โรคไตในสุนัข - การรักษาสุนัขที่โรคไต !!


1,511 ผู้ชม



การปฏิบัติเมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นโรคไต...(1)
...ปัจจุบัน นี้เจ้าของสัตว์เริ่มมีความสงสัยกันมาก ว่าเหตุใดสุนัขและแมวจึงมีแนวโน้มเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น เกิดอะไรกับสัตว์เลี้ยงของเรา
...จากข่าวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ที่โจษจันท์ถึงอาหารหลายๆ ยี่ห้อที่ทำให้เกิดภาวะตับ หรือไตล้มเหลว อาจทำให้เจ้าของสัตว์หลายคนทึกทักเอาว่าอาหารสำเร็จรูป เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สัตว์เกิดโรคไต
...แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคไตเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงด้วยกัน เช่น สัตว์ที่มีอายุมาก สุนัขบางพันธุ์ที่มีแนวโน้มการเกิดความผิดปกติของไตตั้งแต่กำเนิด เช่น ชิสุ ชเนาส์เซอร์ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น สัตว์กินน้ำน้อย ชอบเลียพื้นที่มีสารเคมี กินน้ำในกระถางต้นไม้ที่ใส่ปุ๋ย อาศัยอยู่ในบริเวณที่ใช้ยาฆ่าแมลง และสารที่เป็นพิษต่อไต เป็นต้น
...ใน ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนมีความเชื่อว่า เหตุที่สัตว์เลี้ยงของเราตรวจพบการเป็นโรคไตมากขึ้น คงเป็นเพราะในปัจจุบันคนไทยเราเริ่มเอาใจใส่สุขภาพสัตว์เลี้ยงมากกว่าแต่ ก่อน นำสัตว์ไปฉีดวัคซีน ทำหมัน รวมทั้งตรวจเลือดเช็คสุขภาพมากขึ้น จึงทำให้สัตวแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยหาโรคได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น
...โรค ไตวายเรื้อรังเป็นหนึ่งในโรคของระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้มากที่สุด โดยเฉพาะสัตว์ที่มีอายุมาก เพราะไตทำหน้าที่กรองเอาของเสียออกจากกระแสโลหิต รักษาสมดุลของสารน้ำ และแร่ธาตุในร่างกาย รวมถึงทำหน้าที่คล้ายต่อมไร้ท่อ ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความดันเลือด และสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกายอีกด้วย
...สัตว์ มีไตสองข้างเช่นเดียวกับมนุษย์ โดยแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไตเล็กๆ นับเป็นแสนๆ หน่วย เมื่อสัตว์มีอายุมากขึ้น หน่วยไตจะค่อยๆ เสื่อม และลดปริมาณลงตามกาลเวลา หน่วยไตที่เสียหายแล้วร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ใหม่ ส่วนที่ยังเหลืออยู่ จะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อทำหน้าที่ชดเชยหน่วยไตที่เสียไปแล้ว
... โดยปกติแล้วหากหน่วยไตเสียหายไม่เกิน 75 เปอร์เซนต์ ไตส่วนที่เหลือยังสามารถทำงานชดเชยได้ ทำให้ระดับของ ครีเอตินีน(Creatinine) และ ยูเรีย (Urea) ในกระแสเลือด ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกการทำงานของไต ยังไม่พบความผิดปกติ
...แต่เมื่อหน่วยไตเกิดความเสียหายเกิน 75 เปอร์เซนต์ แล้ว จึงเกิดภาวะไตวายขึ้น เมื่อตรวจเลือดและปัสสาวะก็จะพบความผิดปกติได้
...อาการ ที่พบในสัตว์ป่วยไตวายเรื้อรัง คือ ซึม ความอยากอาหารลดลง กินน้ำเยอะ ปัสสาวะเยอะ ชอบปัสสาวะตอนกลางคืน ขนแห้งหยาบ น้ำหนักลดลง ช่องปากอักเสบเป็นแผล มีกลิ่นปากรุนแรง
...แต่บางตัวอาจไม่แสดง อาการผิดปกติให้เห็น ทำให้เจ้าของมักมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป กว่าจะพามาพบสัตวแพทย์อาการก็รุนแรงมากแล้ว เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือดดำ หมดแรง ไม่ยอมใช้สองขาหลัง ชักกระตุก
บทความโดย สพ.ญ.รัตมา แก้วทาสี
การปฏิบัติเมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นโรคไต...(2)
ภาวะของโรคไตอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกันคือ
ระยะ ที่ 1. ภาวะที่ไตเสียหายมากกว่า 67 เปอร์เซนต์ ระยะนี้เราจะเรียกสัตว์ว่าเป็นโรคไต (renal insuficeincy) แต่ยังไม่ถือว่าเป็นไตวายเรื้อรัง สัตว์จะไม่แสดงความผิดปกติใดๆ ให้เห็น อาจแสดงอาการกินน้ำเยอะ ปัสสาวะเยอะ ชอบปัสสาวะตอนกลางคืน การตรวจเช็คเลือดค่า ครีเอตินีน (Creatinine) และ ยูเรีย (Urea) จะไม่พบความผิดปกติ แต่หากทำการตรวจปัสสาวะจะพบว่า ความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมักตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ดังนั้นหากสัตว์เลี้ยงของเรามีอายุมากกว่า 6 ปี จึงควรตรวจปัสสาวะร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปีด้วย
...หากพบว่า สัตว์อยู่ในระยะนี้ เราสามารถช่วยชะลอความเสียหายของไตให้ช้าลงได้ ด้วยการให้อาหารที่มีการจำกัดโปรตีน และฟอสฟอรัส ซึ่งมีจำหน่ายในรูปแบบของอาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์อายุมาก เช่น อาหารโรคไต หรืออาหารโรคหัวใจ เป็นต้น
ระยะที่ 2. ภาวะที่ไตเสียหายมากกว่า 75 เปอร์เซนต์ ระยะนี้จึงเรียกว่าเป็นไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) สัตว์บางตัวอาจไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นชัดเจน แต่หากตรวจเลือดวัดระดับการทำงานของไต ครีเอตินีน (Creatinine) และ ระดับยูเรีย (Urea) ซึ่งบ่งบอกถึงปริมาณของเสียที่มีอยู่ในเลือด พร้อมกับตรวจปัสสาวะจะพบความผิดปกติ ความรุนแรงของอาการจะขึ้นกับความสามารถของไตในการขับเอาของเสียออก หากเกิดการคั่งในเลือดจนเกินระดับความทนทานของสัตว์ สัตว์จะแสดงอาการซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด อาเจียน และมีถ่ายเหลว
ระยะที่ 3. ระยะสุดท้าย (end stage) อาการจะรุนแรงมากขึ้น อาเจียนบ่อยครั้ง ถ่ายเหลวดำคล้ำ กลิ่นปากจะคล้ายกับกลิ่นของปัสสาวะ มีแผลหลุมในปาก กินอาหารไม่ได้ หมดแรง บางตัวหากเกิดการคั่งของ ของเสีย ในเลือดมากๆ จะเกิดอาการชัก ทุรนทุราย หมดสติ และ เสียชีวิตในที่สุด
บทความโดย สพ.ญ.รัตมา แก้วทาส
ที่มา  https://disease.108dog.com

อัพเดทล่าสุด