รัตนชาติที่มาจากแร่ต่าง ๆ (Minerals) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่อยู่ใต้ผิวโลก และได้ถูกขุดขึ้นมาแล้วนำมาเจียระไ
อัญมณี (Gemstones/Jewelry)
คือรัตนชาติที่มาจากแร่ต่าง ๆ (Minerals) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่อยู่ใต้ผิวโลก และได้ถูกขุดขึ้นมาแล้วนำมาเจียระไนและขัดมันหรือแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนำมาทำอัญมณีหรือเครื่องประดับ นอกจากนี้ยังมีสารอินทรีย์ บางชนิดได้ถูกเลือกเป็นอัญมณีด้วย
.
คุณสมบัติของอัญมณี
แร่ทุกชนิไม่ใช่ว่าจะเป็นอัญมณีได้ เพราะอัญมณีจะต้องเป็นวัตถุที่สวยงาม หายาก และมีความคงทน และเหมาะสำหรับที่เป็นเครื่องประดับ ด้วยเหตุนี้ แร่ธาตุที่มีจำนวนกว่า 3,000 ชนิด จะมีเพียงประมาณ 100 ชนิด ที่สามารถ เจียระไน และ ขัดมัน หรือแกะสลัก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับหรืออัญมณี
ดังนั้นคำว่าอัญมณีคือแร่ที่ธาตุที่มีความสวยงาม สามารถนำมาเจียระไน และ ขัดมัน หรือแกะสลักเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ ดังนั้นคุณสมบัติที่จัดเป็นอัญมณีได้ต้องประกอบด้วย
* ความสวยงาม (Beauty)
* ความหายาก (Rality)
* ความคงทน (Durability) แบ่งออกเป็น ความแข็ง (Hardness), ความเหนียว (Toughness) ความทนทาน (Stability)
ความแข็ง (Hardness)
หมายถึง ความทนทานของแร่ต่อการขีดข่วนให้เป็นรอย การวัดความแตกต่างความแข็งของเพชร พลอย และ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้โดยมาตรฐานการวัดของโมหส์ (Friedrich Moh) ชาวออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการแร่ทั่วไป เป็นเวลามากกว่า 150 ปี โดยเริ่มจากหน่วย 10 ถึง 1 ซึ่งหมายถึงความแข็งมากที่สุด ถึง น้อยที่สุด
ความแข็ง | แร่ |
10 | เพชร (Diamond) |
9 | คอรันดัม (Corundum) |
8 | โทแพช (Topaz) |
7 | ควอทซ์ (Quartz) |
6 | ออร์โธเคลส (Orthoclase) |
5 | อะพาไทท์ (Apatite) |
4 | ฟลูออไรท์ (Fluorite) |
3 | คาลไซท์ (Calcite) |
2 | ยิปซั่ม (Gypsum) |
1 | ทัลค์ (Talc) |
พลอยที่มีความแข็งมากกว่า จะสามารถขูดขีดพลอยที่มีความแข็งน้อยกว่าให้เป็นรอยได้ แต่พลอยที่มีความแข็งน้อยกว่า จะขูดขีดพลอยที่มีความแข็งมากกว่าไม่ได้ ส่วนพลอยที่มีความแข็งเท่ากันจะขูดขีดพลอยกันเองให้เป็นรอยได้ การทดสอบความแข็งของพลอยที่เจียระไนแล้ว ไม่ควรทำ นอกจากการทดสอบครั้งสุดท้าย เพราะพลอยอาจจะเป็นตำหนิได้ ส่วนมากพลอยที่เจียระไนเป็นเหลี่ยมแล้ว ไม่ใช้ความเป็นการทดสอบ นอกจากอยู่ในลักษณะของพลอยก้อน (Rough)
ความเหนียว (Toughness)
หมายถึงความทนทาน ต่อการแตกหรือแยกเมื่อถูกกดดัน ความเหนียวเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพลอย ถ้าบวกกับความแข็งของพลอยด้วยแล้ว จะทำให้พลอยมีความคงทนอย่างมาก คุณลักษณะความแข็งกับความเหนียวไม่เหมือนกัน และพลอยบางชนิดมีความแข็งมาก เนื่องจากอะตอมในตัวมันเองเกาะกันแน่นมาก แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความเหนียวน้อยกว่าพลอยชนิดอื่น ที่มีความแข็งน้อยกว่าเสียอีก เช่นเพชรมีความแข็ง 10 ส่วนหยกมีความแข็ง 6.5-7 แต่เพชรมีความเหนียวไม่เท่าหยก เพราะเพชรมีรอยแยกแนวเรียบ (Cleavage) ที่สมบูรณ์ใน 4 ทิศทาง ส่วนในหยกไม่มีรอยแยกแนวเรียบ และผลึกในหยกนั้นเกาะกันเหนียวแน่นมาก จึงทำให้หยกมีความทนทางมากกว่าเพชร
ความทนทาน (Stability)
หมายถึงความคงทนต่อสารเคมี ที่สามารถทำให้โครงสร้างของพลอยชำรุด หรือแตกสลาย เช่น กรด แอลกอฮอล์ น้ำหอม เป็นต้น ส่วนรอยร้าวในโอปอล (Opal) ที่มักเกิดขึ้น เกิดจากการสูญเสียน้ำในตัวมันเอง (เนื่องจาก โอปอล มีส่วนผสมขอน้ำปนอยู่)
การกำเนิด อัญมณี
อัญมณี เกิดจากสิ่งมีชีวิต และ สิ่งไม่มีชีวิต ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
สารอินทรีย์ (Organic)
สารอนินทรีย์ (Inorganic)