เคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับคนอยากเรียนวิศวฯ


680 ผู้ชม

เคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับคนอยากเรียนวิศวฯ


เคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับคนอยากเรียนวิศวฯ

เคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับคนอยากเรียนวิศวฯ

หากพูดถึงคณะที่น้องๆ ผู้ชายหลายคนใฝ่ฝัน..วิศวกรรมศาสตร์ คงเป็นคณะในอันดับต้นๆ วันนี้ Life On Campus มีเคล็ดลับการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์มาฝากให้ทุกคนได้เตรียมฝึกไว้ เคล็ดลับนี้ขอบอกว่าพิเศษสุดๆ เพราะออกจากปากอาจารย์ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการวิศวกรรมศาสตร์จากรั้ว มหาวิทยาลัยกันเลยทีเดียว
      
       ทั้งนี้ เราได้รับคำแนะนำดีๆ จากดร.ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และอาจารย์ ชินเทพ เพ็ญชาติ หัวหน้าภาควิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.ก่อเกียรติ บุญชูสกุล ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ ผศ.ดร.ศุภวุฒิ จันทรานุวัฒน์ อาจารย์ ประจำสาขาวิศวกรรมยานยนต์ จากรั้วจุฬาลงกรณ์ มาบอกเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมา และทำอย่างไรถึงจะได้เรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์
      
       เริ่มต้นที่การเตรียมตัวอย่างไรในการเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากคำแนะนำของดร.ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ถึงจุดเริ่มต้นของการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์
      
       “สิ่ง ที่สำคัญที่สุด สำหรับคนที่อยากเรียนวิศวฯ ต้องชอบคำนวณ อาจจะไม่ต้องเก่งมาก แต่ต้องไม่เกลียดเลข บางคนเห็นออกแบบดีไซน์ตึกสูงๆ แล้วเกิดความชอบขึ้นมาก็มาต้องเรียนวิศวฯโยธา หรือติดใจโรงงาน หุ่นยนต์ แมคคานิก ต้องเลือกเรียนเมคคาทรอนิกส์ ถ้าออกแบบเครื่องจักรกล สนใจรถยนต์ ก็ต้องเรียนวิศวฯยานยนต์ บางคนไม่ทราบว่าตัวเองชอบอะไร บางคนตามเพื่อน ตามคุณพ่อ คุณแม่ ไม่ถนัดจริงๆก็เรียนได้ไม่ดี ต้องหัดสังเกตตัวเอง และที่สำคัญถ้าอยากเรียนวิศวฯต้องเป็นคนคิดเป็นทำเป็น กระตือรือร้นอยู่ตลอด”
      
       ทั้งนี้ ดร.ณัฐวัฒน์ เปิดเผยถึงสาขาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในคณะวิศวกรรมศาสตร์ “คง ต้องยกให้ภาควิชาไฟฟ้ากับเครื่องกล ซึ่งไฟฟ้ามีแยกเป็นสาขาย่อย ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าอิเลกทรอนิค และโทรคมนาคม ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในโลกไอทีได้ ซึ่งสาขาไฟฟ้าถือว่าเป็นสาขาที่ยากกว่าสาขาอื่นๆ
      
       ช่วง นี้เศรษฐกิจขาลง ทำให้สายงานวิศวฯ ไม่ค่อยเป็นที่สนใจมากนักบูม แต่จริงๆแล้วความต้องการวิศวกรยังมีอยู่ตลอดในการพัฒนาประเทศ ทั้งไฟฟ้า เครื่องกล งานก่อสร้างตอนนี้ แต่ วิศวกรเป็นอาชีพที่ยังสามารถมีงานตลอด”
      
       ถัดมาที่คำแนะนำจาก ผศ.ดร.ก่อเกียรติ บุญชูสกุล ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ กล่าวถึงสาขาวิศวกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักสูตรของภาควิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักเรียนและนิสิตอยู่ในขณะนี้ และคณะวิศวฯ ได้เปิดสาขาวิศวกรรมยานยนต์มาเป็นเวลามากกว่า 20 ปีแล้ว
      
       “จุด เริ่มต้นมาจากภาคอุตสาหกรรม มีความต้องการวิศวกรที่ศึกษามาทางด้านยานยนต์โดยตรง คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงเปิดสอนวิชาเกี่ยวกับชิ้นส่วนและการประกอบยานยนต์ใน ชื่อวิชา Automotive Engineering โดยในช่วงนั้นได้รับความร่วมมือจากบริษัทโตโยต้าประเทศไทย ส่งบุคลากรมาร่วมสอนด้วย"
      
       " หลังจากสอนไปได้สักระยะหนึ่งจึงเปิดเป็นหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ โดยอยู่ในความดูแลของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เน้นให้บัณฑิตที่จบไปทำงานในส่วนของการประกอบยานยนต์” ผศ.ดร.ก่อเกียรติ กล่าว
      
       ส่วนหลังจบการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์แล้ว บัณฑิตจะทำงานเฉพาะทางด้านเกี่ยวกับรถยนต์เพียงอย่างเดียวหรือไม่นั้น อาจารย์ชินเทพ เพ็ญชาติ หัวหน้าภาควิศวกรรมเครื่องกล กล่าวว่าไม่จำเป็น หากแต่สามารถที่จะทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลได้ทุกประเภท
      
       “คน ที่จะเรียนสาขาวิศวกรรมยานยนต์นี้ จะเลือกได้ตอนที่จะขึ้นชั้นปีที่สอง โดยทางคณะจะเลือกจากจากคะแนนเฉลี่ยปี 1 นั่นหมายความว่านิสิตจะต้องมีความตั้งใจ และตัวนิสิตเองจะต้องรู้ถึงขีดความสามารถและความสนใจของตัวเองด้วยว่าเหมาะ ที่จะเรียนทางด้านยานยนต์นี้หรือไม่ เเล้วทางสาขาวิชาสามารถรับนิสิตได้เพียง 15 คน เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ อุปกรณ์การเรียน”
      
       อ. ชินเทพ อธิบายว่าบางรายวิชานิสิตสาขาวิศวกรรมยานยนต์ต้องไปเรียนร่วมกับคณะอื่น "เรามีข้อจำกัดในเรื่องของอุปกรณ์ เรื่องของสถานที่ ทำให้สาขานี้รับผู้สนใจเข้าเรียนได้เพียง 15 คนเท่านั้น ทั้งที่มีนิสิตสนใจเข้าเรียนกันมาก ดังนั้นช่วงหลังทำให้คะแนนในการรับเข้าศึกษาสูงขึ้น"
      
       อย่างไรก็ตามแม้นิสิตที่สนใจจะไม่ได้เรียนสาขาวิศวกรรมยานยนต์โดยตรง ผศ.ดร.ศุภวุฒิ จันทรานุวัฒน์ อาจารย์ ประจำสาขาวิศวกรรมยานยนต์ กล่าวว่านิสิตที่สนใจก็สามารถที่จะเลือกเรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับยาน ยนต์เป็นวิชาเลือกได้
      
       “ใน ความเป็นจริงคนอยากเรียนวิศวกรรมไม่ว่าจะสาขาอะไรก็ตาม มีจำนวนมาก แต่ก็มีข้อจำกัดทั้งในเรื่องของอุปกรณ์การเรียน สถานที่ รวมทั้งเรื่องอื่นๆ ด้วย แล้วเมื่อมีคนอยากเรียนเยอะแน่ล่ะก็มีการแข่งขันกันสูง คนที่ได้เรียนก็จะทำคะแนนได้สูงมาก ทีนี้เมื่อจะเลือกสาขาที่เรียนอย่างสาขาวิศวกรรมยานยนต์ เราก็ดูที่คะแนนเฉลี่ยปีหนึ่ง คนที่ทำคะแนนได้สูง 15 คนแรกก็ได้เรียนเป็นวิชาหลัก ส่วนคนอื่นๆ ก็เลือกสาขาอื่นๆ ไป แต่ก็สามารถที่จะเลือกเรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องเป็นวิชาเลือกได้”
      
       ดัง นั้นสิ่งที่สำคัญมากในการเรียนก็คือต้องเก่งคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียน และคนที่เรียนวิศวกรรมศาสตร์ควรจะชอบในเรื่องของกลศาสตร์ ไฟฟ้า หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม
      
       “นิสิต ปีหนึ่งควรตั้งใจกับการเรียนให้มากที่สุด เพราะถ้าความรู้พื้นฐานในชั้นปีที่หนึ่งดีแล้วการเรียนชั้นปีต่อๆ ไปก็จะง่ายขึ้น และต้องรู้ตัวเองว่ากิจกรรมกับการเรียนควรจะบาลานส์กัน ต้องดูแลตัวเอง แล้วก็จะสามารถจบการศึกษาได้ตามกำหนดเวลา”
      
       “คน ที่จะเรียนวิศวกรรมศาสตร์สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องเรียนอย่างเข้าใจแบบลึกซึ้ง ไม่ใช่เรียนแบบท่องจำ เพราะการเรียนวิศวกรรมศาสตร์มักจะมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเสมอ การเรียนแบบท่องจำแต่ไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ก็อาจจะต้องรีไทร์ไปก็เป็นไปได้ เพราะท่องจำเก่งแต่ไม่เข้าใจประยุกต์ไม่เป็นก็ทำข้อสอบไม่ได้”  อาจารย์ ประจำสาขาวิศวกรรมยานยนต์ จุฬาฯ กล่าวคำแนะนำทิ้งท้าย

www.enn.co.th

อัพเดทล่าสุด