เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และการเสียภาษี


1,619 ผู้ชม


            ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้
      (1)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
               ก.   บริษัท จำกัด
               ข.   บริษัทมหาชน จำกัด
               ค.   ห้างหุ้นส่วนจำกัด
               ง.   ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
      (2)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
               ก.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
               ข.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
               ค.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศไทยและกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่ง ระหว่างประเทศ (มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร)
               ง.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)

               จ.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใน ประเทศไทย ตามมาตรา 76 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
               ฉ.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)
      (3)   กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร โดย
               ก.   รัฐบาลต่างประเทศ
               ข.   องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
               ค.   นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
      (4)   กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ
               ก.   บริษัทกับบริษัท
               ข.   บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
               ค.   ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
               ง.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
               จ.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
               ฉ.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
               ช.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น
      (5)   มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
      (6)   นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

2.  นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้


นิติบุคคล อื่นๆ นอกจากที่กล่าวในข้างต้น และเฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ ของรัฐบาลหรือสหกรณ์ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ยังมีนิติบุคคลอีกบางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ได้แก่
      (1)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่า ด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ 
      (2)   บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 
      (3)   บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม
      (4)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการ เว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา

3.  ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล


         ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
                (1)   กำไรสุทธิ
                (2)   ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
 
                (3)   เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
 
                (4)   การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

บัญชีอัตราภาษีเงินได้


" (1) สำหรับบุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิไม่เกิน

150,000 บาท     

ยกเว้นภาษี

เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน

150,000 บาท     
500,000 บาท     


ร้อยละ 10

เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน

500,000 บาท     
1,000,000 บาท     


ร้อยละ 20

เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน

1,000,000 บาท     
4,000,000 บาท     


ร้อยละ 30

เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน

4,000,000 บาท     

  ร้อยละ 37 "

(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ ปีภาษี 2535 เป็นต้นไป)

( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป )

" (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

          (ก) ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ร้อยละ 30 "

(พระ ราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป)
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 260) พ.ศ.2535 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 387) พ.ศ.2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 475) พ.ศ. 2551 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.62/2539 )

          "(ข) ภาษีตามมาตรา 70 นอกจากที่ระบุใน (ค)
(ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 377) พ.ศ.2544 )

ร้อยละ 15

          (ค) ภาษีตามมาตรา 70 เฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข)

  
ร้อยละ 10

          (ง) ภาษีตามมาตรา 70 ทวิ

ร้อยละ 10"

(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับ 1 เม.ย. 2535 เป็นต้นไป)
(ดูพระราชกฤษฏีกา (ฉบับที่ 270) พ.ศ.2537)

          "(จ) ภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อันมิใช่รายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13)

ร้อยละ 10"

(พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป)
(ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 250) พ.ศ.2535)

ที่มา https://www.rd.go.th

อัพเดทล่าสุด