ในยุคที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงอย่างในปัจจุบัน ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างค้นคว้าวิจัยพัฒนาเครื่องยนต์ให้ประหยัด พลังงานเพิ่มมากขึ้น
ในยุคที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงอย่างในปัจจุบัน ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างค้นคว้าวิจัยพัฒนาเครื่องยนต์ให้ประหยัด พลังงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากสมรรถนะเครื่องยนต์ที่ประหยัดน้ำมันเป็นเยี่ยมแล้ว เทคนิคการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้ประหยัดเงินในกระเป๋าก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่สำคัญ ที่ผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญ จึงขอนำเสนอเทคนิคการเติมน้ำมัน ให้ประหยัดเงินในกระเป๋ามาฝากกัน เพื่อที่จะมีเก็บไปเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น.....
เทคนิคการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้ประหยัดพลังงาน ประหยัดเงิน มีข้อปฏิบัิติดังนี้
- จงเติมน้ำมันตอนเช้า ขณะที่อุณหภูมิบนพื้นดินยังเย็นอยู่ อย่าลืมว่าปั๊มน้ำมันทุกแห่งมีถังน้ำมันฝังอยู่ใต้ดิน เมื่อพื้นดินยิ่งเย็น น้ำมันยิ่งควบแน่น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น น้ำมันก็จะขยายตัวตาม ดังนั้น หากเติมน้ำมันช่วงบ่ายหรือเย็น เปรียบเทียบว่าคุณซื้อน้ำมันมา 1 แกลลอน แต่ได้มาไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
- ขณะเติมน้ำมัน อย่าให้เด็กปั๊มตั้งหัวฉีดอยู่ในตำแหน่งไหลเร็ว หากคุณสังเกต จะเห็นว่ากลไกเหนี่ยวมี 3 ระดับ คือ low, middle, และ high เมื่อตั้งในระดับไหลช้า จะเกิดไอระเหยของน้ำมันน้อยที่สุด หากตั้งในระดับไหลเร็ว น้ำมันบางส่วนจะกลายเป็นไอระเหย และถูกสูบย้อนกลับไปยังถังใต้ดิน นั่นหมายถึงคุณจ่ายเงินมากกว่าที่ควร
- ควรเติมน้ำมันเมื่อน้ำมันในรถเหลือประมาณครึ่งถัง เหตุผลคือ น้ำมันบรรจุในถังยิ่งมาก เนื้อที่ว่างสำหรับไอระเหยก็ยิ่งน้อย เพราะน้ำมันระเหยเป็นไอเร็วกว่าที่คุณคาดคิด ในคลังเก็บน้ำมันจะมีอุปกรณ์ภายในถัง ทำหน้าที่เป็นเพดาน ลอยขึ้นลงตามระดับน้ำมัน ทำให้ไม่มีช่องว่างระหว่างน้ำมันกับอากาศ ลดไอระเหยของน้ำมันให้น้อยที่สุด รถขนส่งน้ำมันเมื่อมาบรรทุกน้ำมัน จึงเติมได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ผิดกับที่ปั๊มน้ำมันซึ่งไม่มีการชดเชยอุณหภูมิ
- ข้อเตือนใจอีกข้อหนึ่ง ขณะที่คุณขับรถเข้าปั๊มถ้าเห็นรถบรรทุกกำลังถ่ายน้ำมันเข้าสู่ถังเก็บใต้ดิน จงอย่ารีบร้อนเติมน้ำมันช่วงเวลานั้น เพราะตอน "ลงของ" สิ่งแปลกปลอม ซึ่งปรกติจะตกตะกอนอยู่ใต้ถัง ถูกปั่นป่วนจนลอยตัว หากคุณเติมน้ำมันช่วงเวลานั้น อาจมีโอกาสดูดเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่รถคุณได้
เพียงปฏิบัติตามนี้ ก็จะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณได้แล้ว ทั้งยังช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้สมบูรณ์ ไม่ต้องเสียเงินค่าซ่อมบำรุงให้กระเป๋าแห้งอีกด้วย
ข้อมูลจาก https://www.meedee.net/magazine/car/energy/3367