กรุงเทพมหานคร มาจากนามพระราชทาน ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก"
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต |
กรุงเทพมหานคร มาจากนามพระราชทาน "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" มีความหมาย "เมืองของเทวดา มหานครอันเป็นอมตะ สง่างามด้วยแก้ว 9 ประการ และเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เมืองที่มีพระราชวังหลายแห่ง ดุจเป็นวิมานของเทวดา ซึ่งพระวิษณุกรรมสร้างขึ้นตามบัญชาของพระอินทร์" ปัจจุบันภาษาราชการเรียก กรุงเทพมหานคร และอย่างย่อว่า กรุงเทพฯ
ชื่อกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon แต่ต่างชาติส่วนใหญ่เรียกเมืองนี้ว่า Bangkok อันมาจากอดีตของเมืองซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ที่ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" แต่จะออกเสียงเป็น "แบงก์ค็อก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญในฐานะเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่างๆ ทั้งเป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีจากเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" (ฝรั่งเทียกับกรุงอัมสเตอร์ดัมของฮอลแลนด์ที่เมืองท่าสำคัญของยุโรป) มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกนั้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ.1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 6.54 น. พระราชทานนามก่อนมีการเปลี่ยนแปลงสร้อยในรัชกาลที่ 4 ดังกล่าว ที่มาข้อมูล : ข่าวสด |