เราคงจะได้ยินกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา และท่านผู้ใหญ่หลายท่าน ก็ได้ออกมากล่าวถึงและอธิบายถึงแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ตลอดเวลา
| เศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการโซ่อุปทาน |
| เราคงจะได้ยินกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา และท่านผู้ใหญ่หลายท่าน ก็ได้ออกมากล่าวถึงและอธิบายถึงแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ตลอดเวลา |
ยิ่งในยุคเหตุการณ์ปัจจุบันที่รัฐบาล ท่านทักษิณโดนมรสุมการเมืองและมรสุมภาคประชาชนจนหลังพิงเชือก และเคยมีทีมงานฝ่ายรัฐบาลออกมาตั้งคำถามกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่า จะสู้กับสังคมทุนนิยมได้หรือไม่?ในท่ามกลางกระแสการต่อต้านระบบทุนนิยมโลกา ภิวัตน์ที่มีต่อการดำเนินงานของรัฐบาล แต่ผมกลบมองเศรษฐกิจพอเพียงอีกมิติหนึ่ง และผมมีความคิดเห็นว่าเราเข้าใจความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ลึกซึ้งพอ ผมจึงอยากจะแสดงความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจพอเพียงมุมของการจัดการโซ่อุปทาน ทุนนิยม สังคมนิยม มนุษย์นิยม ที่จริง แล้วผมไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์หรือนักสังคมศาสตร์แล้วผมก็ไม่ได้เข้าใจในความ หมายได้ลึกซึ้งตามทฤษฎีเหล่านี้มากนักแต่ผมก็พูดได้ว่าผมอยู่ในระบบทุนนิยม มาโดยตลอด ทั้งที่เราได้เห็นและเราได้เรียนรู้กับมันมาตลอด เราให้ความสำคัญกับ “ทุน” ในชีวิตเรามากพอสมควร เมื่อก่อนนี้ตอนผมแต่งงานใหม่ ๆ พ่อแม่ผมก็ให้เงินผมไว้ บอกว่า เอาไว้ทำทุนต่อ ตอนแต่งงานได้เงินช่วยแต่งงานก็มีคนถามว่าได้ทุนคืนหรือเปล่า พอจะทำกิจการใด ๆ ก็ต้องมีคำถามสุดท้ายอยู่เสมอว่า มีทุนหรือไม่ ดังนั้นชีวิตนี้ คุณต้องมีทุน แต่จะมากจะน้อยของแต่ละคนนั้น ผมไม่อาจจะบอกได้ แต่นั้นก็เป็นมุมมองทุนนิยมของผมแบบง่าย ๆ เราพูดกันถึงเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมน้อยลงทุกวันแรงบีบรัดของการ ไหลของทุนเข้าสู่ตัวเองเริ่มหดหายไป จากการอยู่ร่วมกันในสังคมแบบวิถีตะวันออกกลับกลายเป็นการแข่งขันแบบวิถี ตะวันตกที่ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอยู่ทุกวันทั่วโลก ความเป็นตัวตนของตัวเอง ได้สร้างกรอบและภาพของความเป็นมนุษย์ที่นิยมตัวเองเพิ่มมากขึ้นทุกทีหรือที่ ผมเรียกว่ามนุษย์นิยมการไหลของสิ่งสมมุติที่เราเรียกว่า ทุน ได้แปลงสภาพของความเป็นสังคมของการอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งในธรรมชาติให้กลาย ไปเป็นการอยู่อย่างโดดเดี่ยวของมนุษย์แต่ละคน แม้ในบางครั้งมนุษย์เองก็พยายามที่สร้างระบบสังคมใหม่ขึ้นมาทดแทนระบบที่ใช้ ทุนเป็นตัวตั้งระบบสังคมนิยมจึงเกิดขึ้น แต่ในแกนกลางของระบบนั้นเองก็ยังไว้ซึ่งความเป็นมนุษย์ส่วนตัวอยู่ดีและสุด ท้ายระบบสังคมนิยมก็ต้องกลับเข้าระบบทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้ามองการ ไหลของสิ่งสมมุติที่เราเรียกว่าทุนนั้นเราจะเห็นว่า เมื่อทุนไหลไปที่ใดหรือที่ใครนั้นย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วแต่ว่าใครคนนั้นจะสร้างประโยชน์จากทุนนั้นได้อย่างไรโดยเฉพาะมนุษย์นั้น มีความอ่อนไหวต่อสิ่งสมมุตินี้เป็นอย่างมาก กิเลสที่มีอยู่ในจิตใจจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและความคิดของแต่ละคน ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหลายในโลกทั้งที่ดีและไม่ดีก็เกิดจากกิเลสของมนุษย์เราทั้งสิ้น | |
|
|
|
|
| | อุปสงค์และอุปทาน คู่หู สองคำนี้เราได้ยินกันมานานตั้งแต่เรียนหนังสือแล้ว ดู ๆ แล้วอุปสงค์และอุปทานคงไม่ใช่แค่เรื่องราวของเศรษฐศาสตร์เท่านั้น เพราะมนุษย์เราต่างหากที่เป็นคนสร้าง อุปสงค์นี้ให้เกิดขึ้นจากกิเลศแท้ ๆ ของเราเอง และด้วยความต้องการที่จะตอบสนองกิเลสเหล่านี้ มนุษย์เราได้ทุ่มเทพลังกายและสติปัญญา เพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการของตัวเองเท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงธรรมชาติหรือสิ่งที่เราได้อยู่ร่วมกันมา อุปทาน (Supply) ที่ถูกนำมาแปรรูปหรือแปรสภาพด้วยเครื่องจักร (Machine) ไปเป็น สิ่งที่ต้องการตามอุปสงค์ก็มาจากธรรมชาติที่ เป็นวัตถุดิบ (Material) และแรงงานมนุษย์ (Man) และความคิดอ่าน (Methodology) กระแสความต้องการได้เพิ่มมากขึ้นตามกระแสของข้อมูลข่าวสารเหมือนไฟไหม้ที่ โดนลมโหมพัดทำให้ทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างออกไปกิเลสของแต่ละคนก็เป็น เช่นนั้น ข้อมูลความต้องการของแต่ละคนจะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์และการ ผลิตจนผลิตภัณฑ์ถูกนำออกมาสู่ตลาดตอบสนองกิเลสของแต่ละบุคคลไป โลกของเราพัฒนาและถูกผลักดันด้วยระบบนี้มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ในอดีตเรามีแต่ของจริงที่จับต้องได้ไม่ใช่สิ่งสมมุติ เราขุดหาวัตถุดิบได้จากพื้นดินหาของกินได้จากในป่าหรือแม่น้ำ ท้องทะเลแล้ว เราก็แบ่งปันกันในสังคมที่อยู่ร่วมกัน อาจจะมีการแย่งชิงกันบ้างในบางช่วงเวลา แต่ระบบการอยู่ร่วมกันก็ยังรักษาสมดุลได้มาตลอดทั้งสังคมมนุษย์และธรรมชาติ จนมาถึงเมื่อไม่กี่พันปีที่ผ่านมา กระแสแห่งปัญญาของมนุษย์ก็เริ่มพัฒนามากขึ้นแต่ก็มากด้วยกิเลสในขณะเดียวกัน มนุษย์ก็รุกรานเข้าไปในธรรมชาติด้วยเหตุผล เรามนุษย์จะต้องชนะธรรมชาติจนทำให้เรามนุษย์นั้นลืมไปว่า เรามนุษย์นั้นเป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่สุดความสมดุลของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับธรรมชาติ ก็ค่อยลดลงเรื่อยเมื่อเกิดการไหลของสิ่งสมมุติที่เรียกว่าเงินหรือทุนทีได้ สร้างมายาภาพของความต้องการที่ไม่รู้จักสิ้นสุดจึงทำให้อุปทานไม่สามารถตอบ สนองกับอุปสงค์ได้ โดยเฉพาะแหล่งพลังงานพื้นฐานประเภทน้ำมัน ซึ่งกำลังจะหมดลงไปเรื่อย ๆ และวันนั้นโลกเราคงจะปรับตัวครั้งใหญ่ เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ผมกลับมองว่าเป็นแนวคิดการบริหารจัดการยุคใหม่ (Modern Management Thinking) ผมใช้คำว่า Thinking หรือแนวคิดเพราะว่า Thinking นี้ จะต้องมีความครอบจักรวาล (Universal) ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกปัญหาและทุกสถานการณ์ |
|
|
|
เศรษฐกิจพอเพียงควรอยู่ในจิตสำนึก เศรษฐกิจ พอเพียงในมุมมองของผมคงไม่ใช่แค่การจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในบริเวณบ้านหรือที่ดินทำกินต่าง ๆ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่สำหรับเพียงแค่เกษตรกร แต่แนวคิดนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกชั้นและทุกคนในโลก ด้วยแนวคิดนี้ช่างเรียบง่ายเหลือเกินแต่ทำหรือปฏิบัติได้ยากยิ่งนัก พระองค์ท่านให้แนวคิด (Thinking) ในเรื่องศรษฐกิจพอเพียงไว้สำหรับทุกคนไม่ใช่แค่อาชีพใดอาชีพหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ให้ตัวอย่างการนำไปใช้ไว้ด้วย เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ผมกลับมองว่าเป็นแนวคิดการบริหารจัดการยุคใหม่ (Modern Management Thinking) ผมใช้คำว่า Thinking หรือแนวคิด เพราะว่า Thinking นี้จะต้องมีความครอบจักรวาล (Universal) ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกปัญหาและทุกสถานการณ์ การที่จะได้มาซึ่งแนวคิดแบบนี้คงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ จะต้องสั่งสมประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อที่จะสรุปหรือตกผลึกออกมาเป็นแนวคิดให้ได้ ถึงแม้ว่าเราจะได้รับแนวคิดนี้ไป แต่การนำเอาแนวคิดไปประยุกต์ใช้ก็จะเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง แนวคิดหรือ Thinking นั้นส่วนมากจะเป็นคำกล่าวที่สั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ยากที่เข้าใจและจะเอาไปประยุกต์ใช้กับปัญหาที่ซับซ้อน การนำเอาแนวคิดที่เรียบง่ายไปใช้กับปัญหาใหญ่ที่ซับซ้อนได้นั้นคงจะต้องมี ขั้นตอนหรือการลงทุนกันบ้าง คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ลงทุน หรือปรับเปลี่ยนอะไรเลย การลงทุนอย่างแรกเลย คือ การเข้าใจตัวเอง การเข้าใจความสามารถตัวเอง การเข้าใจลูกค้า จากนั้นก็ต้องมีความเข้าใจในแนวคิดที่จะนำมาใช้ แต่ทั้งสองส่วนก็ยังใช้ร่วมกันไม่ได้ เพราะคนทั้งองค์กรมีความหลากหลายกันมากและตัวแนวคิดเองก็ไม่ได้กล่าวถึงราย ละเอียดของการดำเนินการเลยดังนั้นผู้นำเอาแนวคิดไปใช้จะต้องตีความหมายให้ ออก และออกแบบการดำเนินการให้เหมาะสมกับตัวเองหรือองค์กร ดังนั้นแนวคิดอย่างเดียวจะไม่มีทางขับดันองค์การให้เคลื่อนตัวไปและอยู่ อย่างยั่งยืนได้ และที่สำคัญทุกคนในองค์กรตั้งแต่ระดับบนลงล่างมีระดับความเข้าในในแนวคิดนี้ ไม่เท่ากัน แนวคิดหรือ Thinking นั้น เหมือนเป็นแบบจำลองอ้างอิง (Reference Model) ที่แต่ละธุรกิจหรือปัญหา จะต้องนำมาประยุกต์ใช้หรือให้รายละเอียดที่มีความเกี่ยวโยงกับธุรกิจหรือ ปัญหาที่เราสนใน สิ่งที่เชื่อมโยงระหว่าง Thinking กับการปฏิบัติการ (Operations) คือ การสร้างหลักการ(Principles) และแบบจำลองการดำเนินงาน (Execution Model) หลักการ (Principles) เป็นผลลัพธ์จากการสร้างความเชื่อมต่อระหว่างแนวคิดและการปฏิบัติการที่เป็น เรื่องเฉพาะแต่ละบุคคลหรือแต่ละองค์กร หลายองค์กรอาจจะมีแนวคิดเดียวกัน แต่การปฏิบัติการนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเพราะบริบทหรือภาวะแวดล้อมของ แต่ละธุรกิจนั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นเหมือนแนวคิดหนึ่งในการดำรงชีวิตเชิง เศรษฐศาสตร์ที่ต้องฝังรากลงไปในจิตสำนึก ไม่ใช่พื้นดินเหมือนกับเราเข้าใจกัน ไม่ว่าคุณจะมีอาชีพใดก็ตามเศรษฐกิจพอเพียงก็สามารถใช้ได้ เพียงแต่คุณจะเข้าใจและเห็นประโยชน์มากน้อยแต่ต่างกันออกไป จากนั้นคุณก็สามารถที่สร้างหลักการ (Principles) ของชีวิตคุณหรือธุรกิจของคุณตามแนวคิดนั้น ๆ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในระดับการดำเนินงานของคนทั่วไปในองค์กร ประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหามาก ๆ คือ ทุกคนเข้าใจไม่เท่ากัน โดยเฉพาะแนวคิดที่เป็นคำกล่าวที่เรียบง่าย เช่นนั้นแล้ว บุคคลธรรมดาทั่วไปย่อมเข้าใจได้ระดับหนึ่ง แต่การนำไปปฏิบัติให้เกิดผลคงจะต้องเป็นอีกเรื่องหนึ่ง |
|
การปรับเปลี่ยนค่านิยม เมื่อ ผมได้เห็นมุมมองที่ลึกซึ้งขึ้นของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วผมคิดว่ากรอบของแนวคิด หรือปัญหาที่พระองค์ท่านได้ทรงสอนไว้นั้นไม่ใช่เศรษฐกิจที่ประกอบด้วยเงิน ทุนหรือสิ่งสมมุติเหล่านั้น แต่พระองค์ท่านหมายถึงเศรษฐกิจที่อุดมไปด้วยปัญญาใช้ปัญญาในการสร้างความ สมดุลในการอยู่รวมกับสิ่งสมมุติต่าง ๆ ไม่ใช่ให้สิ่งสมมุตินั้นมาควบคุมอยู่เหนือชีวิตเรา และที่สำคัญเศรษฐกิจพอเพียงยังรวบรวมเอามิติของธรรมชาติเข้ามาด้วยหลายคนอาจ จะสงสัยว่าแล้วใครกันเป็นคนผลักดันกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกนี้โดยความเห็นส่วนตัวผมเห็นว่าปัจเจกบุคคลนั้นเองที่เป็นต้นตอหรือ สาเหตุแห่งปัญหาทั้งหมดหรือพูดได้อีกอย่างว่า ก็มาจากความต้องการลูกค้าหรือกิเลสของแต่ละคนนั้นเอง ดังนั้นเมื่อต้นเหตุของปัญหามาจากมนุษย์ก็ต้องแก้ที่นุษย์ แต่สถานการในโลกปัจจุบันถูกกระแสทุนนิยมหรือการบริโภคอย่างสุดขั้วครอบงำ อยู่และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งทรัพยากรได้ถูกใช้และทำลายไปอย่างต่อ เนื่องตามกระแสความต้องการของลูกค้า โดยไม่มีที่ท่าว่าจะหยุดหรือชะลอลงเลย ค่านิยมในการบริโภคของโลกทุนนิยมได้ถูกเร่งเร้าให้เข้าไปฝังอยู่ในความคิด ของมนุษย์ทุกคนโดยผ่านทางการสื่อสารข้อมูลทุกรูปแบบ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงกันทุกคนไม่มีวันล้มทุน นิยมได้ 60 ล้านใจ พอเพียงก็ไม่สามารถสู้ 6,000 ล้านกิเลสทั่วโลกได้ ผมก็ยังไม่มีคำตอบสำหรับแนวคิดสองขั้วนี้ แต่ผมคิดว่าทั้งสองแนวคิดก็สามารถใช้ร่วมกันได้ตามสถานการณ์ Think Global ด้วยทุนนิยม และ Act Local ด้วยเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการสร้างความยั่งยืน | |
|
|
|
|
| | อยู่อย่างยั่งยืน ที่ สุดแล้วไม่ว่าจะเป็นสังคมแบบไหนก็ตามอุปทานและอุปสงค์จะต้องสมดุลกันการปรับ ตัวก็จะเกิดขึ้น การจัดการทั้งโซ่อุปทานและโซ่อุปสงค์จะต้องสอดคล้องกันไป เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างของโซ่อุปทานและโซ่อุปสงค์จะต้องสอดคล้องกันไป เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างของโซ่คุณค่าเพื่อ รองรับความต้องการของลูกค้าหรือปัญหาคือทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนไม่ ล่มสลายไปตามสภาวการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมหรือองค์กร จะต้องมีการประเมินและปรับตัวอยู่ตลอดเวลาให้เข้ากับสถานการณ์ ต้องติดตามความคิดต่าง ๆ ให้ทันโลก ตรวจสอบความพร้อมของตัวเองและประเมินศักยภาพของตัวเองได้ การไม่ปรับตัวเองเลยการไม่ปรับตัวเองไปกับโลกาภิวัตน์เลยอาจจะไม่เป็นผลดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดต่าง ๆ ของตัวเอง เหมือนคำพูดที่ว่าการมีเงินทองมากมาย ก็ไม่หมายความว่าจะมีความสุขที่สุด คำถาม คือ ปัจเจกบุคคลต้องการอะไรอย่าลืมว่าทุกคนมีไม่เท่ากัน ทั้งอุปสงค์ (กิเลส) และอุปทาน(5M: Man, Machine, Material, Money, Method) ที่สุดระบบจึงปรับตัวออกมาเป็นชนชั้นต่าง ๆ จนความสมดุลในระดับหนึ่ง รอวันที่จะปรับตัวอีกไปเรื่อย ๆ ใครก็ตามที่มีสติ มีทรัพยากรที่เป็นอุปทานสะสมไว้ในระดับหนึ่งพร้อมด้วยปัญญา ก็จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน ผมมองเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการจัดการโซ่อุปทานที่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบ ที่เดียวกัน คือ ปัจเจกบุคคล โดยมีกิเลสเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจและจริยธรรม ศีลธรรมเป็นควบคุม แนวคิดนี้มีความสำคัญต่อสังคมโลกมาก แต่พลเมือของโลกมีความเข้าใจน้อยมาก ผมก็พยายามที่เริ่มใช้ได้กับตัวเราเองเสียก่อน แต่ปริมาณสูงแต่ในที่สุดแล้วทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ต้องมีการปรับตัว อยู่เสมอเพื่อความอยู่รอดเมื่อใดคุณไม่ปรับตัว คุณก็ไม่อยู่รอดเพียงแต่ว่าคุณจะปรับไปทางไหนเท่านั้นเอง ประวัติผู้เขียน ดร.วิทยา สุหฤทดำรง จบการศึกษาปริญญาเอก : Ph.D. Industrial Engineering Wichita State University USA. ปริญญาโท : M.S. Engineering Management Wichita State University ปริญญาตรี : วศ.บ.วิศวกรรม ไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปัจจุบัน : เป็นอาจารย์ที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
|
|
ที่มา : ชงโคสาร ฉบับที่ 2/2550