ดันกกอ.ขีดเพดานค่าสมัครรวมทุกมหา'ลัย
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้เชิญตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อใน สถาบันอุดมศึกษา อาทิ ครูผู้สอนระดับ ม.ปลาย และ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)� มาหารือเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบ กลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชั่นกลาง และ ระบบรับตรง โดยเบื้องต้นทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า การคัดเลือกมีปัญหาจริง และต้องมีการแก้ไข ซึ่งในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนนั้น ไม่ควรให้เด็กต้องมาวิ่งรอกสอบและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดังนั้นน่าจะมีการกำหนดค่าใช้จ่าย ต่อคนในการเลือกเข้าเรียนที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่นักเรียนมากเกินไป เช่น อาจจะเสียเงินค่าสมัครเพียง 1,200� บาท ต่อคนเท่านั้น แต่สามารถที่จะเลือกเรียนที่ไหนก็ได้ หรือ มีการกำหนดให้เลือกอันดับมหาวิทยาลัยว่าจะเป็นกี่อันดับ เป็นต้น และยังเห็นว่าหากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องการจะวัดเด็กในวิชาเฉพาะ ก็ควรให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดสอบให้� เพื่อเด็กจะได้มาสอบที่เดียว พร้อมทั้งเสนอให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวด้วย ซึ่งตนจะนำข้อเสนอทั้งหมดไปเสนอต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ที่จะมีการประชุมกันในวันที่ 3 ก.พ. นี้
���
ด้าน ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ในฐานะนายกสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย� (สอท.) กล่าวว่า� สอท.ได้รวบรวมข้อมูลนิสิต นักศึกษา ที่ขึ้นทะเบียนเรียนชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โดยจำแนกการรับด้วยระบบแอดมิชชั่นกลาง รับผ่าน สอท. และ ระบบรับตรงผ่านมหาวิทยาลัย ใน 23 สถาบัน พบว่า มีนิสิต นักศึกษา ผ่านการคัดเลือก จำนวน 121,383 คน แยกเป็น รับผ่านแอดมิชชั่นกลาง 40,506 คน คิดเป็น 33.37% รับผ่านระบบรับตรง� 80,877 คน คิดเป็น 66.63% แต่เมื่อดูเฉพาะรับตรง พบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับ 36.27% ม.เกษตรศาสตร์ 50.06% ม.ขอนแก่น 72.05%� ม.เชียงใหม่� 57.98% ม.ทักษิณ� 97.23% ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 84.97% ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 72.35% ม.เทคโนโลยีสุรนารี 70.48%� ม.ธรรมศาสตร์ 51.91% ม.นครพนม 100 % ม.นราธิวาสราชนครินทร์ 95.83% ม.นเรศวร 63.36%� ม.บูรพา 81.74%� ม.มหาสารคาม 71.35% ม.มหิดล 68.43% ม.แม่โจ้ 69.00% ม.แม่ฟ้าหลวง 83.27% ม.วลัยลักษณ์ 84.62% ม.ศรีนครินทรวิโรฒ� 59.20% ม.ศิลปากร 70.98% ม.สงขลานครินทร์ 62.23% ม.อุบลราชธานี 63.19% และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง� 67.57%
���
ในทางปฏิบัติมหาวิทยาลัยจะรับตรงก่อนแอดมิชชั่นกลาง ซึ่งตัวเลขรับตรงบางคณะตั้งไว้สูง 70- 100% แต่พอรับจริงอาจไม่ได้ตามเป้าหมาย ทำให้ต้องไปรับร่วมในแอดมิชชั่นกลางด้วย แต่เมื่อไม่ได้เด็กอีกก็จะไปรับตรงเพิ่ม ซึ่งผมเห็นว่าการที่มหาวิทยาลัยไปรับตรงเองมาก ๆ จะทำให้ นักเรียนเดือดร้อน ดังนั้นผมจึงขอให้คณะทำงานศึกษาแอดมิชชั่นไปดูว่าสัดส่วนการรับตรงกับแอดมิ ชชั่นกลาง ที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไหร่ เพื่อเสนอต่อ ทปอ. ในวันที่ 12 ก.พ. นี้ ศ.ดร.ประสาท กล่าว.
�
เดลินิวส์