รายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลวิภาวดี (มะเร็งต่อมลูกหมาก)


1,788 ผู้ชม


ในปัจจุบันโรคของต่อมลูกหมาก ซึ่งผู้ชายส่วนมากเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ จะมีความเสี่ยงในเรื่องโรคของต่อมลูกหมากเป็นจำนวนมาก  รพ.วิภาวดี จึงได้จัดทำโปรแกรมตรวจสุขภาพต่อมลูกหมากขึ้น เพื่อเพิ่มการบริการให้กับทุกท่าน โดยมีรายการตรวจดังต่อไปนี้   



โปรแกรมตรวจสุขภาพมะเร็งต่อมลูกหมาก


รายการตรวจ
1. ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ (Physical  Examination)
2. ตรวจตรวจคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนักโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (PR)
3. ตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ (Eye  Examination)
4. ตรวจทางห้องปฏิบัติการ  (Laboratory  Test)
    4.1    ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด  (Complete  Blood  Count)
    4.2    ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด  (Fasting  Blood  Sugar)
    4.3    ตรวจการทำงานของไต  (BUN)
    4.4    ตรวจการทำงานของไต  (Creatinine)
    4.5    ตรวจระดับกรดยูริค  (Uric  Acid)
    4.6    ตรวจการทำงานของตับ  (SGOT)
    4.7    ตรวจการทำงานของตับ  (SGPT)
    4.8    ตรวจระดับไขมันในเลือด  (Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL)
    4.9    ตรวจเลือดวิเคราะห์มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
รายการตรวจ
    4.10  ตรวจปัสสาวะอย่างสมบูรณ์ (Urine Exam)
    4.11  ตรวจอุจจาระ (Stool Exam)                 
    4.12  ตรวจหาร่องรอยของการมีเลือดออกในทางเดินอาหาร (Stool Occult  blood)
5. ตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest  X-Ray)
7. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
8. ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก 1 ส่วน
9. คูปองอาหาร
ราคาสุทธิ                     4,450             บาท


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกลูกค้าสัมพันธ์ กด1  และแผนกตรวจสุขภาพ ต่อ 1112-3


ความรู้เรื่องการตรวจสุขภาพโรคของต่อมลูกหมาก


ข้อแนะนำ 


1.  โรคของต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่จะเกิดกับผู้ชายทุกคนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ  ในจำนวนนี้ มะเร็งของต่อมลูกหมากเป็นโรคอันตราย  ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก  จะสร้างความทรมานแก่ผู้ป่วยอย่างมาก  เป็นการทำลายคุณภาพชีวิตในวัยทองของตน ในปัจจุบัน ปรากฏว่ามะเร็งของต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดอันดับสองของมะเร็งในผู้ป่วยเพศชาย
2.  มะเร็งของต่อมลูกหมาก สามารถตรวจพบได้ในระยะแรก และเมื่อตรวจพบแล้วจะสามารถรักษาให้หายขาดได้
การปฏิบัติตนเองเพื่อการตรวจค้นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก
  1.  การตรวจสุขภาพประจำปี  ครอบคลุมโรคของต่อมลูกหมาก
   แบ่งเป็น  2  กลุ่ม
   1.1  ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก  (ได้แก่  ปู่ , ตา , บิดา และพี่ชายร่วมสายโลหิต)  จะต้องได้รับการตรวจต่อมลูกหมาก ในการตรวจสุขภาพประจำปี ทุกๆปีอย่างสม่ำเสมอ
   1.2  บุคคลทั่วไป เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป  ต้องได้รับการตรวจสุขภาพ ครอบคลุมโรคของต่อมลูกหมาก ปีละ 1 ครั้ง
  2.  ผู้ที่มีอาการของต่อมลูกหมากโตผิดปกติ  จะต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ เพื่อความมั่นใจ  อาการของต่อมลูกหมากโต  ได้แก่ 
  -  ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน (เกินกว่า 2 ครั้ง)
  -  ปัสสาวะบ่อย (เร็วกว่า 2 ชั่วโมง)
  -  ปัสสาวะไม่สุด กะปริบกะปรอย
  -  กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีปัญหาราดเล็ด
  -  ปัสสาวะไม่พุ่ง
  -  ปัสสาวะเป็นหยด  เปรอะเปื้อนมือเท้า
  -  ต้องออกแรงเบ่ง เวลาถ่ายปัสสาวะ


การตรวจของแพทย์ ดำเนินเป็นขั้นๆดังนี้
1. การตรวจโดยแพทย์ทั่วไป  แพทย์จะสั่งตรวจ
- น้ำปัสสาวะ เพื่อตรวจการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย
หรือไม่  หากมีการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการรักษาเริ่มต้นพร้อมกันไป
  -  ตรวจเลือด เพื่อวิเคราะห์สภาพของไต  (ส่งตรวจ  CREATININE หรือ  B.U.N)  ว่ามีการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะเพียงไร
  -  การตรวจเลือดหาปริมาณของ ENZYME ซึ่งผลิตในต่อมลูกหมาก เรียกว่า P.S.A. (Prostatic Specific Antigen )  หากพบสูงในเลือด (ค่าปกติ 4 ng%)  จะนำไปสู่การพิจารณา เพราะอาจเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากได้
2.  การตรวจโดยแพทย์ของระบบทางเดินปัสสาวะ  เมื่อแพทย์ทั่วไปได้พบการเปลี่ยนแปลงในน้ำปัสสาวะ , ในเลือด แล้ว หรือเมื่อผู้ป่วยมีอาการของต่อมลูกหมากโต (7  ข้อความ  กล่าวแล้ว)  จะส่งให้แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะตรวจวิเคราะห์ต่อไป  โดยจะทำการตรวจตามขั้นตอน  คือ
  2.1  ใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนัก  เพื่อคลำต่อมลูกหมากว่ามีขนาดโตเพียงไร , มีปุ่มก้อนเนื้อคลำได้หรือไม่  และต่อมลูกหมากมีความแข็ง  และเคลื่อนไหวได้เพียงไร
หากพบก้อนในต่อม ลูกหมากจะต้องทำการตรวจในขั้นต่อไป  คือการตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound ทางทวารหนัก พร้อมกับพิจารณาเจาะชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากในบริเวณที่เป็นก้อนออกมาตรวจ ยืนยันการเป็นมะเร็งอีกครั้งหนึ่ง
หากการตรวจโดยเครื่องมือไม่พบก้อน และต่อมลูกหมากไม่แข็งกว่าปกติ  แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยมาตรวจวัดปริมาณของ PSA ในเลือด  ในระยะเวลาประมาณ  3 เดือน  หากผลของ PSA ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มขึ้นไม่มาก  โอกาสเป็นมะเร็งจะน้อย  ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมาย  ติดตามดูต่อไปอย่างใกล้ชิด หากผลของ PSA สูงมากกว่าเดิมจะได้รับการแนะนำให้ทำการตรวจด้วย Ultrasound และเจาะเอาชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากออกมาวิเคราะห์ด้านมะเร็ง และเป็นผู้ป่วยที่จะได้รับการเฝ้าติดตามต่อไป
การตรวจของแพทย์ทาง ระบบทางเดินปัสสาวะ   จะเป็นการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายว่าต่อมลูกหมากเป็นโรคชนิดใด  และควรจะได้รับการรักษาด้วยวิธีใด จึงจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย  และมีคุณภาพชีวิตในระยะวัยทองได้อย่างมีความสุข


ข้อเขียนโดย นพ.สุจินต์ ผลากรกุล
ศัลยแพทย์ ระบบทางเดินปัสสาวะ ประจำรพ.วิภาวดี
ที่มา  www.vibhavadi.com

อัพเดทล่าสุด