Reinvent Your PC: เครื่องเก่ายังมีค่า อย่าทิ้ง ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย


1,387 ผู้ชม

อย่าปล่อยเครื่องเก่าของคุณทิ้งไว้เฉยๆ เพราะเรามี 9 วิธีคืนชีพพีซีที่คุณปลดประจำการแล้ว ให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง


อย่าปล่อยเครื่องเก่าของคุณทิ้งไว้เฉยๆ เพราะเรามี 9 วิธีคืนชีพพีซีที่คุณปลดประจำการแล้ว ให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง

Upgrade Advisor ของวิสต้าเผยสิ่งที่คุณเองก็คาดไว้อยู่แล้ว ให้ชัดเจนขึ้น นั่นคือพีซีเครื่องเก่าเก็บของคุณไม่ดีพอที่จะรันระบบปฏิบัติการตัวใหม่นี้ แน่นอนว่าการอัพเกรดอุปกรณ์บางอย่างภายในเครื่องอาจช่วยได้ แต่ในทางปฏิบัติกับพีซีนับสิบ ร้อย หรือพันเครื่องในบริษัท คงเป็นงานที่หนักหนาสาหัสสำหรับฝ่ายไอทีอยู่เหมือนกัน ประกอบกับระบบรุ่นใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับวิสต้า ชนิดยกตั้งแล้วใช้งานได้เลย ก็มีราคาไม่แพง (ราว 17,500 บาท) ทำให้ตัวเลือกอย่างหลังนี้ดูจะเป็นทางออกที่เข้าท่ากว่า และก็เป็นทางเลือกที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้

คุณอาจยังไม่สนใจ วินโดวส์วิสต้าในตอนนี้ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ยังไงคุณก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบปฏิบัติการตัวใหม่นี้อยู่ดี ประเด็นก็คือ คุณจะทำอย่างไรกับเครื่องเก่าที่ปลดประจำการไป จะตั้งทิ้งไว้เฉยๆ ในมุมมืดภายในห้องเก็บของที่อุดมไปด้วยฝุ่นซึ่งร้อยวันพันปีไม่เคยมีใคร เหยียบย่างเข้าไป หรือนำมาใช้งานในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ กับตัวคุณเอง องค์กร หรือกับส่วนรวม

เพียงแค่เครื่องเก่าของคุณรันวิ สต้าไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าเครื่องนั้นจะหมดประโยชน์แล้ว แน่นอนว่าเครื่องเหล่านี้อาจไม่แรงพอที่จะขับเคลื่อนธุรกิจของคุณให้พุ่งฉิว ไปข้างหน้า แต่ก็ยังมีประโยชน์ในทางอ้อม และยังมีวิธีอีกมากมายหลายวิธีที่จะใช้ประโยชน์จากเครื่องเหล่านี้ ถ้าคุณนึกไม่ออก เรามี 9 แนวทางมานำเสนอ ถ้าพร้อมแล้วก็ตามมาได้เลย
      
      
ใช้เป็นหนูตะเภาลองผิดลองถูก

ระดับความยาก : ง่าย (1)

สำหรับ บริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่กี่สิบคน การประกอบเครื่องเพื่อใช้งานเอง หรือการอัพเกรดเครื่องเก่า ดูจะเป็นทางเลือกที่ช่วยให้คุณประหยัดได้มากกว่า และตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของพนักงานได้ตรงกว่า แต่ด้วยขนาดที่เล็กของบริษัท จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่มีฝ่ายไอที ซึ่งก็เท่ากับว่าพนักงานต้องจัดการเรื่องเหล่านี้กันเอง ทำให้ส่วนใหญ่แค่คิดก็ต้องล้มความตั้งใจไปเสียแล้ว เพราะไม่มีคนปฏิบัติ

หลาย คนบอกไว้ว่า การอัพเกรดหรือแม้แต่ประกอบเครื่องขึ้นเองนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไรเลย เพียงแต่เป็นเรื่องที่คุณไม่คุ้นเคยเท่านั้น ถ้าได้เคยลองทำครั้งหนึ่งแล้ว ก็จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับครั้งต่อไป ซึ่งเราเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การที่คุณมีเครื่องเก่าไม่ได้ใช้งานแล้ว จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้เครื่องเหล่านี้เป็นเหมือนแล็บสำหรับเรียน รู้ ใช้ในการลองผิดลองถูก และทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง โดยไม่ต้องวิตกว่าจะทำให้อุปกรณ์เหล่านี้พัง

เมื่อได้ลองคุณจะพบว่า อุปกรณ์ที่ประกอบอยู่ในเดสก์ทอปพีซีส่วนใหญ่นั้น ง่ายต่อการถอดออกหรือติดตั้งเข้าไปใหม่ โดยเฉพาะอุปกรณ์หลักๆ ในการอัพเกรดอย่างฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผล ออปติคัลไดรฟ์ หรือแรม ซึ่งเมื่อเปลี่ยนหรือเพิ่มเข้าไปแล้ว จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของพีซีดีขึ้นอย่างเห็นผล

ถ้าคุณอยากได้ความมั่นใจมากขึ้นในการถอดประกอบอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ ที่ ExtremeTech.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ในเครือของพีซีแมกะซีนมีบทความแนะนำอย่างละเอียดว่าควร เริ่มต้นตรงไหน หรือจะถอดประกอบอุปกรณ์แต่ละประเภทได้อย่างไร เราเชื่อว่าหลังจากที่ได้ลองสักพัก คุณก็จะเริ่มรู้สึกคุ้นเคย และสามารถประกอบเครื่องขึ้นใช้เองได้โดยไม่รู้ตัว

บริษัทที่มีฝ่ายไอ ทีก็สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องเก่าในแบบเดียวกันนี้ได้เช่นกัน อย่างเช่นถ้าบริษัทมีแนวคิดหรือนโยบายที่จะเปลี่ยนไปใช้ลินุกซ์เพื่อเป็นการ ลดต้นทุน แต่ยังไม่มั่นใจในหลายๆ เรื่อง ฝ่ายไอทีอาจใช้เครื่องเหล่านี้ทดสอบและลองผิดลองถูกในแนวทางต่างๆ จนกว่าจะมั่นใจ รวมถึงเป็นการซักซ้อมทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมแบบใหม่นี้

ลิ นุกซ์ไม่ต้องการประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องสูงเหมือนกับวิสต้า และในปัจจุบันก็มีลินุกซ์ดิสทริบิวชันจำนวนมากที่ให้คุณใช้ได้ฟรี (แต่ถ้าคุณสนใจเฉพาะดิสทริบิวชันดังๆ อย่างเช่น Redhat งานนี้ไม่ฟรี) แอพพลิเคชันของลินุกซ์ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ให้คุณใช้ได้ฟรีเช่นกัน จึงน่าจะเป็นเรื่องดีถ้าคุณจะใช้เครื่องเก่าที่ปลดระวางแล้ว มาเป็นเครื่องมือในการเปิดมุมมองใหม่สู่โลกของโอเพ่นซอร์ส


       ทดลอง ใช้งานลินุกซ์ : ระบบปฏิบัติการแบบโอเพ่นซอร์สตัวนี้กำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และก็ใช้งานได้ง่ายกว่าที่คุณคิด แล้วทำไมคุณไม่ลองใช้ดูกับเครื่องเก่าของคุณล่ะ
      
      
ช่วยสนับสนุนงานวิจัย

ระดับความยาก : ง่าย (1)

โลก ของเราจะน่าอยู่ขึ้น ถ้าทุกคนช่วยเหลือและแบ่งปันกัน ดังนั้นแทนที่จะปล่อยเครื่องเก่าของคุณตั้งทิ้งให้แมงมุมชักไยเล่นเฉยๆ คุณสามารถนำมาทำประโยชน์ด้วยการมีส่วนร่วมกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น งานวิจัยเรื่องการสะสมของโปรตีน ‘Misfolder’ ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (folding.standford.edu) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของโรคอย่างอัลไซเมอร์ หรือ Huntington

หรือ คุณอาจช่วยเหลือโครงการ SETI (Search for Extraterrestrial Intelligence) เพื่อตอบข้อสงสัยที่ว่า ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่บนจักรวาลหรือไม่ โดยผ่านทางโครงข่าย BOINC หรือ Berkeley Open Infrastructure for Network Computing ของมหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์ (boinc.berkley.edu) แน่นอนว่าโครงการหรืองานวิจัยเหล่านี้ต้องการพลังในการคำนวณ รวมไปถึงฐานข้อมูลขนาดมหาศาล และก็ต้องการความช่วยเหลือจากคุณ

คุณ สามารถนำเครื่องเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาเป็นกำลังขับเคลื่อนให้กับงานวิจัยเหล่า นี้ โดยแม้ว่าเครื่องของคุณจะมีประสิทธิภาพในการทำงานเพียงจ้อยร่อย แต่เมื่อรวมกับเครื่องของคนอื่นๆ ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเช่นเดียวกันจากทุกมุมโลก และอาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อม ก็จะเกิดเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผลอย่างที่ไม่ เคยมีมาก่อน นี่เป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจนอีกครั้งว่า การร่วมแรงร่วมใจ แม้จะแค่คนละเล็กละน้อย ก็สามารถก่อให้เกิดพลังอันมหาศาลได้Reinvent Your PC: เครื่องเก่ายังมีค่า อย่าทิ้ง ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย

ที่ คุณต้องทำก็แค่เชื่อมต่อเครื่องเก่าของคุณเข้ากับอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา จากนั้นก็ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ไคลเอ็นต์จากเว็บไซต์ของงานวิจัยที่คุณสนใจมา ติดตั้ง คุณยังสามารถกำหนดได้ว่า จะแบ่งรีซอร์สให้ใช้งานมากแค่ไหน โดยในส่วนของซีพียู ชิปแสดงผล รวมไปถึงพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์นั้น คุณอาจแบ่งให้ใช้งานได้เต็มๆ เพราะเป็นเครื่องที่คุณไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่แล้ว ยกเว้นก็แต่แบนด์วิดธ์ของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งคุณอาจแบ่งให้แค่บางส่วน เพื่อไม่ให้เป็นผลรบกวนต่อการทำงานของพนักงาน

หลัง จากที่เครื่องของคุณเริ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยแล้ว คุณอาจถอดจอภาพออก เหลือแค่ตัวเครื่องทำงานอย่างเดียว จะได้ไม่เกะกะพื้นที่และสามารถตั้งซ้อนกันได้ เมื่อต้องการเข้าไปดูการทำงานของตัวเครื่อง ก็อาจทำผ่านยูทิลิตี้รีโมตแอ็กเซสอย่าง GoToMyPC (https://www.gotomypc.com/) หรือถ้าเครื่องนั้นใช้วินโดวส์เอ็กซ์พีโปรฯ ก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ เพราะคุณสามารถใช้คุณสมบัติ Remote Desktop ที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการตัวนี้ได้เลย               

ยกให้พนักงาน

ระดับความยาก : ง่าย (1)

พนักงาน ของคุณมีพีซีใช้อยู่ที่ทำงาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีใช้ที่บ้าน และถ้าพนักงานของคุณมีลูก มีครอบครัว คนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ก็อยากได้พีซีไว้ใช้งานเช่นกัน ดังนั้นแทนที่จะตั้งทิ้งไว้ให้ฝุ่นจับ การนำไปให้คนอื่นที่ใช้ประโยชน์ได้ น่าจะเป็นการดีกว่า

การยกให้ พนักงานหรือขายในราคาถูกมากๆ เป็นเรื่องปกติที่หลายบริษัททำอยู่แล้ว เพียงแต่วิธีการอาจแตกต่างกันไปตามแต่วัฒนธรรมของแต่ละองค์กร โดยบางแห่งอาจให้สิทธิกับเจ้าของเครื่องเดิม ในขณะที่บางแห่งใช้วิธีจับฉลาก แต่ไม่ว่าจะวิธีไหน ผลลัพธ์ที่ได้ก็เหมือนกัน คือสร้างความรู้สึกดีๆ ให้กับพนักงานของคุณ

โดยทั่วไปแล้ว เด็กๆ มักใช้พีซีทำรายงาน หรือค้นคว้าหาข้อมูลบนเว็บ ซึ่งก็คงไม่ต้องการเครื่องที่แรงมากนัก เครื่องเก่าที่ปลดระวางแล้วของคุณจึงยังมีค่าสำหรับพวกเขาเหล่านี้ แต่ก่อนที่คุณจะยกเครื่องให้กับพนักงาน คุณต้องไม่ลืมเก็บกวาดข้อมูลสำคัญของบริษัทออกไปให้หมด และถ้าใจดีก็อาจจัดแจงอะไรอีกเล็กน้อย เช่น ย้ายซอฟต์แวร์ที่ไม่จำเป็นออก รันทูล Disk Cleanup และ Disk Defragmenter ปรับระดับความปลอดภัยของบราวเซอร์ไว้ที่ขั้นสูงสุด และถ้าเป็นไปได้ หาทูล parental control อย่าง Net Nanny (https://www.netnanny.com/) มาติดตั้งและให้รันตลอดเวลา เพื่อที่พนักงานของคุณจะได้นำเครื่องไปตั้งที่บ้าน และปล่อยให้ลูกๆ ใช้ได้อย่างหมดห่วง (มีเวลาทุ่มเทให้กับงานของคุณอย่างเต็มที่)


1. เก็บกวาดฮาร์ดดิสก์ : ทูล Disk Cleanup และ Disk Defragmenter จะช่วยเก็บกวาดไฟล์ที่ไม่ได้ใช้งาน และจัดเรียงแต่ละไบต์ของไฟล์ที่กระจัดกระจายให้รวมกัน เพื่อให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น

2. ยกระดับความปลอดภัย : การยกระดับความปลอดภัยของบราวเซอร์ให้สูงขึ้น เป็นเรื่องที่สมควรทำอย่างยิ่ง และก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยการเลื่อนแถบสไลด์ขึ้นไปบนสุด
      
 

3. หาผู้ดูแลแทน : ติดตั้งและรันแอพพลิเคชัน parental control อย่าง Net Nanny เพื่อควบคุมเวลาการเล่นอินเทอร์เน็ตของเด็กๆ และจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
      
      
เพิ่มความเร็ว

ระดับความยาก : ปานกลาง (2)

สำหรับ บริษัทขนาดเล็กที่ยังไม่พร้อมลงทุนกับพีซีเครื่องใหม่ มีบางอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อรีดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องเดิมให้ สูงขึ้นอีกเล็กน้อย และทำได้แม้ว่าบริษัทของคุณจะไม่มีฝ่ายไอทีก็ตาม

อันดับ แรกก็คือการทำความสะอาด ทั้งในส่วนของตัวเครื่อง และตัวระบบปฏิบัติการ โดยเริ่มจากปิดเครื่องแล้วเปิดฝาเคสออก ใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดทำความสะอาดฝุ่นที่ติดอยู่ ตรวจดูให้แน่ใจว่าพัดลมระบายความร้อนยังทำงานเป็นปกติดีและไม่มีฝุ่นจับ ปิดฝาเคสให้เรียบร้อยแล้วจึงเปิดเครื่องเพื่อจัดการย้ายโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ งานแล้วออกจากระบบ โดยใช้แอพเล็ต Add or Remove Programs ใน Control Panel ตามด้วยการรันทูล Disk Cleanup และ Disk Defragmenter เพื่อจัดเรียงไฟล์บนฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบ

การจำกัดจำนวนของ โปรแกรมที่โหลดเมื่อบูตเครื่อง ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องได้อย่าง เห็นผล เพราะเท่ากับว่าคุณได้รีซอร์สคืนมาส่วนหนึ่ง ก่อนอื่นให้คุณคลิกที่ Start | Run แล้วพิมพ์คำว่า msconfig ลงไปในช่อง open เพื่อเรียกการทำงานของ msconfig ขึ้นมา จากนั้นคลิกที่แท็บ Startup คุณก็จะพบกับรายชื่อของโปรแกรมที่โหลดตัวเองเมื่อตอนบูตเครื่อง

มองหา โปรแกรมอย่างเช่น Nero, iTuneHelper หรือ WinAmp การโหลดโปรแกรมเหล่านี้ตั้งแต่ตอนบูตไม่มีประโยชน์อะไร แถมยังกินรีซอร์สเปล่าๆ (ต้องการใช้งานค่อยเรียกก็ได้) แต่ที่ต้องระวังก็คือ อย่าได้เผลอไปปิดเซอร์วิสสำคัญเข้า เพราะนั่นหมายถึงหายนะจะมาเยือน (กฎง่ายๆ ที่จะทำให้คุณปลอดภัยจากเรื่องนี้ก็คือ อย่าพยายามยุ่งกับอะไรที่คุณไม่รู้จัก)

การเพิ่มแรมเป็นอีกวิธีที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้อย่างเห็นผลและทำได้ง่าย ในขณะที่การติดตั้งฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง ขึ้น (หมุนที่ความเร็วรอบสูงขึ้น) ก็มีผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน แต่ว่างานนี้ไม่ฟรีเพราะคุณต้องลงทุนซื้อ ดังนั้นคำนวณให้ดีก่อน เพราะบางครั้งการซื้อเครื่องใหม่อาจคุ้มกว่าเมื่อเทียบประสิทธิภาพที่ได้กับ เงินที่จ่ายไป


       การ มีแอพพลิเคชันจำนวนมากโหลดอยู่เมื่อบูตเครื่อง จะทำให้การทำงานของเครื่องช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นอะไรที่ไม่จำเป็นก็ยกเลิกไปซะ

สร้างแบ็กอัพเซิร์ฟเวอร์

ระดับความยาก : ปานกลาง (3)

อย่าง ที่เราพร่ำบอกอยู่เสมอว่าการแบ็กอัพนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และนี่ถือเป็นงานหลักอันดับต้นๆ ของฝ่ายไอทีในองค์กรใหญ่ๆ แต่กับธุรกิจขนาดเล็ก เรื่องนี้กลับถูกมองข้ามไป ทั้งๆ ที่ข้อมูลในเชิงธุรกิจไม่ว่าจะเป็นของบริษัทขนาดไหน ก็มีความสำคัญทั้งนั้น และแน่นอนว่าถ้าสูญหายไป คุณและธุรกิจของคุณเดือดร้อนแน่

สาเหตุที่ ธุรกิจขนาดเล็กมักไม่ใส่ใจกับเรื่องของการแบ็กอัพ หลักๆ น่าจะมาจากความไม่สะดวกในทางปฏิบัติ เพราะอาจต้องให้พนักงานแบ็กอัพกันเอง และส่วนใหญ่แล้ว ทางเลือกที่มีคงหนีไม่พ้นการแบ็กอัพใส่แผ่นออปติคัลดิสก์อย่างซีดีหรือดีวี ดี ซึ่งก็จะมีปัญหาในเรื่องของการจัดเก็บให้เป็นระบบระเบียบตามมา จึงน่าจะเป็นการดีกว่า ถ้าคุณจะนำเครื่องเก่าปลดระวางแล้ว มาสร้างเป็นแบ็กอัพเซิร์ฟเวอร์ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางของการแบ็กอัพในออฟฟิศ

แบ็ก อัพเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลมากนัก เครื่องที่ใช้เพนเทียมทรีและมีหน่วยความจำ 256 เมกะไบต์ก็เพียงพอที่จะรองรับงานของเซิร์ฟเวอร์นี้ได้เล้ว คุณจึงสามารถใช้เครื่องเก่าที่เตรียมโละมาทำแบ็กอัพเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสบาย แต่ที่แบ็กอัพเซิร์ฟเวอร์ต้องการมากก็คือพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และนั่นหมายถึงคุณต้องซื้อฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่มาติดตั้งเพิ่ม และอาจต้องติดตั้งหลายตัว ขึ้นอยู่กับขนาดของงานแบ็กอัพในออฟฟิศคุณ (ถ้าติดตั้งภายในเครื่องแล้วไม่พอ คุณอาจใช้ฮาร์ดดิสก์แบบเอ็กซ์เทอร์นอลที่ต่อผ่านทางยูเอสบีมาเสริมเพื่อ เพิ่มความจุได้)

แน่นอนว่าเครื่องเก่าของคุณควรที่จะมีการ์ดเน็ตเวิร์ กติดตั้งอยู่แล้ว และก็ต่อเข้ากับเครือข่ายภายในออฟฟิศ งานลำดับต่อไปของคุณก็คือ มองหาโปรแกรมแบ็กอัพที่ให้คุณตั้งตารางเวลาสำหรับแบ็กอัพทั้งแบบฟูลและ incremental (เฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลง) ผ่านทางแลนได้ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไร เพราะมีวางขายอยู่มากมายหลายตัว แต่ถ้าคุณไม่อยากลงทุนอะไรเพิ่มเติมมากไปกว่านี้ ก็อาจต้องหันไปพึ่งบริการของฟรีแวร์อย่างเช่น Backup Server 6.2 (https://www.backuptoserver.com/) ซึ่งให้คุณใช้ได้ฟรี แต่ก็แน่นอนว่าคงไม่ดีหรือสะดวกเท่ากับซอฟต์แวร์แบ็กอัพที่คุณต้องจ่ายเงินซื้อ

หลัง จากที่แบ็กอัพเซิร์ฟเวอร์ของคุณแบ็กอัพแบบฟูลในครั้งแรกเสร็จสิ้น (ซึ่งมักจะใช้เวลานานมาก) และพร้อมสำหรับการแบ็กอัพตามตารางเวลาที่คุณกำหนดไว้แล้ว คุณสามารถยกเครื่องลงไปวางใต้โต๊ะ หรือวางแอบไว้ที่มุมใดมุมหนึ่ง เพื่อไม่เกะกะพื้นที่ทำงานในออฟฟิศของคุณ และก็ปล่อยให้เครื่องทำงานไป 

Reinvent Your PC: เครื่องเก่ายังมีค่า อย่าทิ้ง ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย


       อย่ารอให้หายนะมาเยือนก่อนจึงคิดถึงเรื่องของการแบ็กอัพ เพราะถึงตอนนั้นก็สายไปเสียแล้ว
      
      
ทำซูเปอร์ไฟร์วอลล์

ระดับความยาก : ปานกลาง (3)

แม้ ว่าคุณจะเปิดการทำงานของวินโดวส์ไฟร์วอลล์ในทุกเครื่อง และเราเตอร์ของคุณสนับสนุน NAT (Network Address Translation) รวมไปถึง SPI (Stateful Packet Inspection) แต่การป้องกันเพียงแค่นี้ไม่ได้ช่วยอะไรคุณมากเท่าไร เพราะคุณก็ยังเสี่ยงต่อการโดนไวรัสโจมตี หรือโดนสปายแวร์เข้ามาล้วงข้อมูลสำคัญออกไปอยู่ดี

แน่นอนว่าการหาชุด รักษาความปลอดภัยอย่าง ZoneAlarm Pro (ราคาประมาณ 1,400 บาท) มาใช้ ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่คุณก็ต้องซื้อมาติดตั้งทุกเครื่องที่มีอยู่ในบริษัท และนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย ซึ่งอาจหนักหนาเกินไปสำหรับออฟฟิศขนาดเล็ก การนำเครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วของคุณมาทำเป็นไฟร์วอลล์แบบฮาร์ดแวร์ จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่เข้าท่ากว่า เพราะนี่หมายถึงคุณจะมีกำแพงด่านหน้าที่ช่วยปกป้องทั้งเครือข่าย

สำหรับ บริษัทที่ต้องการประหยัดให้ถึงที่สุด ก็อาจต้องมองไปที่ไฟร์วอลล์ดิสทริบิวชันบนแพลตฟอร์มของลินุกซ์ ซึ่งมีให้คุณเลือกไปใช้ได้ฟรีมากมาย ที่เราสนใจและอยากแนะนำก็คือ SmoothWall Express (https://www.smoothwall.org/) เพราะมีความต้องการขั้นต่ำของระบบไม่มาก แต่ทำอะไรได้มากมายหลายอย่าง ขอแค่เครื่องเก่าของคุณใช้ตัวประมวลผลเพนเทียม มีแรม 64 เมกะไบต์ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 40 กิกะไบต์ และมีไดรฟ์ซีดี ก็สามารถใช้งานไฟร์วอลล์ดิสทริบิวต์นี้ได้แล้ว จะมีที่พิเศษก็ตรงที่คุณต้องติดตั้งการ์ดเน็ตเวิร์กลงในเครื่อง 2 ตัวเท่านั้น

ที่ดีอีกอย่างของ SmoothWall ก็คือ คุณไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับลินุกซ์เลยก็ได้ เพราะที่คุณต้องทำก็แค่ดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้ง สร้างซีดีสำหรับบูต จากนั้นก็ติดตั้งตัวแอพพลิเคชันซึ่งจะมีโอเอสรวมอยู่ในตัว แล้วก็ทำตามไปทีละขั้นตอนที่ปรากฏขึ้นมา ซึ่งเข้าใจได้ง่ายและช่วยในการคอนฟิกให้อีกต่างหาก เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ไฟร์วอลล์ ‘Smoothie’ ซึ่งมีคุณสมบัติการทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติพื้นฐานอย่าง NAT หรือ SPI รวมไปถึงการบล็อกไอพีแอดเดรสที่น่าสงสัย ทำพอร์ตฟอร์เวิร์ดดิ้ง เซตอัพ VPN ไปจนถึงการซิงก์เข้ากับ Network Time Protocol Server

คุณยังสามารถ สั่งให้ ‘Smoothie’ ทำหน้าที่เป็นพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์และ DHCP เซิร์ฟเวอร์ได้ในตัว รวมไปถึงคอนฟิกให้รัน Snort ซึ่งเป็นยูทิลิตี้โอเพ่นซอร์สยอดนิยมสำหรับการตรวจจับการบุกรุก ได้อีกด้วย 

1. สร้างแผ่นบูต : เช่นเดียวกับลินุกซ์ดิสทริบิวต์ชันส่วนใหญ่ SmoothWall (ที่เราใช้คือ SmoothWall Express เบต้าเวอร์ชันล่าสุด) ให้คุณดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี โดยจะอยู่ในรูปของไฟล์ ISO ซึ่งคุณต้องเบิร์นใส่แผ่นซีดีก่อน

2. ติดตั้งซอฟต์แวร์ : ในการติดตั้ง SmoothWall คุณต้องลงลินุกซ์ก่อน และนั่นหมายถึงข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเครื่องจะหายไป ที่เราชอบก็คือดิสทริบิวชันนี้จะช่วยแนะนำคุณผ่านขั้นตอนต่างๆ ในแบบที่เข้าใจได้ง่าย ชนิดที่คุณแทบไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับลินุกซ์มาก่อนเลยก็สามารถติด ตั้งได้
      
      
ใช้ให้คุ้มค่าที่สุด

ระดับความยาก : ง่าย (1)

เครื่อง เก่าของคุณอาจรันวิสต้าไม่ไหว หรือช้าเกินไปที่จะใช้เรนเดอร์งานใน Adobe Photoshop แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเครื่องเหล่านั้นจะทำอะไรไม่ได้แล้ว เพราะสำหรับงานพื้นๆ ทั่วไปในออฟฟิศอย่างเช่นเวิร์ดโพรเซสซิง อีเมล์ หรือท่องเว็บ ซึ่งไม่ได้ต้องการพลังขับเคลื่อนจากซีพียูสูงมากนัก พีซีที่ออกวางขายเมื่อหลายปีที่แล้วยังสามารถรับมือกับงานเหล่านี้ได้อย่าง สบาย

คุณอาจเก็บเครื่องเหล่านี้ไว้ใช้เป็นเครื่องสำรองในกรณีที่ เครื่องซึ่งพนักงานใช้อยู่ประจำมีปัญหา เพราะอย่างน้อยพนักงานของคุณก็ยังสามารถทำงานทั่วๆ ไปได้ หรือถ้าคุณรับพนักงานเข้ามาใหม่ซึ่งยังมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรไม่มากนัก คุณก็อาจนำพีซีเหล่านี้ไปใช้ จะได้ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องใหม่

วิธี ง่ายๆ ที่สามารถทำให้พีซีเครื่องเก่าของคุณกลับมาดูน่าใช้งานอีกครั้งก็คือ การเปลี่ยนจอ CRT ที่เก่าและภาพค่อนข้างมัวแล้ว ไปเป็นจอแอลซีดีขนาด 17 นิ้ว ซึ่งทุกวันนี้ขายอยู่ที่ประมาณ 5 พันบาทเท่านั้น บวกกับการทำความสะอาดเคส ซื้อคีย์บอร์ดและเมาส์ใหม่ เพียงเท่านี้พนักงานของคุณจะรู้สึกเหมือนได้เครื่องใหม่มาใช้งาน และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น คุณอาจจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเพื่อเลือกซื้อเป็นจอแบบไวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพนักงานของคุณต้องง่วนอยู่กับสเปรดชีตใหญ่ๆ อยู่เป็นประจำ 
       
      
บริจาคReinvent Your PC: เครื่องเก่ายังมีค่า อย่าทิ้ง ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย

ระดับความยาก : ง่าย (1)

ถ้า คุณทำตามแนวคิดที่เราแนะนำ รวมไปถึงนำไปใช้งานในรูปแบบอื่นๆ แล้ว ก็ยังคงเหลือเครื่องส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่ดี อย่าตั้งทิ้งให้หยากไย่ขึ้นเฉยๆ เพราะยังมีคนอื่นที่ใช้ประโยชน์ได้ ชัดเจนที่สุดก็คือนักเรียนในโรงเรียนที่อยู่แถวออฟฟิศคุณ หรือไม่ก็ยังมีมูลนิธิอีกมากมายที่รอรับบริจาคจากคุณอยู่ เช่น มูลนิธิวัดสวนแก้ว (027215602-4 ต่อ 116 – 118) หรือโครงการบริจาคคอมพิวเตอร์เพื่อน้องชนบทโดยมูลนิธิกระจกเงา (026427991-2 ต่อ 17) เป็นต้น

ถ้าคุณพอมีเวลา เว็บไซต์ของศูนย์รับบริจาคออนไลน์ (www.thaigiving.org/register_approve.php) ซึ่งมีรายชื่อของสถานศึกษาในชนบท รวมไปถึงวัด ชมรม หน่วยงาน และสมาคมต่างๆ ที่ต้องการคอมพิวเตอร์มือสองเหล่านี้ไปใช้งาน ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ดี ที่เปิดโอกาสให้คุณได้บริจาคอย่างที่คุณต้องการ              
      
รีไซเคิล

ระดับความยาก : ง่าย (1)

ถ้า ในท้ายที่สุดแล้ว เครื่องของคุณเก่าเก็บเกินกว่าที่ใครจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ การรีไซเคิลก็น่าจะเป็นทางออกสุดท้ายของคุณ ไม่ใช่ตั้งทิ้งไว้เฉยๆ ในห้องเก็บของ หรือว่านำไปกองทิ้งรวมกับขยะปกติ ซึ่งนั่นเท่ากับเป็นการไม่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสิ้นเชิง

ถ้า คุณคิดจะซื้อเครื่องใหม่ ลองสอบถามไปยังตัวแทนจำหน่าย เพราะในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตหลายรายที่มีนโยบายรับเครื่องเก่ากลับมารีไซ เคิล และก็จะลดราคาของเครื่องใหม่ที่คุณจะซื้อให้เล็กน้อย หรือถ้าต้องการทิ้งจริงๆ ในประเทศที่เจริญแล้วจะมีศูนย์รีไซเคิล ให้คุณนำเครื่องไปทิ้งได้ แต่สำหรับในบ้านเรา อย่างดีที่สุดก็คงจะเป็นการทิ้งใส่ถังรีไซเคิล ซึ่งล่าสุดทางกทม. เพิ่งติดตั้งไป 119 จุดทั่วกรุงเทพฯ

ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งไม่ว่าคุณ จะบริจาคหรือรีไซเคิลก็คือ ให้แน่ใจว่าคุณได้เก็บกวาดข้อมูลของบริษัทออกจากเครื่องจนเกลี้ยงแล้ว ถ้าข้อมูลของคุณมีความสำคัญมาก และแค่ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ยังไม่สร้างความอุ่นใจให้กับคุณ (เพราะยังมีทูลที่สามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้ไม่ยาก) ก็อาจต้องหายูทิลิตี้ฟรีอย่าง BCWipe (https://www.jetico.com/) หรือ Sure Delete (https://www.wizard-industries.com/) มากวาดล้างฮาร์ดดิสก์ชนิดที่ไม่สามารถกู้อะไรกลับมาได้อีก เท่านี้คุณก็ปล่อยเครื่องเก่าของคุณออกจากบริษัทไปได้อย่างหมดห่วงแล้ว

       
       อย่าลืมเก็บกวาดข้อมูลของคุณให้เรียบก่อนที่จะบริจาคหรือรีไซเคิล งานนี้ทูลอย่าง BCWipe สามารถช่วยคุณได้เป็นอย่างดี

ที่มา www.arip.co.th

อัพเดทล่าสุด