พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)


1,852 ผู้ชม


พญายอ

 
   พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)  ข้อมูลทั่วไป
 พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)

ชื่อสามัญไทย : พญายอ
ชื่ออังกฤษ : -
ชื่อท้องถิ่น : ผัก มันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องคำ (ลำปาง)   เสลดพังพอนตัวเมีย   พญาปล้องทอง, พญาปล้องคำ (กลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) (ศิริพร, 2542)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
ชื่อพ้อง : C. siamensis Bremek (Ponglux, 1987)
วงศ์ : Acanthaceae

   พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)  ชีววิทยา - นิเวศวิทยา

 พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)

  ลักษณะพืช :  พญา ยอเป็นไม้พุ่มเลื้อยสูง 1-3 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปรีแคบ ขอบขนาน ใบกว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 2.5-13 ซม. ปลายและโคนใบแหลม ริมใบเรียบ ดอกเป็นช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง มี 5 ดอกย่อยขึ้นไป กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ (พร้อมจิต; 2535; เต็ม, 2523; สสม, 2537)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ : พญายอขึ้นได้งามในดินที่สมบูรณ์ แสงแดดปานกลาง (สสม, 2537)
แหล่งที่พบ : พบได้ทั่วไปตามป่าประเทศไทย หรือปลูกกันตามบ้าน (สสม, 2537)
   พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)  ประโยชน์ทางยา
 พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป) ส่วนที่ใช้ : ใบ (สสม, 2537)
สรรพคุณ :
   ใบ :  รักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคเริม งูสวัด (สสม, 2537)
  ต้น : แก้บิด (ลัดดาวัลย์)
สารประกอบทางเคมี :
     ใบ : ประกอบด้วย lupeol, Beta-sitosterol, stigmasterol (Dampawan, 1976)
     ราก : ประกอบด้วย betulin, lupeol, Beta-sitosterol, stigmasterol (Lin, 1983)
    ลำต้น : ประกอบด้วย lupeol (Dampawan, 1977)
รส (รสทางยา) : รสจืด
ภูมิปัญาพื้นบ้าน :
      14.1 พญายอสำหรับรักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มีไข้) จากแมลงสัตว์กัดต่อย และรักษาโรคเริม งูสวัด
      14.2 วิธีการปรุงยา : การหมัก
      14.3 ขนาดและวิธีการใช้
นำ ใบพญายอสด 10-15ใบ มาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ตักลงใส่ภาชนะสะอาด และเติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์พอท่วม ตั้งทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หมั่นคนยาทุกวัน กรองน้ำยา นำมาทาบริเวณที่ปวดบวม หรือหากเป็นมาก ใช้กากพอกบริเวณที่เป็นได้
ยาเตรียมสำเร็จรูปในท้องตลาด : ครีมพญายอ
พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)  รายงานการวิจัย  
  พฤกษเคมี
     ใบ ประกอบด้วย lupeol, Beta-sitosterol
     ราก ประกอบด้วย betulin, lupeol, Beta-sitosterol, stigmasterol
     ลำต้น ประกอบด้วย lupeol
เภสัชวิทยา
      1. ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti - inflammatory)
     
- สารสกัดบิวทานอลจากใบพญายอ สามารถลดการบิดตัวของตัวหนู (anti-writhing) และเพิ่มการซึมผ่านของหนังหลอดเลือดเป็นสัดส่วนกับขนาดของสารสกัดที่ให้ โดยเมื่อให้สารสกัดดังกล่าวขนาด 270 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว สามารถลดอาการบวมของข้อเท้าหนูขาวได้ เทียบเท่ากับแอสไพรินขนาด 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว (Tanasomwang, 1986; Kittisiripornkul, 1987; Satayavivad, 1996) แต่ฤทธิ์ของสารสกัดนี้จะค่อย ๆ ลดลงและหมดฤทธิ์โดยสิ้นเชิงภายใน 1 ปี (Kittisiripornkul, 1987) สารที่ออกฤทธิ์ต้านอักเสบคือ flavonoid (Chuakul, 1986)เมื่อป้อนสารสกัดดังกล่าวแก่หนูทดลอง พบว่า มีฤทธิ์คล้ายสเตียรอยด์ สามารถลดอาการอักเสบของถุงลมของหนูได้ แต่เมื่อทำการทดสอบการอักเสบแบบเรื้อรังโดยทาสารสกัดดังกล่าวที่ผิวหนังของ หนูขาว พบว่าไม่สามารถลดอาการอักเสบของถุงลมของหนูขาว (Satayavivad, 1996)
        - สารสกัดด้วยน้ำจากใบพญายอ ขนาด 15 กรัมใบแห้งต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว มีฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ (กองวิจัยและพัฒนาสมุไพร, 2533)
       2. ฤทธิ์ต้านเชื้อ Herpes simplex virus และ Varicella zoster virus (anti-viral activity)
        - เมื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดใบพญายอต่อเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเริม (Herpes simplex virus Type-2 ;HSV-2) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน (Acyolovir) โดยวิธี Plague reduction assay พบว่า สารสกัดจากใบพญายอสามารถฆ่าเชื้อ HSV-2 ใน viro cell ซึ่งเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง โดยทำลายไวรัส HSV-2 ภายนอกเซลล์โดยตรง ทำให้ไวรัสตาย ไม่สามารถเข้าไปเจริญเติบโตในเซลล์ได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HSV-2 ไม่ให้เข้าเซลล์และไม่สามารถยับยั้ง
การแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในเซลล์ได้ (ชื่นฤดี, 2535; Suwanna, 1992)
- สารสกัดใบพญายอ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส งูสวัด (Varicella zoster virus) ทั้งภายในและภายนอกเซลล์ คือยับยั้งไวรัสโดยตรง และยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไว้รัส (กองวิจัยและพัฒนาสมุไพร, 2533; Thawarananth, 1986)

ข้อมูลทางคลินิก
     - ผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ เมื่อรักษาโดยทาแผลของผู้ป่วยด้วยครีมพญายอ (5%) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Acyclovir และยาหลอก พบว่า แผลของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาจากสารสกัดใบพญายอและ Acyclovir จะตกสะเก็ดภายในวันที่ 3 และหายภายในวันที่ 7 แสดงว่าครีมพญายอและครีม Acyclovir มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ให้หายได้เร็วพอ กัน แต่ครีมพญายอไม่ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองในขณะที่ครีม Acyclovir ทำให้แสบและราคาแพง (ชื่นฤดี, 2535; สมชาย, 2536; กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร, 2533)
     - ผู้ป่วยโรคงูสวัด เมื่อรักษาโดยทาแผลด้วยครีมพญายอ (5%) วันละ 5 ครั้งทุกวัน ปรากฏว่าแผลจะตกสะเก็ดภายใน 1-3 วัน และหายภายใน 7-10 วัน ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกแผลจะตกสะเก็ดภายใน 4-7 วัน และหายภายใน 10-14 วัน ผู้ป่วยกลุ่มที่รักษาด้วยครีมพญายอ จะมีระดับความเจ็บปวดลดลงรวดเร็วกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาหลอก และไม่พบอาการข้างเคียงใด ๆ จากการใช้สารสกัดใบพญายอ (Sangkitporn, 1995)
     - การใช้ยาเตรียมจากใบพญายอในรูปของกลีเซอรีนและทิงเจอร์ ในการรักษาผู้ป่วยโรคเริมงูสวัด และแผลอักเสบในปาก ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศธร์ พบว่า สามารถรักษาแผลและลดการอักเสบได้ (Chotikieat, 1989)
พิษวิทยา
การทดสอบพิษเฉียบพลัน
       ไม่ พบอาการพิษใด ๆ เมื่อให้สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบพญายอแก่หนูถีบจักร ขนาดสูงสุด 1.3 กรัม ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว หรือเทียบเท่าใบแห้ง 5.44 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ไม่ว่าจะให้ทางปาก ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้าช่อง (ปราณี, 2538)
       เมื่อให้สารสกัดบิวทานอลจากใบพญา ยอแก่หนูขาว พบว่าปริมาณสารสกัดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (LD50) ที่ 48 ชั่วโมง เมื่อให้ทางปากเท่ากับ 13.4?1.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว เมื่อให้โดยฉีดเข้าช่องท้อง เท่ากับ 3.4?0.1 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว และสารสกัดดังกล่าวยังทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เมื่อให้ทางปาก แต่เกิดน้อยกว่าแอสไพรินเมื่อเปรียบเทียบในขนาดที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบเท่า กัน และเมื่อให้สารสกัดทุกวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหนูขาว น้ำหนักต่อมไธมัสลดลง น้ำหนักตับเพิ่มขึ้น (Satayavivad, 1996)
การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรัง
เมื่อ ป้อนสารสกัดแอลกอฮอล์จากใบพญายอ ขนาด 0.01, 0.1 และ 1.0 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว หรือเทียบเท่าใบแห้ง 0.042, 0.42 และ 4.18 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว เป็นเวลา 90 วันแก่หนูขาว พบว่า การกินอาหารของกลุ่มที่ได้รับสารสกัดและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน เกล็ดเลือดของหนูขาวที่ได้รับสารสกัด 1 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว จะสูงกว่ากลุ่มควบคุม และหนูขาวทุกกลุ่มที่ได้รับสารสกัด มีค่าครีอาตินินต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ลักษณะของอวัยวะภายในและภายนอกไม่พบความผิดปกติ (ปราณี, 2538)
ที่มา  https://herbal.pharmacy.psu.ac.th

อัพเดทล่าสุด