การเจริญเติบโตในสายอาชีพ (Career Path) ไม่จำเป็นต้องขึ้นสู่ยอดเสมอไป


1,095 ผู้ชม


การเจริญเติบโตในสายอาชีพ (Career Path) ไม่จำเป็นต้องขึ้นสู่ยอดเสมอไป

ไปเจอบทความภาคภาษาอังกฤษซึ่งอ่านแล้วรู้สึกชอบแถมในบทความยังมีลายมือเขียนไว้เป็นภาษาอังกฤษว่า Up is not the only way"จึงอย่างนำมาแบ่งปันกันครับ ผมได้บทความนี้หลังจากย้ายงานจากวิศวกรในโรงงานมาทำหน้าที่ผู้ดูแลระบบการจัดการความรู้ในองค์การสังกัดแผนกพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ทั้งๆที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาสายนี้ และไม่นึกว่าจะมาทำงานด้านนี้มาก่อน แต่ก็รู้สึกชีวิตมีรสชาดไปอีกแบบครับ

ความก้าวหน้าตามสายอาชีพ(Career Path)

ความเข้าใจในทางเลือกแต่ละแบบ (Understanding the Options)

เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่เราทุกคนเมื่อก้าวเข้าสู่อาชีพ ต่างก็มุ่งหวังการเจริญเติบโตก้าวหน้าไปตามหนทางสายอาชีพของตนเอง คนมาจากสายบัญชี การเงิน ก็เล็งเป้าหมายที่จะมีตำแหน่งที่สูงขึ้นเช่น ตำแหน่ง ผู้บริหารสูงสุดทางด้านการเงินของบริษัท(Chief Financial Officer:CFO) เฉกเช่นเดียวกับวิศวกรที่มุ่งหวังจะเป็นผู้จัดการโรงงาน(Plant Manager)เป็นต้น
แต่ท่านทราบหรือไม่การเติบโตในทิศทางมีลำดับสูงขึ้นไม่ได้เป็นเพียงหนทางเดียวในการเจริญเติบโตในสายอาชีพ(Up is not the only way) ยังมีเส้นทางที่แตกต่างเพื่อให้เราสามารถเรียนรู้และถือเป็นการเติบโตในองค์การได้ด้วยเช่นเดียวกัน

Moving Acrossคือการเปลี่ยนตำแหน่งในองค์การแต่ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถานะหรือระดับตำแหน่งรวมถึงค่าตอบแทนยังอยู่ในระดับเดิม ผลที่เกิดขึ้นจากย้ายตำปหน่งด้านข้างแบบนี้ทำให้เราได้เรียนรู้หน้าที่ในตำแหน่งใหม่ที่ ทำให้เกิดความรู้กว้างขึ้น มีมุมมองที่ใหญ่ขึ้น และบางทีอาจจะเป็นประโยชน์ต่อเราในอนาคตก็เป็นได้ และเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนประสบการณ์
ต้องการความท้าทายได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ พบเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ ไม่ต้องการภาระรับผิดชอบเพิ่มเติม  รวมถึงอาจจะข้ามสายงานไปยังสายที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วก็เป็นได้

Growing in the place คือการขยายความรับผิดชอบจากความรับผิดชอบเดิมที่มีอยู่เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์โดยเพิ่มทักษะ การเติบโตแบบนี้น่าจะเป็นทางเลือกเสริมเข้าไปกับงานที่รับผิดชอบอยู่ ซึ่งจะทำให้แสดงความสามารภได้เพิ่มขึ้นนั่นเอง

Moving Up คือการปรับระดับ เลื่อนตำแหน่ง คนส่วนใหญ่จะรู้จักการเติบดตประเภทนี้มากที่สุด การเติบโตแบบนี้คือการปรับตำแหน่งขึ้น 1- 2 ระดับจากตำแหน่งเดิมซึ่งที่มาโดยส่วนใหญ่คือการตอบแทนผลการทำงานที่ดีมาก มีผลงานเด่นชัดและแสดงออกให้ผู้บริเห็นศักยภาพที่จะสามารถทำงานหรือรับผิดชอบได้มากขึ้น และตรงกับความต้องการของหน่วยงานที่ต้องการตำแหน่งนั้นๆ

Looking Around ลักษณะการเติบโตแบบนี้มาจากคำถามพื้นฐาน2-3คือ เราจะทำอะไรให้องค์การได้อีก เราจะไปยืนที่ใดในองค์การ เป็นต้น เพื่อหาที่ว่างที่ตนเองคิดว่าจะทำประโยชน์ได้มากที่สุดเพื่อให้เกิดคุณค่าทั้งแก่ตัวเองและองค์การ

Moving Down การปรับปเลี่ยนหน้าที่แบบถ้าจะพออธิบายได้เช่น ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งถูกปรับให้ทำหน้าที่สายบริหารแต่อาจไม่ถนัดทำให้ต้องปรับกลับไปอยู่ตำแหน่งเดิม ซึ่งในประเทศไทยมีตำแหน่งทางด้านสายผู้เชี่ยวชาญน้อยมักไม่ค่อยได้พบเห็นเท่าใดนักเนื่องจากประเทศเราไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เคยได้ยินเรื่องเหล่านี้ก็อาจจะพอนึกภาพได้เช่น
วิศวกรที่ทำหน้าที่เดิมจนเป็นวิศวกรอาวุโส ไม่ได้เติบโตเป็นผู้จัดการเสียที ก็จะถูกเพื่อนร่วมรุ่นมองด้วยสายตาแปลกๆ เนื่องจากค่านิยมในประเทศเรา หากทำงานไปได้ซักพักไม่ได้เป็นผู้จัดการแสดงว่าคนนั้นไม่มีความสามารถซึ่ง เป็นเรื่องที่ไม่จริงเสมอไป วิศวกรที่เก่งอาจไม่ใช่ผู้จัดการที่ดีก็เป็นได้ ดังนั้นการปรับย้านในลักษณะแบบนี้จึงอาจพบได้ในสภาวะที่องค์การต้องการปรับเปลี่ยนใหญ่
และไม่ได้แปลว่าการลดลงของตำแหน่งนั้นเป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป จำไว้ว่าถอยหนึ่งก้าวเพื่อก้าวที่ยาวกว่าสามเก้า

Moving Out คือการปรับเปลี่ยนโยกย้ายไประหว่างฝ่าย ระหว่างแผนกหรือย้ายข้ามองค์การไปยังเครือข่ายอื่นๆขององค์การ ส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นไปได้ที่ตำแหน่งงานนั้นไม่จำเป็นอีกต่อไปหรือสมรรถนะของผู้นั้นอาจไม่เหมาะกับตำแหน่ง เช่นย้ายจากสาขา ไปสู่สำนักงานภาค ย้ายจากสำนักงานภูมิภาคไปดำรงตำแหน่งประจำสาขาเป็นต้น

ดังนั้นการเติบโตในหน้าที่การงานจึงไม่จำเป็นต้องขึ้นสู่ยอดตลอดว่าขึ้นอยุ่กับสถานการณ์และความเหมาะสมต่างหาก ซึ่งอาจทำให้เรามีทัศนคติที่เปลี่ยนไป มองจากมุมใหม่ๆ ไม่ยึดติดกับกรอบเดิม เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้


www.oknation.net/

อัพเดทล่าสุด