ความหมายอาหารจานเดียว-อาหารจานเดียว คือ หมายถึงอะไรมีคำตอบ(กูรู)


1,128 ผู้ชม


ความหมายอาหารจานเดียว-อาหารจานเดียว คือ หมายถึงอะไรมีคำตอบ(กูรู) ความหมายอาหารจานเดียว-อาหารจานเดียว คือ หมายถึงอะไรมีคำตอบ(กูรู) ความหมายอาหารจานเดียว-อาหารจานเดียว คือ หมายถึงอะไรมีคำตอบ(กูรู)

อาหารจานเดียว

    ความหมายอาหารจานเดียว ในที่นี่หมายถึง อาหารที่ให้คุณค่าทางอาหารครบ 5 หมูของไทยโดยพยายามให้อาหารครบ 5 หมู่ในหนึ่งจาน
    
    ประโยชน์อาหารจานเดียว
1.    ให้สารอาหารครบตามความต้องการของร่างกายของแต่ละบุคคลซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ลักษณะการทำงานและสภาวะของร่างกาย
2.    ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการประกอบอาหารแต่ละมื้อ โดยรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การใช้อาหารทดแทนและการนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาดัดแปลงประกอบเป็นอาหาร บริโภค โดยให้พอเหมาะกับการบริโภคของแต่ละบุคคลในครอบครัว
3.    สร้างอุปนิสัยในการบริโภค เป็นการสร้างพื้นฐานการบริโภคที่ง่าย ประหยัดถูกหลักโภชนาการโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวันก่อนเรียน ซึ่งเป็นวัยที่เลือกกินอาหารตามชอบ ทำให้ได้อาหารไม่ครบตามความต้องการของร่างกาย และเป็นสาเหตุให้เด็กให้วัยนี้เป็นโรคขาดสารอาหารเป็นจำนวนมาก
    ส่วนประกอบของอาหารจานเดียว
1.    ประกอบด้วยอาหารหลักครบ 5 หมู่
2.    สงวนคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริง
3.    ลักษณะอาหารต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้บริโภค ทั้งรสนิยม วัย สุขภาพ
    สุขอนามัยในการประกอบอาหารจานเดียว
1.    ร่างกายผู้ปรุงอาหารต้องไม่เป็นโรคติดต่อ หรือ ไม่ควรให้ผู้ที่เป็นโรคปรุงอาหาร
2.    เครื่องแต่งกายของผู้ปรุงต้องสะอาด เช่น มีผ้าคลุมผม และสามผ้ากันเปื้อน
    ประกอบอาหารเพื่อสงวนคุณค่า
การประกอบอาหารเพื่อสงวนคุณค่าทางอาหาร มีรูปแบบวิธีการต่าง ๆ เช่น การต้ม การนึ่ง การผัด การทอด ฯลฯ
-    การประกอบอาหารประเภทผัก ให้ล้างให้สะอาด หั่นด้วยมีดคม ผัดหรือต้มให้สุกด้วยไฟแรง ใส่น้ำแต่น้อย และปิดฝาให้สนิท
-    การประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หุงต้มให้สัก ระยะเวลาในการหุงต้มขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อเนื้อส่วนใดขนาดของชิ้นเนื้อ วิธีตัด-หั่นเนื้อ แต่การหุงต้มนาน จะทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร
    การเลือกซื้ออาหารสด
1.    เลือกซื้อตามฤดูกาล
2.    เลือกซื้ออาหารที่มีในท้องถิ่น
3.    เลือกซื้ออาหารสดใหม่ ตามชนิดและประเภท
    การเลือกซื้ออาหารแห้ง
1.    อ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ก่อน เพื่อดูส่วนประกอบ ปริมาณน้ำหนัก วันเดือนปีที่ผลิต
2.    สำหรับอาหารที่ไม่มีบรรจุภัณฑ์ ให้ดูลักษณะของอาหาร
    การเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
    หลักการในการการเลือกซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ ยึดหลักคุณภาพเครื่องมือเป็นสำคัญ เพราะเครื่องมือที่มีคุณภาพดีทนทาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา แรงงาน และต้นทุน การเลือกใช้ การเก็บ การบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ เตาแก๊ส ดูแลสายแก๊ส และปิดวาวล์ที่ถังเสมอเมื่อเลิกใช้งาน ทำความสะอาดบริเวณเตา และรอบ ๆ เตา ไม่ให้มีคราบไขมันเกาะ เครื่องบดไฟฟ้า ไม่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลาอาจ ทำห้ให้เครื่องไหม้ ทำความสะอาดก่อนนำไปเก็บเสมอ
    การคิดต้นทุนกำไรและการกำหนดราคาขาย
     ต้นทุน หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องจ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้ามา สินค้าในที่นี้เพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารที่จัดจำหน่าย กำไรและขาดทุน เกิดจากต้นทุน และการขาย ถ้าต้นทุนน้อย ขายไปเกินกว่าต้นทุน เรียกว่า “กำไร” แต่ถ้าขายไปได้เงินน้อยกว่าต้นทุน เรียกว่า “ขาดทุน” การกำหนดราคาจำหน่าย กำหนดจากต้นทุน บวก กำไร
    การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน
    เตรียมอุปกรณ์ในการปรุงอาหารแต่ชนิดให้เหมาะสม เช่น
-    อุปกรณ์การชั่ง-ตวง ได้แก่ ถ้วยตวง ช้อนตวง ฯลฯ
-    อุปกรณ์หุงต้ม ได้แก่ กระทะ หม้อ ตะหลิว ทัพพี ฯลฯ
-    อุปกรณ์ที่ใช้บรรจุอาหาร และเสริฟอาหาร ได้แก่ จาน ชาม ถ้วย ช้อน แก้วน้ำ ถาด ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดปาก ฯลฯ
-    อุปกรณ์ในการล้าง เช่น อ่างน้ำ น้ำยาล้างจาน ฟองน้ำ ถาด ที่ตาก หรือ ผึ่ง ภาชนะ
    การประกอบอาหารจานเดียวชนิดต่าง ๆ และการเลือกสูตรอาหาร
-    ข้าวราดแกงสูตรต่าง ๆ ข้าวหน้าเป็ด ข้าวขาหมู ข้าวมั้นไก่ ข้ามหมูแดง ฯลฯ
-    อาหารเส้น เช่น ก๋วยเตี๋ยว สปาเก็ตตี้ ขนมจีน สุกี้
-    ข้าวผัดสูตรต่าง ๆ เช่น ข้าวผัดกุ้ง ปู หมู ไข่ ข้าวผัดน้ำพริก ฯลฯ
การ เลือกประเภท และสูตรของอาหารจะพิจารณาจากกาละเทศะ สถานที่ ภาชนะจำนวนคน รวมทั้งบรรยากาศของงานนั้น ๆ สิ่งสำคัญคือ การใช้ทักษะในการประกอบอาหารโดยคำนึงถึงคุณค่า และการจัดวางอย่างชวนให้รับประทาน
ที่มา  www.trueplookpanya.com

อัพเดทล่าสุด