รู้ไหมว่า … 2010 คือปีที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากที่สุด


632 ผู้ชม


รู้ไหมว่า … 2010 คือปีที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากที่สุด

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
รู้ไหมว่า … 2010 คือปีที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากที่สุด
แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่ชายฝั่งเริ่มละลายร่นเข้าไปเรื่อยๆ

รู้ไหมว่า … 2010 คือปีที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากที่สุด
แผ่นน้ำแข็งที่กำลังจะแยกจากกัน มีธารน้ำแข็งแทรกเข้ามาระหว่างกลาง

รู้ไหมว่า … 2010 คือปีที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากที่สุด

  รู้ไหมว่า … 2010 คือปีที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากที่สุด  

ปี 2010 ที่ผ่านมา หลายคนคงคุ้นหูกับคำว่า “ร้อนที่สุด” “หนาวที่สุด” และอะไรที่สุดๆ อีกมากมายในด้านสภาพภูมิอากาศโลก และหนึ่งในนั้นคือ “แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลายมากที่สุด” เท่าที่มีการบันทึกมา
       
       หลังจากที่สหประชาชาติออกมาสรุปว่าปี 2010 เป็นปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ไปแล้วนั้น ก็มีผลวิจัยตามมาติดๆ ว่า แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกที่กรีนแลนด์ละลายมากเป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยประจำปี โดยแซงหน้าสถิติที่สูงสุดในรอบ 30 ปี ที่บันทึกไว้เมื่อปี 2007 ไปแล้ว
       
       การละลายของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก นอกจากจะหมายถึงเกราะกำบังแสงอาทิตย์ที่หดน้อยลงแล้ว ยังหมายถึงปริมาณน้ำในผืนโลกที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
       
       แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ถ้าละลายไปทั้งหมด จะเพิ่มระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นถึง 7 เมตรจากชายฝั่ง นั่นส่งผลให้เมืองชายฝั่งจมหายไปกับน้ำทะเลได้เลย
       
       ที่สำคัญ นักวิทยาศาสาตร์คาดการณ์ไว้แล้วว่า ถ้าแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายประมาณ103-250 กิกะตันต่อปี เมื่อสิ้นศตวรรษ คือเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วง ค.ศ.3000 แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์จะเพิ่มปริมาณน้ำให้โลก โดยจะทำให้ทะเลสูงขึ้นอีกประมาณ 50 เซ็นติเมตร
       
       ทว่า การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกในปัจจุบันกลับมีอัตราเร่งมากกว่านั้น และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทุกๆ 1 เมตร จะทำให้เกาะแก่ง และปากแม่น้ำต่างๆ ค่อยๆ ร่นจมหายไป.

www.manager.co.th

อัพเดทล่าสุด