คําขวัญวันครู 2554 วันครู 2554 ประวัติวันครู


880 ผู้ชม


ประกาศคณะอนุกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ. ๒๕๕๔
เรื่อง การจัดประกวดคำขวัญวันครู พ.ศ. ๒๕๕๔
------------------------------


ด้วยคณะอนุกรรมการจัดงานวันครู จะจัดประกวดคำขวัญวันครู พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อส่งเสริม ให้เห็นความสำคัญและระลึกถึงพระคุณครู รวมทั้ง เผยแพร่และเชิดชูเกียรติคุณของครู จึงขอเชิญชวน ประชาชน ครู นิสิต นักศึกษา นักเรียน ส่งคำขวัญเข้าประกวดตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้
๑. วัตถุประสงค์
๑.๑ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ ขอถวายพระราชสมัญญานามแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ “พระผู้ทรงเป็นครูของแผ่นดิน”
๑.๒ เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
๑.๓ เพื่อส่งเสริม เชิดชูเกียรติวิชาชีพครู
๑.๔ เพื่อจัดตั้งกองทุนครูของแผ่นดิน
๑.๕ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ความสามัคคี และความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษากับประชาชน ในการพัฒนาการศึกษาของชาติและสังคม
๑.๖ เพื่อธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ
๑.๗ เพื่อส่งเสริมให้ครู นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน เห็นความสำคัญและระลึกถึงพระคุณครู โดยเข้าร่วมกิจกรรมการจัดงานวันครู
๒. คุณสมบัติของผู้ส่งคำขวัญเข้าประกวด
บุคคลทั่วไป ยกเว้นอนุกรรมการจัดการประกวด ฯ
๓. หลักเกณฑ์ของคำขวัญที่ส่งเข้าประกวด
๓.๑ เป็นคำขวัญที่ผู้ส่งเข้าประกวดแต่งขึ้นเอง
๓.๒ เป็นคำคล้องจอง จำนวนไม่เกิน ๑๖ พยางค์ มีคำว่า “ครู” ปรากฏอยู่ด้วย
๓.๓ คำขวัญที่ส่งเข้าประกวดสื่อความหมายไปในทางแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครู และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดประกวด นำไปสู่การปฏิบัติได้
๔. การส่งคำขวัญเข้าประกวด
๔.๑ ส่งคำขวัญเข้าประกวด ได้คนละไม่เกิน ๑ สำนวน พร้อมสำเนา ๑ ชุด โดยระบุ ชื่อ ชื่อสกุล อาชีพ สถานที่ทำงาน สถานที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสาร ( ถ้ามี) อยู่ในกระดาษ แผ่นเดียวกัน
๔.๒ พิมพ์หรือเขียนคำขวัญให้อ่านออกชัดเจน
๔.๓ ส่งด้วยตนเองที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาหรือส่งทางไปรษณีย์จ่าหน้าซองว่า
กลุ่มยกย่องวิชาชีพ สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ถนนนครราชสีมา
เขตดุสิต กรุงเทพ ฯ ๑๐๓๐๐
วงเล็บไว้ที่มุมซองว่า “ประกวดคำขวัญวันครู”

๔.๔ ส่งคำขวัญเข้าประกวดได้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ ในวัน เวลาราชการ หากส่งทางไปรษณีย์ จะถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์ปลายทางวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นสำคัญ
๕. รางวัล
รางวัลมี ๑๓ รางวัล คือ
รางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
รางวัลรองชนะเลิศ ๒ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๗,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย ๑๐ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
๖. การตัดสิน
คำตัดสินของคณะอนุกรรมการ ถือเป็นเด็ดขาดจะอุทธรณ์มิได้
๗. ลิขสิทธิ์คำขวัญที่ได้รับรางวัล
คำขวัญที่ได้รับรางวัลเป็นลิขสิทธิ์ของคุรุสภา คุรุสภาจะนำออกเผยแพร่ตามที่เห็นสมควร
๘. กำหนดวันประกาศผล
คณะอนุกรรมการจัดงานวันครู จะประกาศผลการประกวดคำขวัญวันครูภายในเดือน ธันวาคม ๒๕๕๓
๙. การมอบรางวัล
กำหนดมอบรางวัลในวันครู ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔ ณ หอประชุมคุรุสภา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
ผู้สนใจติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
โทรศัพท์ หมายเลข ๐ ๒๒๘๑ ๔๘๔๓ หรือ www.ksp.or.th  

ประวัติความเป็นมา

          วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู

          ทุก ปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

          พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

          "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควร มีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
Source: www.kapook.com

อัพเดทล่าสุด