เราคงจะต้องหันมาดูเรื่องการ ประหยัดพลังงานกันอีกครั้งหนึ่งตามประสาคนไทยที่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุกันเป็น
ประหยัดพลังงานด้วยวัฒนธรรมลอจิสติกส์ | |
เราคงจะต้องหันมาดูเรื่องการ ประหยัดพลังงานกันอีกครั้งหนึ่งตามประสาคนไทยที่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุกันเป็น ปกติ ผมลองสังเกตดูในหลายสิบปีที่ผ่านมา เรามีโครงการประหยัดพลังงานกันเป็นช่วงๆพอผ่านพ้นวิกฤตแล้วเราก็กลับมามี พฤติกรรมเหมือนเดิมอีก จริงไหมครับ ไม่เชื่อท่านก็ลองนึกดูก็แล้วกัน แล้ววิกฤตพลังงานครั้งนี้จะทำให้คนไทยมีโอกาสได้กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมอีก ครั้งหรือไม่ นี่เป็นประเด็นที่ผมอยากจะจุดประกายการแก้ปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืน โดยผมมีประเด็นอยู่สองประเด็น คือ การออกแบบและการใช้งาน ถ้าเราออกแบบมาเพื่อใช้งานได้อย่างฟุ่มเฟือย การใช้งานก็ย่อมฟุ่มเฟือยตาม ส่วนการใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นๆก็ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้ใช้งานว่าใช้อย่าง เหมาะสมหรือไม่ ผมมองว่านั่นคือ วัฒนธรรมการใช้พลังงาน |
ประหยัดด้วยแนวคิดลอจิสติกส์ การเคลื่อนย้ายย่อมต้องใช้พลังงาน ในชีวิตประจำวันและธุรกิจนั้นเราไม่สามารถหยุดการเคลื่อนย้ายได้เพราะถ้าเรา หยุดเคลื่อนไหวเราก็เหมือนคนตาย หรือถ้าไม่มีการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบแล้วธุรกิจก็คงล้มสลายไปเช่นกันการ ใช้แนวคิดลอจิสติกส์ไม่ใช่แค่การพิจารณาการเคลื่อนย้ายเท่านั้น แต่เป็นการพิจารณาตัดสินใจอย่างมีสติหรือมีข้อมูลาสำหรับการตัดสินใจเพื่อ ให้เกิดการเคลื่อนย้าย ลองพิจารณาดูว่าตลอดวันในการตัดสินใจเรื่องรามต่างๆนั้นมีอยู่กี่เรื่องและ แต่ละเรื่องอย่างน้อยจะต้องมีส่วนมาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่เคลื่อนย้าย ไม่ว่าเราจะคิดและตัดสินใจอะไรในชีวิตประจำวันของเรนาจะต้องเกี่ยวข้องกับ ลอจิสติกส์ทั้งสิ้น ไม่ว่าเราจะไปไหน ไปอย่างไร ไปเมื่อไหร่ หรือถึงที่หมายเมื่อไหร่ จะพักที่ไหนในระหว่างเดินทางแม้แต่การจะหาที่ทำงานหรือหาโรงเรียนให้ลูก หรือจะหาเรือนหอสักหลังหนึ่ง เราทักจะนึกถึงทำเลที่ตั้งที่สะดวกต่อการเดินทาง ที่มักขโมยเวลาของคนเมืองหลวงไปอย่างเปล่าประโยชน์ ลักษณะเช่นนี้เป็นลอจิสติกส์ที่ขาดการจัดการ เพราะการจัดการลอจิสติกส์ที่ดี จะต้องสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้งานประหยัดทั้งเวลาและเงิน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการพูดถึงลอจิสติกส์กันมามากในช่วงระยะนี้เพราคิด ว่าลอจิสติกส์คือคำตอบพร้อมทั้งหลอกหลอนตัวเองว่าถ้าใช้ลอจิสติกส์แล้วจะ เป็นคนที่ทันสมัยตามโลกที่เจริญแล้วได้ทัน ด้วยความเขลา แค่เปลี่ยนฃื่อหรือประกาศว่าตัวเองหรือหน่วยงานของตัวเองนั้นนำเอาแนวคิด ลอจิสติกส์มาใช้ แต่ที่ไหนได้ก้เปลี่ยนแค่เปลือกนอกเท่านั้น แต่ภูมิปัญญาในการจัดการนี่สิจะต้องพัฒนากันอีกมาก พร้อมทั้งการพัฒนาความเข้าใจร่วมกันในการจัดการ ถ้าใครเคยเรียนการจัดการแต่ผมไมได้หมายถึงการประหยัดแบบใช้ให้น้อยที่สุด แต่การจัดการนั้นพยายามที่จะจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือพอดีกับความต้อง การ ไม่มากเกินความจำเป็นและไม่น้อยกว่าความต้องการ วัฒนธรรมตรงนี้แฝงอยู่ในหลักการจัดการโดยทั่วไปอยู่แล้ว คนไทยเราเองอาจจะไม่เคยชินเพราะในน้ำมีปลาในนามีข้าว จนเคยตัว เป็นคนเคยร่ำรวยทรัพยากรธรรมชาติ มาคราวนี้เรากำลังจะหมดตัวกันแล้วจะทำใจปรับตัวยอมรับสภาพตัวเองได้หรือไม่ นอกจากการประหยัดพลังงานแล้วเราคงจะต้องมองไปในอนาคตด้วย เรื่องของการจัดการนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ใช้จะต้องผสมผสานกัน อย่างกลมกลืนเพื่อที่จะเข้าใจตัวปัญหาและหนทางการแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไป หัวใจของการจัดการนั้นคือ การจัดการความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆของปัญหาหรือสิ่งที่เราสนใจ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้วย หาหนทางในการรองรับสถานการณ์ในอนาคต ไม่ใช่การย่ำอยู่กับที่ ประเด็นหรือวัฒนธรรมตรงนี้สำคัญมาก เพราะถ้าผู้นำและทุกคนในสังคมมีวัฒนธรรมในการคิดไปข้างหน้าย่อมทำให้ตัวเรา หรือประเทศมีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน |
วัฒนธรรมการใช้พลังงาน ปัญหาทั้งหลายที่เกิดในสังคมทุกวันนี้ก็มาจากคนทั้งสิ้น ประเทศจะเจริญหรือไม่พัฒนานั้นก็มาจากคนในทุกระดับชั้นที่ร่วมกันสร้างชาติ แต่การที่กลุ่มคนในชาติเหล่านั้นจะร่วมมือกันได้นั้น ก็คงจะต้องมีความคิดร่วมกันที่เหมือนกัน ยอมรับร่วมกันเสียก่อน เพื่อที่จะได้ทุกคนที่มีหน้าที่ต่างๆได้กำหนดบทบาทของตัวเองได้สอดคล้องกัน ทั่วทั้งสังคม พลังงานนั้นเป็นของมีค่า เมื่อใช้แล้วย่อมหมดไป เงินเรามีไม่มาก พลังงานกลายเป็นสินค้าราคาแพงเมื่อเริ่มขาดแคลน ความเข้าใจเบื้องต้นเหล่านี้จะต้องอยู่ในความตระหนักของทุกคนในสังคม ไม่ใช่มีปัญหาเมื่อไรก็ออกมารณรงค์ประหยัดพลังงานกันเป็นช่วงๆ เหมือนกับการแก้ปัญหาแบบวัวหายแล้วค่อยล้อมคอก ผมว่ามันไม่ทันแล้วผมเคยไปต่างประเทศ บางครั้งยังนึกว่าทำไมห้างสรรพสินค้าเขาถึงปิดเร็วนัก โดยมีกำหนดเวลาให้เราเลือกซื้อสินค้าน้อยเหลือเกิน ผมมองว่าเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานและแรงคน แล้วดูบ้านเราสิครับ เปิดเร็ว ปิดดึกไว้รอคอยดักรอคนมาซื้อของทุกช่วงเวลา จะมีสักกี่ช่วงเวลาที่มีคนมาซื้อของมากๆ พอมีการนโยบายประหยัดการเปลี่ยนเวลา เปิด-ปิด ห้างสรรพสินค้าก็ทำได้ไม่เท่าไหร่ก็เลิกกลับมาเหมือนเดิม ดูสิว่าแม้แต่ตัวเราเองก็ไม่ได้มีวัฒนธรรมของการประหยัดพลังงานอย่างใงราก ลึกลงไปในการดำเนินธุรกิจหรือการกำหนดกฎระเบียบต่างๆของสังคม เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตก็ต้องเปลี่ยนให้ ต้องทำให้ได้ แม้ว่าจะลำบากในตอนนี้ แต่ถ้าทำให้ชีวิตข้างหน้าเราสบายขึ้น ให้นึกว่าสร้างวัฒนธรรมดีๆไว้ให้ลูกหลาน เพราะว่าเขายังคงต้องใช่ชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกนานกว่าเรามาก วัฒนธรรมที่ดีน่าจะเป็นมรดกที่ดีให้กับลูกหลานมากกว่าทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป วัฒนธรรมนั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาปรับปรุงตามสภาพได้ |
ที่มา : ชงโคสาร ฉบับที่ 3/2550 ดร.วิทยา สุหฤกดำรง