เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ?


1,104 ผู้ชม


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..... คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
        1)   บุคคลธรรมดา
        2)   ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
        3)   ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
        4)   กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ดังนี้

เงินได้สุทธิ

ช่วงเงินได้สุทธิ

แต่ละขั้น

อัตราภาษี

ร้อยละ

ภาษีแต่ละขั้น

เงินได้สุทธิ

ภาษีสะสม

สูงสุดของขั้น

1 - 150,000

150,000

ได้รับยกเว้น

-

-

150,001 - 500,000

350,000

10

35,000

35,000

500,001 - 1,000,000

500,000

20

100,000

135,000

1,000,001 - 4,000,000

3,000,000

30

900,000

1,035,000

4,000,001 บาทขึ้นไป

 

37

 

 

หมายเหตุ :- การ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ( พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551 )

ที่มา https://www.rd.go.th

อัพเดทล่าสุด