การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23
การแข่งขันคอมพิวเตอร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ (The 23 rd International Olympiad in Informatics, 2011) ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ เมืองพัทยา
การ แข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ หรือ International Olympiad in Informatics: IOI เริ่มจัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ ที่ประเทศสาธารณรัฐบัลกาเรีย โดยในปีถัดมาประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมสังเกตการณ์ที่ประเทศสหภาพ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต หลังจากนั้นประเทศไทยก็ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าวอย่างต่อ เนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นที่น่าภูมิใจว่าเยาวชนไทยของเราสามารถพิชิตเหรียญรางวัลสร้าง ชื่อเสียงในระดับโลกได้ทุกปี จนถึงขณะนี้ได้เข้าร่วมการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศแล้วรวม ๒๐ ครั้ง ได้รับเหรียญรางวัลทั้งสิ้น ๑๑ เหรียญทอง ๒๖ เหรียญเงิน และ ๓๒ เหรียญทองแดง
การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ พศ.๒๕๕๔ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นับเป็นภารกิจสำคัญอันเป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือระหว่างสสวท.กับหน่วย งานหลัก ๗ แห่ง คือ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระ อุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และเมืองพัทยา ร่วมกันดำเนินการจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ โรงแรมรอแยลคลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา
การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างบรรยากาศด้าน วิชาการ กระตุ้นให้มีการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยเฉพาะยังเป็นโอกาสสำคัญในการกระตุ้นเยาวชนไทยและสถานศึกษาให้สนใจส่ง เสริมการเรียนรู้ด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสร้างความตระหนักให้สังคมไทยแลเห็นความสำคัญของวิทยาการ คอมพิวเตอร์ เพื่อเร่งสร้างบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถสูงทางด้านนี้ให้เพิ่มมากขึ้น ทดแทนการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลในสาขาอาชีพนี้ ซึ่งเป็นสายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน รองรับความจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันโลกยุคการแข่งขัน นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการสร้างการยอมรับทางวิชาการในระดับนานาชาติ และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยอีกด้วย โดยคาดว่าจะมีประเทศต่างๆ จากทั่วโลกเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน ๘๔ ประเทศ และมีจำนวนผู้ร่วมงานประมาณ ๗๕๐ คน
เส้นทางการเข้าร่วมการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
1.การคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการ (มูลนิธิ สอวน.) ดำเนินการ
• รับสมัคร – ศูนย์ สอวน.รับสมัครนักเรียน (เดือนสิงหาคม)
• การสอบคัดเลือก (เดือนกันยายน)
• การเข้าค่าย
1. การเข้าค่าย สอวน.ครั้งที่ 1 (เดือนตุลาคม)
2. การเข้าค่าย สอวน.ครั้งที่ 2 (เดือนมีนาคม)
3. การแข่งขันระดับชาติ (เดือนพฤษภาคม)
2. การอบรมให้ความรู้ แล้วคัดเลือกผู้แทนประเทศไทย (สสวท.ดำเนินการ)
• นักเรียนจากการแข่งขันระดับชาติ
• เข้ารับการอบรม 3 สัปดาห์ ประมาณสัปดาห์ที่ 3-4 ของเดือนตุลาคม และสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนพฤศจิกายน
• เข้ารับการอบรม 5 สัปดาห์ ประมาณสัปดาห์ที่ 2-4 ของเดือนมีนาคม และสัปดาห์ที่ 3-4 ของเดือนเมษายน แล้วคัดเลือกได้ผู้แทนประเทศไทย
3.การเดินทางไปแข่งขันระหว่างประเทศ (สสวท.ดำเนินการ)
• ผู้แทนประเทศไทยวิชาคอมพิวเตอร์ 4 คน เดินทางไปแข่งขันระหว่างประเทศประมาณเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม
หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ ๒๓ พ.ศ. ๒๕๕๔ มีดังนี้
• สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำแผนการดำเนินงาน สนับสนุนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในส่วน ของตนและของทุกหน่วยงาน ดำเนินการจัดค่ายคัดเลือกผู้แทนประเทศไทย ดำเนินการด้านเลขานุการ การต้อนรับ สถานที่แข่งขัน การจัดทัศนศึกษา และการประชาสัมพันธ์การแข่งขันฯ
• มูลนิธิสอวน. ดำเนินการด้านการคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถเพื่อเข้าค่ายคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฯ
• มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการด้านระบบลงทะเบียน ด้านวิชาการ การจัดการในห้องสอบ และผลการแข่งขัน
• จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการด้านการจัดพิธีการเปิด/ปิดการแข่งขันฯ
• มหาวิทยาลัยบูรพา ดำเนินการด้านการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ นิทรรศการแสดงวัฒนธรรมไทย และดำเนินการด้านเทคนิคส่วนภายนอกห้องสอบ
• มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดำเนินการจัดหาและเตรียมการพี่เลี้ยงเพื่อเป็นมัคคุเทศก์ให้กับชาวต่างประเทศ
• เมือง พัทยา ดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ภายในเมืองพัทยา จัดหานักเรียนเข้าชมนิทรรศการ อำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัยและจราจรภายในเมืองพัทยา และจัดเลี้ยงอาหารค่ำในวันพิธีปิด
• สวทช. ดำเนินการด้านการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียนที่ได้รับรางวัลระดับ ประเทศ และการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์
นับถอยหลังประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ปี2554เก่งคอมพิวเตอร์....ปลูกอนาคตสดใส ก้าวไปบนเส้นทางที่รัก
นับถอยหลังประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกปี2554
เก่งคอมพิวเตอร์....ปลูกอนาคตสดใส ก้าวไปบนเส้นทางที่รัก
ดุษฎี นัยวัฒนกุล ส่วนประชาสัมพันธ์ สสวท.
ปีหน้าที่จะถึงนี้ ประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 22 - 29 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ณ เมืองพัทยา โดยมีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยา ศาสตร์ศึกษา ( สอวน.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานร่วมจัดอีกหลายแห่ง ประสานพลังกันเปิดเวทีประชันความสามารถระดับโลกขึ้นในบ้านเรา
ที่จริงเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วประเทศไทยก็เคยเสนอเป็นเจ้าภาพการแข่งขันนี้มาก่อน แต่เพราะสะดุดวิกฤตเศรษฐกิจจึงต้องปล่อยให้โอกาสผ่านไป อย่างไรก็ตามผู้แทนประเทศไทยก็ยังคงเข้าร่วมในการแข่งขันนี้ทุกปีแถมกวาด เหรียญรางวัลกลับมาให้คนไทยได้ปลื้มกันทั่วหน้า โดยเมื่อปีที่แล้วก็พิชิตชัย 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดงจากผู้เข้าแข่งขัน 84 ประเทศทั่วโลก
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ปีพศ. 2554 เปิดเผยถึงการเตรียมตัวเป็นประเทศเจ้าภาพว่าต้องใช้เวลาเตรียมงานนานถึง 3 ปี คาดว่าในปี2554 จะมีชาติต่างๆ ส่งผู้แทนเข้าร่วมการแข่งขันประมาณ 90 ประเทศเพราะเป็นที่สนใจของนานาชาติค่อนข้างมาก โดยปีหน้าไทยจะเป็นเจ้าภาพต่อจากประเทศแคนาดาซึ่งจัดแข่งขันในปี 2553 นี้
บ้านเราจะได้มีโอกาสนำเสนอวัฒนธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร อีกทั้ง
สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจสู่สายตาและความประทับใจของนานาชาติ
เวที วิชาการคราวนี้ยังเป็นศูนย์รวมคนรุ่นใหม่มันสมองระดับโลกด้านคอมพิวเตอร์ มาร่วมกันประชันความสามารถเต็มศักยภาพ จึงถือเป็นโอกาสดีในการกระตุ้นเยาวชนไทยให้ตื่นตัวสนใจองค์ความรู้ด้าน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นวิทยาการใหม่ที่ทวีบทบาทต่อกระแสพัฒนาโลกมาก ขึ้นทุกวัน
ในขณะที่การเรียนการสอนบ้านเรากลับยังไม่ให้น้ำหนักกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ มากนัก มีแค่สอนเป็นวิชาพื้นฐานอาชีพ ทั้งๆที่ความจริงแล้วนับเป็นวิทยาการที่ลึกซึ้งและกว้างไกลเกินกว่าแค่ใช้ทำ งานทั่วๆไป เพราะสามารถนำไปใช้วางแผนงานสำคัญๆ ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม คมนาคมขนส่ง หรืองานพัฒนาต่างๆได้ไม่จำกัดรูปแบบ เฉพาะอย่างยิ่งใช้แก้ปัญหาสลับซับซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณชนในวงกว้าง พัฒนาระบบงานคุณภาพต่างๆหรือวางแผนการทำงานในอนาคตได้ประโยชน์หลากหลาย
ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพแหลมคมยิ่ง
การ แข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศซึ่งใกล้จะเปิดฉากขึ้นในบ้านเราปี หน้า จึงไม่ใช่แค่เวทีเกียรติยศหากแต่เป็นสนามพิสูจน์ความสามารถระดับโลกที่ถือ เป็นโอกาสทองของไทยในการส่งเสริมการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ อีกด้วย
สสวท.ผนึกกำลัง ๗ หน่วยงาน ประกาศความพร้อมประเทศไทยเป็นเจ้าภาพคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ครั้งที่ ๒๓ พ.ศ. ๒๕๕๔
สสวท.ผนึกกำลัง ๗ หน่วยงาน ประกาศความพร้อมประเทศไทยเป็นเจ้าภาพคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ครั้งที่ ๒๓ พ.ศ. ๒๕๕๔
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 วิชาการดอทคอมได้ มีโอกาสไปร่วมงานแถลงข่าว ความพร้อมที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพคอมพิวเตอร์โอลิมปิกในปีหน้า โดยงานแถลงข่าวจัดขึ้นที่กระทรวงศึกษาธิการ เป็นการจัดงานที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของหน่วยงานหลักต่างๆ ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ในฐานะการเป็นเจ้าภาพที่มีความพร้อม ภายในงานมีพิธีกรรับเชิญ คือ คุณอรรณพ กิตติคุณ พิธีกรชื่อดัง พร้อมผู้แทนประเทศไทยในปีที่ผ่านมา คือ นายพศิน มนูรังษี (น้องกันต์) นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เหรียญทองคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ปี 2553 (ซึ่งวิชาการดอทคอมได้สัมภาษณ์เป็นบทความเรียบร้อยแล้ว ถึงความเก่งกาจและความน่ารักนิสัยดีของน้องกันต์ ติดตามได้จากบทความนี้ค่ะ https://www.vcharkarn.com/varticle/41033 และนายวีระกานต์ สินทวีเลิศมงคล (น้องเลิฟ) นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เหรียญเงินคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ปี 2553 (ซึ่งวิชาการดอทคอมได้ไปสัมภาษณ์มาแล้วเช่นกัน จะจัดทำเป็นบทความเร็วๆ นี้ค่ะ)
วิชาการดอทคอมได้เก็บภาพบรรยากาศมาให้ชมกันค่ะ
ประเทศ ไทยประกาศความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ พ.ศ.๒๕๕๔ ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ เมืองพัทยา มั่นใจศักยภาพเยาวชนไทยประกาศชัยเวทีโลก หวังใช้โอกาสนี้เร่งสร้างความตระหนักในการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ ปูทางสร้างคนเก่งรุ่นใหม่พัฒนาประเทศ