เรื่องของคาราโอเกะ เรื่องราว ที่มา อยากรู้ต้องคลิก


892 ผู้ชม

คาราโอเกะ (「カラオケ」, Karaoke, – คะระโอะเกะ?) เป็นความบันเทิงชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในรูปแบบของเพลง ที่ไม่มีเสียงร้องของศิลปิน แล้วให้เราร้องผ่านไมโครโฟน


เรื่องของคาราโอเกะ เรื่องราว ที่มา อยากรู้ต้องคลิก
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

.....

คาราโอเกะ (「カラオケ」, Karaoke, – คะระโอะเกะ?)

เป็นความบันเทิงชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในรูปแบบของเพลง ที่ไม่มีเสียงร้องของศิลปิน แล้วให้เราร้องผ่านไมโครโฟน โดยเสียงของศิลปินตัวจริงจะถูกปิดเอาไว้ โดยมีเนื้อเพลงขึ้นมาแสดง บ้างครั้งยังมีการเปลี่ยนสีเพื่อทำให้เข้าจังหวะกับเพลงบนมิวสิกวีดิโอ ช่วยในการร้องเดี่ยว
คาราโอเกะเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูง โดยเริ่มต้นจากในประเทศญี่ปุ่น จากนั้นก็แพร่หลายไปยังส่วนอื่นๆ ของเอเชียตะวันออก อย่างน้อยก็ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 และนับจากนั้นก็แพร่หลายไปยังส่วนอื่นๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย คาราโอกะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในแต่ละชาติ ซึ่งมีความแตกต่างกันไป
ในประเทศไทย พบได้สองรูปแบบ ได้แก่

  • วีดิโอซีดี (VCD) มักพบได้ตามร้านขายเพลงทั่วไป ออกโดยเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง หรือ ค่ายเพลง ปัจจุบันพบว่า มักมีคำออกเสียงภาษาอังกฤษ ใต้คำภาษาไทย
  • มิดิ (MIDI) อยู่ในรูปแบบของซอร์ฟแวร์ นิคคาราโอเกะ ที่มีเพลงอยู่มากมาย

 ที่มาของคำ
คำว่า คาราโอเกะ (カラオケ) มาจากคำว่า "คาระ" (空 หรือ カラ) หมายถึง ว่างเปล่า เช่น คาระเต หรือที่รู้จักในชื่อ คาราเต้ คือ การต่อสู้ด้วยมือเปล่า และ "โอเกะ" (オーケ) ซึ่งย่อจากคำว่า "โอเกะซุโตะระ" (オーケストラ) หมายถึง วงออร์เคสตร้า คำว่า "คาราโอเกะ" จึงมีความหมายว่า "วงออร์เคสตร้าเปล่าๆ"
คำนี้ถูกใช้เป็นศัพท์สแลงด้านสื่อ เมื่อการบรรเลงสดถูกแทนที่ด้วยดนตรีที่บันทึกเอาไว้ก่อน และเขียนเป็นตัวอักษรคะตะคะนะ คำว่า "คาราโอเกะ" ยังตีความได้ว่า "วงออร์เคสตร้าเสมือนจริง" เพราะคนคนเดียวก็สามารถควบคุมดนตรีและเริ่มต้นร้องไปได้โดยไม่ต้องมีวงดนตรี จริงๆ ในสหรัฐอเมริกานั้น มักจะเรียกเพี้ยนเป็น "คาริโอกี" ส่วนในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "คะระโอะเกะ"

ประวัติ
คาราโอเกะคัง อาคารคาราโอเกะ ที่ ชินจุกุ ในโตเกียวในญี่ปุ่นนั้นก็เหมือนกับในที่อื่นๆ ทั่วโลก ที่มีความนิยมมาช้านานที่จะมีการเล่นดนตรีในช่วงอาหารค่ำ หรืองานปาร์ตี้ โดยปกติ ธรรมเนียมดังกล่าวปรากฏในปกรณัมญี่ปุ่นสมัยแรกสุด นับเป็นเวลานานมาแล้ว ที่การร้องและการเต้นรำถือเป็นหนึ่งในความบันเทิงของผู้ใหญ่ในพื้นที่ชนบท มีการเล่นละครโน ในปาร์ตี้น้ำชา โดยเชิญแขกให้มาร่วมชมและร้องชมเชยการแสดง การร้องเพลงและเต้นรำยังเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหมู่ซามูไรด้วย ทั้งนี้คาดว่าซามูไรทุกคนจะสามารถเต้นรำหรือร้องเพลงได้ ในสมัยไทโชของญี่ปุ่น ร้านอุตะโคะเอะ คิซซา (หมายถึง ร้านกาแฟร้องเพลง) เริ่มเป็นที่นิยมและลูกค้าจะร้องไปกับวงดนตรีที่บรรเลงกันสดๆ
อุตสาหกรรมคาราโอเกะนั้นเริ่มต้นในญี่ปุ่นเมื่อต้นทศวรรษ 1970 เมื่อนักร้องคนหนึ่ง ชื่อ ไดซุเกะ อินุอะเอะ ได้รับคำร้องขอจากแขกอยู่บ่อยๆ ในร้านอุตะโกะเอะ คิซซา ที่เขาไปแสดงดนตรีนั้น ให้ไปบันทึกการแสดง พวกเขาจึงร้องเพลงไปด้วยในช่วงวนหยุดของ เมื่อทราบความต้องการของตลาด เขาจึงทำเครื่องบันทึกเทปที่เล่นเพลงได้เมื่อหยอดเหรียญ 100 เยน นี่คือเครื่องคาราโอเกะเครื่องแรก แต่แทนที่เขาจะขายเครื่องคาราเกะ เขากลับให้เช่าแทน ทำให้ร้านต่างๆ ไม่ต้องซื้อเพลงใหม่ๆ เป็นของตัวเอง
ในช่วงแรกๆ นั้นราคาค่าหยอดตู้คาราโอเกะนับว่าแพงพอสมควร เงิน 100 เยนนั้นพอที่จะซื้ออาหารกลางวันได้ถึง 2 ที่ แต่ไม่นานต่อมาคาราโอเกะก็กลายเป็นความบันเทิงยอดนิยมไปแล้ว เครื่องคาราโอเกะมีบริการในร้านอาหาร ห้องต่างๆ ของโรงแรม และไม่ช้าก็เปิดธุรกิจใหม่ คือ ร้านคาราโอเกะ Karaoke Box ที่มีห้องขนาดเล็ก พร้อมด้วยเครื่องคาราโอเกะให้บริการ ซึ่งเป็นที่นิยมในเวลาไม่นานนัก ในปี 2004 นั้น นายไดซุเกะ อินุอะเอะ ได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาสันติภาพ ในฐานะผู้คิดค้นระบบคาราโอเกะขึ้น "นับเป็นการเสนอทางเลือกใหม่ให้ผู้คนได้ทนซึ่งกันและกันได้"
คาราโอเกะบาร์ ใน ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนีเครื่องคาราโอเกะแต่ละเครื่องนั้นจะใช้เทปคาสเซ็ตต์ แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ก็แทนที่ด้วยแผ่น ซีดี เลเซอร์ดิสก์ หรือ ดีวีดี แบบต่างๆ ครั้นถึง ค.ศ. 1992 บริษัทไทโต (Taito Corporation) ก็ได้นำเสนอเครื่อง X2000 ที่สามารถค้นหาเสียงดนตรีโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ได้ สำหรับคุณภาพของดนตรีและภาพนั้นยังมีข้อจำกัด แต่ความก้าวหน้าของการสื่อสารมีมากกว่า จึงมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยอยู่เสมอ ทำให้เครื่องคาราโอเกะมีขนาดเล็กลง และมีเครื่องรุ่นใหม่ๆ มาแทนที่เครื่องรุ่นเก่าๆ เสมอ เครื่องคาราโอเกะจะเช่อมต่อผ่านเครืองข่ายไฟเบอร์ออปติก เพื่อให้ได้ภาพและเสียงดนตรีคุณภาพสูงอย่างฉับไว ซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่นาน คาราโอเกะก็แพร่หลายไปยังส่วนอื่นๆ ของเอเชียน และแพร่ไปถึงสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษ 1990 มีร้านคาราโอเกะ หรือคาราโอเกะบาร์ที่จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ให้ลูกค้าที่เป็นนักร้องสมัครเล่นได้ร้องเพลง ในบางแห่งนั้นมีแทนที่จะมีเครื่องเล่นคาราโอเกะขนาดเล็ก กลับใช้เครื่องเสียงไฮเอนด์ขนาดใหญ่เลยก็มี เวทีสำหรับเต้นและแสงไฟก็เป็นสิ่งที่พบได้ในคาราโอเกะบาร์ เนื้อร้องนั้นมักจะแสดงอยู่บนจอโทรทัศน์หลายจอที่วางไว้รอบๆ รวมทั้งมีจอฉายภาพขนาดใหญ่ด้วย

เทคโนโลยี

เครื่องเล่นคาราโอเกะอย่างง่ายนั้น ประกอบด้วยอินพุทเสียง เป็นตัวเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี (ไม่ใช่เสียงนักร้อง) และเอาท์พุเสียง สำหรับเครื่องที่มีราคาถูกบางรุ่น พยายามจะลดเสียงร้อง โดยสามารถป้อนเสียงร้องปกติเข้าเครื่อง และลดเสียงของนักร้องเดิมลง แต่วิธีนี้ไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพนัก สำหรับเครื่องที่พบเห็นทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นการผสมเสียงด้วยอินพุทไมโครโฟน ที่มีเครื่องเล่น DVD, LD (เลเซอร์ดิสก์), Video CD หรือ CD+G อยู่ในเครื่อง เครื่องเล่น CD+G นั้นใช้แทร็คพิเศษ เรียกว่า ซับโคด (subcode) หรือรหัสย่อย เพื่อเข้ารหัสเนื้อเพลงและภาพที่แสดงบนจอ ขณะที่รูปแบบอื่นๆ นั้นปกติจะแสดงผลทั้งภาพและเสียง ในบางประเทศ คาราโอเกะที่สามารถแสดงเนื้อได้ เรียกว่า KTV
เครื่องเล่นคาราโอเกะส่วนใหญ่จะมีเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงระดับเสียงดนตรี โดยกรรมวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้นักร้องสมัครเล่นสามารถร้องเพลงพร้อมกับเปิดเสียงดนตรีเดิมได้ โดยเลือกระดับเสียงที่เหมาะกับช่วงเสียงของตน ขณะเดียวกันก็ยังคงจังหวะเดิมของเพลงเอาไว้ สำหรับระบบเก่ามากๆ บางระบบจะใช้เทปคาสเซ็ต (ยังมีระบบเก่ามากๆ บางระบบที่ใช้เทปคาสเซ็ต และเปลี่ยนแปลงระดับเสียงโดยการเปลี่ยนระดับความเร็วในการเล่น แต่ไม่มีขายแล้วในตลาดปัจจุบัน และไม่มีให้บริการในเชิงพาณิชย์เช่นกัน)
เกมที่ใช้คาราโอเกะนั้น จะมีการพิมพ์หมายเลขเรียกเพลง ซึ่งผู้ใช้จะสามารถร้องได้นานเท่าที่ต้องการ สำหรัยบางเครื่องนั้น เกมนี้มีการตั้งโปรแกรมเอาไว้ก่อน และอาจจำกัดแนวเพลง ทำให้ไม่สามารถเรียกเพลงที่คนอื่นๆ อาจไม่รู้จักได้ เกมนี้ในบางส่วนของอเมริกาและแคนาดา เรียกกันว่า "คามิคาเซ คาราโอเกะ" (Kamikaze Karaoke)
เครื่องบันเทิงราคาถูกจำนวนมาก (อย่างเครื่องบูมบ็อกซ์) ก็มีโหมดสำหรับร้องคาราโอเกะ ที่พยายามจะขจัดเสียงร้องออกจากแผ่นซีดีเพลง (Audio CD) ทั่วไป ที่ไม่ใช้ซีดีคาราโอเกะ ซึ่งทำได้โดยควบคุม center removal จากข้อเท็จจริงที่ว่าเสียงร้องส่วนมากจะมีความถี่อยู่บริเวณกลางช่วงความถี่ เสียง และเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่า เสียงร้อง จะมีระดับความดังเท่ากันในช่องสเตอริโอทั้งสองข้าง และไม่มีความต่างเฟส การได้แทร็คโมโนของคาราโอเกะจำลองนี้ ช่องสัญญาณซ้ายของเสียงเดิมจะถูกลบออกจากช่องสัญญาณขวานั่นเอง
วิธีการหยาบๆ ในการขจัดเสียงร้องแบบนี้นี้ปรากฏออกมาให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพที่ต่ำมาก ผลกระทบที่พบทั่วไปก็คือได้ยินเสียงก้องของแทร็คเสียงร้อง (อันเนื่องมาจากเอคโค่สเตอริโอ) ที่ป้อนไปยังเสียงร้อง) และเสีงดนตรีอื่นๆ ที่บังเอิญถูกผสมเข้าในช่วงความถี่ตรงกลางถูกกำจกัดออก (ดนตรีโซโล่ กลอง/สแนร์) ทำให้คุณภาพเสียงลดลงมาก

ที่มาข้อมูล WIKIPEDIA

อัพเดทล่าสุด