มะเร็งเต้านม อาการมะเร็งเต้านม รู้ทันมะเร็งเต้านม


1,239 ผู้ชม


โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเซลล์มะเร็งซ ึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านมตัวเอง

มะเร็งคืออะไร

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant

Benign tumor

คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามตัดออกได้และไม่กลับเป็นซ้ำ ไม่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น fibroadenoma, cyst, fibrocystic disease

Malignant tumor

เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

โครงสร้างของเต้านม

มะเร็งเต้านม อาการมะเร็งเต้านม รู้ทันมะเร็งเต้านม

เต้านมประกอบด้วยต่อมน้ำนมประมาณ 15-20 lobe ภายใน lobe ประกอบด้วย lobules และมีถุง bulbs ติดอยู่กับท่อน้ำนมซึ่งจะไปเปิดยังหัวนม nipple ภายในเต้านมยังมีหลอดเลือดและน้ำเหลือง [lymph] ซึ่งจะไปรวมกันยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้[axillary lymph node]

มะเร็งที่พบมากเกิดในท่อน้ำนมเรียก ductal carcinoma เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมักไปตามต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และอาจไปยังกระดูก ตับ ปอด โดยไปทางหลอดเลือด


หากคลำเต้านมตัวเองจะรู้สึกอย่างไร

ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าเต้านมจะประกอบด้วยต่อมน้ำนม 15-20 lobesดังนั้นเมื่อเราคลำก็จะได้ต่อมน้ำนม นอกจากนั้นลักษณะเต้านมก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตาม อายุ ระหว่างรอบเดือน การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร การใช้ยาคุมกำเนิด วัยหมดประจำเดือน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้ลักษณะเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง ท่านต้องคลำจนเกิดความคุ้นเคยว่าอะไรคือปกติ อะไรคือผิดปกติ

จะรูได้อย่างไรว่ามีก้อนที่เต้านม

หากท่านคลำเต้านมเป็นประจำ ท่านจะทราบได้ว่าเต้านมที่ท่านคลำได้ผิดปกติหรือไม่ เพราะหากก่อนหน้านี้ยังคลำไม่ได้แต่เพิ่งคลำก้อนได้แสดงว่ามีก้อนที่เต้านม

หากคลำได้ก้อนที่เต้านมควรปรึกษาแพทย์แผนกใด

ท่านอาจจะปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านหรือแพทย์แผนกผ่าตัดหรือแพทย์ผู้เชี่ยว ชาญเกี่ยวกับมะเร็ง ซึ่งจะต้องนำชิ้นเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง

โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม (Risk Factors)

การค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก

การค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ทำให้การรักษาได้ผลดี คุณสุภาพสตรีมีส่วนร่วมในการค้นหาดังนี้

  1. ตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรจะตรวจอย่างน้อยเดือนละครั้งระยะเวลาเหมาะสมที่จะตรวจคือหลังหมดประจำเดือน
  2. ตรวจเต้านมโดยแพทย์ ควรตรวจตั้งแต่อายู 20 -39 ขึ้นไปโดยตรวจทุก 3 ปี ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีควรตรวจด้วยแพทย์ทุกปี
  3. ตรวจเต้านมโดย Mammographyซึ่งสามารถตรวจพบก่อนเกิดก้อนได้ 2 ปี

การตรวจ mammography เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก แนะนำให้ตรวจทุก1-2 ปีสำหรับผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี สำหรับคุณผู้หญิงที่อายุน้อยกว่านี้หรือมีปัจจัยเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์ว่าจะ ตรวจบ่อยแค่ไหน ผู้ที่ตรวจเต้านมด้วยตัวเองต้องคำนึงถึงเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงขนาด และความตึงตามสภาวะรอบเดือน การตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน และการกินยาคุมกำเนิด แม้ว่าจะตรวจเต้านมด้วยตัวเองควรที่จะได้รับการตรวจด้วยแพทย์หรือ mammography

อาการของมะเร็งเต้านม

มะเร็งในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด เมื่อก้อนโตขึ้นจะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • คลำพบก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้
  • มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านม
  • มีน้ำไหลออกจากหัวนม หรือเจ็บ หัวนมถูกดึงรั้งเข้าในเต้านม
  • ผิวที่เต้านมจะมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม

หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ แม้ว่าอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่มะเร็ง

การวินิจฉัยก้อนที่เต้านม

การวินิจฉัยหาสาเหตุของก้อน แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับก้อน ประวัติครอบครัว ประวัติสุขภาพทั่วไปหลังจากนั้นแพทย์จะตรวจ

  • Palpation แพทย์จะคลำขนาดของก้อน ลักษณะของก้อนแข็งหรือนิ่ม ผิวขรุขระหรือเลียบ ขยับเคลื่อนไหวได้หรือไม่ ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้โตหรือไม่
  • Mammography เป็นข้อมูลเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
  • Ultrasonography เพื่อแยกว่าก้อนนั้นเป็นของแข็งหรือของเหลว

จากข้อมูลดังกล่าวแพทย์จะตัดสินใจว่าจะวางแผนการรักษา แพทย์บางท่านอาจจะทำการตรวจเพิ่มโดยการตรวจ

  • Aspiration ใช้เข็มเจาะดูดเอาน้ำออกและส่งหาเซลล์มะเร็งในกรณีที่ก้อนนั้นเป็นของเหลว
  • Needle biopsy การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อส่งพยาธิวิทยาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง
  • Surgical biopsy เป็นการผ่าตัดเอาก้อนออก และส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

เมื่อแพทย์ตัดสินใจจะผ่าตัดชิ้นเนื้อออกคุณสุภาพสตรีควรจะถามแพทย์ดังนี้

  • คาดว่าผลชิ้นเนื้อเป็นอย่างไร
  • ผ่าตัดนานแค่ไหน ใช้ยาสลบหรือไม่ เจ็บหรือไม่
  • เมื่อไรจะทราบผลชิ้นเนื้อ
  • ถ้าผลเป็นมะเร็งจะรักษากับใครดี

หากผลชิ้นเนื้อนั้นไม่ใช่เนื้อร้าย

โรคที่เป็นสาเหตุของก้อนที่เต้านมชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อยๆได้แก่

  1. Fibrocystic change เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดไม่เป็นมะเร็ง ก้อนนี้เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนทำให้มีถุงน้ำ มักจะมีอาการปวดบริเวณก้อนก่อนมีประจำเดือน มักจะเป็นตอนอายุ 30-50 ปีมักจะเป็นสองข้างของเต้านม มีหลายขนาด ตำแหน่งที่พบคือบริเวณรักแร้ ก้อนนี้ขยับไปมาได้ เมื่อวัยทองก้อนนี้จะหายไป หากเป็นโรคนี้ไม่ต้องรักษา
  2. Fibroadenomas มักจะเกิดในช่วงอายุ 20-40 ปีไม่ปวด ก้อนเคลื่อนไปมา การรักษาผ่าเอาออก
  3. Traumatic fat necrosis เกิดจากการที่เต้านมได้รับการกระแทกและมีเลือดออกในเต้านม มักเกิดในคนที่มีเต้าโต บางครั้งผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัว ไขมันเกิดการอักเสบรวมกันเป็นก้อนซึ่งอาจจะปวดหรือไม่ก็ได้

ก้อนทั้งหมดจะไม่กลายเป็นมะเร็ง

จะทำอย่างไรเมื่อผลชิ้นเนื้อเป็นมะเร็ง

พยาธิแพทย์จะบอกผลชิ้นเนื้อว่ามะเร็งนั้นอยู่เฉพาะที่ยังไม่แพร่กระจาย [ non invasive ] หรือลุกลาม [ invasive] อาจมีการส่งตรวจพิเศษ โดยการทำ hormone receptor test เพื่อช่วยวางแผนการรักษา

หลังจากทราบผลชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็งยังมีเวลาอีกหลายสัปดาห์ที่จะปรึกษาแพทย์ถึงแผนการรักษา ท่านควรถามบางคำถามกับแพทย์ของท่าน

  • ผลชิ้นเนื้อเป็นชนิดไหน และเป็นระยะไหน
  • จะให้พยาธิแพทย์อ่านซ้ำจะได้หรือไม่เพราะอะไร
  • โอกาสที่มะเร็งจะแพร่กระจายมีมากหรือไม่
  • ได้ตรวจ  progesterone  receptor  หรือไม่ผลเป็นอย่างไร
  • จะต้องตรวจอย่างอื่นอีกหรือไม่
  • จะใช้วิธีไหนรักษา
  • ข้อดีของการรักษาแต่ละอย่าง
  • ปัจจัยเสี่ยง และผลข้างเคียงของกางรักษาแต่ละอย่าง
  • มีการรักษาหรือทดลองใหม่ๆที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหรือไม่

วิธีการรักษา

สมัยก่อนจะทำการรักษาโดยการตัดชิ้นเนื้อตรวจดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่หากเป็น มะเร็งก็ตัดเต้านมออก เพราะเชื่อว่าการรอเวลาจะทำให้มะเร็งแพร่กระจาย แต่จากการศึกษาพบว่าการรักษาที่เหมาะสมจะทำ 2 ขั้นตอนโดยการตัดชิ้นเนือออกไปตรวจเป็นบางส่วนหากผลออกมาเป็นมะเร็งจึงค่อย นัดมาผ่าตัดเต้านมออก

  1. การผ่าตัด

ท่านควรดูแลตัวอย่างไรบ้างหากเกิด Lymphedema

  • ยกของหรือกระเป๋าด้วยแขนอีกข้าง
  • ระวังผิวไหม้จากแดดเผา
  • เจาะเลือด วัดความดันโลหิต หรือให้เคมีบำบัด ที่แขนอีกข้าง
  • ห้ามโกนขนรักแร้ ระวังเกิดแผล
  • ถ้าเกิดบาดแผลให้รีบล้างและใส่ยาปฏิชีวนะแล้วรีบปรึกษาแพทย์
  • ให้สวมถุงมือเวลาทำสวนหรือสัมผัสสารเคมีที่ระคายเคือง
  • ห้ามใส่เครื่องประดับแขนข้างขั้น

ก่อนการผ่าตัดควรถามแพทย์ผู้รักษาดังต่อไปนี้

  • จะผ่าตัดชนิดไหน
  • จะเตรียมตัวผ่าตัดอย่างไร
  • จะตัดเต้านมบางส่วนร่วมกับรังสีรักษาได้หรือไม่
  • ต้องตัดต่อมน้ำเหลืองด้วยหรือไม่
  • จะมีแผลเป็นหรือไม่ แผลน่าเกลียดหรือไม่
  • ถ้าจะทำศัลยกรรมตกแต่งจะทำได้หรือไม่
  • จะออกกำลังกายได้หรือไม่
  1. Radiation therapy ใช้รังสีเพื่อฆ่าหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปให้ 5 วันต่อสัปดาห์ติดต่อกัน 5-6 สัปดาห์ บางครั้งอาจให้รังสีรักษา เคมีบำบัด หรือให้ฮอร์โมนก่อนการผ่าตัดเพื่อให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง ง่ายต่อการผ่าตัด
ก่อนรับการรักษาด้วยรังสีรักษาคุณควรรู้อะไรบ้าง
  • จำเป็นต้องให้รังสีรักษาหรือไม่
  • ปัจจัยเสี่ยงหรือผลข้างเคียงของการรักษา
  • จะเริ่มรักษา และสิ้นสุดเมื่อไร
  • จะมีสภาพอย่างไรขณะรักษา
  • จะดูแลตัวเองอย่างไรขณะรักษา
  • สภาพเต้านมจะเป็นอย่างไร
  • โอกาสจะเป็นมะเร็งอีกครั้งมีหรือไม่
  1. Chemotherapy เคมีบำบัด ใช้ยาฆ่ามะเร็งอาจเป็นยาฉีดหรือยากิน มักจะให้ระยะหนึ่งแล้วหยุดจุดประสงค์ของการให้คือ
  • เพื่อป้องกันมะเร็งกลับเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด
  • ลดขนาดของก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัด
  • เพื่อควบคุมโรคในรายที่มะเร็งแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น
  1. Hormone therapy ให้ฮอร์โมนเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจะใช้ในรายที่ให้ผลบวกต่อ estrogen หรือ progesterone receptor
การเลือกวิธีรักษา

การเลือกการรักษาขึ้นกับปัจจัยต่างๆดังนี้

  • อายุ
  • ภาวะประจำเดือน
  • สุขภาพทั่วไป
  • ขนาด
  • ตำแหน่งของก้อน
  • มะเร็งอยู่ในขั้นไหน

การแบ่งความรุนแรงของมะเร็งเต้านม

ผลข้างเคียงของการรักษา
  1. การผ่าตัด
  • เจ็บบริเวณที่ผ่าตัด
  • อาจมีการติดเชื้อ หรือแผลหายช้า
  • การตัดเต้านมไปข้างหนึ่งอาจทำให้เสียสมดุลทำให้ปวดหลัง คอ
  • จะรู้สึกตึงๆหน้าอก แขนข้างที่ผ่าตัดจะมีแรงน้อยลง
  • มีอาการชาแขนข้างที่ผ่าตัด
  • บวมแขนข้างที่ผ่าตัด
  1. รังสีรักษา
  • อ่อนเพลีย
  • ผิวหนังแห้ง แดง เจ็บ คัน
  • ก่อนใช้เครื่องสำอางควรปรึกษาแพทย์
  1. เคมีบำบัด
  • ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย
  • ผมร่วง
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
  • เป็นหมัน
  1. ฮอร์โมน

ยาจะยับยังไม่ให้ร่างกายใช้ฮอร์โมนแต่ไม่ยับยังการสร้างฮอร์โมนดังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการ วูบวาบ ตั้งครรภ์ง่าย คันช่องคลอด น้ำหนักเพิ่ม ตกขาวควรตรวจภายในทุกปีและรายงานแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ

การฟื้นฟูสภาพหลังการผ่าตัด

การคืนสู่สภาพปกติของร่างกายหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับระยะของโรค ชนิดของการผ่าตัด และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ควรทำกายภาพทันทีหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันข้อหัวไหล่ติดยึดและเพื่อเพิ่มกำลังให้กับแขน สำหรับผู้ป่วยที่แขนบวมหลังผ่าตัดแนะนำให้ยกแขนไว้บนหมอนเวลานอน


มาป้องกันมะเร็งเต้านม

ยังไม่มีวิธีแน่นอนในการป้องกันมะเร็ง คุณสามารถป้องกันมะเร็งด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นสมาคมมะเร็งของอเมริกาแนะนำวิธีป้องกันมะเร็งเต้านมดังนี้

  • เปลี่ยนแปลงอาหาร เช่น ลดอาหารเนื้อแดง ลดอาหารมัน งดเกลือ
  • เลือกรับประทานอาหารพวก ผักและผลไม้
  • ควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วน ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 4 ชั่วโมงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้
  • งดเว้นการสูบบุหรี่ และ แอลกอฮอล์
  • ให้เตรียมอาหารและเก็บอาหารอย่างปลอดภัย
                                                                                         ข้อมูลที่มา www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด