เพิ่มความเร็วคอมพิวเตอร์ของเรา Speed up by Disable เร่งเครื่องให้เต็มที่ง่ายๆ ด้วยวิธีพอเพียง


1,193 ผู้ชม

ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้านั้นผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องเคยเจออย่างแน่นอน หรืออาจจะกำลังเจอกันอยู่


ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้านั้นผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องเคยเจออย่างแน่นอน หรืออาจจะกำลังเจอกันอยู่ หลังจากที่เพิ่งฟอร์แมตเครื่องไปเมื่อปีใหม่ที่ผ่านมาแค่เดือนเดียวเท่านั้น เอง ปัญหานี้ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ซะด้วย นั่นเพราะว่าวินโดวส์ไม่ดีหรือว่าเราไม่ไม่เข้าใจมันกันแน่นะ?

ความอืดที่แลกมาเพื่อความสะดวก

จริงๆ แล้วระบบปฏิบัติการทุกตัวก็คงไม่ได้แตกต่างกันมากในเรื่องของประสิทธิภาพ หรอกครับ เพราะมันก็เป็นซอฟต์แวร์เหมือนๆ กัน มันขึ้นอยู่กับว่าซอฟต์แวร์นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างไร และให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลอะไรบ้างเท่านั้นเอง และระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของประสิทธิภาพเมื่อ เทียบกับระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆ

ถ้าลองไปถามใครต่อใครว่าระบบปฏิบัติ การตัวไหนที่เร็วที่สุด คงไม่มีใครพูดถึงวินโดวส์จริงไหมครับ แล้วถ้าพูดถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่ายและสะดวกที่สุดล่ะ แน่นอนส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นวินโดวส์นั่นเอง ดังนั้นจากจุดนี้เองวินโดวส์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้สะดวกจึงทำให้มัน มีการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมให้รองรับ การใช้งานด้านต่างๆ กับผู้ใช้ไว้เสมอ ซึ่งบางครั้งก็ต้องยอมรับล่ะครับ ว่าเราก็ไม่ได้ใช้

คุณเคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ครับว่าระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ที่คุณใช้อยู่นั้นสามารถทำงานได้ดีมาก จะทำโน่น ทำนี่ก็สามารถทำได้ทุกอย่าง ง่ายไปหมด จะติดตั้งโปรแกรม หรือจะใช้งานอุปกรณ์อะไรก็สามารถรองรับได้หมด แล้วคุณคิดว่าความสามารถทั้งหมดจะต้องการโค้ดหรือชุดคำสั่งที่มีความสลับซับ ซ้อนมากเพียงใด และโค้ดคำสั่งเหล่านี้จะต้องใช้การประมวลผลจากซีพียูแค่ไหน

Service ต่างๆ ในวินโดวส์

จริง อยู่ว่าคุณอาจจะไม่ได้ใช้งานฟังก์ชันทั้งหมดที่มันใส่มาในระบบ  แต่ว่าของอย่างนี้ก็เลือกไม่ได้หรอกครับ คนที่พัฒนาซอฟต์แวร์ก็ต้องออกแบบให้มีความสมดุลและเอื้ออำนวยให้กับผู้ใช้ ทุกๆ กลุ่ม นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ภายในเครื่องของเรามีฟังก์ชันการทำงานที่ถูกเปิดทิ้ง ไว้มากมาย โดยที่เราแทบจะไม่เคยได้ใช้ หรือไม่เคยรู้เลยด้วยซ้ำว่ามีมันอยู่ในระบบด้วย

Service ต่างๆ ที่รันอยู่ในวินโดวส์ ลองเลื่อนแถมลงมาดูน่าจะนับได้ราวๆ ครึ่งร้อย

Service ถือว่าเป็นรูปแบบการทำงานของโปรแกรมภายในวินโดวส์อย่างหนึ่ง โปรแกรมที่อยู่ในกลุ่ม Service นี้จะคอยทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ใช้ในด้านที่มันรับผิดชอบ โดยจะคอยทำงานอยู่เบื้องหลัง จะว่าไปก็เหมือนกับโปรแกรมที่ทำงานในลักษณะ Background นั่นเอง แล้วคุณลองคิดถึงซิครับว่าถ้ามี Service ทำงานอยู่ประมาณ 30 ตัว เครื่องจะช้าลงขนาดไหน ทั้งๆ ที่คุณอาจจะได้ใช้งานมันไม่ถึง 10 ตัวเลยด้วยซ้ำไป

เปิดใช้ Service ให้พอเพียง อย่างเพียงพอ

สมัย นี้เป็นยุคพอเพียงครับ ดังนั้นเราจึงควรจะต้องปิด Service ที่ไม่จำเป็นทิ้ง เพื่อให้คอมพิวเตอร์เอาเวลาที่ต้องไปประมวลผล Service เหล่านี้มาประมวลผลงานที่เราทำจะดีกว่า มาถึงนี้เราจะเข้าไปปิด Service ได้อย่างไร แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าตัวไหนใช้บ้าง ไม่ใช้บ้าง เราจะไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ

วิธีในการเข้าไปจัดการกับ Service

สำหรับ Service ในวินโดวส์นั้น คุณสามารถที่จะเข้าไปจัดการมันได้โดยมีวิธีการคือไปที่ปุ่ม Start แล้วเลือกคำสั่ง Run จากนั้นพิมพ์ service.msc ลงไปแล้วกดปุ่ม OK หน้าต่าง Service ก็จะรันขึ้นมาครับ โดยในนั้นจะมี Service มากมายในคุณได้ปรับการทำงาน (Startup Type) โดยจะแบ่งรูปแบบการตั้งค่าดังนี้

  • Automatic ให้เริ่มทำงานโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่คุณเปิดเครื่องและบูตเข้าสู่วินโดวส์
  • Manual ไม่ให้เริ่มทำงานเอง แต่จะสามารถสั่งให้หยุดหรือเริ่มการทำงานได้โดยผู้ใช้เอง หรือโปรแกรมบางตัว
  • Disable เป็นการปิดการทำงานของ Service ไม่ให้เริ่มการทำงาน
 

โหมด Startup ของ Service มีอยู่ด้วยกันหลัก 3 แบบแล้วแต่รูปแบบการใช้งาน

Service ไหนปิดได้บ้าง

เนื่อง จาก Service ของระบบวินโดวส์มีอยู่มากมาย บางตัวเป็น Service ของโปรแกรมต่างๆ ที่เราติดตั้งไว้ และบางตัวก็เป็น Service ของระบบเอง ดังนั้นจึงต้องทราบก่อนว่า Service ไหนเป็นของอะไรและจะต้องใช้งานหรือไม่ จึงค่อยตัดสินใจปิดนะครับ เราไปดูกันเลยดีกว่ามี Service อะไรบ้างที่น่าจะปิดกันได้

ใช้คำสั่ง Run แล้วพิมพ์ service.msc เพื่อเข้าสู่หน้าจอ Service

หน้าจอ Service จะมีรายชื่อของ Service ในเครื่องคุณมากมาย

ดับเบิลคลิกที่ชื่อ Service เพื่อตั้งค่าเกี่ยวกับ Service นั้น

คุณสามารถคลิกขวา แล้วสามารถเลือก Start และ Stop เพื่อเริ่มและหยุดการทำงานของ Service ได้ทันที

  • AdobeLM Service: เป็น Service ของ Adobe ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรครับ ถ้าใครมีตัวนี้อยู่ก็ปิดได้เลย
  • Alerter: ตัวนี้ถ้าคุณไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายก็สามารถปิดได้เลย
  • Application Management: สำหรับตัวนี้ไม่แนะนำให้ปิดครับ แต่ให้เปลี่ยนเป็น Manual แทน
  • Automatic Updates: Service สำหรับ Windows Update ครับ ไม่ควรปิด นอกเสียจากว่าคุณจะใช้วิธีการอัพเดตแบบ Offline อย่างโปรแกรม AutoPatcher แทนครับ
  • ClipBook: เป็นตัวสำหรับแชร์บางอย่างบนเครือข่าย ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้อยู่แล้ว ปิดซะ
  • Computer Browser: ปิดอีกตัวถ้าไม่ได้ต่อกับเครือข่ายเหมือนกัน เพราะมันไว้สำหรับเข้าไปดึงไฟล์จากเครื่องอื่น
  • Cryptographic Services: ตัวนี้เป็นการเข้ารหัส ถ้าไม่แน่ใจว่าจำเป็นไหมก็ตั้งไว้เป็น Manual ครับ
  • Distributed Transaction Service: ตั้งค่าไว้เป็น Manual
  • DNS Client: ตัวนี้เปลี่ยนเป็น Manual ไปก็ได้ครับถ้าไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย
  • Error Reporting Service: เวลามีโปรแกรมแฮงก์แล้วให้กดปุ่ม Don’t Sent ก็เพราะเจ้า Service ตัวนี้แหละครับ ดังนั้นปิดมันไปเลย
  • Fast User Switching Compatibility: สำหรับเครื่องที่มีแรมน้อยปิดไปเลยดีกว่าครับ เพราะ Fast User Switching มีไว้สำหรับการสลับการทำงานของ User โดยไม่ต้อง Logout ก่อน ถ้าคุณมีหรือใช้แค่ User เดียวอยู่แล้วก็ปิดไปเลยครับ
  • FTP Publishing: ถ้าไม่ได้ใช้ FTP ก็ปิดได้เลยครับ
  • Help and Support: ถ้าคุณไม่เคยใช้ Help ของ Windows เลย (ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้) ปิดไปเลยดีกว่าครับ
  • HTTP SSL: ตั้งไว้เป็น Manual ครับ เผื่อต้องใช้เวลาเข้าเว็บที่มี Secure Login อย่างเว็บ E-Banking
  • Human Interface Device Access: ถ้าคุณไม่ได้ใช้ Hot-key หรือ remote system ก็ปิดไปก็ได้ครับ
  • IMAPI CD-Burning COM Service: Service สำหรับคนที่ใช้ไดรฟ์เขียนแผ่น CD/DVD ไม่ควรปิด แต่ตั้งไว้เป็น Manual จะดีกว่า เพื่อประหยัดเมมโมรี
  • Indexing Service: ตัวนี้เป็น Service ที่กินทรัพยากรสูงมาก สำหรับทำ Index ในการค้นหาข้อมูลในเครื่อง ดังนั้นถ้าคุณไม่ได้ใช้ฟังก์ชันค้นหาของวินโดวส์เลย ก็ปิดมันไปได้เลย เครื่องจะเร็วขึ้นอีกเยอะ
  • InstallDriver Table Manager: ตัวนี้ปิดไปได้เลยเหมือนกันครับ ไม่ส่งผลต่อการทำงาน
  • IPSEC Services: ตั้งไว้เป็น Manual ดีกว่า
  • Windows Messenger: ถ้าคุณไม่ได้ใช้ Windows Messenger (ไม่ใช่ MSN Messenger หรือ Windows Live Messenger นะครับ) ก็รีบปิดไปเลยครับ เพราะมันกินแรมเยอะมาก
  • MS Software Shadow Copy Provider: อันนี้ตั้งค่าให้เป็น Manual ครับ
  • Net Logon: อันนี้เปิดได้เลยครับถ้าไม่ได้เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
  • NetMeeting Remote Desktop Sharing: สำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ Remote Desktop อยู่แล้วก็ปิด Service นี้ไปได้เลยครับ
  • Network Provisioning Service: ถ้าไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายก็ปิดอีกเหมือนกัน
  • NT LM Security Support Provider: ปิดไปได้อีก 1 ตัวเลยครับ
  • NVIDIA Display Driver Service: สำหรับคนใช้การ์ดจอ nVidia แล้วไม่ได้เปิดใช้ nVidia Desktop ก็ปิดดีกว่าครับ
  • Office Source Engine: ตัวนี้ปิดไปได้อีกเหมือนกัน ใช้ในกรณีที่ MS Office ของคุณมีปัญหาแล้วต้องการซ่อมแซมไฟล์ระบบ ซึ่งคุณสามารถใช้แผ่น CD ติดตั้งที่มีอยู่มาแทนได้อยู่แล้ว
  • Portable Media Serial Number Service: ตัวนี้ตั้งไว้เป็น Manual ครับเพราะเราน่าจะใช้สื่อแบบพกพากันบ่อยอยู่แล้ว
  • Print Spooler: ถ้าคุณไม่ได้มีพรินเตอร์ก็ปิดไปได้อีกแล้ว
  • Protected Storage: ปิดไปเลยครับ ถ้าคุณไม่ได้ให้คนแปลกหน้ามานั่งเครื่องคุณอยู่แล้ว
  • Remote Desktop Help Session Manager: เป็นอีกหนึ่งตัวที่ถ้าคุณไม่ได้ใช้ Remote Desktop ก็ปิดไปจะดีกว่า
  • Remote Procedure Call Locator: อันนี้ให้ตั้งไว้เป็น Manual ครับ
  • Remote Registry: รีบปิดไปเลยครับ Service นี้ ถ้าเปิดไว้อาจจะเป็นภัยในภายหลังได้
  • Removable Storage: ตัวนี้ไม่ควรปิดครับเพราะเราใช้พวกแฟลชไดรฟ์อยู่แล้ว อย่างดีก็แค่ตั้งไว้เป็น Manual ครับ
  • Routing and Remote Access: อันนี้ให้ตั้งเป็น Manual ครับ
  • Secondary Logon: ไม่ค่อยมีประโยชน์ครับ ปิดไปได้เลย หรือถ้าไม่แน่ใจก็ปรับเป็น Manual
  • Security Accounts Manager: ปิดไปเลยก็ได้ครับไม่ได้ใช้อยู่แล้วนอกจากจะใช้การเข้ารหัสบน NTFS
  • Security Center: อันนี้ก็ปิดไปด้วยก็ได้ครับ กินทรัพยากรเครื่องไปเปล่าๆ
  • Server: ถ้าคุณไม่ได้ต่อกับเครือข่ายก็ปิดไปอีกตัวหนึ่งครับ
  • Smart Card: ไม่มีค่อยมีใครใช้ Smart Card กับเครื่องที่บ้านใช่ไหมครับ ดังนั้นปิดไปเถอะ
  • SSDP Discovery Service: ใช้สำหรับรองรับอุปกรณ์เครือข่ายแบบ UPnP ดังนั้นไม่มีก็ปิดครับ
  • Task Scheduler: ถ้าคุณไม่ได้ตั้งการทำงานอะไรไว้ที่ Task Scheduler อย่างสแกนดิสก์ หรือจัดเรียงข้อมูลก็ปิดครับ
  • TCP/IP NetBIOS Helper: ตั้งไว้เป็น Manual ครับตัวนี้
  • Telnet: ถ้าคุณเป็นผู้ใช้ตามบ้าน Telnet คงไม่ใช้ ดังนั้นปิดครับ แต่ถ้าคุณชอบซนหน่อยอาจจะตั้งเป็น Manual ก็ได้
  • Terminal Services: ถ้าคุณไม่ใช้ Remote Desktop ก็ปิดไปอีกเหมือนกัน
  • Uninterrupted Power Supply: ปิดไปได้เลยครับถ้าคุณไม่ได้ต่อ UPS เข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่าน COM Port
  • Universal Plug and Play Device Host: อันนี้ปิดไม่ได้ครับ แต่ตั้งให้เป็น Manual ได้
  • User Privilege Service: อันนี้ให้ตั้งเป็น Manual ครับ
  • Volume Shadow Copy: ปิดไปได้เลยครับถ้าคุณไม่ได้ใช้ System Restore ของวินโดวส์
  • Windows Firewall/Internet Connection Sharing (ICS): อันนี้จะเปิดไว้ก็ได้ครับ แต่ถ้าคุณมีซอฟต์แวร์ไฟร์วอลล์อยู่แล้วมันจะซ้ำซ้อนกันเล็กน้อย ดังนั้นปิดดีกว่า (ถ้าคุณมีซอฟต์แวร์ไฟร์วอลล์นะ)
  • Windows Image Acquisition (WIA): ใช้สำหรับดึงภาพออกจากกล้องดิจิตอลและสแกนเนอร์ ปิดถ้าไม่ได้ใช้
  • Windows Media Connect: ถ้าคุณไม่ได้มีเครื่องเล่น MP3 ที่รองรับการ Sync ข้อมูลกับ WMP ได้ก็ปิดไปได้เลยครับ
  • Windows Media Connect (WMC) Helper: ปิดตัวนี้ด้วยครับ มันสัมพันธ์กับตัวข้างบน
  • Windows Time: ถ้าไม่ได้ใช้ระบบตั้งเวลากับ Server ก็ไม่ต้องใช้ครับ
  • Wireless Zero Configuration: ปิดไปถ้าไม่ได้ใช้เครือข่ายไร้สาย
  • WMI Performance Adapters: อันนี้ก็ปิดได้ครับ สำหรับการใช้งานทั่วไป
  • Workstation: ปิด Service อันนี้ด้วยครับถ้าคุณไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย

ข้อควรระวัง

การ แก้ไขการตั้งค่า Service ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงครับ ถ้าคุณปิด Service ที่สำคัญกับระบบอาจจะทำให้การทำงานบางอย่างไม่สามารถทำงานได้หรือส่งผลเสีย หายต่อระบบ ดังนั้นควรอ่านรายละเอียดของ Service แต่ละตัวให้ดีเสียก่อน และถ้าไม่แน่ใจจริงๆ ก็อย่างไปปรับมัน หรือปรับเป็น Manual แทนที่ปิด เพื่อลดความเสี่ยงลง

 

แต่ละ Service จะมีคำอธิบายอยู่ข้างๆ ด้วย ก่อนปรับแต่ควรทำความเข้าใจว่า Service นั้นทำหน้าที่อะไร และจำเป็นต้องใช้หรือไม่

สรุป

จะ เห็นได้ว่ามี Service ที่บางครั้งเราไม่ได้ใช้งานเลย หรือนานๆ ใช้ทีอยู่มากมายในเครื่องเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรของเครื่องไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะคนที่ใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายจะเห็นว่ามี Service ที่ไม่ได้ใช้อยู่เป็นจำนวนมากเลย

ก็ถือว่าเป็นทางเลือกอีก หนึ่งทางสำหรับคนที่ต้องการเพิ่มความเร็วให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่ามันอาจจะมีประโยชน์มากๆ แต่นั่นก็หมายความว่าคุณจะต้องเสียความสามารถบางอย่างของวินโดวส์ไปด้วยใน ปิดแต่ละ Service หรือว่าถ้าตั้งเป็น Manual พอมีการใช้งานทีหนึ่งก็ต้องเสียเวลามารัน Service อีกอยู่ดี ดังนั้นได้อย่างก็ต้องเสียอย่างครับ แต่สำหรับคนที่รู้อยู่แล้วว่าตัวเองต้องใช้งานอะไรบ้างก็สามารถปิดส่วนที่ตน เองไม่ใช้งานจริงๆ และปรับเป็น Manual ในส่วนที่ใช้งานนานๆ ทีได้ เพียงแค่นี้ก็น่าจะเพิ่มความเร็วให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อีกไม่มากก็ น้อยล่ะครับ

ที่มาข้อมูล www.masternewmedia.org

อัพเดทล่าสุด