คอลัมน์: จับกระแสอาเซียนกับ...มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร: ส่องเลนส์อาเซียน ผ่านภูมิศาสตร์
อาจารย์อุเทน ทองทิพย์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ท่านคงมีเครื่องหมายคำถาม (?) อยู่ในใจมาตลอดว่าอาเซียนตั้งอยู่บริเวณใดของโลกใบนี้ มีลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศอย่างไร ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะส่งผลต่อรูปแบบการใช้ที่ดิน วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ และอาจส่งผลต่อการเมืองการปกครอง รวมทั้งรูปแบบในการพัฒนาประเทศ ฉะนั้นในการศึกษาอาเซียนเราควรทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งถึง ภูมิศาสตร์ (Geography)เพื่อใช้เป็นฐานรากที่มั่นคงดั่งตอกเสาเข็ม หรือมีรากแก้วที่มีรากฝอยช่วยพยุง
อาเซียน : ASEAN (Association of South East Asia Nations) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีป ซึ่งยังมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการปะทุของภูเขาไฟอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ประกอบด้วยดินแดนและหมู่เกาะด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอ เชียแผ่นดินใหญ่ และแม้ว่าโดยทางการเมืองแล้ว หมู่เกาะอันดามันจะเป็นของอินเดีย แต่ทางภูมิศาสตร์แล้วถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมทีเดียวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังหมายรวมถึงอาณาเขตที่กว้าง กว่านั้น รวมไปถึงตอนใต้ของจีน ฮ่องกง และไต้หวันด้วย แต่เนื่องจากระยะหลังใช้หลักการแบ่งทางการเมือง ทำให้ส่วนดังกล่าวถูกรวมเข้ากับบริเวณเอเชียตะวันออก
ลักษณะโดยทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่ตั้ง : อยู่ระหว่างดินแดน 3 ส่วน คือ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และทวีปออสเตรเลีย อยู่ระหว่างประเทศใหญ่ 3 ประเทศ คือ จีน อินเดีย และออสเตรเลีย เมื่อลองสังเกตแล้วภูมิภาคนี้เหมือนกับไข่แดงที่อุดมสมบูรณ์ และเหมาะที่จะเป็นจุดศูนย์กลางในทุกๆ ด้าน ในอดีตนั้นเรียกดินแดนนี้ว่าเอเชียใน หรือเอเชียกลางคำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคำใช้ครั้งแรกในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีอาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศจีน ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย และทวีปออสเตรเลีย ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ่าวเบงกอล หรืออ่าวเมาะตะมะ ประเทศอินเดีย บังกลาเทศ
ลักษณะภูมิประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งได้เป็น 5 ประเภท ประกอบด้วย เขตเทือกเขา อาจแบ่งเป็น สองประเภท ได้แก่ เทือกเขารุ่นเก่า และ รุ่นใหม่ โดยเทือกเขารุ่นเก่า (หมายถึง เทือกเขาที่มีอายุสิบล้านปีขึ้นไป) จะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งโคนของมันอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน และแยกออกมาเป็น 3 ทาง ได้แก่ ทิวเขาด้านตะวันตกและตอนกลางของภูมิภาค คือ สหภาพพม่า และทิศตะวันตก กับภาคเหนือของประเทศไทยและลาว ส่วนด้านตะวันออกของภูมิภาคจะมีการวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก และทางลาว-เวียดนาม ส่วนเทือกเขารุ่นใหม่นั้น จะเป็นแนวต่อเนื่องจากหิมาลัยลงมายังพม่า แล้วกลับขึ้นมาเป็นหมู่เกาะอินโดนีเซีย เป็นภูเขาไฟที่สงบชั่วคราว
ที่ราบ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีหลายๆ บริเวณต่างกันไป เป็นที่ราบลุ่ม ที่ราบลูกฟูก หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ เกิดจากการทับถมของตะกอนจากแม่น้ำ พบอยู่สองฝั่งของแม่น้ำ หากแม่น้ำมีขนาดเล็กจะพบพื้นที่ราบมีขนาดเล็ก บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นแหล่งที่ตั้งของชุมชนและเป็นแหล่งการ เกษตรที่สำคัญของภูมิภาคซึ่งมีในบริเวณแม่น้ำแดงประเทศเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในกัมพูชา และเวียดนามตอนใต้ ที่ราบชายฝั่งในบริเวณติมอร์ตะวันออก มาเลเซีย และทางตอนใต้ของไทยสลับกับเทือกเขา
ที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบสูงฉานในพม่าซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาค บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และบริเวณตอนกลางของประเทศเวียดนาม
บริเวณหมู่เกาะ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มากมาย ประเทศที่มีหมู่เกาะจำนวนมาก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มีเกาะมากกว่า 13,000 เกาะ ประเทศฟิลิปปินส์มีเกาะประมาณ 7,000 เกาะ
บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล บริเวณนี้ประกอบด้วยพื้นที่สามลักษณะ ลักษณะแรก คือ บริเวณที่เป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมของทรายจากการกระทำของคลื่น ในทะเล พื้นที่ลักษณะที่สอง คือ บริเวณพื้นที่ที่เป็นดินเลน มักจะพบป่าไม้ธรรมชาติ เช่น ป่าโกงกาง ป่าจาก เป็นต้น ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างยิ่ง บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลพบได้ทั่วไปในประเทศที่มีอาณาเขตติดทะเล พื้นที่ลักษณะที่สาม คือ พื้นที่ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายหรือหาดเลนเข้าไปใน แผ่นดิน เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบลอนลาดที่เกิดจากการทับถมของทรายหรือเกิดจาก การผุพังของหิน จนกลายเป็นที่ลอนดอน
ลักษณะภูมิอากาศในภาคนี้ มีลักษณะ แบบร้อนชื้นหรือเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นในฤดูฝนและแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ มีฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันหรือรายเดือนสูงสม่ำเสมอเกือบตลอด ทั้งปี สำหรับประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวนมาก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์นั้นจะได้รับอิทธิพลจากลมทะเลและพายุ แบบต่างๆ เกือบตลอดทั้งปี จึงทำให้มีฝนตกชุก ยกเว้นบางบริเวณที่อาจจะมีอากาศแห้งแล้งได้บ้างเป็นระยะเวลาสั้น เช่น ทางตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศฟิลิปปินส์พายุไต้ฝุ่นซึ่งมีทั้งความเร็วลมสูงและปริมาณ น้ำฝนมาก พัดผ่านประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 10 ลูก ดังนั้นจึงได้รับผลกระทบที่รุนแรงจนเกิดภัยธรรมชาติเป็นประจำทุกปี
ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ อันเนื่องจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศ แบบร้อนชื้น อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และทุ่งหญ้านานาชนิด แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่น ประเทศไทย ลาว และอินโดนีเซีย ซึ่งประกอบด้วย ป่าดงดิบ บริเวณที่พบป่าดงดิบมาก ได้แก่ บริเวณใกล้เขตศูนย์สูตร เช่น ภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย หมู่เกาะอินโดนีเซียและภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ป่าไม้ผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ ป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าที่พบมากในเขตที่มีอากาศสลับระหว่างความชุ่มชื้น และความแห้งแล้งชัดเจน พบทางตอนบนของภูมิภาค ในเขตประเทศพม่า ไทย ลาว ป่าสน ป่าสนสองใบและสนสามใบจะพบบริเวณทิวเขาสูง ป่าสนเป็นแหล่งไม้ฟืนที่สำคัญของชาวเขา ป่าชายหาด ในบริเวณหาดทรายธรรมชาติจะมีป่าโปร่ง เช่นเดียวกัน ป่าไม้ผลัดใบ แต่พบตามหาดทราย พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบริเวณที่ติดต่อกับ ทะเลของทุกประเทศ ป่าชายเลน เป็นกลุ่มของสังคมพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีลักษณะทางเสรีวิทยาและการปรับตัวทางโครงสร้าง ที่คล้ายคลึงกันและการขึ้นของพรรณไม้ในป่าชายเลน จะขึ้นอยู่กับแนวเขต ซึ่งผิดแปลกไปจากสังคมพืชป่าบก ทั้งนี้เพราะอิทธิพลจากลักษณะของดิน ความเค็มของน้ำทะเลและการขึ้นลงของน้ำทะเลเป็นสำคัญ สำหรับแนวเขตที่เด่นชัดของป่าชายเลน สุดท้ายป่าปลูกเนื่องจากในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อต้องการรักษาสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ที่สูญเสียไป
เมื่อมามองทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งแล้ว ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของอาเซียน : ASEAN และทรัพยากรที่มีอยู่นั้น เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาสู่ภูมิภาคที่มีความเข้มแข็งมั่นคงและพัฒนาได้ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านความร่วมมือทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อีกทั้งที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศขนาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวน มากที่สุดในโลก อย่างจีน อินเดีย และเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ จะเอื้อประโยชน์ให้กับภูมิภาคนี้อย่างเต็มที่
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง