รวมฮิตเว็บแปลภาษาออนไลน์ ได้ผลทันใจ
คนไทยกับการแปลภาษาเป็นของคู่กันมานาน เนื่องจากเราใช้ "ภาษาไทย" เป็นภาษาหลักในการสื่อสารทั้งในชีวิตประจำวัน และการติดต่อธุรกิจ ถึงแม้จะมีวัฒนธรรมข้ามชาติรายล้อมเข้ามามากมาย แต่ระดับการใช้ "ภาษาต่างประเทศ" ของคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่สู้ดีนัก แต่เมื่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้วนเวียนมาถึง ยิ่งยังประโยชน์ให้คนไทยสามารถเข้าใจ "ภาษานานาชาติ" ได้ผ่านตัวหนังสือบนเว็บไซต์ ถึงแม้จะไม่แตกฉาน แต่ก็พอที่จะจับใจความสำคัญได้ โดยผ่านการใช้เครื่องมือแปลภาษาออนไลน์จากเว็บไซต์นั่นเอง วันนี้จึงอยากแนะนำ "สารพัดเว็บไซต์" ที่ช่วยให้คุณ "แปลสารพัดภาษา" ได้ดังใจ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมใดๆ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต้องขอเรียนแต่เนิ่นๆ ว่า ผลการแปลนั้นจะเป็นการแปลภาษาอื่นๆ เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาไทย อยากรู้เหตุผลว่าทำไม? ต้องติดตามอ่านจนถึงบรรทัดสุดท้าย ได้ทราบคำตอบแน่นอน เว็บแปลภาษา ใช้กับภาษาอะไรได้บ้าง? สามารถแปลได้ถึง 35 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยรมัน ญี่ปุ่น จีนดั้งเดิม จีนประยุกต์ เกาหลี เวียดนาม อิตาลี สเปน ดัทช์ กรีก โปรตุเกส รัสเซีย อารบิก ฟิลิปินส์ บัลกาเรีย กลันลตัน โครเอเชีย เดนมาร์ก ฮินดี ฟินนิช อินโดนีเชย ลัตเวีย ลิโทเนีย นอร์เวย์ สโลวาเกีย สโลวัค เซอร์เบีย ฮิบรู โรมาเนีย สโลวาเกีย โปแลนด์ เช็ก และ บัลกาเรีย โดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง ซึ่งทุกภาษาสามารถแปลกลับไปมาระหว่างภาษาอังกฤษ และแต่ละภาษาได้ | |||
ขั้นตอนการใช้งานก็เพียงคัดลอกประโยคที่ต้องการและนำไปวางในช่องที่ กำหนดไว้ แล้วเลือกภาษาที่ต้องการแปล หรือการนำที่อยู่เว็บไซต์ เว็บใด หน้าใดก็ได้ไปวางเอาไว้ แล้วเลือกภาษาที่ต้องการแปล เว็บท่า (Portal Web) ยักษ์ใหญ่ทั้ง 3 อย่าง วินโดว์ ไลฟ์, ยาฮู, และ กูเกิล ต่าง เปิดให้บริการแปลภาษาออนไลน์มาเป็นเวลานาน ซึ่งบริการของทั้ง 3 ค่ายนั้นจะมีความสามารถหลักที่เหมือนกัน คือ แปลประโยค และแปลทั้งเว็บได้ ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักจุดเด่นของแต่ละค่ายกันเลย วินโดว์ ไลฟ์ ทรานสเลเตอร์ ของไมโครซอฟท์ (www.windowslivetranslator.com) ถือเป็นเว็บแปลภาษาที่มีฟีเจอร์ที่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการดูมุมมองหน้าต่างระหว่างทำการแปลได้หลายรูปแบบ (อาทิแบบแนวตั้ง, แบบบนล่าง, แบบที่คลิกที่ข้อความใดแล้วจะมีป๊อปอัพแสดงผลการแปลมาให้ ซึ่งดูผลได้ทั้งแปลจากต้นฉบับ และต้นฉบับไปยังการแปล) อีกทั้งตัวเว็บยังมีเมนูภาษาไทย ทำให้อุ่นใจขึ้นอีกเยอะ นอกจากนี้แล้วนักแปลทั่วไปยังมีส่วนช่วยในการแปลภาษาด้วย เพียงคลิกที่ด้านบนมุมขวาของจอ จะมีปุ่ม "การแปลนี้มีประโยชน์หรือไม่" ก็จะร่วมประเมินผลการแปล และเสนอแนะคำแปลได้ รวมถึงบริการล่าสุด "หุ่นยนต์แปลภาษา" เพียงเพิ่มรายชื่ออีเมล [email protected] เข้าไปที่โปรแกรมสนทนาแบบทันที (Instant Messaging Service) อย่าง MSN ก็จะช่วยแปลภาษาให้คุณได้ทันที แต่เท่าที่ทดสอบจะสู้ QuickBot ที่เคยแนะนำไปก่อนหน้านี้ไม่ได้ ปลาน้อยแปลภาษาของยาฮู (https://babelfish.yahoo.com/) | |||
ทั้งค้น ทั้งแปล ด้วย กูเกิล ทรานสเลท (https://translate.google.com) | |||
นอกจากนี้แล้วทุกคนยังสามารถเป็นผู้ร่วมแก้ไขผลการแปลได้ด้วย การคลิกที่ Not quite right? และกดปุ่ม Edit อีกทั้ง กูเกิล ยังสามารถแปลภาษาของประเทศแถบเอเชียได้มากกว่าที่อื่น เช่น ภาษาฟิลิปปินส์ กลันตัน ฮิบรู เป็นต้น รวมไปถึงมีดิกชันนารี อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ พร้อมตัวอย่างการใช้ประโยคด้วย แปลหลายภาษาในคราวเดียว | |||
* nicetranslator : เลือกภาษาที่ต้องการแปลก่อน ว่าอยากได้ภาษาอะไรบ้าง จากนั้นก็ค่อยใส่ประโยคที่ต้องการลงไป ก็จะมีผลการแปลด้านล่างทันที พร้อมกันทุกภาษา หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือ * frengly แปะประโยคที่ต้องการแปล กดเลือกภาษาที่ต้องการแปล ก็จะมีข้อความขึ้นให้ด้านล่างทันที ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าทั้ง 5 เว็บไซต์ที่เราได้แนะนำไปข้างต้นนั้น จะใช้ "หุ่นยนต์" ในการแปลภาษาทั้งสิ้น อีกทั้งยังอาศัยผู้แปลแค่รายเดียว ฉะนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเราจะสามารถเลือก และประเมินผลการแปลของหุ่นยนต์ อีกทั้งยังหาผู้ช่วยแปลที่เป็นคนที่ต้องทานอาหาร 3 มื้อ และมีหัวใจที่เต้นได้เหมือนๆ กับเรา...เราขอเสนอ jollo.com jollo แปลทุกค่าย มีผู้ช่วย | |||
สำหรับฟีเจอร์การแปลจากทุกค่ายแค่คลิกเดียวนั้น นอกเหนือจากระบบการรับรู้ว่าภาษาต้นฉบับคือภาษาอะไรได้โดยอัตโนมัติแล้ว ยังเด่นที่การเลือกหมวดหมู่ของเนื้อหาที่ต้องการแปล เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น เช่น หมวดการเมือง เทคโนโลยี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีระบบโหวต ให้คะแนนผลการแปลของแต่ละค่ายได้อีกด้วย และอาจกล่าวได้ว่า jollo มีการสร้างระบบของเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ (Social Network) สำหรับนักแปลไว้โดยเฉพาะ ซึ่งเพียงคุณเป็นสมัครสมาชิกเว็บไซต์ (ฟรี) ก็จะได้แต้ม 5,000 แต้มทันที ไว้สำหรับร้องขอให้คนในชมรมแปลช่วยแปลข้อความของคุณได้ โดยกดที่ปุ่ม Request Translations มาถึงส่วนสุดท้ายที่สำคัญกับคำถามที่ว่า ไม่มีเว็บแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหรือ? | |||
รายแรกคือ “ภาษิต” เป็นผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปของเว็บไซต์ของศูนย์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และพันธมิตร ครั้งหนึ่งเคยเปิดให้สมัครสมาชิกและใช้งานได้ แต่ตอนนี้คาดว่ากำลังปรับปรุงระบบอยู่จึงทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ (เมื่อสมัครไปแล้ว ไม่มีการส่งรหัสผ่านกลับมา จึงทำให้เข้าเว็บไปใช้งานไม่ได้) อย่างไรก็ดี เมื่อ 4 ปีก่อนผู้เขียนได้ลองใช้งานการแปลประโยคของ “ภาษิต” ซึ่งมีทั้งการแปลประโยค และแปลทั้งเว็บไซต์ถือว่าทำได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะถึงขั้นนำไปใช้งานเชิงธุรกิจ หรือ ทำการบ้านส่งอาจารย์ก็จะต้อง "เกลา" กันอีกยกใหญ่ รายที่ 2 คือ Thai2English ที่ มีการพัฒนาต่อยอดจากทรัพยากรของโครงการแปลภาษาของเนคเทค แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังห่างมาตรฐานในการทำความเข้าใจอยู่ดี เพราะการแปลนั้นจะเป็นการแปลที่ละคำ โดยอาศัยดิกชันนารีเข้ามาช่วย และถ้าหากเป็นโปรแกรมแปลภาษา ที่จะต้องติดตั้งลงที่เครื่องก็มีผู้ให้บริการอยู่หลายราย ซึ่งจะไม่สะดวกตรงที่ต้องลงโปรแกรม และส่วนใหญ่จะต้องเสียค่าใช้จ่าย ประมาณ 300-500 บาท และมักจะจำกัดให้ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ถึงตอนนี้ คุณอาจจะสามารถสังเกตได้แล้วว่า แม้กระทั่งเว็บไซต์ระดับโลกอย่างกูเกิล ยังไม่สามารถพัฒนาระบบการแปลภาษาอื่นเป็นภาษาไทยได้เลย! ถือเป็นโจทย์ที่น่าคิดสำหรับทีมพัฒนาโปรแกรมแปลภาษาของไทย และหวังว่าจะประสบความสำเร็จในเร็วๆ นี้ อย่าลืมวลีที่สร้างแรงบันดาลใจที่ว่า "คนไทย ถ้าตั้งใจจะทำอะไร ก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก!" | |||
สรุป เรื่องของการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ จำเป็นจะต้องให้เวลา และรู้จักบ่มเพาะจินตนาการ อย่ากลัวที่จะตีความการแปลในแบบฉบับของตน เพราะการสื่อสารที่ดีที่สุด คือการสื่อสารให้อีกฝ่ายเข้าใจได้มากที่สุดนั่นเอง อาจจะไม่ได้ใช่แค่ภาษาพูด เขียน แต่ "อวัจนภาษา" ก็ช่วยให้คุณสื่อสารได้สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว ฉะนั้นเว็บไซต์ที่ได้แนะนำไปทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่ทำงานบนพื้นฐานของระบบโปรแกรม ไม่ได้มาจากมันสมองของมนุษย์ล้วนๆ จึงมีโอกาสผิดพลาดได้ ดังนั้นย่อมขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะนำผลลัพธ์ที่ได้ไปประยุกต์ต่อให้เกิด ประโยชน์ต่อการทำงานของตนได้อย่างไร |
ทิปจาก : ผู้จัดการออนไลน์