นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747


641 ผู้ชม


นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747

นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747
นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747
นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747
นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747 นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747 นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747

หอดูดาวโซเฟียซึ่งติดตั้งบนโบอิง 747 (ภาพประกอบทั้งหมดจากบีบีซีนิวส์)

นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747
ภาพเนบิวลานายพรานจากหอดูดาวโซเฟีย ซึ่งเนบิวลาเป็นแหล่งกำเนิดของดาวเกิดใหม่จำนวนมาก
นาซาเผยภาพชุดแรก จาก "โซเฟีย" หอดูดาวบินได้บนโบอิง 747
ภาพ เปรียบเทียบระหว่างเนบิวลานายพรานที่บันทึกโดยกล้องจากหอดูดาวโซเฟีย (ขวา) กับภาพในย่านแสงที่ตามองเห็นซึ่งบันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (ซ้าย) และภาพเนบิวลาเดียวกันที่บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์จากหอดูดาวยุโรปแห่งซีกฟ้า ใต้ (European Southern Observatory) ในย่านรังสีอินฟราเรดใกล้ (กลาง)

นาซาเผยภาพ “เนบิวลานายพราน” ข้อมูลชุดแรกจากหอดูดาวบนโบอิง 747 ให้แสงสีชัดเจนในแบบที่หอดูดาวบนโลกให้ไม่ได้
       
       เนบิวลานายพราน (Orion Nebula) ซึ่งแสดงบริเวณที่ดวงดาวก่อกำเนิดได้อย่างชัดเจนกว่าที่ผ่านมา เป็นภาพชุดแรกจากของหอดูดาวดาราศาสตร์อินฟราเรดในชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratospheric Observatory for Infrared Astronomy) หรือหอดูดาวโซเฟีย (Sofia) ซึ่งติดตั้งกล้องโทรทรรศน์บนเครื่องบินโบอิง 747 ที่ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นหอดูดาวในชั้นบรรยากาศ เพื่อบันทึกสีสันจากอวกาศซึ่งปกติจะถูกชั้นบรรยากาศของโลกกันไว้
       
       หอดูดาวโซเฟียนี้เป็นหอดูดาวต่อจากหอดูดาวไคเปอร์บนเครื่องบิน (Kuiper Airborne Observatory) หรือหอดูดาวเกา (KAO) หอดูดาวที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดเช่นเดียวกัน และถูกปลดระวางไปเมื่อปี ค.ศ.1995 และโครงการก่อสร้างหอดูดาวบนเครื่องบินขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) นี้ได้ล่าช้าออกมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งหอดูดาวโซเฟียเพิ่งได้มาสานภารกิจต่อในครั้งนี้
       
       บีบีซีนิวส์ที่หยิบเรื่องนี้มารายงานระบุด้วยว่า ปกติกล้องโทรทรรศน์อวกาศช่วยให้เราได้ภาพในย่านอินฟราเรดที่แจ่มชัดอยู่แล้ว แต่หอดูดาวโซเฟียจะให้ความยืดหยุ่นต่อการทำงานแก่นักวิทยาศาสตร์ได้มากกว่า
       
       ศ.เทอร์รี เฮอร์เตอร์ (Prof.Terry Herter) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (University of Cornell) และนักวิทยาศาสตร์ผู้นำในปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ชุดแรกของหอดูดาวโซเฟียให้ ความเห็น โดยโครงการที่เขาดูแลมีชื่อว่า “ฟอร์แคสต์” (Forcast) หรือโครงการกล้องอินฟราเรดเพื่อศึกษาวัตถุอันลางเลือนสำหรับกล้องโทรทรรศน์ โซเฟีย (Faint Object Infrared Camera for the Sofia Telescope)
       
       เพื่อศึกษาวัตถุอันลางเลือนในย่านรังสีอินฟราเรดนั้น ศ.เฮอร์เตอร์บอกว่า เราจำเป็นต้องขึ้นไปในอวกาศ หรือส่งหอดูดาวติดบอลลูนหรือเครื่องบินขึ้นไป แต่สำหรับหอดูดาวบนบอลลูนนั้นยากต่อการควบคุม ส่วนกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ก็ยุ่งยากสำหรับการเปลี่ยนแปลงเครื่องไม้เครื่องมือ โดยต้องส่งกระสวยอวกาศขึ้นไปปฏิบัติการ หรือไม่ก็ต้องส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวใหม่ขึ้นไปเลย
       
       หอดูดาวโซเฟียบันทึกภาพแรกได้เมื่อเดือน พ.ค.ของปีที่ผ่านมา และเมื่อเดือน พ.ย.หอดูดาวบนโบอิง 747 นี้ได้เริ่มปฏิบัติภารกิจวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรก โดยการส่องเข้าในเนบิวลานายพรานผ่านเมฆหนาของฝุ่นที่ทำให้แสงสีของภาพไม่คม ชัดอย่างที่เราเห็น
       
       “มีกลุ่มดาวอยู่ในนั้นซึ่งเพิ่งเกิดใหม่สดๆ ร้อนๆ โดยจอกศักดิ์สิทธิ์สำหรับวงการดาราศาสตร์ ก็คือการได้เห็นดวงดาวที่เพิ่งเริ่มต้นส่องสว่าง และสิ่งหนึ่งที่เราทำได้ด้วยกล้องโซเฟียนี้คือการมองเข้าไปในรายละเอียด ของดวงดาวรุ่นเยาว์นี้” ศ.เฮอร์เตอร์กล่าว
       
       ศ.เฮอร์เตอร์บอกด้วยว่า ข้อมูลจากกล้องโซเฟียนี้ให้โอกาสจำเพาะในการศึกษาดาวดวงใหญ่ๆ ในบริเวณเนบิวลาที่บันทึกได้ ซึ่งพบว่ามีการก่อตัวของดวงดาวจำนวนมาก แต่อยู่ได้เพียงไม่กี่ล้านปีเท่านั้น
       
       ทั้งนี้ การที่กล้องโทรทรรศน์ถูกติดตั้งอยู่บนเครื่องบิน ก็ได้สร้างความท้าทายในแบบที่หาจากที่อื่นไม่ได้ให้แก่นักดาราศาสตร์ และกล้องโทรทรรศน์ยังติดตั้งบนอุปกรณ์ลักษณะระดับคงที่ ซึ่งช่วยให้กล้องยังคงจับภาพเป้าหมายได้ โดยไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าเครื่องบินกำลังเคลื่อนที่อยู่
       
       หากแต่กล้องจะจับภาพเป้าหมายได้นิ่งแค่ไหนนั้นเป็นคำถามที่ เจมส์ เดอ บุยเซอร์ (James De Buizer) จากสมาคมการวิจัยอวกาศระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งร่วมดำเนินโครงการกล้องโซเฟียให้นาซาด้วยตั้งข้อสงสัย ซึ่งเขาบอกว่าแม้เราจะจำลองผลทางคอมพิวเตอร์และจำลองการทดลองผ่านอุโมงค์ได้ มากเท่าที่ต้องการ แต่เราก็ไม่ทางรู้ว่าคุณภาพจากกล้องที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องบินที่เคลื่อน ที่ด้วยความเร็ว 0.8 มัคและมีกระแสลมปะทะอยู่ตลอดเวลานั้นจะเป็นอย่างไร
       
       เมื่อการทดลองเดินมาถึงความเป็นจริง ตอนนี้ เดอ บุยเซอร์ กล่าวว่าเราได้ภาพที่มีคุณภาพในระดับที่ค่อนข้างใกล้เคียงคุณภาพดีที่สุดที่ กล้องโทรทรรศน์ในขนาดเดียวกันนี้จะให้ได้
       
       ทั้งนี้ ตามกำหนดเดิมนาซามีแผนส่งหอดูดาวโซเฟียขึ้นไปปฏิบัติการตั้งแต่ปี ค.ศ.1998 ซึ่งเป็นเวลา 3 ปีให้หลังที่หอดูดาวเกาปลดระวาง แต่ด้วยปัญหางบประมาณและการดำเนินงานจึงทำให้โครงการนี้ต้องล่าช้าออกไป และถูกงบยกเลิกไปเมื่อปี 2006 แต่โครงการได้ถูกรื้อขึ้นมาอีกครั้ง และกลายเป็นอีก 1 โครงการสำคัญนาซาร่วมกับโครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ (James Webb Space Telescope)

www.manager.co.th

อัพเดทล่าสุด