มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก มีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ไหม(ศูนย์สุขภาพกรุงเทพ)


1,037 ผู้ชม


วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก มีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ไหม(ศูนย์สุขภาพกรุงเทพ)วัคซีนมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย พบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวจนถึงวัยชรา พบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี โดยมีสถิติของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน มะเร็งปากมดลูกเป็นต้นเหตุทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากกว่าปีละ 270,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 650 คน เมื่อเป็นในระยะเริ่มแรกส่วนมากมักไม่มีอาการ แต่สามารถตรวจพบเซลล์ผิดปกติได้ การตรวจหามะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้ ในระยะเริ่มต้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา และป้องกันไม่ให้กลายเป็นมะเร็งชนิดลุกลามได้ทันท่วงที และสามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ามะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอ ชพีวี (HPV, Human Papilloma Virus) ชนิดความเสี่ยงสูงที่บริเวณปากมดลูก และหากว่ายังคงมีการติดเชื้อในกลุ่มที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งอยู่ต่อไป จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เซลล์บริเวณชั้นผิวของปากมดลูกเกิดความผิดปกติ ชนิดรุนแรง และเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกในที่สุด ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การมีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน การรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 5 ปี จำนวนการตั้งครรภ์และการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม เป็นต้น การสูบบุหรี่ และขาดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การรักษามะเร็งปากมดลูก สามารถแบ่งวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกตามระยะการกระจายของโรคมะเร็งดังนี้ ระยะก่อนมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม สามารถให้การรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ การตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจภายใน การตรวจทางเซลล์วิทยา และการตรวจด้วยกล้องขยายทุก 4-6 เดือน ซึ่งรอยโรคขั้นต่ำบางชนิดสามารถหายได้เองภายใน 1-2 ปี ภายหลังการตัดเนื้อออกตรวจด้วยวิธีต่างๆ เช่น การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น การจี้ด้วยเลเซอร์ การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด ซึ่งรอยโรคในระยะนี้สามารถรักษาให้หายได้โดยไม่จำเป็นต้องตัดมดลูกออก เพราะมีผลการรักษาไม่แตกต่างกัน ส่วนมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้ป่วย ระยะของมะเร็ง และความพร้อมของโรงพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 บางราย สามารถรักษาได้โดยการตัดมดลูกออกแบบกว้างร่วมกับการเลาะน้ำเหลืองบริเวณ เชิงกรานออก ระยะที่ 2 ถึงระยะที่ 4 พิจารณารักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

เชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV)

  1. เชื้อไวรัสเอชพีวีเป็นไวรัส ตระกูลหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญมะเร็งปากมดลูกและปัญหาอื่นๆเช่น หูดที่อวัยวะเพศ หรือเท้า เชื้อไวรัสเอชพีวีพบได้ในคนทั่วไป ประมาณ 8 ใน 10 คน มีโอกาสได้รับเชื้อในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ปัจจุบันพบว่ามีเชื้อไวรัสเอชพีวี 13 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
  2. เชื้อไวรัสเอชพีวียังเป็นสาเหตุของมะเร็งที่อวัยวะเพศ มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งศีรษะและคอ
  3. ไวรัสเอชพีวีชนิดที่ก่อให้เกิด มะเร็งปากมดลูกสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง การติดเชื้อเอชพีวีจะอยู่ไม่นาน ส่วนใหญ่จะหายไปภายใน 12 เดือน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการติดเชื้อแบบเรื้อรังเป็นเวลานานโดยไม่มี อาการแสดงออกที่สังเกตได้
  4. ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษา สำหรับเชื้อไวรัสเอชพีวี แต่มีการรักษาสำหรับการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี ถ้าหากผลการตรวจ Pap และ HPV แสดงว่าเซลล์ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง ควรจะถามถึงทางเลือกในการรักษากับแพทย์เจ้าของไข้ เด็กหญิงและผู้หญิงอายุ 9-26 ปีสามารถป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสเอชพีวีและปากมดลูกที่เปลี่ยนแปลงจาก เชื้อไวรัสเอชพีวีโดยการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
  5. ไม่สามารถตรวจพบไวรัสเอชพีวีได้ โดยตรงในการตรวจตินเพร็พ การตรวจตินเพร็พนั้น พยาธิแพทย์จะตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีนั่น เอง
  6. การตรวจเชื้อไวรัสเอชพีวีด้วย วิธี HPVhc2 (Hybrid Capture 2) เป็นวิธีตรวจทางชีวโมเลกุลที่ตรวจหาไวรัสเอชพีวีได้ ผลการตรวจพบไวรัสเอชพีวีด้วยวิธีนี้มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของ เซลล์ปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม วิธี HPVhc2 ได้รับการรับรองจากสมาคมมะเร็ง และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาให้ใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งปาก มดลูกร่วมกับวิธีตินเพร็พเพียงวิธีเดียวเท่านั้น

มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก มีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ไหม(ศูนย์สุขภาพกรุงเทพ)

ลักษณะของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี

  1. ส่วนใหญ่คนที่ติดเชื้อไวรัสเอ ชพีวีมักไม่มีอาการผิดปกติ วิธีดั้งเดิมที่จะทราบได้ว่ามีเชื้อไวรัสเอชพีวีหรือไม่ คือทดสอบหาไวรัสโดยตรงจากการตรวจ Pap smear หรือการนำเนื้อเยื่อไปตรวจเพิ่มเติมพร้อมกับการทำ Pap smear วิธีบอกว่าการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็ง ปากมดลูกคือการทำ Pap smear การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีอาจจะปรากฏในช่วงเวลาเป็น สัปดาห์ เดือน หรือปีหลังจากได้รับเชื้อครั้งแรก
  2. การทดสอบเชื้อไวรัสเอชพีวีรุ่น ใหม่ๆสามารถค้นหาเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่สามารถก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์มะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทั้ง Pap smear และ HPV test ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การทดสอบเชื้อไวรัสเอชพีวีสามารถช่วยให้เข้าใจผลการตรวจที่ก้ำกึ่งเกี่ยวกับ เซลล์ที่ผิดปกติได้ อย่างไรก็ดีถ้าหากการทำ Pap smear ไม่แสดงภาวะความผิดปกติก่อนมะเร็งที่แน่ชัด การทดสอบ HPV ก็อาจจะไม่จำเป็น
  3. การศึกษาปัจจุบันพบว่าการใช้ถุง ยางอนามัยเป็นประจำจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี แต่เนื่องจากถุงยางอนามัยไม่สามารถปกปิดบริเวณที่เป็นจุดแพร่กระจายของเชื้อ ไวรัสเอชพีวีได้ทั้งหมด จึงไม่อาจให้การป้องกันได้เต็มที่ การใช้ถุงยางอนามัย ในบางครั้งอาจจะไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ ควรตระหนักว่าในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีนั้น ควรจะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะมั่นใจในความสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อื่นๆ เมื่อใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และใช้อย่างถูกวิธี
  4. ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไว รัสเอชพีวี โดยปกติร่างกายสามารถกำจัดได้เองก่อนที่เชื้อไวรัสเอชพีวีจะสร้างปัญหาใดๆ มีผู้หญิงเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดที่ก่อให้เกิด มะเร็ง แล้วร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้ ทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเปลี่ยนแปลงและมีโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ดีขบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 10 ปี
  5. ผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี มีข้อแนะนำให้ตรวจติดตามเฉพาะกรณีที่การตรวจให้ผลการตรวจคลุมเครือเป็นที่ น่าสงสัยว่าอาจมีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ ผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก มีข้อแนะนำให้ตรวจไวรัสเอชพีวีด้วยวิธีที่เรียกว่า "ThinPrep plus HPVhc2" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรกให้ความไว สูงถึงร้อยละ 99-100 จึงจะมั่นใจผลการตรวจได้
  6. ผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป เมื่อมาพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกกรุณาแจ้งแพทย์เพื่อขอตรวจ "ThinPrep plus HPVhc2" แพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูก นำใส่ขวดส่งต่อห้องแล็ปเพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติ และตัวอย่างเซลล์ที่เหลือในขวดน้ำยาสามารถตรวจ HPVhc2 ต่อได้ หากผลการตรวจเป็นลบทั้งคู่ นั่นหมายถึงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อยมาก สามารถเว้นระยะการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 3 ปี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แพทย์แนะนำให้คุณตรวจสุขภาพอื่นๆ ของสตรีเหมือนเคย ทุกๆ ปี เช่น การตรวจภายใน และการตรวจมะเร็งเต้านม หากผลการตรวจเป็นบวกทั้งคู่หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเป็นบวก ยังไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นมะเร็ง แพทย์จะอธิบายเพิ่มเติม และทำการตรวจหารอยโรคด้วยกล้องส่องขยาย หรือการตัดชิ้นเนื้อบริเวณปากมดลูก เพื่อยืนยันและระบุระดับความรุนแรงของความผิดปกติอย่างละเอียดต่อไป

มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก มีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ไหม(ศูนย์สุขภาพกรุงเทพ)

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

  1. แนะนำให้ฉีดวัคซีนมะเร็งปาก มดลูกในเด็กหญิงอายุ 11-12 ปีทุกราย โดยสามารถเริ่มให้วัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี ในทางอุดมคติ ควรเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เนื่องจากวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในเด็กหรือผู้หญิงที่ไม่เคยได้รับการ ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ที่วัคซีนครอบคลุมมาก่อน ดังนั้นเด็กหญิงและผู้หญิงที่ไม่เคยติดเชื้อเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์เต็มที่ จากการฉีดวัคซีน
  2. ผู้หญิงที่อายุ 26 ปีและมีเพศสัมพันธ์อาจได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนน้อยกว่า เนื่องจากผู้หญิงเหล่านี้อาจจะเคยได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวีมาแล้วไม่ว่าจะ เป็นสายพันธุ์เดียวหรือหลายสายพันธุ์ซึ่งเป็นชนิดที่ครอบคลุมโดยวัคซีน
  3. การให้วัคซีนมะเร็งปากมดลูกแนะ นำในเด็กหญิงและผู้หญิงอายุ 13-26 ปีที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน อย่างไรก็ดีการตัดสินใจควรมีการพูดคุยปรึกษาหารือระหว่างแพทย์และผู้รับ บริการถึงความเสี่ยงที่ผู้รับบริการจะเคยได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวีมาก่อนและ ประโยชน์ที่จะได้รับจากวัคซีน
  4. ฉีดวัคซีนที่แขนหรือต้นแขน 3 ครั้ง ในวันแรก เดือนที่สอง และเดือนที่สี่ หลังจากนั้น โดยภูมิคุ้มกันจะเกิดหลังจากได้รับวัคซีนครบทั้งสามเข็ม
  5. วัคซีนมีความปลอดภัยค่อนข้างมาก ไม่พบว่ามีไวรัสที่มีชีวิตเหลืออยู่ในวัคซีน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังฉีดยาคือ มีแดงและเจ็บบริเวณที่ฉีดยา อาการปวดหัวคล้ายกับจะเป็นไข้หวัดก็พบได้ อาจพบมีไข้ได้ อาการปวดและไข้สามารถบรรเทาโดยการให้ยาได้
  6. มะเร็งปากมดลูกมักจะเกิดขึ้นกับ ผู้หญิงในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมะเร็งเหล่านี้อาจทำให้ผู้หญิงเสียความสามารถในการมีบุตรและคุกคามชีวิต ของมารดาที่อายุน้อยได้ ในสตรีส่วนใหญ่จะทราบว่ามีใครที่ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีนั้นพบได้บ่อย การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะสามารถค้นหาคนที่เป็นมีปากมดลูกผิดปกติที่ ยังสามารถรักษาได้ ปัจจุบัน ผู้หญิงจะมีทางเลือกที่สำคัญเพิ่มขึ้นในการป้องกันโดยที่วัคซีนมะเร็งปาก มดลูกจะช่วยป้องกันก้าวแรกของการเกิดมะเร็งปากมดลูก นั่นก็คือการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี การฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำ เสมอ จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ดีขึ้นมากกว่าในอดีต

ประสิทธิภาพของวัคซีน

  1. วัคซีนมะเร็งปากมดลูกมี ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันภาวะเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติที่นำไปสู่ มะเร็งปากมดลูกได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่เคยมีประวัติได้ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมาก่อน เนื่องจากการพัฒนาของเนื่อเยื่อที่ผิดปกติไปเป็นมะเร็งนั้นจะต้องใช้เวลา หลายปี ดังนั้นอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่ากว่าจะพบว่าจำนวนการเกิดผู้ป่วยมะเร็งราย ใหม่ลดลง
  2. วัคซีนมะเร็งปากมดลูกจะมี ประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อฮิวแมนแพบปิลารีไวรัส ถ้าใช้ในกลุ่มคนที่ไม่เคยติดเชื้อฮิวแมนแพบปิลารีไวรัสมาก่อน ที่สำคัญคือวัคซีนไม่สามารถกำจัดเชื้อฮิวแมนแพบปิลารีไวรัส ในกรณีที่มีการติดเชื้อเรื้อรังมาก่อนฉีดได้ ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าระยะเวลาการออกฤทธิ์ของเชื้อฮิวแมนแพบปิลารี ไวรัสจะอยู่ได้นานเท่าไรหรือจำเป็นต้องฉีดซ้ำเมื่อไร และบ่อยเท่าไร แต่เท่าที่มีข้อมูลล่าสุดในปัจจุบันรายงานถึงระยะเวลาที่วัคซีนจะออกฤทธิ์ ต้านเชื้อไวรัสได้นานอย่างน้อย 3-5 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น ในอนาคตการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนอาจจะให้ข้อมูลมากขึ้นว่าภูมิคุ้ม กันของการให้วัคซีนจะลดลงเมื่อไรและจำเป็นต้องฉีดซ้ำเมื่อไร
  3. สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยควร ทราบเกี่ยวกับวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ข้อมูลในปัจจุบันคือวัคซีนมะเร็งปากมดลูกนั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงใน การป้องกันการติดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยควรตระหนักว่าวัคซีนช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีเรื้อรัง แต่ไม่สามารถใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในคนที่มีการติดเชื้อมา ก่อนแล้วได้
  4. ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ระดับแอนติบอดีย์ควรจะสูงเท่าไร จึงจะป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีบางสาบพันธุ์ได้ แต่สังเกตพบว่าระดับแอนติบอดีย์ในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละครั้งที่ ได้รับวัคซีน เนื่องจากระดับแอนติบอดีย์ไม่ลดลงหลังจากหยุดให้วัคซีน ก็น่าจะเป็นได้ว่าการเริ่มต้นด้วยแอนติบอดีย์ระดับสูง จะช่วยป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ยาวนานขึ้นอาจจะเป็นปีหรือหลายสิบปี
  5. วัคซีนมะเร็งปากมดลูกทั้งสอง ชนิดคือ Gardasil และ Cervarix มีประสิทธิภาพในกลุ่มผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วอายุ 26 ปีหรือต่ำกว่าและในกลุ่มนี้บางคนอาจเคยติดเชื้อไวรัสเอชพีวีหนึ่งสายพันธุ์ หรือมากกว่ามาก่อนแล้ว Gardasil และ Cervarix จะป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีจำเพาะบางสายพันธุ์แต่ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่เคย สัมผัสกับสายพันธุ์เหล่านี้มาก่อน ถ้าหากยิ่งมีจำนวนคู่นอนมากเท่าไหร่โอกาสในการติดเชื้อเชื้อไวรัสเอชพีวี หลายสายพันธุ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 18-26 ปีบอกถึงประวัติเพศสัมพันธ์กับแพทย์ เพื่อดูว่าประเมินถึงประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน
  6. วัคซีนมะเร็งปากมดลูกทั้งสอง ชนิดคือ Gardasil และ Cervarix ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นพบได้น้อยมาก

มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก มีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ไหม(ศูนย์สุขภาพกรุงเทพ)

เปรียบเทียบวัคซีนมะเร็งปากมดลูกทสองชนิด Gardasil และ Cervarix

  1. วัคซีน Gardasil มีสายพันธุ์ไวรัสที่ใช้ผลิตอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ HPV type 6, 11 (ป้องกันหูดหงอนไก่) 16, 18 (ป้องกันมะเร็งปากมดลูก) ในขณะที่ Cervarix มี 2 สายพันธุ์คือ HPV type 16, 18
  2. ประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกไม่ต่างกัน
  3. วัคซีน Gardasil ป้องกันหูดหงอนไก่ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย
  4. ราคาในท้องตลาดไม่แตกต่างกันมาก
  5. วัคซีน Gardasil ฉีดเข็มแรก เข็มที่สอง (2 เดือนต่อมา) และเข็มที่สาม (4 เดือนต่อมา) ส่วนวัคซีน Cervarix ฉีดเข็มแรก เข็มที่สอง (1 เดือนต่อมา) และเข็มที่สาม (5 เดือนต่อมา)

วิธีป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก

  1. ผู้หญิงทุกคนต้องมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก และเห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ในการค้นหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นควรตรวจภายในประจำปี และตรวจเซลล์ปากมดลูก
  2. การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ไวรัสเอชพีวีโดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ควรจำกัดจำนวนคู่นอน หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน
  3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การไม่สูบบุหรี่ก็จะช่วยได้เนื่องจากการสูบบุรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึงสองเท่า
  4. หลีกเลี่ยงการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
  5. พบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติ ที่อาจเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว อาการผิดปกติมีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน อาการปวดท้องน้อย หรือเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  6. ปัจจุบันวัคซีนใหม่ที่สามารถ ป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิด 70% ของมะเร็งปากมดลูก หากไม่เคยติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมาก่อนเลย โอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูกก็ค่อนข้างต่ำมาก แต่หนทางเดียวที่จะสามารถป้องกันจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้อย่างแน่นอน คือ การงดมีเพศสัมพันธ์ตลอดชีวิต การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งก็สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้

มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก มีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ไหม(ศูนย์สุขภาพกรุงเทพ)ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ ที่นี่

                                                                              ข้อมูลที่มา  www.bangkokhealth.com

อัพเดทล่าสุด