| มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของมะเร็งในสตรีไทย และพบมากในช่วงอายุ 35-60 ปี |
แต่มะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งด้วยการทำแปปสเมียร์ โดยการเก็บเอา เซลล์เยื่อบุบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยการตรวจภายใน ซึ่งการรักษาจะได้ผลดีมาก หากเป็นมะเร็ง ที่ตรวจพบในระยะแรก |
|
| คือ การติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมาหรือเชื้อเอชพีวี (HPV) บริเวณอวัยวะเพศ | |
โดยเฉพาะที่บริเวณปากมดลูก |
|
| ของมะเร็งปากมดลูก ได้แ่ก่ | |
|
| 1. ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายหญิง ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน ความเสี่ยงสูงขึ้นตามจำนวนคู่นอนที่ |
เพิ่มขึ้น การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การสูบบุหรี่ มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น |
เอดส์ เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น |
|
| 2. ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย เนื่องจากการติดเชื้อเอชพีวี(HPV)ส่วนใหญ่เกิดจากการมี |
ีเพศสัมพันธ์ จึงกล่าวได้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ การมี |
เพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ที่มีเชื้อเอชพีวี (ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ชายจะไม่มีอาการหรือตรวจไม่พบเชื้อ) แม้เพียง |
ครั้งเดียวก็มีโอกาสติด เชื้อเอชพีวีและเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย ได้แก่ สตรี |
ีที่มีคู่นอนเป็นมะเร็งองคชาติ เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
ผ่านประสบการณ์ ทางเพศตั้งแต่อายุน้อยหรือมีคู่นอนหลายคน |
|
| ของมะเร็งปากมดลูก | |
|
| อาการของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ในระยะแรกอาจ |
ไม่มีอาการ ผิดปกติ แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยวิธีแปปสเมียร์ |
อาการที่อาจพบในผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก ได้แก่ |
|
| อาการตกเลืิอดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 – 90 |
ของผู้ป่วย ลักษณะเลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน เลือดออกหลัง |
มีเพศสัมพันธ์ มีน้ำปนเลือด ตกขาวปนเลือด เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน |
|
| อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลัง |
ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น |
|
|
|
|
|
| 4. การตรวจอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การขูดภายในปากมดลูก |
การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด |
|
| มะเร็งปากมดลูก | |
|
| วิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกขึ้นกับระยะของมะเร็ง ความต้องการมีบุตรของผู้ป่วย |
และโรคทางนรีเวช อื่น ๆ ที่เป็นร่วมด้วย |
|
| | การรักษาในระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือระยะ | ก่อนลุกลาม มีวิธีการติดตามและรักษาได้หลายวิธี ได้แ่ก่ | การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น | การจี้ด้วยเลเซอร์ การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด | หลังจากนั้นควรตรวจติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด โดย | การตรวจภายในและทำแปปสเมียร์ หรือตรวจด้วยกล้องขยาย | ทุก 4 – 6 เดือน โดยรอยโรคขั้นต่ำบางชนิดสามารถหายไปได้ | เองภายใน 1 – 2 ปี | | | มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม การเลือกวิธีรักษาขึ้น | ขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย ระยะของมะเร็ง และความพร้อม | ของโรงพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา | | | - มะเร็งในระยะแรก รักษาโดยการตัดมดลูกออกร่วม | กับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกรานออก และจะให้ | การรักษาต่อด้วยรังสีรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีโอกาส | กลับเป็นซ้ำของโรคสูง | | | | - มะเร็งในระยะหลัง รักษาด้วยรังสีรักษา หรือร่วมกับ | | การให้ยาเคมีบำบัด | |
|
|
|
| ผลการรักษามะเร็งปากมดลูกในปัจจุบันได้ผลดีมากขึ้นกว่าในอดีต โดยเฉพาะในระยะก่อน |
ลุกลาม และระยะลุกลามเริ่มแรก โดยในระยะก่อนลุกลามการรักษาได้ผลดีเกือบ100 % |
ดังนั้นการตรวจค้นหา มะเร็งในระยะแรกเริ่มด้วยการตรวจแปปสเมียร์จึงมีความสำคัญมาก |
โดยสตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วควรรับการตรวจภายในทุกคน |
|
| การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจค้นหามะเร็งในระยะแรกด้วยการตรวจแปปสเมียร์ |
| - ไม่ควรมีการตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง |
| - ห้ามสวนล้างภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง |
| - งดการมีเพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับการตรวจภายใน |
| - ไม่ควรเหน็บยาใด ๆ ในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง |
| - ควรมารับการตรวจมะเร็งหลังประจำเดือนหมดแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ไม่มี |
ประจำเดือนแล้วให้มาได้ตามสะดวก |
| |