จากแพทย์ โรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์


932 ผู้ชม


มารู้จักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กันเถอะ
โดย พล.ต.รศ.นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล และทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก  ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD)
เป็น การติดเชื้อที่เกิดขึ้นและแพร่กระจายด้วยการมีเพศสัมพันธ์ โรคนี้เป็นโรคที่แพร่หลาย มีการติดเชื้อใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา กว่าล้านรายต่อปี ถึงแม้ว่าบางชนิดของ STD สามารถรักษาและดูแลได้ การป้องกันเป็นกุญแจหลักที่จะต่อสู้กับ STD โดยการรู้ถึงความจริง เป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งจะสามารถป้องกันตัวเองได้ เนื้อหาจะกล่าวถึง

ผู้หญิงทุกคนควรรู้จักวิธีป้องกันตัวเองและคู่นอนจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
• อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
• ชนิด / ประเภทของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
• ความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
• การที่จะป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ใคร ก็ได้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ช่องทวาร หรือ ทางปาก ก็สามารถที่จะเป็นโรคนี้ได้ ผู้ที่เป็นอาจจะไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรค เพราะโดยปกติแล้วจะไม่มีอาการแสดง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลต่อสุขภาพของคุณ
โรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์อาจก่อให้เกิดความรุนแรงต่อร่างกาย หรืออาจถึงกับชีวิต ถึงแม้ว่าจะไม่แสดงอาการใดๆ คนที่เป็นแล้วสามารถที่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่นโดยการสัมผัสทางผิว หนัง อวัยวะสืบพันธุ์ ปาก ทวารหนัก หรือ สารคัดหลั่งจากร่างกาย
อาการ แสดงสามารถแบ่งได้ตั้งแต่ระคายเคืองเล็กน้อยไปสู่อาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาการแสดงที่เกิดขึ้นนั้นมาจากโรคที่รุนแรงขึ้น
ในหลายๆ ตัวอย่าง ปัญหาสุขภาพระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้นสามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้ารีบรักษาแต่เนิ่นๆ
เชื้อ สาเหตุโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส ซึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาได้โดยการ ให้ยาปฏิชีวนะ แต่สำหรับเชื้อไวรัสนั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ ได้เพียงแต่รักษาตามอาการเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์สามารถที่จะแพร่กระจายเชื้อได้ถึงแม้ว่าจะไม่มี อาการเกิดขึ้น แต่ก็มี การตรวจหลายๆวิธีที่สามารถกระทำได้เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ

การใช้ถุงยางอนามัย
การเตรียมถุงยางอนามัย ให้พร้อมที่จะช่วยป้องกันตนเองและคู่นอนจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ด้วย ถุงยางอนามัยสามารถใช้ได้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางอวัยวะสืบ พันธุ์ ทางปาก หรือทางทวารหนัก สารหล่อลื่นที่ใช้ในถุงยางอนามัย ต้องมีส่วนผสมของน้ำเป็นหลัก ถ้าเป็นจำพวกน้ำมันหรือ โลชั่น เช่น น้ำมันมะกอก อาจจะไม่ปลอดภัย
ชนิดของถุงยางอนามัยที่เป็นที่นิยม คือ ต้องเป็นชนิดที่พอดีกับอวัยวะเพศชาย สำหรับเพศหญิงก็ต้องพอเหมาะพอดีกับปากมดลูกและช่องคลอด ถุงยางอนามัยสำหรับเพศหญิงสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน
วิธีการใช้ถุงยางอนามัย จะ ใส่เมื่ออวัยวะเพศชายแข็งตัวเต็มที่ รูดถุงยางอนามัยลงเล็กน้อย บีบส่วนปลายของถุงยางอนามัยแล้วค่อยๆ รูดถุงยางอนามัยจากส่วนปลายของอวัยวะเพศลงจนสุดที่โคน หลังจากหลั่งเรียบร้อยแล้ว ให้จับที่โคนของถุงยางอนามัย ค่อยๆ ดึงออก จากส่วนปลายของอวัยวะเพศแล้วทิ้งในที่ที่เหมาะสม ห้ามนำกลับมาใช้อีก
สำหรับ การใช้ถุงยางอนามัยของเพศหญิง ให้บีบภายในวงแหวนระหว่างนิ้วมือ และ ใส่เข้าไปในช่องคลอดให้ลึกที่สุดเท่าที่จะลึกได้ ดันวงแหวนด้านในเข้าไปจนกระทั่งสุดกระดูกเชิงกราน ประมาณ 1 นิ้วจากปลายควรอยู่ด้านนอกร่างกาย หลังจากการหลั่ง ให้บีบและหมุนวงแหวนด้านนอกและดึงออกอย่างนุ่มนวล แล้วทิ้งในที่ที่เหมาะสม ห้ามนำกลับมาใช้อีก
โรคหนองใน และ การติดเชื้อ Chlamydia (หนองในเทียม ) เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อย เมื่อติดโรคเกิดขึ้นแล้วไม่ว่าหญิงและชายจะไม่มีอาการในตอนแรก ๆ อาการแสดงจะปรากฏให้เห็น 2 วันถึง 3 สัปดาห์หลังจากสัมผัสโรค
อาการแสดงอาจจะมีดังนี้
• มีสารคัดหลั่งจากช่องคลอดในเพศหญิง และ ปลายอวัยวะเพศของเพศชาย คล้ายหนอง
• มีอาการเจ็บหรือปัสสาวะบ่อย
• ปวดที่อวัยวะเพศหรือในช่องท้อง
• มีอาการแสบร้อน หรือ คันในช่องคลอด
• บวมแดง บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
• มีเลือดทางช่องคลอดเป็นช่วงๆ ทั้งโรคหนองในและการติดเชื้อ Chlamydia สำหรับเพศหญิงสามารถก่อให้เกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่มดลูก ท่อรังไข่ และ รังไข่ ซึ่งการติดเชื้อนี้ก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้
อาการของการอักเสบใน อุ้งเชิงกรานที่พบได้บ่อย คือ มีไข้ คลื่นไส้และอาเจียน และปวดท้องน้อย ซึ่งอาจจะนำไปสู่การปวดในอุ้งเชิงกรานระยะยาวได้
หูดหงอนไก่ (Human papillomavirus (HPV)) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยอีกชนิดหนึ่ง HPV เป็นเชื้อไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธ์ บางสายพันธ์สามารถติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งทางเพศสัมพันธ์ เช่นเดียวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่มักไม่มีอาการแสดง บางสายพันธ์จะก่อให้เกิดหูดได้
สำหรับเพศหญิง หูดสามารถมองเห็นได้ที่อวัยวะสืบพันธ์ด้านนอก ช่องคลอด ปากมดลูก และ ทวารหนัก สำหรับเพศชายสามารถเกิดได้ที่ องคชาติ ลูกอัณฑะ ทวารหนัก หรือ อวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงอวัยวะสืบพันธ์ บางครั้งหูดสามารถหายได้เอง แต่ถ้าไม่หาย ก็ยังมีการรักษาอีกหลายอย่างที่สามารถรักษาได้ อย่างไรก็ตาม ยาที่มีขายตามท้องตลาดที่ใช้รักษาหูดนั้นไม่สามารถใช้รักษาหูดที่อวัยวะเพศ ได้ ถึงแม้ว่าจะกำจัดหูดออกได้แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกได้ เพราะเชื้อสามารถอยู่ในร่างกายได้เป็นเดือนเป็นปี โดยไม่มีอาการแสดง
บาง สายพันธ์ของ HPV สามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งที่ทวารหนัก อวัยวะเพศ ช่องคลอด ปากมดลูกและองคชาติ ทั้งในเพศหญิงและเพศชายได้ ซึ่งมีไม่กี่สายพันธ์นัก
แต่อย่างไรก็ตาม มะเร็งปากมดลูกก็สามารถที่จะตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และรักษาได้
ซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ “spirochete” ถ้าเป็นแล้วไม่รักษาจะเกิดการติดเชื้อไปทั่วร่างกายและจะทำให้อาจถึงแก่ ชีวิตได้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการแสดง แต่อาการแรกเริ่มคือเกิดแผลเรียบบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ และ  ไม่ทำให้เกิดอาการปวด
ซิฟิลิสในระยะแรกสามารถรักษาได้ง่าย อาการที่จะเกิดได้คือเป็นแผลขอบแข็งและผื่นคัน การติดต่อจากผู้ที่สัมผัสเชื้อไปสู่บุคคลอื่นนั้นเกิดจากการสัมผัสที่แผลโดย ตรง แผลที่เกิดขึ้นมักจะเกิดที่อวัยวะเพศ ช่องคลอด หรือทวารหนัก ในบางรายอาจจะเกิดที่บริเวณริมฝีปากและในปาก
ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการแสดงอาจหายไป แต่เชื้อโรคยังคงมีอยู่ อาการจะกลับมาเป็นอีกในช่วงปีถัดไป และเชื้อกระจายไปทั่วร่างกายได้
เริมที่อวัยวะเพศ คนหลายล้านคนเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเริม อาการแสดงที่เกิดขึ้นคือเป็นแผลรอบๆ อวัยวะเพศ แผลที่เกิดขึ้นจะมองเห็นเป็นจุดแดงๆ เป็นตุ่มหรือ แผลพุพอง อาการอาจเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาไม่กี่วัน หรือ นานเป็นสัปดาห์ อาการแสดงอาจจะหายไป แต่เชื้อไวรัสยังคงอยู่ในร่างกาย การเกิดแผลอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกเรื่อยๆ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นซ้ำที่เดิม
การ รักษายังคงเป็นแค่รักษาตามอาการ แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ดังนั้นเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อแล้ว เป็นไปได้มากที่จะมีการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ
การติดเชื้อ HIV ( Human immunodeficiency virus ) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS - acquired immunodeficiency syndrome)
อัตรา การติดเชื้อ HIV เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกลุ่มผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย เชื้อ HIV จะเข้าผ่านทางกระแสเลือด โดยทางสารคัดหลั่ง โดยปกติแล้วจะเป็นเลือด หรือ อสุจิ เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ไวรัสจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้เกิดโรค นำไปสู่โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
โรคนี้ จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ มากมายเช่น การติดเชื้อ หรือ มะเร็ง ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ถาวร แต่เป็นการรักษาเพื่อยืดเวลาการเกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องได้
การติดเชื้อทางช่องคลอด ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อพยาธิช่องคลอด (Trichomonas) เกิดจากเชื้อปรสิตที่สามารถแพร่กระจายได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ แต่เชื้อนี้สามารถรักษาได้ บางรายอาจจะไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อมีอาการแสดงเกิดขึ้น อาการที่พบคือมีสารคัดหลั่งทางช่องคลอด มีอาการคันภายในช่องคลอดและบวมแดง
ไวรัสตับอักเสบ เป็นการติดเชื้อที่ตับโดยมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส โดยที่ไวรัสตับอักเสบชนิด B และ C สามารถถ่ายทอดได้ทางเพศสัมพันธ์ เชื้อสามารถแพร่กระจายได้โดยตรงจากสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ ได้แก่ เลือด อสุจิ น้ำจากช่องคลอด ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบชนิด B แต่สำหรับไวรัส C นั้นยังไม่มีวัคซีนสำหรับการป้องกัน
ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด B หรือ C สามารถหายได้เป็นปกติ แต่ก็มีบางส่วนที่พัฒนาไปเป็นโรคตับชนิดเรื้อรัง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพระยะยาว โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ การตรวจเพื่อหาเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์จะทำทุกรายในช่วงการตั้งครรภ์อยู่แล้ว
แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดคือการรักษาในช่วงแรกที่ตรวจพบเพื่อลดโอกาส เสี่ยงสำหรับทารกการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในระยะตั้งครรภ์สามารถก่อให้เกิด อันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
หนองในและ chlamydia ทั้งสองชนิดสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ตาไปจนถึงปอดบวม

ซิฟิลิส
อาจก่อให้เกิดการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนด


การติดเชื้อ HIV
สามารถ ติดต่อสู่ทารกได้ ถ้าตั้งครรภ์และมีคู่นอนที่อาจจะติดเชื้อหรือติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ให้ แจ้งแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดต่อทารก คุณจะป้องกันตนเองจากโรคทางเพศสัมพันธ์อย่างไร

คุณมีปัจจัยต่างๆ เสี่ยงหรือไม่  ถ้าข้อหนึ่งข้อใดตรงกับคุณ ก็ให้ป้องกันตนเองไว้ก่อน ซึ่งมีหลายวิธีที่จะช่วยได้
• รู้จักคู่นอนของตนเอง และ จำกัดจำนวนคู่นอน ถ้าสามารถรู้ประวัติทางเพศสัมพันธ์ของคู่นอนของคุณยิ่งดีใหญ่ ยิ่งมีคู่นอนมาก ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น
• ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ไม่วาจะทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก สำหรับถุงยางอนามัยที่มีสารหล่อลื่นที่สามารถฆ่าเชื้ออสุจิได้ แต่ยังไม่สามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ ในความเป็นจริงแล้วสารฆ่าเชื้ออสุจินั้นอาจจะระคายเคืองเยื่อบุภายในช่อง คลอดและอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
• หลีกเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงเช่น ความรุนแรงของการมีเพศสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดแผล หรือ การฉีกขาด ถึงแม้ว่าการฉีกขาดนั้นจะไม่มีเลือดออก แต่ก็เป็นทางที่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงเนื่องจากเนื้อ เยื่อบริเวณทวารหนักนั้นอ่อนนุ่ม ง่ายต่อการฉีกขาด
• ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV
คุณเสี่ยงหรือไม่?  คุณจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ถ้า :
- มีหรือเคยมีคู่นอนมากกว่า 1 ราย
- คู่นอนของคุณมีคู่นอนมากกว่า 1 คน
- มีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคทางเพศสัมพันธ์
- มีประวัติการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์
- มีการใช้ยาทางหลอดเลือดดำ หรือ มีคู่นอนที่ใช้ยาทางหลอดเลือดดำ
ท้ายสุด ผู้หญิงทุกคนควรรู้จักวิธีป้องกันตัวเองและคู่นอนจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ถ้าคิดว่าได้รับการติดเชื้อแล้ว พยายามที่จะหาทางรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว


จากแพทย์ โรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากแพทย์ โรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์  
ที่มา www.vibhavadi.com

อัพเดทล่าสุด