โครงการหอสำรวจอวกาศใหม่เอี่ยม รับมือภัยระเบิดนิวตรอน


769 ผู้ชม


โครงการหอสำรวจอวกาศใหม่เอี่ยม รับมือภัยระเบิดนิวตรอน

ใกล้ ปีค.ศ. 2012 เข้าไปทุกที หลายคนที่กังวลว่า จะเป็นวันสิ้นโลกจริงหรือไม่ก็ต้องคอยดูต่อไป ส่วนนักดาราศาสตร์ก็ยังต้องทำหน้าที่ศึกษาและระวังภัยจากนอกโลกอยู่เหมือน เดิม แม้ด้วยเทคโนโลยีที่มนุษย์มีอยู่ทุกวันนี้แค่ร้อยละ 1 ของปรากฏ การณ์สำคัญในจักรวาลก็ยังสำรวจไม่หมด
โครงการหอคอยสำรวจอวกาศ "โฟร์ ไพ" ถูกตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสำรวจอวกาศอันไพศาลไปจนถึง ปรากฏการณ์หายากต่างๆ โดยอาศัยกล้องคลื่นวิทยุ 4 ตัว ซึ่งถูกติดตั้งไว้บนหอคอยใน 4 ภูมิภาคทั่วโลก ได้แก่ 2 ตัวในทวีปยุโรป แอฟริกาใต้ และทางภาคตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย นำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากกล้องรังสีเอกซเรย์ที่โคจรอยู่รอบโลก หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของโครงการดังกล่าว คือ การอธิบายปริศนาคาใจนักฟิสิกส์หลายข้อ เช่น ธรรมชาติของแรงดึงดูด เป็นต้น
นอก จากนี้ นักดาราศาสตร์ยังต้องการที่จะใช้โครงการดังกล่าวเพื่อการติดตามค้นหา ปรากฏการณ์ "การชนกันของดาวนิวตรอน" (Neutron Star Collision) ซึ่งจะปลดปล่อยพลังมหาศาลถึงขั้นที่สามารถทำให้จักรวาลนั้นบิดเบี้ยวไปได้ แม้ปรากฏการณ์ที่กล่าวมานี้จะหาได้ยากมาก ทว่ามีอยู่และเกิดขึ้นได้จริง
ปรากฏการณ์ การชนกันของดาวนิวตรอน เป็นการรวมกันระหว่างอนุภาคนิวตรอน 2 อนุภาคซึ่งเป็นแกนกลางของดาวเคราะห์ เกิดขึ้นระหว่างการระเบิดซูเปอร์โนวา ก่อเกิดกลุ่มดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์มากมาย ปัญหามีอยู่ว่า หากอนุภาคนิวตรอนทั้งสองมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะทุกวันนี้ สภาพความหนาแน่นยิ่งยวดที่ตามมานั้นจะก่อให้เกิดการระเบิดของสนามแรงดึงดูด ที่รุนแรงกว่าแรงดึงดูดโลกถึง 1 แสนล้านเท่า ซึ่งมากพอที่จะทำให้ทุกอย่างในจักรภพ แม้แต่เวลาถูกแรงกระทบมหาศาลบีบอัดและยืดออกอย่างฉับพลัน หากโลกอยู่ใกล้พอไม่ต้องพูดถึงว่ามนุษย์จะรอดหรือไม่ เพราะโลกอาจถึงขั้นแตกสลายไปทั้งดวง
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ขั้นรุนแรงนี้เป็นเพียงทฤษฎีและหาได้ยากมาก ส่วนระดับปกตินั้นเกิดขึ้นโดยทั่วไปในจักรวาล ...อย่าเพิ่งแตกตื่น!!

อัพเดทล่าสุด