กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา กฎหมายการศึกษา


1,082 ผู้ชม


กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีสาระสำคัญที่ควรรู้และทำความเข้าใจ ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายและหลักการ
เนื่อง จากมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จะส่วนพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญ ก้าวหน้า ดังนั้น การศึกษาจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้คนในชาติมีความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป รัฐจึงต้องลงทุนด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติขึ้นมาทดแทนผู้ใหญ่ที่จะอ่อนกำลังลงในอนาคต ประเทศชาติจึงต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาการศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยมุ่งเน้นให้คนในสังคมมี ความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ
2. หน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้รัฐจะต้องดำเนินการทางด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน ดังนี้
     1) รัฐต้องจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยให้เด็กและเยาวชนในชาติมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาอย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
     2) รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมต้องจัดให้มีการสื่อสารและการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพ บุคคลที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ บุคคลที่ไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส
3. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการ ศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานจน อายุสิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจนให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว
4. รูปแบบการจัดการศึกษา
     1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาืที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัด และการประเมินผลอันเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ได้แก่ การเรียนการสอนในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆทั้งของรัฐและเอกชน
     2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิีธีการจัดการศึกาา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและปรเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
     3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เปิดโอกาศให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยอาศัยจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพของสถาบันแรงงานต่าง ๆ การอบรมวิชาชีพในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน การอบรมภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น
5. แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การ จัดการศึกษาทุกรูปแบบจะเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ แบะพัฒนาตนเองได้ โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ด้วยเหตุนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตาม ธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

www.trueplookpanya.com

อัพเดทล่าสุด