โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงคือ บอกสาเหตุและอาการของโรค


1,093 ผู้ชม


ความดันโลหิตสูง : ภัยมืดใกล้ตัวที่น่ารู้จัก
*วิไลวรรณ ตรีถิ่น
……………………………………………………………………...............................................
ความ ดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญมากอย่างหนึ่งของประเทศที่ พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากคนที่เป็นโรคนี้ส่วนมากมักไม่มีอาการหรืออาการแสดงในระยะแรก แต่มักมีอาการหรืออาการแสดงเมื่อโรคเป็นมากหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เกิดขึ้นกับ หัวใจ ตา ไต และสมอง เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาดทำให้มีผลกระทบทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว
ความหมายของความดันโลหิตสูง
ความดัน โลหิตสูง (hypertension)หมายถึงค่าความดันโลหิตตัวบนเท่ากับหรือสูงกว่า 140 มม.ปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับหรือสูงกว่า 90 มม.ปรอท
สำหรับผู้สูงอายุ 50 - 60 ปีขึ้นไปมีความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 45 โดยมีค่าความดันโลหิตตัวบนเท่ากับหรือสูงกว่า 160 มม. ปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับหรือสูงกว่า 95 มม.ปรอท เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสื่อมของหลอดเลือดแดง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงซีสโตลิค (systolic hypertension)
การ วัดความดันโลหิตให้ได้ค่าที่ถูกต้อง ควรวัดเมื่อผู้ถูกวัดได้พักอย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย หรือวัดหลังจากรับประทานอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ อย่างน้อย 30 นาที
อาการของความดันโลหิตสูง
อาการของความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปได้แก่ มีเลือดกำเดาออก ปวดศีรษะโดยเฉพาะในตอนเช้าหลังตื่นนอน มึนงง ตาพร่ามัว
การรักษาความดันโลหิตสูง
การรักษาความดันโลหิตสูงคือการ รักษาให้ความดันโลหิตมีค่าต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับอวัยวะที่สำคัญ คือ หัวใจ ตา ไต และสมอง
การรักษาความดันโลหิตสูง แบ่งใหญ่ ๆ ได้ 2 วิธี คือ
1.การรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่
         1. ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะอ้วน
         2. จำกัดเกลือหรืออาหารรสเค็ม โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการบวม
         3. ออกกำลังกายให้พอเหมาะกับสภาพของร่างกายแต่ละบุคคล อย่าออกกำลังกายมากเกินไป
         4. งดหรือลดการดื่มสุรา ไม่ควรดื่มสุราเกินวันละ 2 ออนซ์ หรือ 60 มล.
         5. ผ่อนคลายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
         6. พักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
2.การรักษาโดยใช้ยา ผู้ป่วยจะได้รับยาลดความดันโลหิตสูงเมื่อการปฎิบัติตนโดยไม่ใช้ยาไม่สามารถ ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ หรือผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมากตั้งแต่ครั้งแรกที่
ได้รับการตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูง
การดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
แนว ทางการดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว การรักษาและยาที่ได้รับ ผลการตรวจทางห้องทดลองและการตรวจพิเศษ อาการและอาการแสดง เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาปัญหาของผู้ป่วยและวางแผนการดูแลอย่างมี ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยมีรายละเอียดดังนี้
การประเมินปัญหา
1. ข้อมูลจาการซักถาม (subjective data) ได้แก่
         1. ประวัติของผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยว กับความดันโลหิตสูง ได้แก่ ประวัติเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต โรคไทรอยด์ เบาหวาน เชื้อชาติ วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย วัยสูงอายุ การตั้งครรภ์ อุปนิสัยในการรับประทานอาหารไขมันและอาหารเค็ม ปัจจัยทางด้านสังคมด้านจิตใจโดยเฉพาะภาวะเครียด ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การออกกำลังกาย ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
         2. ประวัติการได้รับยา คือข้อมูลเกี่ยวกับเคยได้ยาลดความดันโลหิตสูง หรือเคยได้ยาซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมา
         3. ประวัติเกี่ยวกับอาการทั่วๆไป เกี่ยวกับอาการมึนงง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเลือดกำเดาออก
         4. ประวัติเกี่ยวกับการหายใจลำบากเมื่อออกแรง
         5. ประวัติเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่นอาการใจสั่นเมื่อออกแรง
         6. ประวัติเกี่ยวกับการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
         7. ประวัติเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ตาพร่ามัว อาการชา และปวดศีรษะโดยเฉพาะในตอนเช้าหลังตื่นนอน
2 . ข้อมูลจากการตรวจพบ (objective data) ได้แก่
2.1 ค่าความดันโลหิตเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม.ปรอท บวมที่ปลายมือปลายเท้า การเปลี่ยนแปลงที่หลอดเลือด retina เสียงการเต้นของหัวใจผิดปกติ ชีพจรส่วนปลายเบาหรือไม่มี
2.2 กล้ามเนื้อหดเกร็ง
2.3 ผลการตรวจเลือดผิดปกติ สิ่งที่ตรวจหา เช่น electrolyte , BUN, creatinine , glucose , cholesterol , triglyceride เป็นต้น
2.4 ผลการตรวจปัสสาวะผิดปกติ
2.5 ผลการตรวจรังสีทรวงอก พบหัวใจโต หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจ (aorta)ขยายใหญ่ขึ้น
2.6 ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบหัวใจห้องล่างซ้ายขยายใหญ่ขึ้น
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
การวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยทั่วๆไปมีดังนี้
         1. มีความพร่องในการดูแลสุขภาพตนเองเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค ภาวะแทรกซ้อนของโรค ยาและการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสม
         2. วิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการดูแลรักษาโรคความดัน โลหิตสูง (เช่น ผลแทรกซ้อนจากการได้รับยาลดความดันโลหิตในผู้สูงอายุ เป็นต้น )
         3. วิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตประจำวันจากปกติเดิม
         4. มีอาการปวดศีรษะ
         5. มีความผิดปกติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์จากการใช้ยาลดความดันโลหิต
         6. มีปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากภาวะโรคเรื้อรัง / ยาราคาแพง / ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
         7. มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากมีภาวะโรคเรื้อรัง
                   8.    มีปัญหาเกี่ยวกับผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
การพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
การพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปมีดังนี้
         1. แนะนำ ส่งเสริม และดูแลสุขภาพโดยทั่วไป เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้ประชาชนเกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือถ้ามีความดันโลหิตสูงก็มีความรู้เพียงพอที่จะปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะ สม เช่น
               1. ตรวจวัดความดันโลหิตให้แก่ประชาชนที่มาตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบว่ามีความดันโลหิตสูงหรือไม่
               2. ตรวจหาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ
               3. ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงแก่ประชาชน ได้แก่
          o กระตุ้นให้สนใจหาความรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
          o สร้างสุขนิสัยหรือมีพฤติกรรมป้องกันความดันโลหิตสูง ได้แก่
          o อย่าให้อ้วน เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความดันโลหิตสูง ต้องสร้างสุขนิสัยไม่บริโภคมากเกินโดยเฉพาะการรับประทานเนื้อสัตว์ ไขมันอิ่มตัว และอาหารที่มีรสเค็มจัด ผู้บริโภคมังสวิรัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่าผู้บริโภคเนื้อสัตว์ จากการวิจัยพบว่าถ้าคนอ้วนลดน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ความดันโลหิตจะลดลง 2.5 มม.ปรอท
          o ออกกำลังกายให้ถูกต้องเพียงพอโดยสม่ำเสมอ
          o การฝึกจิตไม่ให้เครียดโดยการเจริญสติ เจริญสมาธิ มีความเมตตา ไม่โกรธหรือวู่วาม ช่วยลดการเป็นความดันโลหิตสูงได้
          o งดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัวทำให้หลอดเลือดตีบ
          o งดการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย และเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย
                    2การพยาบาลผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยถึงปานกลางซึ่งคนกลุ่มนี้จะรักษา ตัวที่บ้านด้วยการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับภาวะโรคโดยไม่ต้องใช้ยาหรือใช้ยา ร่วมด้วย
                              2,1 ถ้าได้รับการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาพยาบาลจะให้คำแนะนำการปฏิบัติตนดังกล่าวมา แล้วแนะนำให้มาตรวจร่างกายและวัดความดันโลหิตตามหลักการจัดระดับของความดัน โลหิตสูง แบบ 4 ระดับ (Four stages) ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ ดังนี้
 
      ระดับของ             Systolic (มม.ปรอท)     Diastolic (มม.ปรอท)                               คำ แนะนำ
      ความดันโลหิต
      ปกติ(Normal)                 <130                             <85                        ควรมาพบแพทย์ตรวจร่างกาย ทุก1 ปี
      สูงกว่าปกติ                  130 - 139                      85 - 89                       ควรมาพบแพทย์ตรวจร่างกายทุก 6 เดือน
      (High normal)
      ระดับที่1(Stage1)       140 - 159                      90 - 99                         มาพบแพทย์ทุก 2 เดือน
      ระดับที่2(Stage2)       160 - 179                    100 - 109                       มาพบแพทย์ทุกเดือน
      ระดับที่3(Stage3)       180 - 209                    110 - 119                       มาพบแพทย์ทุกสัปดาห์
      ระดับที่4(Stage4)            >210                            >120                       มาพบแพทย์ทันที
      2.2  ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา พยาบาลต้องอธิบายให้ผู้ป่วยตระหนักถึงการรับประทานยาและมารับยาไปรักษาโดย สม่ำเสมอ เพราะอาจต้องปรับขนาดของยาหรือเปลี่ยนชนิดของยาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในช่วงแรกของการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดพยาธิสภาพมากขึ้นโดยเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ต้องให้ข้อมูลและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลกับผู้ป่วยจนเกินไป
                3.  ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ หรือผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง จะต้องเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจทางห้องทดลองและการตรวจพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest x-ray) เจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่า BUN, creatinine เพื่อประเมินหน้าที่ของไต ตรวจหา cholesterol และtriglyceride เพื่อประเมินการเกิดภาวะตีบตันของหลอดเลือด และการตรวจเพื่อหาสาเหตุของความดันโลหิตสูง ได้แก่ electrolyte ระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจปัสสาวะ
               4. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง มีดังนี้
   1. วัดความดันโลหิตทุก 1-2 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่านี้ตามความจำเป็น
   2. ให้ยาลดความดันโลหิตทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา ซึ่งยาจะลดความดันโลหิตเร็วมาก จึงอาจต้องวัดความดันโลหิตทุก 5 นาที และตรวจวัดสัญญาณชีพเพื่อประเมินการรักษาด้วยยา
   3. ตรวจร่างกาย เน้นระบบประสาท ได้แก่ ประเมินระดับความรู้สึก โดยดูจากขนาดและปฏิกิริยาต่อแสงของรูม่านตา การเคลื่อนไหวของแขน ขา ตรวจปฏิกิริยาตอบสนองของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ ตรวจหัวใจ ปอด และไต เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความดันโลหิตสูงรุนแรง เช่น ปอดบวม (pulmonary edema) หัวใจวาย หัวใจขาดเลือด และไตวาย เป็นต้น
   4. ประเมินอาการปวดศีรษะว่ามีหรือไม่ มีอาการตั้งแต่เมื่อไร อะไรเป็นสาเหตุส่งเสริม เพื่อพิจารณาให้การแก้ไข เช่น แก้ไขภาวะเครียดโดยการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พูดคุย ตอบข้อซักถามด้วยความเต็มใจ จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ วางแผนร่วมกับผู้ป่วยในการดูแลจิตใจให้สงบ ให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดช่วยร่วมวางแผนการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะการช่วยเหลือให้ กำลังใจแก่ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมาก อาจต้องใช้ยากล่อมประสาทตามแผนการรักษา เป็นต้น
               5. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงในระยะเรื้อรัง มีดังนี้
5.1 การควบคุมอาหารเค็ม อาหารไขมัน และอาหารที่ให้พลังงานสูง กล่าวคือ
          o แนะนำให้ผู้ป่วยลดหรืองดรับประทาน อาหารที่มีรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารรสเค็มต่างๆ อาหารกระป๋องซึ่งมักจะมีส่วนผสมของโซเดียม อาหารเคี้ยวกรอบที่มีรสเค็ม หลีกเลี่ยงการใช้สารอาหารและยาที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ ผงชูรส (monosodium glutamate) รวมทั้งเครื่องปรุงรสของบะหมี่สำเร็จรูป ผงกันบูด(sodium benzoate) สารกันเชื้อราในขนมปัง (sodium propionate) สารใส่ไอสครีมให้เหนียว (sodium alginate) ผงฟูในการทำเค็กหรือขนมปัง (sodium bicarbonate) สารใส่ผลไม้กระป๋องให้คงสีธรรมชาติ (sodium sulfite) ยาโซดามินท์ เป็นต้น เกลือ 1 กรัม มีโซเดียม 17.1 มิลลิอีควิวาเลนท์ และเกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2.3 กรัม หรือ 100 มิลลิอีควิวาเลนท์ สำหรับอาหารที่รับประทานประจำวันโดยทั่วไปมีปริมาณเกลือ 10 – 20 กรัม จากปริมาณนี้ เกลือประมาณ 2/3 พบในอาหารตามธรรมชาติ ส่วนอีก 1/3 เป็นเกลือที่เพิ่มขึ้นจากการปรุงอาหาร จากการศึกษาพบว่าถ้าลดปริมาณการบริโภคเกลือจาก 10 กรัม ลงเหลือ 5 กรัมต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ถึง 10 มม.ปรอท
          o ควบคุมอาหารไขมัน โดยใช้น้ำมันพืช น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนลิอิคสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว เป็นต้น แต่ไม่ควรใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาลม์เพราะให้พลังงานสูง ไม่ควรใช้น้ำมันจากสัตว์เพราะเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวมีสารโคเลสเตอรอลสูงชึ่ง ทำให้หลอดเลือดอุดตัน
          o ควบคุมอาหารที่มีพลังงานสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากกะทิ หอยนางรม ไข่แดง อาหารที่มันมาก เช่น ข้าวขาหมู หนังเป็ด หนังไก่ หนังหมู มันกุ้ง มันปู โดยเฉพาะผู้ที่มี cholesterol สูง
5.2 การออกกำลังกาย แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับสภาพหัวใจ หลอดเลือด สภาพร่างกาย และสภาพแวดล้อม เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือแม้แต่การทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องระวังไม่ออกกำลังกายอย่างหักโหมหรือมากเกินไป เช่นการออกกำลังกายจนรู้สึกเหนื่อย การยก ผลัก ดึง แบก เข็น และหลีกเลี่ยงการแข่งขันเพราะทำให้เกิดความเครียด
         จากผลการศึกษาของคนึงนิจและคณะพบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ ระดับไม่รุนแรง ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตนานกว่า 6 เดือน เมื่อให้ออกกำลังกายโดยวิธีขี่จักรยาน เป็นเวลา 10 นาที 3 วัน/สัปดาห์ ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ สามารถลดความดันโลหิตลงจนอยู่ในระดับปกติได้ทั้ง systolic และ diastolic
5.3 แนะนำให้ผู้ป่วยงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบด้วย เพราะนิโคติน (nicotine) ในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัวซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
5.4 แนะนำให้ผู้ป่วยงดดื่มสุรา เพราะแอลกอฮอล์จะเพิ่ม renin หรือ aldosterone ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
5.6 แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงภาวะเครียดซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ควรทำจิตใจให้แจ่มใส หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่นการออกกำลังกาย เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนั่งสมาธิ การพักผ่อนให้เพียงพอโดยเฉพาะการนอนหลับให้สนิท ถ้ามีปัญหาหรือมีความเครียดสูงอาจต้องปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ซึ่งอาจปรึกษาทางโทรศัพท์ก็ได้ หรืออาจใช้เครื่องมือให้ข้อมูลป้อนกลับ(Bio feedback) ข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยทราบกลไกที่เกิดขึ้นในร่างกายได้ด้วยตนเอง จากการวิจัยพบว่าวิธีนี้ช่วยลดความดันโลหิตได้
5.7 แนะนำเกี่ยวกับการรับประทานยา ได้แก่
          o สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดัน โลหิตสูงในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนชนิดของยา ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าช้า ๆ จากนอนเป็นนั่งหรือจากนั่งเป็นยืน ระวังอาการหน้ามืด เป็นลมล้มลง เนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำลงมากหรือเร็วเกินไป ดังนั้นผู้ป่วยควรเริ่มได้รับยาลดความดันโลหิตในขนาดต่ำ ๆ ก่อนในระยะแรก
          o ให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพราะโรคนี้รักษาไม่หายขาด การรักษาอย่างสม่ำเสมอช่วยควบคุมภาวะโรคไม่ให้เป็นมากขึ้นหรือมีภาวะแทรก ซ้อนเกิดขึ้นน้อยหรือช้าที่สุด
          o ไม่ซื้อยามารับประทานเอง การได้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพราะอาจต้องมีการปรับขนาดของยา อาจเปลี่ยนยาเพื่อเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงของยา ควรบอกให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับยาและผลข้างเคียงของยาโดยสังเขป ถ้ามีอาการผิดปกติจากผลข้างเคียงของยาให้ผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเอง
          o ควรไปตรวจตามนัดทุกครั้ง และนำยาที่มีทั้งหมดไปด้วย เพราะผู้ป่วยจะได้ยาตามระดับความรุนแรงของความดันโลหิต
          o ถ้าผู้ป่วยได้รับยาขับปัสสาวะ (diuretic) ในกลุ่ม Thiazide ซึ่งมักจะเป็นยาตัวแรกในการรักษาความดันโลหิตสูง เนื่องจากราคาถูกและมีประสิทธิภาพในการรักษาดี แต่มีผลข้างเคียงทำให้โปแตสเซี่ยมต่ำ และจะต้องระวังมากยิ่งขึ้นถ้าผู้ป่วยได้ยา Digitalis ร่วมด้วย ควรแนะนำให้ผู้ป่วยลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม และรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซี่ยม เช่น ผลไม้ โดยเฉพาะกล้วย ส้ม เป็นต้น
          o ถ้าผู้ป่วยได้รับยาที่ทำให้ง่วงได้ เช่น Clonidine,Methyldopa เป็นต้น ควรแนะนำให้หลีกเลี่ยงการขับรถ การทำงานที่อาจเกิดอันตรายได้จากความง่วง
5.8 แนะนำการวัดความดันโลหิตให้กับผู้ป่วยหรือผู้ดูแล (care giver) เพื่อประเมินผลการรักษาและพยาธิสภาพของผู้ป่วย การวัดความดันโลหิตที่บ้านจะได้ค่าที่เที่ยงตรงมากขึ้นเนื่องจากอยู่ในภาวะ ผ่อนคลายมากกว่า
5.9 อธิบายให้ญาติหรือครอบครัวผู้ป่วยเข้าใจโรคและการดูแลผู้ป่วยตามความเหมาะสม เพื่อให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย
ที่มา

ความดันโลหิตสูง : ภัยมืดใกล้ตัวที่น่ารู้จัก

*วิไลวรรณ ตรีถิ่น

……………………………………………………………………...............................................

ความ ดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญมากอย่างหนึ่งของประเทศที่ พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากคนที่เป็นโรคนี้ส่วนมากมักไม่มีอาการหรืออาการแสดงในระยะแรก แต่มักมีอาการหรืออาการแสดงเมื่อโรคเป็นมากหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เกิดขึ้นกับ หัวใจ ตา ไต และสมอง เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาดทำให้มีผลกระทบทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว

ความหมายของความดันโลหิตสูง

ความดัน โลหิตสูง (hypertension)หมายถึงค่าความดันโลหิตตัวบนเท่ากับหรือสูงกว่า 140 มม.ปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับหรือสูงกว่า 90 มม.ปรอท

สำหรับผู้สูงอายุ 50 - 60 ปีขึ้นไปมีความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 45 โดยมีค่าความดันโลหิตตัวบนเท่ากับหรือสูงกว่า 160 มม. ปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับหรือสูงกว่า 95 มม.ปรอท เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสื่อมของหลอดเลือดแดง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงซีสโตลิค (systolic hypertension)

การ วัดความดันโลหิตให้ได้ค่าที่ถูกต้อง ควรวัดเมื่อผู้ถูกวัดได้พักอย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย หรือวัดหลังจากรับประทานอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ อย่างน้อย 30 นาที

อาการของความดันโลหิตสูง

อาการของความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปได้แก่ มีเลือดกำเดาออก ปวดศีรษะโดยเฉพาะในตอนเช้าหลังตื่นนอน มึนงง ตาพร่ามัว

การรักษาความดันโลหิตสูง

การรักษาความดันโลหิตสูงคือการ รักษาให้ความดันโลหิตมีค่าต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับอวัยวะที่สำคัญ คือ หัวใจ ตา ไต และสมอง

การรักษาความดันโลหิตสูง แบ่งใหญ่ ๆ ได้ 2 วิธี คือ

1.การรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่

  1.  
    1. ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะอ้วน
    2. จำกัดเกลือหรืออาหารรสเค็ม โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการบวม
    3. ออกกำลังกายให้พอเหมาะกับสภาพของร่างกายแต่ละบุคคล อย่าออกกำลังกายมากเกินไป
    4. งดหรือลดการดื่มสุรา ไม่ควรดื่มสุราเกินวันละ 2 ออนซ์ หรือ 60 มล.
    5. ผ่อนคลายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
    6. พักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

2.การรักษาโดยใช้ยา ผู้ป่วยจะได้รับยาลดความดันโลหิตสูงเมื่อการปฎิบัติตนโดยไม่ใช้ยาไม่สามารถ ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ หรือผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมากตั้งแต่ครั้งแรกที่

ได้รับการตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูง

การดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

แนว ทางการดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว การรักษาและยาที่ได้รับ ผลการตรวจทางห้องทดลองและการตรวจพิเศษ อาการและอาการแสดง เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาปัญหาของผู้ป่วยและวางแผนการดูแลอย่างมี ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยมีรายละเอียดดังนี้

การประเมินปัญหา

1. ข้อมูลจาการซักถาม (subjective data) ได้แก่

  1.  
    1. ประวัติของผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยว กับความดันโลหิตสูง ได้แก่ ประวัติเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต โรคไทรอยด์ เบาหวาน เชื้อชาติ วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย วัยสูงอายุ การตั้งครรภ์ อุปนิสัยในการรับประทานอาหารไขมันและอาหารเค็ม ปัจจัยทางด้านสังคมด้านจิตใจโดยเฉพาะภาวะเครียด ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การออกกำลังกาย ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
    2. ประวัติการได้รับยา คือข้อมูลเกี่ยวกับเคยได้ยาลดความดันโลหิตสูง หรือเคยได้ยาซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมา
    3. ประวัติเกี่ยวกับอาการทั่วๆไป เกี่ยวกับอาการมึนงง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเลือดกำเดาออก
    4. ประวัติเกี่ยวกับการหายใจลำบากเมื่อออกแรง
    5. ประวัติเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่นอาการใจสั่นเมื่อออกแรง
    6. ประวัติเกี่ยวกับการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
    7. ประวัติเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ตาพร่ามัว อาการชา และปวดศีรษะโดยเฉพาะในตอนเช้าหลังตื่นนอน

2 . ข้อมูลจากการตรวจพบ (objective data) ได้แก่

2.1 ค่าความดันโลหิตเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม.ปรอท บวมที่ปลายมือปลายเท้า การเปลี่ยนแปลงที่หลอดเลือด retina เสียงการเต้นของหัวใจผิดปกติ ชีพจรส่วนปลายเบาหรือไม่มี

2.2 กล้ามเนื้อหดเกร็ง

2.3 ผลการตรวจเลือดผิดปกติ สิ่งที่ตรวจหา เช่น electrolyte , BUN, creatinine , glucose , cholesterol , triglyceride เป็นต้น

2.4 ผลการตรวจปัสสาวะผิดปกติ

2.5 ผลการตรวจรังสีทรวงอก พบหัวใจโต หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจ (aorta)ขยายใหญ่ขึ้น

2.6 ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบหัวใจห้องล่างซ้ายขยายใหญ่ขึ้น

การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)

การวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยทั่วๆไปมีดังนี้

  1.  
    1. มีความพร่องในการดูแลสุขภาพตนเองเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค ภาวะแทรกซ้อนของโรค ยาและการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสม
    2. วิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการดูแลรักษาโรคความดัน โลหิตสูง (เช่น ผลแทรกซ้อนจากการได้รับยาลดความดันโลหิตในผู้สูงอายุ เป็นต้น )
    3. วิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตประจำวันจากปกติเดิม
    4. มีอาการปวดศีรษะ
    5. มีความผิดปกติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์จากการใช้ยาลดความดันโลหิต
    6. มีปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากภาวะโรคเรื้อรัง / ยาราคาแพง / ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
    7. มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากมีภาวะโรคเรื้อรัง

                   8.    มีปัญหาเกี่ยวกับผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

การพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

การพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปมีดังนี้

  1.  
    1. แนะนำ ส่งเสริม และดูแลสุขภาพโดยทั่วไป เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้ประชาชนเกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือถ้ามีความดันโลหิตสูงก็มีความรู้เพียงพอที่จะปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะ สม เช่น
      1. ตรวจวัดความดันโลหิตให้แก่ประชาชนที่มาตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบว่ามีความดันโลหิตสูงหรือไม่
      2. ตรวจหาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ
      3. ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงแก่ประชาชน ได้แก่
  •  
    • กระตุ้นให้สนใจหาความรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
    • สร้างสุขนิสัยหรือมีพฤติกรรมป้องกันความดันโลหิตสูง ได้แก่
  •  
    • อย่าให้อ้วน เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความดันโลหิตสูง ต้องสร้างสุขนิสัยไม่บริโภคมากเกินโดยเฉพาะการรับประทานเนื้อสัตว์ ไขมันอิ่มตัว และอาหารที่มีรสเค็มจัด ผู้บริโภคมังสวิรัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่าผู้บริโภคเนื้อสัตว์ จากการวิจัยพบว่าถ้าคนอ้วนลดน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ความดันโลหิตจะลดลง 2.5 มม.ปรอท
  •  
    • ออกกำลังกายให้ถูกต้องเพียงพอโดยสม่ำเสมอ
    • การฝึกจิตไม่ให้เครียดโดยการเจริญสติ เจริญสมาธิ มีความเมตตา ไม่โกรธหรือวู่วาม ช่วยลดการเป็นความดันโลหิตสูงได้
  •  
    • งดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัวทำให้หลอดเลือดตีบ
    • งดการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย และเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย

                    2การพยาบาลผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยถึงปานกลางซึ่งคนกลุ่มนี้จะรักษา ตัวที่บ้านด้วยการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับภาวะโรคโดยไม่ต้องใช้ยาหรือใช้ยา ร่วมด้วย

                              2,1 ถ้าได้รับการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาพยาบาลจะให้คำแนะนำการปฏิบัติตนดังกล่าวมา แล้วแนะนำให้มาตรวจร่างกายและวัดความดันโลหิตตามหลักการจัดระดับของความดัน โลหิตสูง แบบ 4 ระดับ (Four stages) ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ ดังนี้

 

    ระดับของ             Systolic (มม.ปรอท)     Diastolic (มม.ปรอท)                               คำ แนะนำ

    ความดันโลหิต

    ปกติ(Normal)                 <130                             <85                            ควรมาพบแพทย์ตรวจร่างกาย ทุก1 ปี

    สูงกว่าปกติ                  130 - 139                      85 - 89                          ควรมาพบแพทย์ตรวจร่างกายทุก 6 เดือน

    (High normal)

    ระดับที่1(Stage1)       140 - 159                      90 - 99                          มาพบแพทย์ทุก 2 เดือน

    ระดับที่2(Stage2)       160 - 179                    100 - 109                       มาพบแพทย์ทุกเดือน

    ระดับที่3(Stage3)       180 - 209                    110 - 119                       มาพบแพทย์ทุกสัปดาห์

    ระดับที่4(Stage4)            >210                            >120                         มาพบแพทย์ทันที

    2.2  ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา พยาบาลต้องอธิบายให้ผู้ป่วยตระหนักถึงการรับประทานยาและมารับยาไปรักษาโดย สม่ำเสมอ เพราะอาจต้องปรับขนาดของยาหรือเปลี่ยนชนิดของยาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในช่วงแรกของการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดพยาธิสภาพมากขึ้นโดยเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ต้องให้ข้อมูลและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลกับผู้ป่วยจนเกินไป

                3.  ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ หรือผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง จะต้องเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจทางห้องทดลองและการตรวจพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest x-ray) เจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่า BUN, creatinine เพื่อประเมินหน้าที่ของไต ตรวจหา cholesterol และtriglyceride เพื่อประเมินการเกิดภาวะตีบตันของหลอดเลือด และการตรวจเพื่อหาสาเหตุของความดันโลหิตสูง ได้แก่ electrolyte ระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจปัสสาวะ

               4. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง มีดังนี้

  1. วัดความดันโลหิตทุก 1-2 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่านี้ตามความจำเป็น
  2. ให้ยาลดความดันโลหิตทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา ซึ่งยาจะลดความดันโลหิตเร็วมาก จึงอาจต้องวัดความดันโลหิตทุก 5 นาที และตรวจวัดสัญญาณชีพเพื่อประเมินการรักษาด้วยยา
  3. ตรวจร่างกาย เน้นระบบประสาท ได้แก่ ประเมินระดับความรู้สึก โดยดูจากขนาดและปฏิกิริยาต่อแสงของรูม่านตา การเคลื่อนไหวของแขน ขา ตรวจปฏิกิริยาตอบสนองของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ ตรวจหัวใจ ปอด และไต เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความดันโลหิตสูงรุนแรง เช่น ปอดบวม (pulmonary edema) หัวใจวาย หัวใจขาดเลือด และไตวาย เป็นต้น
  4. ประเมินอาการปวดศีรษะว่ามีหรือไม่ มีอาการตั้งแต่เมื่อไร อะไรเป็นสาเหตุส่งเสริม เพื่อพิจารณาให้การแก้ไข เช่น แก้ไขภาวะเครียดโดยการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พูดคุย ตอบข้อซักถามด้วยความเต็มใจ จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ วางแผนร่วมกับผู้ป่วยในการดูแลจิตใจให้สงบ ให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดช่วยร่วมวางแผนการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะการช่วยเหลือให้ กำลังใจแก่ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมาก อาจต้องใช้ยากล่อมประสาทตามแผนการรักษา เป็นต้น

               5. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงในระยะเรื้อรัง มีดังนี้

5.1 การควบคุมอาหารเค็ม อาหารไขมัน และอาหารที่ให้พลังงานสูง กล่าวคือ

  •  
    • แนะนำให้ผู้ป่วยลดหรืองดรับประทาน อาหารที่มีรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารรสเค็มต่างๆ อาหารกระป๋องซึ่งมักจะมีส่วนผสมของโซเดียม อาหารเคี้ยวกรอบที่มีรสเค็ม หลีกเลี่ยงการใช้สารอาหารและยาที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ ผงชูรส (monosodium glutamate) รวมทั้งเครื่องปรุงรสของบะหมี่สำเร็จรูป ผงกันบูด(sodium benzoate) สารกันเชื้อราในขนมปัง (sodium propionate) สารใส่ไอสครีมให้เหนียว (sodium alginate) ผงฟูในการทำเค็กหรือขนมปัง (sodium bicarbonate) สารใส่ผลไม้กระป๋องให้คงสีธรรมชาติ (sodium sulfite) ยาโซดามินท์ เป็นต้น เกลือ 1 กรัม มีโซเดียม 17.1 มิลลิอีควิวาเลนท์ และเกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2.3 กรัม หรือ 100 มิลลิอีควิวาเลนท์ สำหรับอาหารที่รับประทานประจำวันโดยทั่วไปมีปริมาณเกลือ 10 – 20 กรัม จากปริมาณนี้ เกลือประมาณ 2/3 พบในอาหารตามธรรมชาติ ส่วนอีก 1/3 เป็นเกลือที่เพิ่มขึ้นจากการปรุงอาหาร จากการศึกษาพบว่าถ้าลดปริมาณการบริโภคเกลือจาก 10 กรัม ลงเหลือ 5 กรัมต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ถึง 10 มม.ปรอท
    • ควบคุมอาหารไขมัน โดยใช้น้ำมันพืช น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนลิอิคสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว เป็นต้น แต่ไม่ควรใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาลม์เพราะให้พลังงานสูง ไม่ควรใช้น้ำมันจากสัตว์เพราะเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวมีสารโคเลสเตอรอลสูงชึ่ง ทำให้หลอดเลือดอุดตัน
    • ควบคุมอาหารที่มีพลังงานสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากกะทิ หอยนางรม ไข่แดง อาหารที่มันมาก เช่น ข้าวขาหมู หนังเป็ด หนังไก่ หนังหมู มันกุ้ง มันปู โดยเฉพาะผู้ที่มี cholesterol สูง

5.2 การออกกำลังกาย แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับสภาพหัวใจ หลอดเลือด สภาพร่างกาย และสภาพแวดล้อม เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือแม้แต่การทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องระวังไม่ออกกำลังกายอย่างหักโหมหรือมากเกินไป เช่นการออกกำลังกายจนรู้สึกเหนื่อย การยก ผลัก ดึง แบก เข็น และหลีกเลี่ยงการแข่งขันเพราะทำให้เกิดความเครียด

         จากผลการศึกษาของคนึงนิจและคณะพบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ ระดับไม่รุนแรง ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตนานกว่า 6 เดือน เมื่อให้ออกกำลังกายโดยวิธีขี่จักรยาน เป็นเวลา 10 นาที 3 วัน/สัปดาห์ ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ สามารถลดความดันโลหิตลงจนอยู่ในระดับปกติได้ทั้ง systolic และ diastolic

5.3 แนะนำให้ผู้ป่วยงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบด้วย เพราะนิโคติน (nicotine) ในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัวซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

5.4 แนะนำให้ผู้ป่วยงดดื่มสุรา เพราะแอลกอฮอล์จะเพิ่ม renin หรือ aldosterone ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

5.6 แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงภาวะเครียดซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ควรทำจิตใจให้แจ่มใส หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่นการออกกำลังกาย เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนั่งสมาธิ การพักผ่อนให้เพียงพอโดยเฉพาะการนอนหลับให้สนิท ถ้ามีปัญหาหรือมีความเครียดสูงอาจต้องปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ซึ่งอาจปรึกษาทางโทรศัพท์ก็ได้ หรืออาจใช้เครื่องมือให้ข้อมูลป้อนกลับ(Bio feedback) ข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยทราบกลไกที่เกิดขึ้นในร่างกายได้ด้วยตนเอง จากการวิจัยพบว่าวิธีนี้ช่วยลดความดันโลหิตได้

5.7 แนะนำเกี่ยวกับการรับประทานยา ได้แก่

  •  
    • สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดัน โลหิตสูงในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนชนิดของยา ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าช้า ๆ จากนอนเป็นนั่งหรือจากนั่งเป็นยืน ระวังอาการหน้ามืด เป็นลมล้มลง เนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำลงมากหรือเร็วเกินไป ดังนั้นผู้ป่วยควรเริ่มได้รับยาลดความดันโลหิตในขนาดต่ำ ๆ ก่อนในระยะแรก
    • ให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพราะโรคนี้รักษาไม่หายขาด การรักษาอย่างสม่ำเสมอช่วยควบคุมภาวะโรคไม่ให้เป็นมากขึ้นหรือมีภาวะแทรก ซ้อนเกิดขึ้นน้อยหรือช้าที่สุด
    • ไม่ซื้อยามารับประทานเอง การได้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพราะอาจต้องมีการปรับขนาดของยา อาจเปลี่ยนยาเพื่อเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงของยา ควรบอกให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับยาและผลข้างเคียงของยาโดยสังเขป ถ้ามีอาการผิดปกติจากผลข้างเคียงของยาให้ผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเอง
    • ควรไปตรวจตามนัดทุกครั้ง และนำยาที่มีทั้งหมดไปด้วย เพราะผู้ป่วยจะได้ยาตามระดับความรุนแรงของความดันโลหิต
    • ถ้าผู้ป่วยได้รับยาขับปัสสาวะ (diuretic) ในกลุ่ม Thiazide ซึ่งมักจะเป็นยาตัวแรกในการรักษาความดันโลหิตสูง เนื่องจากราคาถูกและมีประสิทธิภาพในการรักษาดี แต่มีผลข้างเคียงทำให้โปแตสเซี่ยมต่ำ และจะต้องระวังมากยิ่งขึ้นถ้าผู้ป่วยได้ยา Digitalis ร่วมด้วย ควรแนะนำให้ผู้ป่วยลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม และรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซี่ยม เช่น ผลไม้ โดยเฉพาะกล้วย ส้ม เป็นต้น
    • ถ้าผู้ป่วยได้รับยาที่ทำให้ง่วงได้ เช่น Clonidine,Methyldopa เป็นต้น ควรแนะนำให้หลีกเลี่ยงการขับรถ การทำงานที่อาจเกิดอันตรายได้จากความง่วง

5.8 แนะนำการวัดความดันโลหิตให้กับผู้ป่วยหรือผู้ดูแล (care giver) เพื่อประเมินผลการรักษาและพยาธิสภาพของผู้ป่วย การวัดความดันโลหิตที่บ้านจะได้ค่าที่เที่ยงตรงมากขึ้นเนื่องจากอยู่ในภาวะ ผ่อนคลายมากกว่า

5.9 อธิบายให้ญาติหรือครอบครัวผู้ป่วยเข้าใจโรคและการดูแลผู้ป่วยตามความเหมาะสม เพื่อให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย

อัพเดทล่าสุด