โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งและมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในเด็กอายุ 5-10 ปี ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันจำหน่าย
สาเหตุโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย (Aedes aegyti) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสเดงกี่จะ เพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ อาการระยะไข้สูงมีอาการไข้ขึ้นสูง 2-7 วัน เบื่ออาหาร อาเจียนออกมามีสีน้ำตาลปนอยู่ ปวดศีรษะไข้ขึ้นสูง 38-40 °c ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 ผู้ป่วยมักซึมลงหน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง 60-90% ตรวจพบตับโต การตรวจ Tourniquet test ให้ผลบวก ระยะวิกฤติ (ระยะช็อคและเลือดออก)ไข้ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค) อาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะช็อค เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตตก อาเจียนมาก ปวดท้อง ระยะฟื้นอาการทั่วไปดีขึ้น ความดันโลหิตและชีพจรกลับเป็นปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ เริ่มรับประทานอาหารได้ มักมีผื่นแดงที่ขา ปลายเท้า ป ขี้กากขึ้นมือลายมือ การวินิจฉัยส่วนใหญ่มักวินิจฉัยจากอาการ อาการที่เป็นรูปแบบเฉพาะคือการมีไข้สูงโดยไม่ปรากฏตำแหน่งที่ทำให้เกิดไข้ชัดเจน มีผื่นขึ้น มีเกล็ดเลือดต่ำ และเม็ดเลือดขาวต่ำ ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเพื่อแยกจากโรคตับระยะสุดท้ายเนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน นิยามของโรคไข้เลือดออกโดยองค์การอนามัยโลกนั้นใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 โดยต้องมีลักษณะครบทั้ง 4 ประการ
กลุ่มอาการไข้เลือดออกระยะช็อค นิยามโดยลักษณะของไข้เลือดออกข้างต้น เพิ่มอีก 3 ข้อ
การตรวจทางน้ำเหลืองและการใช้ PCR สามารถใช้ยืนยันการวินิจฉัยได้หากมีลักษณะอาการที่ การรักษา
วิธีป้องกัน
การพัฒนาวัคซีนและยายังไม่มีวัคซีนสำหรับไวรัสเดงกี่ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออกจำหน่ายใน ตลาด เนื่องจากยังอยู่ในขั้นการทดลองและพัฒนาอยู่ การเร่งพัฒนาวัคซีนอย่างจริงจังนั้นเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 สำหรับประเทศไทย ได้มีการทดสอบวัคซีนไวรัสไข้เลือดออกในอาสาสมัครจำนวน 3,000-5,000 คน หลังจากประสบความสำเร็จในการทดสอบในสัตว์และอาสาสมัครกลุ่มเล็ก และขณะนี้วัคซีนที่ถูกเลือกได้เข้าสู่การทดสอบระยะที่ 1 และระยะที่ 2 แล้ว ปัญหาสำคัญของการพัฒนาวัคซีนคือการที่ไวรัสมีจำนวนสายพันธุ์ถึง 4 สายพันธุ์ ทำให้วัคซีนที่พัฒนาออกมาต้องยับยั้ง | ||||
ที่มา https://th.wikipedia.org |