สุดยอด เทคโนโลยีล่องหน จะเป็นความจริงแล้ว ไม่ได้ฝันไป


898 ผู้ชม

ไอสไตน์กล่าวไว้ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมักเกิดจากจินตนาการและความใฝ่ฝันในเรื่องต่างๆ


ล่องหน หายตัว

             ไอสไตน์กล่าวไว้ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมักเกิดจากจินตนาการและความใฝ่ฝันในเรื่องต่างๆ ความฝันที่อยากจะบินเหมือนนกเป็นแรงบันดาลใจให้เราสร้างเครื่องบิน ความฝันที่จะท่องไปในอวกาศ ความฝันที่ย้อนเวลา ฯลฯ
             จินตนาการมักนำหน้าความรู้ไปก่อนเสมอ ต้องใช้เวลาสักพักกว่าที่จะสร้างองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้ได้ตามที่จินตนาการไว้ โทรศัพท์มือถือปรากฏอยู่ในนิยายวิทยาศาสตร์หลายสิบปี กว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะไล่ตามจินตนาการได้ทัน สามารถประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือในชีวิตจริงได้
             และเมื่อต้นปี 2554 นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เราขยับเข้าใกล้ความฝันไปอีก ก้าว ความฝันที่จะล่องหนหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
             ไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลอันใด ดูเหมือนมนุษย์จะอยากล่องหนหายตัวได้เหลือเกิน บางทีอาจเป็นเพราะการที่ไม่มีใครมองเห็นเราคงทำให้รู้สึกเป็นอิสระ สามารถทำอะไรก็ได้และเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มทึ่  ในนวนิยายและภาพยนตร์จึงมีจินตนาการเกี่ยวการล่องหนมากมาย ตั้งแต่ผ้าคลุมล่องหน ของวิเศษในเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์  อุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ รวมถึงยาล่องหน

             นักวิทยาศาสตร์เองก็หลงใหลในเรื่องการล่องหนไม่แพ้กัน พยายามใช้สารพัดวิธีที่จะทำให้วัตถุหายไปจากสายตา บางเทคนิคอาศัยการลวงสายตาให้ผู้มองเข้าใจว่าวัตถุหายไป ตัวอย่างเช่น เสื้อคลุม (เสมือน) ล่องหนที่ประดิษฐ์โดยชาวญี่ปุ่น ใช้วิธีตั้งกล้องวีดีโอไว้ด้านหลังคนสวมเสื้อคลุม ถ่ายภาพวิวด้านหลังแล้วฉายภาพไปบนเสื้อคลุม ภาพวิวที่ปรากฏบนเสิ้อคลุมจะหลอกสายตา ทำให้รู้สึกเหมือนกับมองทะลุตัวคนเห็นภาพวิวด้านหลังได้

             จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้วัตถุล่องหนไปได้จริง ไม่ใช่แค่การฉายภาพหลอก
สุดยอด เทคโนโลยีล่องหน จะเป็นความจริงแล้ว ไม่ได้ฝันไป             การที่วัตถุปรากฏแก่สายตาเราเกิดจากแสงตกกระทบวัตถุและสะท้อนมาสู่ตาเรา ในขณะเดียวกันวัตถุจะบังแสงที่มาจากด้านหลังไว้ ดังนั้นหากทำให้แสงไม่กระทบบนวัตถุและทำให้แสงจากด้านหลังเลี้ยวโค้ง อ้อมวัตถุมาสู่ตาได้ เราก็จะไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของวัตถุนั้น
            แนวคิดดังกล่าวสามารถทำได้สำเร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2549 สิ่งประดิษฐ์รูปร่างคล้ายจานสามารถซึ่งจะสร้างสนามแม่เหล็กโดยรอบ ทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเลี้ยวเบน อ้อมวัตถุที่วางอยู่ตรงกลางไป แต่จานนี้มีข้อจำกัดคือสามารถเบี่ยงเบนได้เฉพาะคลื่นไมโครเวฟเท่านั้น ไม่สามารถเบี่ยงเบนแสงที่เรามองเห็นได้ วัตถุจึงล่องหนจากคลื่นไมโครเวฟเท่านั้นซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปใช้กับยาน พาหนะต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับด้วยคลื่นไมโครเวฟ
        สุดยอด เทคโนโลยีล่องหน จะเป็นความจริงแล้ว ไม่ได้ฝันไป    สุดยอด เทคโนโลยีล่องหน จะเป็นความจริงแล้ว ไม่ได้ฝันไป
           การเบี่ยงเบนแสงที่ตามองเห็นด้วยเทคนิคข้างต้น นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้วัสดุที่เรียกว่า "metamaterial" ซึ่งเป็นวัสดุสังเคราะห์เพื่อให้มีคุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าตามที่เราต้อง การ แต่ก็ได้เพียงแค่ทำให้วัตถุที่มีขนาดเล็กๆ (ต้องดูด้วกล้องจุลทรรศน์) ล่องหนหายไปเท่านั้น การสร้าง metamaterial ค่างข้างซับซ้อนและมีตนทุนสูงจึงยากจะพัฒนา  การนำ metamaterial ไปพัฒนาเป็นผ้าคลุมล่องหนจึงยังห่างไกลความสำเร็จ


           ในปี 2551 นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเสนอวิธีการทำให้วัตถุล่องหน โดยใช้อุปกรณ์ที่คล้ายๆ กับผ้าคลุมวิเศษในเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ หลักการคือทำให้แสงที่ส่องผ่านวัสดุนี้หักเหไปสู่ตาของผู้มองโดยไม่ตกกระทบ วัตถุ จากแบบการคำนวณด้วยแบบจำลองแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ (ในทางทฤษฎี) ที่จะทำให้วัตถุล่องหนไป

สุดยอด เทคโนโลยีล่องหน จะเป็นความจริงแล้ว ไม่ได้ฝันไป
          จนกระทั่งต้นปี 2554 นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการสร้างอุปกรณ์คล้ายกับผ้าคลุมล่องหนโดย ใช้ผลึกของแคลไซต์ calcite ซึ่งมีดัชนีหักเหและสมบัติด้านแสงเหมาะสม เมื่อใช้ผลึกแคลไซต์ครอบวัตถุที่ใหญ่พอจะจับต้องได้ไว้ สามารถทำให้วัตถุที่ถูกครอบไว้ล่องหนหายไปได้จริงๆ


สุดยอด เทคโนโลยีล่องหน จะเป็นความจริงแล้ว ไม่ได้ฝันไป
ผลึกแคลไซต์




เมื่อปรับมุมให้เหมาะสม จะมองไม่เห็นตัวน๊อตที่ผลึกบังไว้ แต่จะมองทะลุไปเห็นตุ๊กตาแพนด้าแทน



          อุปกรณ์นี้สามารถทำให้วัตถุล่องหนโดยหักเหแสงที่ส่องผ่านผลึกเข้ามา ให้สะท้อนไปยังตาของผู้สังเกต ในมุมที่เสมือนกับแสงที่สะท้อนมาจากพื้นผิวที่ไม่มีวัตถุนั้นวางอยู่
สุดยอด เทคโนโลยีล่องหน จะเป็นความจริงแล้ว ไม่ได้ฝันไป
จากภาพ เส้นประสีแดงแสดงรังสีของแสงที่ตกกระทบพื้นในกรณีที่ไม่มีวัตถุวางอยู่
เส้นสีน้ำเงินแสดงทางเดินของแสงที่ถูกหักเหจนมีทิศทางเดียวกับแนวของแสงที่สะท้อนจากพื้นกรณีที่ไม่มีวัตถุอยู่ จึงทำให้มองไม่เห็นวัตถุ
         ปัจจุบันวิธีการนี้ยังทำให้วัตถุล่องหนได้เมื่อมองจากบางมุมมองเท่านั้น และอุปกรณ์นี้ก็ยังมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะทำเป็นผ้าคลุม แต่ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาจนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีขนาดเล็กลง ตอนนั้นเราอาจจะมีผ้าคลุมล่องหนใช้จริงๆ ก็เป็นได้
         แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีล่องหนแบบนี้ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากที่กล่าวมา คือ หากเรานำอุปกรณ์ดังกล่าวมาคลุมตัวไว้ เนื่องจากแสงที่ส่องมายังอุปกรณ์จะถูกเลี้ยวเบนออกไปหมด ทำให้แสงส่องมาไม่ถึงตาเรา หมายความว่า ไม่เพียงคนอื่นจะมองไม่เรา เราก็จะมองไม่เห็นคนอื่นด้วยเช่นกัน
         วิทยาศาสตร์เปลี่ยนจินตนาการให้กลายเป็นความจริงขึ้นมา ความรู้ค่อยๆ ลดช่องว่างระหว่างความใฝ่ฝันกับความจริง เทคโนโลยีล่องหนมีแนโน้มว่าจะนำมาใช้จริงได้ ในไม่ช้า แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือจะใช้งานอย่างไร อะไรจะเกิดขึ้นถ้าคนรู้สึกว่าทำอะไรก็ไม่มีใครเห็น จะทำอะไรก็ได้ไม่ต้องรับผิดชอบ เป็นเรื่องที่สังคมจะต้องปรับตัวตามให้ทัน และร่วมกันใช้เทคโนโลยีนี้อย่างสร้างสรรค์

ที่มา www.vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด