การป้องกันและรักษาอาการ นิ้วล็อก


802 ผู้ชม


การป้องกันและรักษาอาการ นิ้วล็อก

นิ้ว ล็อก หมายถึง อาการที่งอข้อนิ้วมือ  แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก  เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายใดๆ   เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้
ชื่อภาษาไทย นิ้วล็อก, ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ
ชื่อภาษาอังกฤษ Trigger finger, Digital flexer  tenosynvitis,  Stenosing tenosynvits
สาเหตุ
เกิด จากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณโคนนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น และติดขัดในการเคลื่อนไหวขณะเหยียดนิ้วมือ เมื่ออักเสบรุนแรงมากขึ้นจะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็น เวลางอนิ้วมือปุ่มจะอยู่นอกปลอกหุ้ม แต่ไม่สามารถเคลื่อนเข้าปลอกหุ้มเวลาเหยียดนิ้วมือกลับไป  ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกอยู่ในท่างอ ต้องออกแรงช่วยใน การเหยียด จึงจะสามารถฝืนให้ปุ่มเคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเข้าไปได้
การอักเสบของ เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือมักเกิดจากแรงกดหรือเสียดสีของเส้นเอ็นซ้ำ ซาก หรือใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่น การใช้มือหยิบจับอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน ทำสวน ขุดดิน  เล่นกีฬา เล่นดนตรี  เป็นต้น โรคนี้จึงพบบ่อยในกลุ่มแม่บ้าน เลขานุการที่พิมพ์ดีดบ่อยๆ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา (เช่น กอล์ฟ เทนนิส)  หรือเล่นดนตรี (เช่น ไวโอลิน) นอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์  เบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์
 
อาการ
ระยะ แรกมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักหนึ่งก็จะกำมือได้ดีขึ้น บางคนจะสังเกตว่าเวลางอแล้วเหยียดนิ้วมือจะได้ยินเสียงดังกิ๊ก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือ เวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน นิ้วที่เป็นบ่อยได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง และนิ้วนาง อาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ และอาจเป็นที่มือข้างเดียวหรือทั้ง ๒ ข้างก็ได้อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า
การแยกโรค
อาการ นิ้วงอ เหยียดขึ้นไม่ได้ อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เส้นเอ็นนิ้วมือฉีกขาดจากการบาดเจ็บ (ซึ่งมักเกิดขึ้นฉับพลันหลังได้รับบาดเจ็บ) การดึงรั้งของพังผืด  (เช่น ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่นิ้วมือ) ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (เช่น  Dupuytren's contracture) เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม  ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข
 
การวินิจฉัย
แพทย์ มักจะวินิจฉัยจากอาการแสดงเป็นหลัก และการตรวจร่างกายอาจตรวจพบว่าเมื่อใช้มือกดตรงโคนนิ้วมือ ตรงปุ่มกระดูกจะรู้สึกเจ็บ และบางคนอาจคลำได้ปุ่มเส้นเอ็นที่อักเสบ
 
การดูแลตนเอง
หาก มีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือ เวลางอนิ้วมือแล้ว เหยียดนิ้วมีเสียงดังกิ๊ก หรือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้น เองไม่ได้ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง และควรปฏิบัติดังนี้
    * ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่เป็นนิ้วล็อกเล่น  อาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นได้
    * ถ้ามีอาการข้อฝืด กำไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่นจัดๆ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
    * เมื่อ ต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ไม้กอล์ฟ  ตะหลิวผัดกับข้าว ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง
 
การรักษา
แพทย์ จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค ในระยะแรก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์  เพื่อบรรเทาปวดและลดการอักเสบ การทำกายภาพ- บำบัด หรือฉีดยาสตีรอยด์เข้าไปที่เส้นเอ็นที่อักเสบ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใหม่ๆ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือสะกิดส่วนของพังผืดที่หนาตัวออกไป (โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด จะมีแผลเป็นรูเล็กๆ ตรงตำแหน่งที่เจาะ) ถ้ายังไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไข
 
ภาวะแทรกซ้อน
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด  นอกจากทำให้มีอาการเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด
 
การดำเนินโรค
ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นเรื้อรัง  และข้อฝืดมากขึ้นถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะหายได้
 
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการใช้มือทำงานที่มีลักษณะทำให้เกิดแรงกดหรือเสียดสีกับเส้นเอ็นแบบซ้ำซาก
    * การหิ้วของหนักๆ เช่น ถุงหนักๆ  ถังแก๊ส  ถังน้ำ  กระเป๋า (ควรใช้รถเข็นลาก  หรือใส่ถุงมือ)
    * การซักผ้า  บิดผ้า (ควรใช้เครื่องซักผ้าแทน)
    * เวลา กำหรือจับอุปกรณ์ต่างๆ ควรใส่ถุงมือลดแรงกดหรือเสียดสี เช่น ใส่ถุงมือเวลาจับไม้ตีกอล์ฟ  กรรไกรตัดกิ่งไม้ มีดตัดต้นไม่หรือดายหญ้า
ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อย  โดยเฉพาะในผู้ที่ทำงานที่ต้องหยิบจับสิ่งของหรืออุปกรณ์อย่างต่อเนื่องนานๆ  หรือใช้มือหิ้วของหนักๆ
โดยนพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

 

blog.eduzones.com

อัพเดทล่าสุด