https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษี ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร MUSLIMTHAIPOST

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษี ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร


1,988 ผู้ชม


ภาษีบำรุงท้องที่
1.ภาษีบำรุงท้องที่คืออะไร
ภาษีบำรุงท้องที่หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าภาษีที่ดินหรือภาษีดอกหญ้า เป็นภาษีที่เรียกเก็บจาก
ที่ดิน ภาษีที่จัดเก็บโดยพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
2.ใครเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
บุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีหน้าที่เสียภาษี
บำรุงท้องที่
3.จะขอรับแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ได้ที่ไหน
แบบพิมพ์แสดงรายการที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่หรือเรียกย่อๆว่า แบบ ภบท.5 จะขอรับ ฟรี ได้
ณ ที่งานจัดเก็บรายได้ กองคลัง เทศบาลตำบลนาดอกคำ
4. แบบแสดงรายการที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.5) จะต้องยื่นเมื่อไร และยื่นที่ไหน
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่(ภบท.5) จะต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน
ภายในเดือน มกราคม ของทุกปีที่มีการตีราคาปานกลาง ตามปกติจะมีการตีราคาปานกลางที่ดินใหม่ทุกๆ4 ปี
กรณีเจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์ใหม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน(ภบท.5) ภายใน 30 วัน นับแต่
วันที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้น
5. เจ้าของที่ดินหลายแปลงอยู่ต่างท้องถิ่นและเจ้าของปลูกบ้านอยู่อาศัยหลายแห่งจะขอลดหย่อนภาษีบำรุง
ท้องที่กรณีใช้ที่ดินปลูกสร้างบ้านพักอาศัยได้ทุกแปลงหรือไม่
การลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินที่ใช้ปลูกบ้านพักอาศัยได้ในที่ดินแปลงเดี่ยว ถ้าในกรณี
เจ้าของที่ดินมีที่ดินหลายแปลงอยู่เนื้อที่ใกล้เคียงหรือติดต่อกันและอยู่ในหน่วยเดียวกัน จะลดหย่อนได้เพียง
100 ตารางวา แต่ถ้ามีที่ดินหลายแปลงอยู่ห่างกันหรือคนละหน่วยจะต้องขอลดหย่อนแปลงใดแปลงหนึ่ง
เท่านั้น
6. ภาษีบำรุงท้องที่ประจำปีจะต้องชำระเมื่อใด
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่จะต้องชำระภาษีภายในเดือน เมษายน ของทุกๆปี ในกรณีเจ้าของที่ดิน
โอนกรรมสิทธ์หรือแบ่งแยกดินให้ผู้อื่น ผู้ได้รับกรรมสิทธิ์จะต้องยื่นแบบแจ้งรายการเสียที่ดินภายใน 30 วัน นับ
แต่วันที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้น
7. ถ้าไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอย่างไร
ไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี ของจำนวนเงินที่
ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
8. เมื่อได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาหรือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปให้ผู้อื่น ผู้โอนและผู้รับโอนมีหน้าที่อย่างไร
ในกรณีดังกล่าวผู้โอนและผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมีหน้าที่ร่วมกับเจ้าของที่ดินเดิมเสียภาษีบำรุงท้อง
ที ที่ค้างชำระไม่เกิน 5 ปี
9. ผู้เสียภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการพนักงานประเมินมีอำนาจบังคับแจ้งการประเมินหรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงาน
ประเมินทราบว่าเจ้าของที่ดินมิได้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน
เอกสารที่ใช้ติดต่อ
1.บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
2.ใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ ปีที่ผ่านมา


ขั้นตอนการให้บริการ
1.ผู้เป็นเจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน
2.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3.ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่
การจัดเก็บภาษีป้าย
เอกสารที่ใช้ติดต่อ
1.บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
2.ใบเสร็จรับเงินภาษีป้ายที่ผ่านมา


ขั้นตอนการให้บริการ
1.ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
2.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3.ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายชำระเงิน และรับใบเสร็จรับเงิน


ยื่นแบบประเมินภาษี
มกราคม - มีนาคมของทุกปี
การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่


เอกสารที่ใช้ติดต่อ
1.บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
2.ใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ ปีที่ผ่านมา


ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้เป็นเจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่


ยื่นแบบประเมินภาษี
มกราคม - เมษายน ของทุกปี


การจัดเก็บภาษีโรงเรือน


เอกสารที่ใช้ติดต่อ
1. บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินปีที่ผ่านมา


ขั้นตอนการให้บริการ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีป้ายชำระเงิน และรับใบเสร็จรับเงิน
ยื่นแบบประเมินภาษี มกราคม - กุมภาพันธ์ของทุกปี


งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ รับชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน,ภาษีป้าย,ภาษีบำรุงท้องที่,
ค่าธรรมเนียม,ค่าปรับและใบอนุญาตต่าง ๆ ดังนี้
1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากผู้เป็นเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการให้เช่าและเป็น
เจ้าของโรงเรือนที่เปิดร้านค้าหรือกิจการ โดยคำนวณจากค่าเช่าเป็นค่ารายปี ช่วงระยะเวลาในการเสียภาษี
เดือน ม.ค. - ก.พ.
2.ภาษีป้าย คือ ภาษีที่เก็บจากป้ายซึ่งแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้าหรือ
ประกอบกิจการเพื่อหารายได้ ช่วงระยะเวลาในการเสียภาษี เดือน ม.ค. – มี.ค.
ป้ายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
-ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
-ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยอยู่เลย คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
3.ภาษีบำรุงท้องที่คือเงินที่เรียกเก็บจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินตั้งแต่
4.ค่าธรรมเนียม เป็นรายได้ที่เรียกเก็บจากการบริการที่ท้องถิ่นจัดให้ เช่น การเก็บขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล
งานทะเบียนราษฎร ฯลฯ
5.ค่าปรับ เป็นโทษทางอาญา และเป็นรายได้ที่เรียกเก็บจากผู้กระทำผิดหรือละเมิดข้อบังคับ หรือกฎหมาย
6.ค่าใบอนุญาตเป็นรายได้ที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องขออนุญาต เช่น กิจการ
ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล ฯลฯ


เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างและดัดแปลงอาคาร
1. ใบขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร (ข.1) โดยกรอกข้อความให้ครบถ้วน
2. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตพร้อมเซ็นรับรองสำเนาทุกหน้า
3. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าตัวจริง จำนวน 2 ชุด โดยให้เจ้าของที่ดินเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกหน้า
4. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของที่ดินเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกหน้า
5. หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดิน (ในกรณีปลูกสร้างอาคารในที่ดินบุคคลอื่น)
6. หนังสือมอบอำนาจพร้อมอากร 30 บาท (ถ้ามี)
7. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กรณีที่เป็นอาคารที่มีลักษณะขนาดอยู่ในประเภท
เป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม)
8. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
9. รายการคำนวณ 1 ชุด
10. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม (กรณีเข้าข่ายต้องควบคุมตามกฎกระทรวง )
11. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
12. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างชิดแนวเขตที่ดิน (กรณีสร้างชิดแนวเขตที่ดิน)
13. แบบแปลนรูปแบบต่าง ๆ และผังบริเวณไม่เกิน จำนวน 3 ชุด
14. วิศวกรผู้คำนวณให้ลงลายมือชื่อหรือสำนักงานและที่อยู่ลงในแบบแปลนแผนผังทุกแผ่น
หมายเหตุ ในกรณีผู้ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในนามห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ให้ประทับตรา ห้างหรือบริษัท
ด้วย และสำเนาหนังสือรับรองการ

อัพเดทล่าสุด