ไขปัญหาจุกจิกในการแสดงผล
ไขปัญหาจุกจิกในการแสดงผล
ใช้การ์ดจอของ TNT แล้วเมื่อพิมพ์ข้อความต่าง ๆ สระบนล่างไม่ยอมขึ้นมาทันทีต้องพิมพ์ตัวต่อไปก่อนจึงจะเห็น เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ๆ กับผู้ที่ใช้การ์ดจอของ TNT ครับให้ลองหา Driver รุ่นใหม่ ๆ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตการ์ดจอมาใช้ จะแก้ไขได้หรือใช้ Driver ของ Detonator Version 3.65 หรือใหม่กว่านี้ขึ้นไป หาได้จาก https://www.nvidia.com
ปัญหาสีเพี้ยนของหน้าจอแก้ปัญหาอย่างไร
ปัญหาสีเพี้ยนลักษณะนี้อาจเกิดจากคลื่นแม่เหล็กที่วางอยู่ใกล้ ( ตู้เย็น,เตาอบไมโครเวฟ,ลำโพง ) ถาพที่ปรากฎ จึงมีสีเพี้ยนไป ซึ่งหากว่ามีการนำลำโพงที่ไม่มี Shield ป้องกันคลื่นแม่เหล็ก ไปวางไว้ข้างจอคอมพิวเตอร์ ก็อาจพบว่าภาพบนจอคอมพิวเตอร์แสดงสีเพี้ยน ๆ เพราะว่าในตัวของลำโพงจะประกอบไปด้วยคลื่นแม่เหล็กแรงสูงอยู่ภายใน จึงทำให้มอนิเตอร์ที่มีการใช้สนามแม่เหล็กในการควบคุมการยิงเม็ดสี ให้ตกกระทบ ตรงตำแหน่งบนหน้าจออย่างถูกต้อง เกิดอาการยิงผิดยิงถูก ภาพที่ออกมาจึงมีสี เพี้ยนไป วิธีการแก้ไขก็เพียงวางลำโพงให้ห่างจากจอคอมพิวเตอร์พอประมาณ หรือหาลำโพงที่ Shield ป้องกันคลื่นแม่เหล็กมาใช้ ภาพสีก็จะหายไปครับ แต่ถ้าอาการยัง ไม่ดีขึ้น ควรให้ช่างตรวจเช็คดูดีกว่า เพราะบางทีอาจมีปัญหาที่จอมอนิเตอร์เอง
เพราะเหตุใดจอจึงดับโดยไร้สาเหตุ
ใช้ Windows 98 ตอนบูตเครื่องขึ้นมาไม่มีปัญหา แต่ถ้าทิ้งเครื่องไว้สักประมาณ 5 นาทีหรือขณะกำลังทำงาน อยู่ จอก็ดับไปเฉย ๆ แต่เครื่องทำงานอยู่ ถ้าไปกดปุ่ม ESC ก็จะกลับมาเหมือนเดิม สาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็คือ เกิดจากการตั้งค่า ในส่วน Power Management ( การประหยัดในวินโดวส์ เมื่อไม่ได้ทำงานบนคอมพิวเตอร์เป็นเวาลานาน ๆ ) ของวินโดวส์ ซึ่งขั้นตอนการแก้ไขก็ทำตามขั้นตอนดังนี้
1 เข้าไปในส่วนของ Display Properties คลิกแท็บ Screen Saver
2 คลิกปุ่ม Setting
3 คลิกที่แท็บ Power Schemes
4 เลือกค่าต่าง ๆ ในส่วนของ Setting for Always.... ให้เป็น Never ให้หมด และคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า
5 คลิกปุ่ม OK อีกครั้งเพื่อปิด หน้าต่าง Display Propertie เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว
ชัตดาวน์แล้วปรากฎข้อความ "Windows protect error
ปัญหานี้มักจะเกิดมาจากไดรเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์แวร์ประเภทการ์ดจอ และเมนบอร์ดเสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งการแก้ไขทั่ว ไปก็ให้เข้าไปดาวน์โหลดไดรเวอร์ ตัวใหม่ ๆ จากเว็บไซต์ของผู้ผลิต มาแทนไดรเวอร์ ตัวเก่า ส่วนคนที่ใช้การ์ดจอของ Nvidia และใช้ไดรเวอร์ Detemator 3 (6.xx) ก็จะเกิดปัญหานี้ด้วย เพราะว่า Detemator 3 (6.xx) จะไม่ทำการเคลียร์แรม เมื่อเลิกใช้ พอทำการชัตดาวน์วินโดวส์มันจะจัดการกับแรมที่ค้างไม่ได้ จึงขึ้นข้อความ Protection Error ทางแก้ไขนั้นให้ทำการ ดาวน์โหลดไดรเวอร์การ์ดจอของ Nvidia เวอร์ชั่น 7.xx มาใช้งาน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.nvidia.com แต่ไดรเวอร์ตัวนี้ก้ยังมีปัญหาในการเล่น Mode 3D วิธีแก้ก็ให้คุณทำการรีสตาร์ทใหม่ 1 ครั้ง แล้วค่อยชัตดาวน์ครับ
จอภาพสั่น ๆ หรือกระพริบอยู่ตลอดเวลา ทำงานแล้วรู้สึกปวดตาจะแก้ปัญหาอย่างไรดี ??
ปัญหานี้เกิดจากคุณไม่ได้เข้าไปปรับอัตรา Refresh Rate ของจอภาพใน Windows ครับ หรือถ้าปรับแล้วก็ยังสั่นอยู่อีก ให้ลองดูครับว่ามีคลื่นสนามแม่เหล็ก มากวนจอภาพของเราหรือเปล่า เช่น จอภาพที่วางใกล้ ๆ กัน หรือจะเป็นคลื่นจากลำโพงที่วางไว้ใกล้กับจอภาพ อัตรา Refresh สูง ๆ นั้นจะช่วยให้ภาพที่แสดงออกมานั้นนิ่งดูสบายตามากขึ้น สำหรับจอภาพขนาด 15" ส่วนใหญ่จะปรับอัตรา Refresh Rate อยู่ที่ 75-85 Hz ซึ่งการปรับอัตรา Refresh Rate นี้จะสัมพันธ์กับความละเอียดของจอด้วย เช่น 800x600 @ 85Hz , 1024x768 @ 75Hz ฯลฯ ขั้นตอนการปรับอัตรา Refresh Rate ทำได้ดังนี้
- คลิกขวาที่ Desktop เลือก Properties
- คลิกที่แท็บ Settings และคลิกที่ Advanced
- คลิกที่แท็บ Adapter ที่ Refresh Rate สามารถปรับอัตรา Refresh Rate ได้ตามต้องการ
- คลิก ปุ่ม OK
- คลิกปุ่ม YES เพื่อยืนยันอีกครั้ง เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ปัญหาได้แล้วละครับ
หากไม่มีส่วนให้ปรับค่า Refresh Rate ทำอย่างไร
เป็นปัญหาพอสมควร เพราะหลังจากการที่ได้ติดตั้งไดรเวอร์ต่าง ๆ ครบแล้วครั้นจะมาทำการปรับแต่งอัตรา Refresh Rate แต่ปรากฎว่าไม่สามารถทำได้เลย เพราะไม่มีช่องให้ปรับแต่ง ซึ่งหากว่าพบปัณหาแบบนี้ก็ต้อง ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการปรับแต่งนั่นก็คือ โปรแกรม Power Strip โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Download.com เมื่อทำการ ดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมก็จะฝังตัวอยู่ที่ทาส์บาร์ใกล้ ๆ กับนาฬิกาด้านขวาล่าง ซึ่งขั้นตอนในการปรับแต่งจากโปรแกรม Power Strip มีดังนี้
1 คลิกขวาที่ไอคอน Power Strip
2 เลือกไปที่ตัวเลือก Desk top
3 ปรับค่ารีเฟรชในส่วนของ Refresh Rate ซึ่งควรปรับอยู่ที่ 70-85 Hz
4 เมื่อปรับแล้วก็ให้ คลิกปุ่ม OK เท่านี้ก็สามารถปรับอัตรารีเฟรซได้แล้วครับ
www.bcoms.net