหว่างต้น (เมตร) จำนวนต้น
๑ x ๓ ๕๓๐
๑.๕ x ๓ ๓๓๐
๒ x ๓ ๒๖๐
๒ x ๔ ๒๐๐
๓ x ๓ ๑๗๕
๔ x ๔ ๑๐๐

ระยะปลูกต้นกล้วย
การปลูก
ขุดหลุมให้มีขนาดความกว้าง ๕๐ เซนติเมตร ลึก ๕๐ เซนติเมตร นำดินที่ขุดได้กองตากไว้ ๕ - ๗ วัน หลังจากนั้นเอาดินชั้นบนที่ตากไว้ลงไปก้นหลุม ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว ให้สูงขึ้นมาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร คลุกเคล้าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับดินชั้นบนที่ใส่ลงไป แล้วจึงเอาหน่อกล้วยที่เตรียมไว้ วางที่ตรงกลางหลุม เอาดินล่างกลบ รดน้ำ และกดดินให้แน่น ยอดของหน่อควรสูงกว่าระดับดินประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ควรหันรอยแผลของหน่อให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพราะเมื่อโตเต็มที่และติดผล ผลจะเกิดในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับรอยแผล และอยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อสะดวกในการทำงาน แต่หากเป็นต้นที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะไม่มีทิศทางของรอยแผล ในการวางต้นจึงจำเป็นต้องมีทิศทาง
ถ้าหากพื้นที่นั้นเป็นดินเหนียว ควรทำการยกร่อง จะได้ระบายน้ำ และปลูกบนสันร่องทั้ง ๒ ข้าง และเพื่อให้การปฏิบัติงาน ทำได้ง่าย ควรวางหน่อให้กล้วยออกเครือไปทางกลางร่อง

การกำจัดหน่อ
เมื่อต้นกล้วยมีอายุได้ ๔ - ๖ เดือน จะเริ่มมีการแตกหน่อ หน่อที่เกิดมาเรียกว่า หน่อตาม (follower) กล้วยบางพันธุ์ที่มีหน่อมาก ควรเอาหน่อออกบ้าง เพื่อมิให้หน่อแย่งอาหารจากต้นแม่ ควรเก็บหน่อไว้ ๑ - ๒ หน่อ เพื่อให้เป็นตัวพยุงต้นแม่เมื่อมีลมแรง และเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีต่อไป วิธีการกำจัดหน่ออาจใช้เสียมที่คมหรือมีดแซะลงไป หรือใช้มีดตัด หรือคว้านหน่อที่อยู่เหนือดิน แล้วใช้น้ำมันก๊าด หรือสารกำจัดวัชพืชหยอดที่บริเวณจุดเจริญ เพื่อไม่ให้มีการเจริญเป็นต้น แต่ไม่ควรแซะหน่อในระหว่างการออกดอก เพราะต้นอาจกระทบกระเทือนได้
นอกจากการกำจัดหน่อแล้ว ควรตัดใบที่แห้งออก เพราะถ้าทิ้งไว้อาจเป็นแหล่งสะสมโรคใน ๑ ต้น ควรเก็บใบไว้ประมาณ ๗ - ๑๒ ใบ
การให้ปุ๋ย
กล้วยเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก การติดผลจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอาหารและน้ำที่ได้รับ ดังนั้นควรบำรุงโดยใส่ปุ๋ย ทั้งปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี ตั้งแต่เริ่มปลูก ในระยะแรกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในช่วง ๒ เดือนแรก โดยให้ปุ๋ยยูเรียเดือนละครั้ง และเดือนที่ ๓ และ ๔ ให้ปุ๋ยสูตร ๑๕ - ๑๕ - ๑๕ ต้นละ ๑-๒ กิโลกรัม ส่วนในเดือนที่ ๕ และ ๖ ให้ ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๓ - ๑๓ - ๒๑ ต้นละ ๑-๒ กิโลกรัม

การค้ำยัน
กล้วยบางพันธุ์มีผลดกมาก โดยมีจำนวนหวีมากและผลใหญ่ ต้นที่มีขนาดเล็กหากไม่ค้ำไว้ ต้นอาจล้ม ทำให้เครือหักได้ เช่น กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ จำเป็นต้องค้ำบริเวณโคนเครือกล้วยไว้ โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่นที่มีง่าม

การให้ผล
กล้วยจะออกดอกเมื่ออายุต่างก
โดย: [0 3] ( IP ) ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง

ความคิดเห็นที่ 3
   ันตามชนิดของกล้วย เช่น กล้วยไข่ เริ่มออกดอกเมื่ออายุประมาณ ๕ - ๖ เดือน และกล้วยหอมทองจะเริ่มออกดอกเมื่ออายุ ได้ประมาณ ๖ - ๗ เดือน ส่วนกล้วยน้ำว้า และกล้วยหักมุกใช้เวลานานกว่า และผลจะแก่ในระยะเวลาที่ต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ ๒
ตารางที่ ๒ ระยะเวลาในการเจริญจนถึงเก็บเกี่ยวของผลกล้วยพันธุ์ต่างๆ
พันธุ์ จำนวนสัปดาห์หลังแทงปลี
กล้วยไข่ ๖ - ๘
กล้วยหอม ๑๓ - ๑๕
กล้วยน้ำว้า ๑๔ - ๑๖
กล้วยหักมุก ๑๔ - ๑๖

การให้ผลของกล้วยไข่

การคลุมถุง
ถ้าหากปลูกกล้วยเพื่อการส่งออก ควรทำการคลุมถุง ถุงที่ใช้ควรเป็นถุงพลาสติกสีฟ้าขนาดใหญ่ และยาวกว่าเครือกล้วย เจาะรูเป็นระยะๆ และเปิดปากถุง ทำให้มีอากาศถ่ายเทได้ ถ้าหากไม่เจาะรูและปิดปากถุง อาจทำให้กล้วยเน่าได้

ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง

โดย: xhkck [25 มี.ค. 53 11:51] ( IP A:183.89.121.4 X: ) ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง

ความคิดเห็นที่ 4
   

ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง

โดย: xhkdk [25 มี.ค. 53 11:51] ( IP A:183.89.121.4 X: ) ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง

ความคิดเห็นที่ 5
   

ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง

โดย: ป้กา [25 มี.ค. 53 11:52] ( IP A:183.89.121.4 X: ) ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง

ความคิดเห็นที่ 6
   แหล่งปลูกที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยหอมมีสภาพ พื้นที่เป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดีมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก มีความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกรด-ด่าง 4.5-7.5
เป็นพื้นที่ที่ไม่มีลมแรง หรือเลือกพื้นที่ที่มีแนวกันลม อุณหภูมิเหมาะสมกับการเจริญเติบโต ประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ไม่ควรต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ตามลำต้นด้านนอกมี ประดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อน และมีเส้นลายสีชมพู
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ก้านช่อดอกมีขนใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด
ผล เครือหนึ่งมี 4-6 หวี หวีละ 12-16 ผล ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน
พันธุ์
พันธุ์ที่นิยม คือ กล้วยหอมทอง (AAA Group) ให้ผลผลิตสูง รสชาติดี และผลโต
การปลูก
การเตรียมดิน :
ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุย ไม่มีวัชพืช ถ้ามีวัชพืชมากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่
การเตรียมหลุมปลูก:
- ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 เมตร
- ขนาดหลุมปลูก กว้าง ยาว ลึก 30x30x30 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม
การเตรียมพันธุ์และการปลูก:
- ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช มีความยาวหน่อ 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ
- วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา
- กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
การให้น้ำ:
ต้อง ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก เมื่อหน้าดินแห้งต้องให้น้ำ (โดยเก็บตัวอย่างดินจากผิวดินลึก15 เซนติเมตร กำเป็นก้อน ถ้าแบมือแล้วแตกร่วงควรให้น้ำเพิ่มแก่ต้นกล้วย)
การให้ปุ๋ย:
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง
การแต่งหน่อ:
หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์
การค้ำยันต้น:
ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
การหุ้มเครือ และตัดใบธง:
การ หุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย
โรคที่สำคัญ
โรคตายพราย (Panama disease)
เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. cubense
อาการ:
มัก เป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป ลักษณะอาการของกล้วยที่เพิ่งจะเป็นโรคนี้ สังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากเชื้อของโรคจะทำลายลำต้นด้านรากก่อน และเจริญอย่างรวดเร็วไปตามท่อน้ำของลำต้น อาการในช่วงนี้จะสังเกตเห็นเป็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ ปลายหรือขอบใบจะเริ่มเหลืองและขยายไปอย่างรวดเร็วจะเหลืองหมดทั้งใบ ใบอ่อนจะมีสีเหลืองไหม้หรือตายนึ่ง และบิดเป็นคลื่นในที่สุดจะหักพับตรงบริเวณโคนก้านใบ ส่วนใบยอดอาจจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก แต่ในที่สุดก็จะแห้งตายไปเช่นกัน
อาการที่บริเวณลำต้น โดยเฉพาะตรงส่วนโคนต้นหรือเหล้าของกล้วย เมื่อผ่าดูภายในจะพบแผลเน่าเป็นจุดสีเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่หรือแดงส้ม และมีกลิ่นเหม็น ส่วนบริเวณลำต้นที่เรียกว่า กาบกล้วย เมื่อนำมาตัดขวางจะพบเป็นรอยช้ำ เน่า สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ลามเข้าไปข้างในต้นกล้วยจะยืนต้นแห้งตาย หากเป็นกล้วยที่ให้ผลแล้ว เครือจะเหี่ยวผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ และแก่ก่อนกำหนด เนื้อจะจืดซีดและเปลี่ยนเป็นสีดำ
การป้องกันกำจัด:
- คัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยจากบริเวณที่ไม่เป็นโรคไปปลูก
- มีการปรับสภาพของดินที่เป็นกรดโดยการใส่ปูนขาว อัตราที่ใช้ประมาณไร่ละ 4-5 ตัน
- หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกและเครื่องมือเครื่องใช้อยู่เสมอ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่ กระจายได้ง่าย
- ทำลายต้นกล้วยที่เป็นโรค โดยการสุมไฟเผาหรือขุดหลุมฝังให้ลึกอย่างน้อย 3-4 ฟุต
- หลักเลี่ยงการปลูกในหลุมเดิมที่เคยปลูกมาแล้ว
- ควรลดธาตุไนโตรเจนให้น้อยลง การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากจะทำให
โดย: [0 3] ( IP ) ปลูกกล้วยหอม ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง ให้กำไรดี เผยเทคนิค วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง

ความคิดเห็นที่ 7
   ้พืชอ่อนแอเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
- ทำความสะอาดโคนกอกล้วยอย่าให้เกิดรกรุงรัง และทำทางระบายน้ำให้ดี และราดโคนต้นให้ชุ่มด้วย สารเคมี เช่น แคปแทน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคใบจุด
เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Cecospora musae, Phyllosticma musarum, Guignardia musae ฯลฯ
ลักษณะอาการ:
เมื่อ เริ่มเป็นจะเป็นจุดขนาดเล็ก สีเหลือง สีแดง ดำ หรือน้ำตาลขึ้นอยู่กับเชื้อสาเหตุ แล้วจะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กล้วยชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ผลสุกก่อนกำหนด รสชาติหรือคุณภาพเสียไป
การป้องกันกำจัด:
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เชื้อรา เช่น เบนโนมิล อัตรา 8 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแคปแทน อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น
ตัดใบที่เป็นโรคมากออกมาเผาทำลาย
โรคใบเหี่ยว (Bacterial wilt)
เกิด จากเชื้อบักเตรี Pseudomonas solanacearum จะอยู่ทั้งในดินบริเวณโคนต้นและในส่วนของกล้วยเป็นโรค จะแพร่กระจายไปกับน้ำและติดไปกับหน่อพันธุ์
ลักษณะอาการ:
ใบกล้วยจะ เป็นสีเหลือง เหี่ยวเฉา และอาจห้อยลงมา แต่เมื่อพบเห็นอาการนี้โรคจะอยู่ในระยะรุนแรงมากแล้ว โดยทั่วไปเมื่อโรคเริ่มเป็น จะพบว่าเนื้อเยื่อของกาบลำต้น เหง้า (ลำต้นแท้) ก้านใบ ก้านเครือ มีท่อน้ำท่ออาการถูกทำลาย เป็นสีน้ำตาล เมื่อผ่าออกจะมีของเหลวเหนียวเป็นยางไหลออกมา โรคนี้จะทำให้ต้นกล้วยค่อย ๆ ตายไป ถ้าเป็นในระยะออกเครือจะทำให้ผลอ่อนสุกก่อนกำหนด ขนาดเล็กเท่านิ้วมือปะปนกับผลอ่อนที่ยังเขียวอยู่ เมื่อเป็นในระยะต้นอ่อน ใบจะเป็นสีเหลืองมีขอบใบแห้งอยู่โดยรอบ แคระแกรน ไม่เจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด:
ทำ ความสะอวดเครื่องมือเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ต้องระมัดระวังอย่าใช้มีดที่ตัดแต่งจากกล้วยกอหนึ่งไปยังอีกกอหนึ่ง เพราะจะเพิ่มการระบาดของโรค กล้วยที่เป็นโรคต้องขุดทิ้ง นำไปเผาไฟ แล้วราดหลุมด้วยฟอร์มาลิน 5 เปอร์เซ็นต์
แช่หน่อพันธุ์ปลูกด้วยฟอร์มาลิน 5 เปอร์เซ็นต์
ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ :

ข้อมูลที่มา  www.pantown.com

อัพเดทล่าสุด