ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย


1,529 ผู้ชม

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อ CORRADO FEROCI เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2435 ตำบลซานยิโอวานนี เมืองฟลอเรนซ์  ประเทศอิตาลี


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

.....

ประวัติศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี
        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อ CORRADO FEROCI เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2435 ตำบลซานยิโอวานนี เมืองฟลอเรนซ์  ประเทศอิตาลี บิดาชื่อ  นายอาร์ทูโด มารดาชื่อ นางซันตินา มีอาชีพทำธุรกิจการค้า  ท่านได้สมรสกับนาง  FANNI  VIVIANI มีบุตรด้วยกัน 2 คน บุตรหญิงชื่ออิซาเบลลา ปัจจุบันเป็นนักธุรกิจ  บุตรชายชื่อ  โรมาโน  เป็นสถาปนิก
        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นชาวฟลอเรนซ์ เมืองที่เต็มไปด้วย ศิลปะ เมื่อเยาว์วัยท่านชื่นชมผลงานศิลปกรรมของไมเคิล แองเจโล ประติมากรเอกของโลกชาวฟลอเรนซ์ เมื่อโตขึ้นจึงได้เข้าศึกษาศิลปะที่ ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ จบการศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อยเพียง 23 ปี เท่านั้น ได้รับประกาศนียบัตรช่างเขียนช่างปั้นและเข้าสอบชิงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
        ผลงานในวัยหนุ่มที่ได้รับยกย่องและมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะของ ศิลปิน  คือ  ได้รับรางวัลชนะการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์หลายครั้ง
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย ชีวิตในวัยหนุ่ม
        ในวัยหนุ่มของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นวัยที่มีพลัง ดังนั้นท่านจึงไม่พอใจในสภาพชีวิตที่เป็นอยู่ในสังคมที่ เจริญแต่เพียงด้านวัตถุในประเทศอิตาลีสมัยนั้น เมื่อท่านได้ทราบข่าวว่า รัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ต้องการช่างปั้นชาวอิตาเลี่ยน เพื่อเข้ามารับราชการงานอนุสาวรีย์ในประเทศ ไทย ท่านจึงยื่นความจำนงพร้อมผลงานเข้าแข่งขันกับศิลปินอีกจำนวนมาก ในที่ สุดรัฐบาลไทยได้เลือก Prof. C. Feroci เข้ามารับราชการในประเทศไทย
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย เริ่มแรกในเมืองไทย
        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ออกเดินทางโดยทางเรือจากประเทศอิตาลีถึงกรุงสยาม ในราวต้นเดือนมกราคม พ. ศ. 2466 อายุได้ 31 ปี เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้นของกรมศิลปากร กระทรวง วัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม ปีเดียวกัน โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้า ฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ศิลปินเอกแห่งกรุงสยามเป็นองค์อุปถัมภ์
        ในระยะแรกเป็นช่วงเวลาที่ท่านต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมแวดล้อม และการเมือง อีกทั้งยังต้องสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับของผู้มีอำนาจในสมัย นั้น ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างผลงาน รัฐบาลไทยจึงได้ยอมรับท่านเรื่อยมา  เช่น  มอบหมายให้ปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เท่าพระองค์จริง ปัจจุบันประดิษฐานใน ปราสาทพระเทพบิดร  และปั้นพระรูปสมเด็จฯ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ฯลฯ
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย งานอนุสาวรีย์ในเมืองไทย
        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประสงค์ที่จะใช้บุคลากรที่เป็นคนไทยในการทำงานศิลปะ เมื่อท่านได้มี โอกาสจัดสร้างอนุสาวรีย์ ท่านได้ฝึกฝนกุลบุตรกุลธิดาของไทยให้ได้ศึกษาเรียน รู้วิชาการปั้น และการหล่อโลหะขนาดใหญ่ การจัดสร้างอนุสาวรีย์ในยุคสมัยของท่านดังกล่าว นับเป็นยุคแรกที่ได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญขึ้นในประเทศไทย
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย ผลงานที่สำคัญซึ่งปรากฏเห็นในปัจจุบันมีดังนี้
        • พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขนาด 3 เท่าคนจริง ประดิษฐานที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านเป็นช่าง ปั้น และเดินทางไปควบคุมการหล่อที่ประเทศอิตาลี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2472
        • อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477
        • รูปปั้นหล่อประกอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  สร้างเมื่อ พ.ศ. 2485
        • พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484
        • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2493
        • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497  
        • รูปปั้นประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน
        • พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล 25 พุทธศตวรรษ ที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ .2498 ฯลฯ
        นอกจากนั้นยังมีโครงการที่ทำยังไม่แล้วเสร็จอีกคือ พระบรมรูปพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน   อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  จังหวัดลพบุรี เป็นต้น

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย ผลงานด้านการศึกษา

        ด้วยเหตุที่ท่านได้ฝึกฝนเยาวชนไทยให้เข้าช่วยงานปั้นอนุสาวรีย์  จึงเป็นแรงบันดาลใจท่านจัดตั้งโรงเรียนของทางราชการขึ้นในปี พ.ศ. 2469 โดยสอนเฉพาะวิชาประติมากรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ทางกระทรวงธรรมการได้เห็นความสำคัญในสิ่งที่ท่านทำ จึงได้จัดตั้งขึ้น เป็นโรงเรียนศิลปากร  จัดทำหลักสูตรศิลปกรรมชั้นสูง  4  ปี  ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี  พ.ศ. 2486  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาสังกัดทบวง มหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิปกรรมสมัยใหม่ของไทย ผลงานด้านเอกสารทางวิชาการ

        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีผลงานทางด้านเอกสารทางวิชาการ ตำรา และบทความมากมาย ซึ่งล้วนแต่ให้ความรู้ทางศิลปะ  พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าของศิลปะ เช่น ทฤษฎีของสี ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบศิลป์ คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะ และราคะจริต อะไรคือศิลปะ ภาพจิตรกรรมไทย พรุ่งนี้ก็ช้าเสียแล้ว ฯลฯ ตลอดเวลาที่ ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี ได้เดินทางเข้ามารับราชการและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ท่านได้ ทุ่มเทความรัก ความรับผิดชอบให้แก่งานราชการอย่างมหาศาล แม้ว่าท่านอยู่ในฐานะของชาวต่างชาติก็ตาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ท่านได้โอนสัญชาติเป็นไทยและเปลี่ยนชื่อเป็นไทย พ.ศ. 2502 สมรส กับ คุณมาลินี เคนนี และใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตลอดอายุของท่าน
        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและโรคเนื้องอกใน ลำไส้ที่โรงพยาบาลศิริรราช เมื่อคืนวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน ท่านได้อุทิศตนให้กับราชการไทยเป็นเวลาทั้งสิ้น 38  ปี 4 เดือน

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
 -  มหาวิทยาลัยศิลปากร

อัพเดทล่าสุด