โรคหัวใจมีทั้งที่เป็นตั้งแต่กำเนิด และที่เป็นภายหลังจากเกิดมาแล้ว โดยถ้าจำแนกตามพยาธิสภาพ หัวใจอาจมีความผิดปกติที่กล้ามเนื้อหัวใจ ความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจ และความผิดปกติของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจ สำหรับโรคหัวใจที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญในประเทศไทย ได้แก่ - โรคหัวใจแต่กำเนิด
- โรคหัวใจรูห์มาติก
- โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหัวใจแต่กำเนิด มีความผิดปกติของส่วนที่จะเจริญเติบโตมาเป็นหัวใจตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา 3 เดือนแรก ทำให้เกิดความพิการขึ้นได้เช่น ผนังที่กั้นหัวใจซีกซ้าย และซีกขวามีรูทะลุถึงกัน ลิ้นหัวใจอาจตีบหรือรั่ว อาจมีความผิดปกติของหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับหัวใจตั้งแต่แรกคลอด รูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องล่าง (ventricular septal defect; VSD) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โดย พบได้ร้อยละ 20-30 ผลจากการที่มีรูรั่วผนังกั้นห้องหัวใจห้องล่าง ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องล่างซ้ายผ่านรูรั่วไปยังห้องล่างขวา และออกสู่หลอดเลือดแดงของปอด ทำให้ปริมาณเลือดที่ไปปอดมากขึ้น ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย และล่างซ้ายจะเพิ่มมากขึ้นด้วย ส่งผลให้หัวใจห้องซ้ายทำงานมากขึ้น จนอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้ Top รูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน (atrial septal defect; ASD) เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดที่พบบ่อยรองลงมามัก พบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ผลจากการที่มีรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน ทำให้เลือดไหลผ่านจากหัวใจห้องบนซ้ายผ่านรูรั่วไปห้องบนขวา ตรวจพบเสียงฟู่หัวใจ และผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย หัวใจห้องขวาขยายใหญ่ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนใหญ่มักถูกตรวจพบโดยบังเอิญในช่วงวัยเรียน การคงอยู่ของหลอดเลือดแดงเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่ทั้งสอง (patent ductus arteriosus; PDA) ในภาวะปกติเมื่อทารกอยู่ในครรภ์ หลอด เลือดนี้จะมีขนาดใหญ่ เป็นทางลัดผ่านของเลือดจากหัวใจห้องขวาล่าง ไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกาย ซึ่งไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างของลำตัว เมื่อทารกคลอดออกมา หลอดเลือดนี้จะหดตัวเล็กลงจนปิดไป ภายในอายุ 10 วัน ในรายที่มีความผิดปกติ ทำให้หลอดเลือดนี้คงอยู่ เลือดแดงส่วนหนึ่งจากหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกาย จะไหลผ่านไปยังหลอดเลือดแดงของปอด ปริมาณเลือดไปปอดเพิ่มขึ้น และไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องซ้ายเพิ่มขึ้น คล้ายในรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องล่าง หลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกายส่วนไปเลี้ยงลำตัวส่วนล่างตีบ (coarctation of aorta; CoA) ผลจากการตีบของหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกาย ทำ ให้หัวใจห้องซ้ายมีความดันสูงขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น และกระตุ้นให้ความดันโลหิตของร่างกายส่วนบนสูงขึ้น เลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างของลำตัวลดลง เกิดความแตกต่างของความดันโลหิตระหว่างแขน และขา ชีพจรส่วนขาเบาลง บางรายอาจไม่มีอาการ แต่ถูกตรวจพบโดยบังเอิญในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เช่น ฟังได้เสียงฟู่ของหัวใจ หรือความดันโลหิตสูง คลำชีพจรส่วนขาเบาผิดปกติ Top โรคหัวใจรูห์มาติค เป็นความผิดปกติของหัวใจที่เกิดภายหลังที่ผู้ป่วยไม่สบายจากไข้รูห์มาติค โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของหัวใจที่เกิดบ่อยคือลิ้นหัวใจ โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่นานๆ และไม่ได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอดีพอ หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น กล้ามเนื้อของหัวใจจะหนาขึ้น หัวใจจะโตขึ้น จนอาจทำให้เกิดหัวใจวาย ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบง่าย เมื่อ ทำงานหนัก บวมบริเวณเท้า และจะนอนราบไม่ได้ โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดขึ้นเพราะมีความผิดปกติเกิดขึ้นในหลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจ มีไขมันมาเกาะจนทำให้เกิดการมีการตีบตัน เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอเพียง |