ไข้ไทฟอยด์ โรคไข้ไทฟอยด์ดูอาการและการรักษาไข้ไทฟอยด์


900 ผู้ชม


ไข้ไทฟอยด์คืออะไร

ไข้ไทฟอยดท์เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Salmonella Typhi เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำและอาหาร หากการสาธารณะสุขดีการระบาดของเชื้อนี้จะลดลง

คนรับเชื้อนี้ได้อย่างไร

คนจะรับเชื้อนี้จากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปน เปื้อนเชื้อโรค คนที่เป็นโรคจะขับถ่ายเชื้ออกทางอุจาระ เชื้อนี้อาจจะปนเปื้อนในน้ำตามธรรมชาติ หรืออาจจะปนเปื้อนอาหาร ผู้ป่วยบางคนจะมีเชื้อในร่างกายที่เรียก carrier ซึ่งสามารถขับเชื้อออกสิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีอาการเมื่อคนได้รับ เชื้อ เชื้อจะเข้าสู่ลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม โดยทางกระแสเลือด

อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร

หลังจากได้รับเชื้อนี้1-2 สัปดาห์ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดอาการเบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดตามตัว มีไข้สูง 40.5 องศา มีอาการท้องร่วง บางรายอาจจะมีผื่นขึ้นตามตัว บางรายอาจจะมีอาการแน่นท้อง หากไม่รักษาผู้ป่วยบางรายหายเองได้ใน3-4 สัปดาห์

การวินิจฉัย

สามารถเพาะเชื้อจากเลือดในสัปดาห์แรก การวินิจฉัยอย่างอื่นไม่บ่งจำเพาะ

การรักษา

ก่อนที่จะมียาปฏิชีวนะอัตราการตายประมาณร้อยละ 10 แต่หลังจากมียาปฏิชีวนะอัตราการตายลดลงผู้ป่วยอาจจะตายจากปอดบวม ลำไส้ทะลุถ้าผู้ป่วยเพลียมากก็ให้น้ำเกลือ และยาปฏิชีวนะ

โรคแทรกซ้อน

  • เลือดออกทางเดินอาหาร
  • ลำไส้ทะลุ
  • ไตวาย
  • ช่องท้องอักเสบ

การป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อโรค
  • ให้ดื่นน้ำต้มสุกทุกครั้ง
  • น้ำขวดจะมีความปลอดภัยสูงกว่าน้ำดื่มทั่วไป
  • เวลาดื่มน้ำไม่ต้องใส่น้ำแข็ง
  • รับประทานอาหารที่ทำให้สุกใหม่ๆ
  • ผักหรือผลไม่ต้องล้างให้สะอาดจริงๆเพราะปนเปื้อนเชื้อได้ง่าย
  • ผลไม้ที่มีเปลือกให้ปลอกเปลือกออก
  • ล้างมือก่นรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารจากร้านค้าข้างถนน
  1. การได้รับวัคซีน

ข้อมูลจากกองควบคุมโรคติดต่อ

ไข้ทัยฟอยด์ และไข้พาราทัยฟอยด์

(Typhoid fever and Paratyphoid fever)

ลักษณะโรค :

เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียทั่วร่างกายโดยมีอาการไข้ลอย ปวดศีรษะอ่อนเพลียเบื่ออาหารไอแห้งๆพบอาการท้องผูกในผู้ใหญ่มากกว่าท้องร่วง อาการแสดงได้แก่ หัวใจเต้นช้าม้ามโตมีผื่นดอกกุหลาบ (rose spots)นอกจากนี้ ยังมีผลต่อเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองพบการติดเชื้ออย่างอ่อนๆหรือการติดเชื้อ แบบ atypical ได้บ่อย

ในผู้ป่วยไข้ ทัยฟอยด์แผลในลำไส้เล็ก(ulcerationofPeyer’s patches) ทำให้เกิดเลือดออกในลำไส้ หรือลำไส้ทะลุได้(พบได้ประมาณ1 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วย)โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษามี อาการไข้ไม่มีเหงื่อ และประสาทเฉื่อยชา อาจจะสูญเสียความรู้สึกของการได้ยินบ้างเล็กน้อยและอาจมีการอักเสบของต่อมพา โรติด (parotid gland ) อัตราป่วยตายตามปกติ 10 เปอร์เซ็นต์อาจจะลดเหลือต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพทันท่วงที การกลับเป็นโรคใหม่พบประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาและในกลุ่มที่ได้รับยาต้านจุลชีพจะยิ่งพบได้ สูงขึ้นถึง 15-20 เปอร์เซ็นต์ส่วนที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่ปรากฎอาการนั้น พบได้ในพื้นที่ที่เกิดโรคเป็นประจำ

ไข้พาราทัยฟอยด์ มีอาการคล้ายคลึงกันเพียงแต่อาการไม่รุนแรงเท่าทัยฟอยด์ และมีอัตราป่วยตายต่ำกว่ามากการกลับเป็นโรคใหม่อาจพบได้ประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยถ้าเมื่อใดไม่ใช่เป็นการติดเชื้อซัลโมเนลล่าทั่วร่างกาย อาการที่แสดงจะมีเพียงกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเท่านั้น

เชื้อสาเหตุ

สามารถแยกได้จาก เลือดปัสสาวะ และอุจจาระหลังจากสัปดาห์แรกผ่านไปในคนไข้ที่ได้กินยาปฏิชีวนะไปแล้วยังพอจะ แยกเชื้อได้จากไขกระดูกผลการตรวจ antibody ด้วยวิธีagglutinationในระหว่างสัปดาห์ที่สอง ใน pair sera ของผู้ป่วยพบว่าครั้งหลังสูงกว่าครั้งแรกเกินกว่า4 เท่าขึ้นไปซึ่งจะพบได้น้อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยไข้ทัยฟอยด์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนแต่การตรวจสอบนี้มีขีด จำกัดด้านความไวจึงไม่ช่วยในการวินิจฉัยมากนัก


เชื้อก่อโรค :

ไข้ทัยฟอยด์เกิดจากเชื้อ Salmonella typhiที่เป็นแบคทีเรียชนิดแท่งสามารถแยกออกได้เป็น 106 types โดยวิธี phage typingซึ่งมีประโยชน์ต่อการศึกษาระบาดวิทยาของโรค

ไข้พาราทัยฟอยด์ เกิดจากเชื้อ3serotypesดังนี้(1) SalmonellaparatyphiA, (2) S. paratyphi B (S. schottm?lleri)และ(3) S. paratyphi C (S. hirschfeldii)และสามารถแยกเป็น phage types ต่าง ๆ ได้อีก

การเกิดโรค :

พบได้ทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกานั้น พบผู้ป่วยไข้ทัยฟอยด์ได้ประปรายด้วยจำนวนที่ใกล้เคียงกันโดยน้อยกว่า 500 รายต่อปี มาเป็นเวลาหลายปี(เมื่อเปรียบเทียบกับปี ค.ศ.1950ที่มี

ผู้ป่วยถึง 2,484 ราย) เนื่องมาจากการปรับปรุงทางด้านสุขาภิบาล ทำให้โรคนี้ถูกกำจัดออกไปจากพื้นที่ในหลาย ๆ แห่งดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นผู้ป่วยที่นำเข้ามาจากพื้นที่ที่พบโรค เป็นประจำ

มีรายงานพบหลายสายพันธุ์ที่ดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิด (multi-resistant) เกิดขึ้นในทวีปเอเซีย ตะวันออกกลางและลาตินอเมริกา

ไข้พาราทัยฟอยด์ พบเกิดขึ้นประปรายหรือเกิดระบาดในวงจำกัด บางทีอาจจะมีผู้ป่วยมากกว่าที่พบในรายงานก็ได้ ในการจำแนกเชื้อพาราทัยฟอยด์ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดานั้นพบได้บ้างนานๆ ครั้งและที่พบได้บ่อย คือ paratyphoid B ส่วน A พบได้น้อยกว่า สำหรับC นั้น พบได้น้อยมาก

แหล่งรังโรค :

คนเป็นแหล่งโรคของไข้ทัยฟอยด์และไข้พาราทัยฟอยด์ พบน้อยมากที่สัตว์เลี้ยงเป็นแหล่งโรคของพาราทัยฟอยด์ผู้สัมผัสโรคในครอบครัว อาจเป็นพาหะชั่วคราวได้ส่วนใหญ่ของโลก พบว่ามีพาหะที่ปล่อยเชื้อทางอุจจาระได้มากกว่าพาหะที่ปล่อยเชื้อทางปัสสาวะ การเป็นพาหะอาจเป็นได้ หลังจากมีอาการป่วยแบบเฉียบพลัน หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลยก็ได้ ระยะที่คงสภาพของพาหะอยู่ได้นาน (Chroniccarrier)พบได้บ่อย ๆ ในผู้ป่วยวัยกลางคน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงคนที่เป็นพาหะ มักเป็นผู้มีพยาธิสภาพของถุงน้ำดีในรายที่เป็นพาหะที่ปล่อยเชื้อทางปัสสาวะ ได้นานพบในการติดเชื้อ Schistosomahaematobium ในคราวที่เกิดการระบาดของไข้พาราทัยฟอยด์ในอังกฤษพบเชื้อ S. paratyphi B ออกมากับน้ำนม และอุจจาระของวัว

วิธีการแพร่เชื้อ :

จากอาหารและน้ำ ที่ปนเปื้อนอุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วยและคนที่เป็นพาหะในบางพื้นที่ของโลก นี้ พบพาหะที่สำคัญ ได้แก่หอยปูกุ้งที่จับได้จากบริเวณแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนน้ำเสียจากท่อ ระบายผลไม้สดหรือผักสดที่ใช้ปุ๋ยอุจจาระรด หรือนม และผลิตภัณฑ์นมที่มีการปนเปื้อน (โดยทั่วไปจะปนเปื้อนเชื้อโรคมาจากมือของคนที่เป็นพาหะ) ตลอดจนผู้ป่วยที่ไม่ถูกค้นพบแมลงวันอาจทำให้อาหารอาหารปนเปื้อนเชื้อโรคแล้ว เพิ่มจำนวนมากขึ้นจน ถึงขนาดที่ทำให้เกิดโรคได้

ระยะฟักตัว :

ขึ้นอยู่กับจำนวนของเชื้อที่ได้รับ ตามปกติมีช่วงอยู่ระหว่าง 1-3 สัปดาห ์แต่สำหรับไข้พาราทัยฟอยด์ที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ใช้เวลา 1-10 วัน

ระยะติดต่อของโรค :

พบเชื้อได้ตลอดเวลาที่มีเชื้อออกมากับสิ่งขับถ่ายตามปกติตั้งแต่สัปดาห์แรก จนถึงฟื้นไข้ หลังจากนั้นก็แตกต่างกันไป (ตามปกติ 1-2 สัปดาห์สำหรับไข้พาราทัยฟอยด์)ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของคนไข้ทัยฟอยด์ที่ไม่ได้รับการรักษาจะปล่อยเชื้อแบคทีเรียเป็นเวลา 3 เดือน หลังจากที่มีอาการ และ 2-5 เปอร์เซ็นต์ ที่กลายเป็นพาหะถาวรในบางคนที่ได้รับเชื้อพาราทัยฟอยด์อาจกลับกลายเป็นพาหะ ที่ถุงน้ำดีได้ตลอดไป

ความไวและความต้านทานต่อการรับเชื้อ :

คนทั่วไปมีความไว ต่อเชื้อนี้ และจะรับเชื้อได้ง่ายในคนที่ไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร (gastric achlorhydria) ภูมิต้านทานที่ค่อนข้างเฉพาะเกิดขึ้นหลังจากที่มีอาการของโรค หรือการติดเชื้อแบบไม่ปรากฎอาการหรือภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน แต่ไม่เพียงพอที่จะป้องกันโรคได้ในกรณีที่กินเชื้อเข้าไปเป็นจำนวนมากใน พื้นที่ที่มีโรคเป็นประจำพบว่า ไข้ทัยฟอยด์มักจะเป็นกับเด็กก่อนวัยเรียนเรียนและเด็กวัยเรียน

วิธีการควบคุมโรค

ก. มาตรการป้องกัน

  1. ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความ สำคัญของการล้างมือ ส่งเสริมให้มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการล้างมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ ปรุงอาหาร และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยและเด็ก
  2. กำจัดอุจจาระให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและมี ห้องส้วมที่ป้องกันแมลงวันได้เน้นเรื่องการใช้กระดาษชำระให้เพียงพอ เพื่อป้องกันมือไม่ให้สัมผัสอุจจาระ ในกรณีที่จำเป็นต้องถ่ายอุจจาระนอกส้วมให้ขุดหลุมฝังอุจจาระในที่ที่ห่างไกล จากแหล่งน้ำดื่ม
  3. แหล่งน้ำสาธารณะควรมีการป้องกันให้สะอาด และฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนควรจัดหาแหล่งน้ำสะอาดหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการปนเปื้อน ระหว่างท่อน้ำเสียกับท่อน้ำดีสำหรับบุคคล หรือกลุ่มคนจำนวนไม่มากหรือขณะกำลังเดินทาง หรือขณะทำงานในพื้นที่ควรดื่มน้ำต้มหรือน้ำที่ฆ่าเชื้อแล้ว
  4. ควบคุมแมลงวันโดยใช้มุ้งลวดหรือยาฆ่าแมลงหรือ ใช้เหยื่อหรือกับดักควบคุมการแพร่พันธุ์แมลงวันโดยการจัดเก็บ และการกำจัดขยะอย่างสม่ำเสมอบ่อย ๆและในการก่อสร้างส้วม ให้คำนึงถึงวิธีการควบคุมแมลงวัน ตลอดถึงการดูแลรักษาด้วย
  5. ให้ความพิถีพิถันกับความสะอาดในการจัดเตรียม อาหารการจับต้องอาหาร การเก็บอาหารในตู้เย็นให้เหมาะสมควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษเกี่ยวกับคุณภาพ ของสลัด และอาหารอื่น ๆ ที่รับประทานขณะที่เย็นให้มีการปฏิบัติเช่นนี้ทั้งที่บ้าน และที่ร้านอาหารนอกบ้านถ้าผู้บริโภคมีความไม่มั่นใจในเรื่องของการปฏิบัติ ตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ก็ให้เลือกรับประทานอาหารในขณะที่ร้อนและปรุงสุกแล้วเท่านั้นและควรปอก เปลือกผลไม้ด้วยตัวเองก่อนที่จะรับประทาน
  6. ทำการพาสเจอร์ไรส ์หรือต้มนม และผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิดให้คำแนะนำด้านสุขาภิบาลแก่แหล่งผลิตนมการขนส่งผลิตภัณฑ์นม
  7. เร่งรัดให้มีการควบคุมคุณภาพของขบวนการเตรียม อาหารและเครื่องดื่มเพื่อการบริโภค ใช้น้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้วโดยคลอรีนในการผลิตอาหารกระป๋องในขณะที่ทำ ให้เย็น(cooling)
  8. ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงทารกด้วยน้ำนมแม่ ต้มน้ำและนมที่ใช้เลี้ยงทารก
  9. อนุญาตให้มีการจับและจำหน่ายอาหารทะเล จากแหล่งที่มีการตรวจสอบแล้วเท่านั้น ให้ต้มอบหรือนึ่งอาหารก่อนรับประทานอย่างน้อย 10 นาที
  10. แนะนำผู้ป่วยผู้พักฟื้นคนที่เป็นพาหะ ให้รู้จักสุขวิทยาส่วนบุคคลเน้นการล้างมือให้เป็นกิจวัตรประจำหลังเข้าส้วม และก่อนเสริฟอาหาร
  11. ห้ามคนที่เป็นพาหะปรุงอาหาร และห้ามไม่ให้เป็นผู้ดูแลคนไข้ ค้นหาและแนะนำผู้ที่เป็นไข้ทัยฟอยด์แยกเพาะเชื้อจากท่อระบายอาจช่วยในการค้น หาคนที่เป็นพาหะได้
    ในคนที่เป็นพาหะเรื้อรังควรได้รับการดูแล และจำกัดหน้าที่การงานจนกว่าจะปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบกฎเกณฑ์ของท้องถิ่น หรือของรัฐนั้นซึ่งตามปกติต้องไม่พบเชื้อจากการแยกเพาะเชื้อ จากอุจจาระติดต่อกัน 3 ครั้ง (และจากปัสสาวะด้วยในกรณีของพื้นที่ที่มีพยาธิใบไม้เลือดเป็นโรคประจำถิ่น) ตัวอย่างที่ส่งตรวจต้องเก็บห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน และเก็บครั้งที่สามหลังจากหยุดยาต้านจุลชีพแล้วอย่างน้อย 48 ชั่วโมงตัวอย่างอุจจาระสดที่ตรวจมักได้จากการทำ rectal swabอย่างน้อย 1 ใน 3 ของตัวอย่างที่ให้ผลเป็นลบนั้นต้องได้จากการถ่ายอุจจาระของคนไข้เองมักจะพบ มีก้อนนิ่ว หรือความผิดปกติของท่อน้ำดีจากผลฟิล์มเอ็กเรย การให้ยาampicillinหรือamoxicillinร่วมกับprobenecidหรือco-trimoxazole พร้อม ๆ กันให้ผลดีต่อการรักษาในคนที่เป็นพาหะ แม้ว่าจะเกิดความผิดปกติของท่อน้ำดีแล้วก็ตามผลจากการศึกษาเบื้องต้นของการ ใช ้quinolones พบว่าก็ให้ผลการรักษาที่ดีมาก
  12. การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทัยฟอยด์ไม่แนะนำให้ฉีด ในสหรัฐอเมริกาหรือในคนที่จะเดินทางไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว การฉีดวัคซีนในปัจจุบันนี้ใช้กับคนที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้ออันเกิดจากการ ประกอบอาชีพ หรือคนเดินทางไปในพื้นที่เกิดโรคเป็นประจำ รวมถึงคนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีการเกิดโรคมาก ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวของคนที่เป็นพาหะ วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ชนิดเชื้อตาย ฉีดห่างกันหลายสัปดาห์ ในกลุ่มที่ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ ควรฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็มทุกๆ 3 ปี วัคซีนเชื้อเป็นชนิดกินใช้ S. typhi สายพันธุส์ Ty21a ต้องกินอย่างน้อย 3 โด๊สนอกจากนี้ยังมีวัคซีนชนิดฉีดที่มีส่วนประกอบของpolysaccharide Vi antigenซึ่งให้ 1 โด๊ส ก็ยังใช้อยู่โดยที่วัคซีนพวกนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันน้อยกว่าวัคซีน ชนิดเชื้อตายอย่างไรก็ตาม การใช้วัคซีนอาจไม่ป้องกันไข้ทัยฟอยด์ได้ถ้าได้รับวัคซีนหลังจากได้รับเชื้อ เป็นจำนวนมาก ไข้พาราทัยฟอยด์ไม่มีวัคซีนที่ป้องกันโรคได้วัคซีนชนิดเชื้อตายทั้งเซลล์ (killed whole cell vaccine)ใช้ไม่ได้ผลและมีการรายงานว่ามีผลข้างเคียงมากขึ้นอย่างเห็นได้ ชัดTAB vaccine ที่มีเชื้อพาราทัยฟอยด์ชนิด A และ B ที่ถูกทำให้ตายแล้ว ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคไข้พาราทัยฟอยด์ได้แต่มีการกระตุ้นให้เกิดการตอบ สนองได้ดีกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย

ข. การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม

  1. รายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำท้องถิ่น
  2. การแยกผู้ป่วย :การป้องกันการแพร่เชื้อผ่านระบบทางเดินอาหารในขณะที่ป่วยผู้ป่วยต้องได้รับ การดูแลรักษาในโรงพยาบาล เมื่อมีอาการเฉียบพลันการควบคุมดูแลผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ ถิ่นจะยกเลิกก็ต่อเมื่อ การเพาะเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยติดต่อกันทั้ง 3 ครั้งนั้นมีผลเป็นลบ (และตรวจปัสสาวะด้วยถ้าพบว่าคนไข้เป็นโรคพยาธิใบไม้ในเลือด) การเก็บตัวอย่างให้เก็บติดต่อกัน 3 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรกห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และหลังจากหยุดยาปฏิชีวนะอย่างน้อย48ชั่วโมง และการติดตามดูแลผู้ป่วยต้องทำให้ได้อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังจากที่มีอาการถ้าผลการตรวจยังพบเชื้ออยู่ในครั้งใดใน 3 ครั้งให้มีการตรวจหาเชื้อทุกเดือนตลอด 1 ปี หลังจากแสดงอาการจนกว่าอย่างน้อยไม่พบเชื้อติดต่อกัน 3 ครั้ง
  3. การทำลายเชื้อในอุจจาระปัสสาวะ และสิ่งปนเปื้อน : ให้ทำลายพร้อมๆ กัน ในชุมชนที่มีระบบการกำจัดที่ทันสมัยและเพียงพอ ให้ทิ้งโดยตรงลงท่อไม่ต้องทำลายเชื้อก่อน
  4. การกักกัน : ไม่มี
  5. การให้ภูมิคุ้มกันแก่ผู้สัมผัส: เนื่องจากการฉีดวัคซีนทัยฟอยด์ไม่มีประสิทธิผลจึงไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ สัมผัสผู้ป่วย เช่นผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้อยู่ในครอบครัวและบุคลากรทางสาธารสุขที่อาจได้รับเชื้อจากคนป่วย แต่อาจพิจารณาให้กับผู้สัมผัสกับผู้เป็นพาหะ
  6. การสอบสวนผู้สัมผัสและแหล่งโรค:ควรดำเนินการค้น หาผู้ป่วยที่ไม่รายงาน คนที่เป็นพาหะหรือค้นหาแหล่งอาหารน้ำนมและอาหารทะเลในกลุ่มนักเดินทางท่อง เที่ยว ที่พบผู้ป่วย ควรได้ติดตามเฝ้าระวังคนอื่น ๆ ด้วย การที่มีระดับของภูมิคุ้มกันต่อVi polysaccarideที่สูงขึ้น มักจะบ่งชี้ว่าคนนั้นเป็นพาหะของไข้ทัยฟอยด ์การแยกเชื้อเพื่อให้ทราบ phage type ในผู้ป่วยและผู้ที่เป็นพาหะนั้น ก็เพื่อจะค้นหาวงจรของการแพร่เชื้อ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน หรือผู้สัมผัสใกล้ชิดไม่ควรจะประกอบอาชีพที่มีโอกาสแพร่เชื้อ เช่นประกอบอาหาร/ปรุงอาหารจนกว่าจะไม่พบเชื้อในอุจจาระและปัสสาวะอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกัน24 ชั่วโมง
  7. การรักษาเฉพาะ:ใช้ยา chloramphenicol, amoxicillin หรือ co-trimoxazole ในการรักษาการติดเชื้อแบบเฉียบพลันซึ่งให้ผลการรักษาที่ดีกลุ่มยา quinoloneและcephalosporins ก็ให้ผลการรักษาที่ดีเช่นกันเชื้อที่ทำการแยกได้แล้วสมควรจะทำการทดสอบหาการ ดื้อยาด้วย บางสายพันธุ์พบว่าดื้อต่อยา chloramphenicol, ampicillin และ amoxicillin แต่มีความไวต่อยา co-trimoxazoleสำหรับยาพวก steroidพบว่าให้ผลกับคนไข้ที่มีอาการหนัก

ค. มาตรการเมื่อเกิดการระบาด

  1. ค้นหาผู้ป่วยหรือพาหะซึ่งเป็นแหล่งแพร่เชื้อและอาหารหรือน้ำที่อาจเป็นสาเหตุของการระบาด
  2. เรียกเก็บอาหารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุ หรือห้ามบริโภค
  3. พาสเจอร์ไรส์หรือต้มนมและหยุดการบริโภคผลิตภัณฑ์นมหรืออาหาที่สงสัย จนกว่าจะมีการตรวจที่แน่ชัดว่าปลอดภัย
  4. ใส่คลอรีนในแหล่งน้ำที่สงสัยให้เพียงพอภายใต้การแนะนำที่เหมาะสม หรือหยุดการใช้น้ำฆ่าเชื้อน้ำดื่มด้วยคลอรีนไอโอดีนหรือต้มสุก
  5. ไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนแก่คนทั่วไป อาจพิจารณาใช้ในบางกรณี

ง. สัญญาณภัยที่ควรระวัง : การแพร่เชื้อไข้ทัยฟอยด์อาจเกิดขึ้นในที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการจัดหาน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูลและการสุขาภิบาลอาหาร และน้ำซึ่งอาจเนื่องมาจากมีผู้ป่วย หรือพาหะในกลุ่มคนที่มีการอพยพเคลื่อนย้าย การใช้ความพยายามในการปรับปรุงแหล่งน้ำดื่ม และการกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ปลอดภัยจะมีประโยชน์มากกว่าการให้วัคซีนทัยฟอยด์ แก่ชุมชน

จ. มาตรการควบคุมโรคระหว่างประเทศ

  1. นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปยังพื้นที่ ที่มีมีโรคประจำถิ่น ควรได้รับวัคซีนไข้ทัยฟอยด์โดยเฉพาะ ถ้าการเดินทางนั้นมีโอกาสได้บริโภคอาหารและน้ำที่ไม่ปลอดภัยหรือต้องไป สัมผัสใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะชนบทไม่มีกฎหมายบังคับการให้ฉีดวัคซีนก่อนเข้าประเทศ
  2. ให้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกเรื่องไข้ทัยฟอยด์และไข้พาราทัยฟอยด์

 



ที่มา www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด