การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์ การออกแบบกระบวนการทำงาน ให้เหนือคู่แข่งอยู่เสมอ


838 ผู้ชม

คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันนี้ หมายถึงการนำระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ตแวร์และซอฟต์แวร์หรือเครื่องมือแบบ อัตโนมัติมาประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ



  การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
 

คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันนี้ หมายถึงการนำระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ตแวร์และซอฟต์แวร์หรือเครื่องมือแบบ อัตโนมัติมาประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ การนำระบบมาติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการและผู้ให้บริการรวมทั้งการติดต่อ สื่อสารทำงานร่วมกันของระบบสารสนเทศของทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สำหรับการจัดการและการให้บริการ การติดต่อระหว่างเครื่องมือหรืออุปกรณ์หรือผู้ทำงานกับระบบทั้งหมดจะเป็นไป ได้ต้องอาศัยโครงสร้างการสื่อสารข้อมูลไม่ว่าจะเป็นแบบมีสายนำสัญญาณหรือไม่ ใช้สายนำสัญญาณก็ตามดังนั้นคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT :informationTechnology) และการสื่อสาร:Communication) จึงเป็นสิ่งใช้คู่กันเสมอและเรียกรวมกันวาไปซีที แต่บางครั้งอาจเรียกสั้น ๆ ว่า ไอที เพื่อความกระทัดรัด

ในหน่วยงานด้านการให้บริการประชาชน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานอาจแบ่งเป็นสองด้านหลักคือ ด้านการประมวลผลเพื่อการให้บริการ และการประมวลผลเพื่อช่วยการบริหารและจัดการ โดยมีแผนกงานสารสนเทศเป็นหน่วยงานภายในองค์กรที่ดูแลเรื่องโครงสร้างเพื่อ การประมวลผลพื้นฐาน (basic infrastructure) ขององค์กรการจักหาและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับการประมวลผลให้หน่วยงานภาย ในและการสนับสนุนการบริหารและจัดการให้กับหน่วยงานบริหารระดับสูง
เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีไอทีนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นโดย เฉพาะในหน่วยงานที่มีจำนวนผู้รับบริการจำนวนมากถึงแม้ว่าหน่วยงานภายใต้ กำกับของรัฐบาลบางแห่งได้รับสิทธิในการให้บริการตามกฎหมาย ซึ่งทำให้ไม่มีคู่แข่งในเชิงธุรกิจอย่างชัดเจนแต่ก็เผชิญกับแรงกดดันจากภาค สังคมและการเมืองเพื่อให้ปรับปรุงบริการและผลประกอบการอยู่เสมอ และถึงแม้ว่าจะไม่มีคู่แข่งโดยตรงแต่มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับหน่วยงาน อื่นที่ปฏิบัติภารกิจที่ใกล้เคียงกัน
ในปัจจุบันการจะจัดหาระบบงานไอทีของหน่วยานราชการหรือหน่วยงานใน กำกับรัฐบาลต่าง ๆ มาใช้จะต้องผ่านการวางแผนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้มีการพัฒนาไปมากจากเดิมที่แต่ละหน่วยงานย่อยมีการสร้างแผนงานไอทีของ ตนขึ้นมาเอง มาเป็นการวางแผนแม่บทด้านไอทีขององค์กร โดยรวมหรือการแผนยุทธศาสตร์ด้านไอทีล่วงหน้าเพื่อความเข้มแข็งขององค์กร มีการสร้างแผนงานที่คำนึงถึงความต้องการของหน่วยงานของตน โดยสอดคล้องกับนโยบายและแผนหลักของรัฐบาลหรือวาระแห่งชาติ
การนำไอทีมาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงและ เป็นเรื่องที่ได้รับการจับตามองจากผู้บริหารหน่วยเหนืออยู่ตลอดเวลาสาเหตุ หนึ่งคือการลงทุนด้านนี้มักมีขนาดใหญ่และมักพบว่าหลายโครงการมีอุปสรรคไม่ สามารถดำเนินการได้ตามที่ได้ว่างแผนไว้ หรือบางโครงการไม่สามารถส่งมอบงานได้ในระยะเวลาที่กำหนด การจัดการและบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ดีต้องคำนึงถึงและหลีก เลื่องปัญหาเหล่านี้ และทำให้สารสนเทศเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนเสริมให้องค์กรทีประสิทธิผลสูง อันนำไปสู่ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วม (stake holder) แง่มุมการบริหารและจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะกล่าวในบทความนี้มีอยู่ 3 เรื่องคือ การวิเคราะห์ความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของระบบการออกแบบกระบวนการทำงาน ใหม่และการวางแผนระบบงานเพื่ออนาคต
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของระบบ
ลำดับแรก ๆ ของกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประมวลผลหรือการนำมาใช้ในการทำงานโดย ตรงนั้น เริ่มจากการวิเคราะห์ระบบงาน ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนสำคัญคือการศึกษาความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของการ จัดทำระบบ มีข้อสังเกตว่าแม้โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศหลายโครงการเริ่มต้นด้วยการมี ประโยชน์และเป็นที่ต้องการของหน่วยงาน แต่มักขาดการวิเคราะห์ในเชิงของความคุ้มค่าของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นในระยะสั้นหรือระยะยาว
การจัดทำโครงการควรมีส่วนการวิเคราะห์ความคุ้มค่าที่ต้องแสดงให้เห็นว่า ได้รับประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมมีข้อมูล ข้อเท็จจริง และสถิติต่าง ๆ ในการเปรียบเทียบอันได้แก่ การคำนวนผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาการคืนทุนการคำสวนทั้งสองนี้จะต้อง ทราบการลงทุนและผลตอบแทนการวิเคราะห์การลงทุนได้แก่ค่าใช้จ่ายในการจัดหา ระบบค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ การปรับระบบงานและข้อมูลเก่าค่าใช้จ่ายการดำเนินการรวมถึงค่าใช้จ่ายด้าน บุคลากรและสาธารณูปโภค การปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัย เป็นต้าน โดยเฉพาะในการปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัยนั้นใน บางองค์กรที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (อันเนื่องมาจาการแข่งขันหรือสาเหตุอื่นใดก็ตาม) ผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนระบบ ซอฟต์แวร์ให้รองรับกับความต้องการหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยทำการเจรจาไว้ล่วงหน้าและระบุไว้ในเงื่อนไขการทำงานให้ครอบคลุมถึงแนว โน้มการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น
ความคุ้มค่าควรสามารถคำนวณมูลค่าอันเกิดจากระบบสารสนเทศโดตรง เช่น การลดต้นทุนการทำงาน การลดเวลาในการทำงาน ทั้งในการให้บริการและการบริหาร การลดความซ้ำซ้อนและการเพิ่มความถูกต้องของข้อมูล หรือการอธิบายได้อย่างชัดเจน เช่น การสร้างบริการและนวัตกรรมใหม่ การสร้างความมั่นคงให้กับระบบงาน รวมทั้งการสร้างประโยชน์โดยอ้อมได้แก่ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน เป็นต้น
การคำนวณนั้นต้องแสดงให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ถ้ามีนำระบบ สารสนเทศมาใช้งาน เทียบกับการลงทุนตลอดโครงการได้แก่ค่าช้าจ่ายด้านระบบทั่งฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์ การเตรียมการ การปรับระบบการดำเนินงาน การบำรุงรักษา ส่วนการคำนวณระยะเวลาในการคืนทุน ควรจะอยู่ในช่วงเวลาที่คาดว่าระบบยังสามารถทำงาได้อยู่ ในปัจจุบันนี้ระยะเวลาคืนทุนไม่ควรเกิน 3 ถึง 5 ปี
ส่วนการลดเวลาในการให้บริการและบริหารนั้นในการออกแบบระบบไอทีที่ทัน สมัยอาจกล่าวได้ว่าถ้ามีข้อมูลในระบบแล้วต้องสามารถได้ผลลัพท์แบบเรียลไทม์ มากกว่าจะเป็นการสร้างระบบไอทีลูกผสมที่ยังต้องมีคนเป็นตัวกลางของระบบในการ เดินเอกสารผ่านการอนุมัติและตรวจสอบเป็นวันหรือหลายวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้กิจจะแข่งขันกันอย่างมากในเรื่องของเวลาใน การผลิต การบริการหรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ที่เรียกว่า economic of speed
ผู้ใช้งานระบบไม่ควรต้องทำงานหรือป้อนข้อมูลซ้ำซ้อนถ้ามีข้อมูลเก่าอยู่ แล้ว และได้ผลลัพท์การให้บริการหรือการได้ข้อมูลการบริหารที่ถูกต้องเสมอ ข้อมูลของฝ่ายหรือแผนกต่าง ๆ ควรได้รับการแบ่งกันใช้และเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องสูง ไม่ควรมีคำถามว่าจะเชื่อข้อมูลของหน่วยงานใด สิ่งเหล่านี้ถ้าปรากฏอยู่ในระบบงานไอทีใดก็ยังแสดงว่าระบบงานนั้นยังต้องได้ รับการปรับปรุงอยู่อีกมาก
ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของโครงการด้านไอทีคือการสร้างความมั่นคง ให้ระบบงานเนื่องจากเป็นระบบอัตโนมัติจึงลดปัญหาด้านการบริหารผู้ปฏิบัติงาน หรือการบริหารทักษะในการทำงาน แต่ในอีกมุมหนึ่งจะต้องมีการพิจารณาปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้สอดรับกับวิธีการทำ งานของธุรกิจที่เปลี่ยนไปด้วยการวิเคราะห์ระบบจะต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถ ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการที่ไปได้อย่างไร จะต้องผูกขาดกับเทคโนโลยีหรือบริษัทผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งหรือไม่

  การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์ การออกแบบกระบวนการทำงาน ให้เหนือคู่แข่งอยู่เสมอ
 
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์ การออกแบบกระบวนการทำงาน ให้เหนือคู่แข่งอยู่เสมอ
 


การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่และการสร้างความมีเอกภาพของข้อมูล
การ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานจะเกิดประโยชน์น้อยหรือไม่เกิดประโยชน์เท่า ที่ควร ถ้าขาดการวิเคราะห์ เพี่อออกแบบกระบวนการ ทำงาน ใหม่ หรือการทำรีเอ็นจิเนีย (reengineering) องค์กร กระบวนการนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น การเพิ่มคุณภาพและการให้บริการใหม่ ๆ โดยคำนึงถึงการนำระบบไอทีเข้ามาช่วยเพื่อการลดต้นทุนและการเพิ่มรายได้ เป็นโอกาสในการปรับกระบวนการทำงาน ต้องมีการตั้งคำถามว่ามีโอกาสหรือบริการอะไรที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ บ้าง และมีงานหรือวิธีการทำงานอะไรที่ควรเลิกทำบ้าง ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน กระบวนการนี้อาจทำโดยตรงโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาในการออกแบบระบบ หรือผ่านการบวนการบริหารความรู้ก็ได้
การทำธุรกิจสมัยใหม่จะมีการให้ความสำคัญกับบุคลากรที่มีความรู้และถือ เป็นทรัพย์สินที่สำคัญของหน่วยงานมีการจัดให้มีกระบวนการบริหารความรู้ (knowledge management) และการตั้งชุมชนความรู้ (knowledge society) ขึ้น ในกระบวนการบริหารความรู้นั้น จะมีการวิเคราะห์และแยกแยะกระบวนการในการทำงนออกมา เป็นความรู้ที่นำระบบไอทีเข้ามาช่วยเสริมและบริหารความรู้ของการทำงานในขั้น ตอนท้ายของการบริหารความรู้จะนำไปสู่การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ ซึ่งเป็นระโยชน์อย่างยิ่งต่อการออกแบบระบบไอที
การมีระบบข้อมูลที่มีเอกภาพเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งในเรื่องนี้มี คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องอยู่หลานคำ เข่น ระบบฐานข้อมูล (database) ระบบคลังข้อมูล (data warehouse) ระบบมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล (data exchange standard) สิทธิของการบริหารข้อมูล (management rights of data) เป็นต้น การพัฒนาระบบงานด้านสารสนเทศในระยะแรกมักจะมุ่งให้เกิดระบบงานที่ใช้งานได้ เป็นสำคัญ ต่อเมื่อระบบสารสนเทศหลายระบบได้รับการพัฒนาและใช้งานจริงแล้ว จึงจะประสบปัญหาว่าข้อมูลเดียวกันและควรมีค่าเดียวกันด้วย และการประมวลผลของหลาย ๆ ระบบนั้นทีความซ้ำซ้อนไม่จำเป็น และอาจเกิดปัญหาที่ยุ่งยากว่าจะติดสินใจใช้ข้อมูลของระบบไหนในการทำงาน
การทำงานเช่นนี้จะต้องมีการสร้างมาตรฐานของข้อมูลซึ่งจะต้องมีการ บูรณาการระบบสารสนเทศทุกระบบมาพิจารณาร่วมกันกำหนดลักษณะสำคัญของข้อมูล เช่น นิยาม ลักษณะหน่วยงานที่รับผิดชอบป้อนข้อมูล ปรับปรุงหรือใช้งาน หรือระดับการใช้งานแบบต่าง ๆ ของข้อมูล แก่หน่วยงานอื่น เป็นต้นหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ หรือ หน่วยงานไอทีกลาง เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันและลดความซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบระบบฐานข้อมูล การสร้างมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลกรณีที่มีสามารถใช้ระบบข้อมูลระบบเดียว กันได้ในหน่วยงานภาพในหรือการรับและจักส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานภายนอกโดยทำ งานแบบอัตโนมัติเพื่อลดเวลาทำงานเป็นต้น

 

การสร้างกลยุทธธุรกิจสารสนเทศ (informationbusinessstrategy)
การปรับกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นแนวทางเดียวกับกลยุทธ์ทางธุกิจ เป็นประเด็นที่กล่าวกันมากว่า 20 ปีแล้ว ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของการทำหน้าที่และทำงนขององค์กรจะสะท้อนออกมาเป็นการ เปลี่ยนแปลงระบบซอฟต์แวร์เสมอโดยปรกติแล้วระบบสารสนเทศจะต้องมีการปรับระบบ ใหญ่ทุก 3 ถึง 5 ปี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าองค์กรได้ผนวกหรือดำเนินธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีไอทีเป็นแกนหลักด้วยแล้ว การปรับระบบไอทีให้ทันการเปลี่ยนแปลงความต้องการธุรกิจแบบทันทันใด เป็นเรื่องวิกฤติเป็นอย่างมาก ลองจิตนาการว่าถ้าหน่วยงานหนึ่งสามารถคิดค้นนวัตกรรมทางธุรกิจขึ้นมาได้ แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบซอฟต์แวร์หลักของ บริษัทและปรากฏว่าผู้ให้บริการดูแลระบบไอทีแจ้งว่าการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ ใช้เวลาถึง 4-5 เดือน โอกาสในการนำนวัตกรรมใหม่มาสร้างประโยชน์อาจสูญเสียไปแล้ว เนื่องจากบริษัทคู่แข่งสามารถปรับระบบไอทีได้เร็วกว่า เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่างของบริษัทเอชนจำนวนมาก
การสร้างแผนกลยุทธ์ธุรกิจสารสนเทศ ไม่ใช่การวางแผนบนกระดาแล้วเสนอขอความเห็นชอบ แต่จะเป็นกระบวนการที่ผลวัตซึ่งมีการปรับเปลี่ยนอยู่โดยตลอดดังแสดงในแผนภา พาจะต้องมีการคาดการอนาคตและแนวโน้มใหม่ มีการจัดทำโครงการทดลอง โครงการสาธิต และโครงการนำร่อง มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการสร้างระบบสำหรับความต้องการเฉพาะหน้า และมีการนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาสร้างเป็นแผนกลยุทธ์แล้วนำไป ใช้กับการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการปัจจุบัน
การปรับแผนกลยุทธด้านไอที
การสร้างแผนกลยุทธ์ธุรกิจสารสนเทศนั้นไม่สามารพทำแบบตั้งรับและแยกทำโดยผ่าย งานไอทีผ่ายเดียว แต่จะต้องเป็นแผนเชิงรุกและได้รับการนำจากฝ่ายบริหารสูงสุดขององค์กร และการผสานความเห็นและข้อมูลจากผ่ายต่าง ๆ ขององค์กรร่วมกัน เพื่อสร้างเป็นแผนกลยุทธธุรกิจสารสนเทศ กระบวนการสร้างแผนกลยุทธธุรกิจสารสนเทศเป็นกระบวนการเพื่อเพื่อการสร้างคำ ถามที่ถูกต้องและมีกลไกสำหรับการเริ่มต้น แผนกลยุทธธุรกิจสารสนเทศต้องมาจากความต้องการของฝ่ายธุรกิจ และมีการวางแผนเพื่อจะนำมาใช้ทั้งการเตรียมการ และดำเนินการ องค์ประกอบของการวางแผนกลยุทธสารสนเทศธุรกิจประกอบไปด้วย การคาดการณ์อนาคต การวิเคราะห์สินทรัพย์ การกระตุ้น และการวิเคราะห์อุปสรรค
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์ การออกแบบกระบวนการทำงาน ให้เหนือคู่แข่งอยู่เสมอ
 


การมองอนาคต
เป็นการคาดการณ์อนาคต หรือแนวโน้มต่าง ๆ ว่าอาจจะเกิดอะไรกับธุรกิจได้บ้างไม่ว่าจะในเชิงการเมือง การเศรษฐกิจ สังคม หรือเทคโนโลยี เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ในเชิงนี้ ได้แก่ PEST (Ploitical,Econimical, Social, Technological) มีการสร้าง scenario สถานการณ์แบบต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและเป็นการเตรียมข้อมูลของการสร้างวิสัยทัศน์ด้วย
การวิเคราะห์สินทรัพย์
หน่วยงานต่างมีสิ่งที่อาจถูกวิเคราะห์ว่าเป็นสินทรัพย์ได้ เช่น บุคลากรที่มีความรู้และทักษะ ฐานข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงาน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ถูกละทิ้งมานานแล้วหรืออาจยังไม่มีค่าในอดีตแต่ เมื่อมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาผนวกอาจนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางการ ให้บริการ การสร้างรายได้ การสร้างความเชื่อถือ และการปรับปรุงคุณภาพได้
การกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือการสร้างสรรค์
การส่งเสริมให้หน่วยงานหรือพนักงานทุกระดับมีความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระใน การเสนอแนะการนำไอทีมาใช้งาน หรือการนำไอทีมาใช้ให้บริการ โดยการให้หน่วยงานต่าง ๆ มีมองว่าตนเองเป็นหน่วยลงทุน หนึ่งซึ่งต้องมีต้นทุนการทำงานและการสร้างประโยชน์การได้รับผลตอบแทน จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์และนำไปสู่การสร้างกล ยุทธใหม่ ๆ ในการทำงานได้
การวิเคราะห์อุปสรรคหรือคู่แข่ง
ในการสร้างแผนกลยุทธนั้นจะต้องคำนึงถึงการแข่งขันหรือคู่แข่งเสมอ แม้ในธุรกิจแบบผูกขาดหรือได้รับความคุ้มครองก็ต้องคำนึงถึงกรเปลี่ยนแปลงที่ อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อทราบคู่แข่งหรืออุปสรรคและทราบ ถึงความได้เปรียบที่มีอยู่หรือสร้างขึ้นมาได้ การเข้าโจมตีก่อนหรือชิงลงมือก่อนเมื่อได้เปรียบหรือทีเรียกว่า OODA (observe, orientation, decision and action) เป็นยุทธศาสตร์ที่จะนำชัยชนะ หรือความสำเร็จมาสู่การทำธุรกิจหรืออย่างน้อยก็เพื่อการแย่งชิง ความเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจ
สรุป
การบริหารและจัดการกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องใหม่และเป็นความจำเป็นใน การบริหารและจัดการในองค์กรทุกระดับ ในองค์ที่มีขนาดใหญ่จะพบปัญหาที่ผู้บริหารลังเลใจในการลงทุนหรือการตัดสินใจ จัดหาระบบ นอกเหนือจากที่ระบบเหล่านี้มักมีการลงทุนที่สูงแล้ว ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประกอบกับการตัดสินใจดูจะไม่เพียงพอ การวางแผนกลยุทธหรือแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนในการช่วย ลดปัญหาและสร้างภาพรวมของระบบสารสนเทศขององค์กรขึ้นมา แต่การจะตัดสินในในการดำเนินโครงการ ก็น่าจะได้รับการวิเคราะห์ในเรื่องของความคุ้มค่าและความเป็นไปได้และ โครงการสารสนเทศถ้าสร้างขึ้นมาโดยมีการจัดทำการออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ จะเป็นการสร้างประโยชน์ให้หน่วยงานสามารถนำระบบสารสนะทศไปใช้อย่างเกิด ประโยชน์สูงสุด และประการสุดท้ายการวางแผนกลยุทธสารสนเทศธุรกิจเป็นการบวนการที่เสนอแนะให้ ดำเนินการลักษณะรุกที่นำโดยผู้บริหารระดับสูงขององค์การเพื่อการสร้างแผนกล ยุทธที่นำไปสู่การเป็นผู้นำของธุรกิจ

 


ประวัติผู้เขียน
ดร.วัชระ ฉัตรวิริยะ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (รุ่น 20) และโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและระดับปริญญาเอก สาขาเดียวกัน จาก มหาวิทยาลัยเวสเวอร์จิเนีย รัฐเวสเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันรับราชการที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ และบริการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปัจจุบันทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับการประมวลผลภาพ การตรวจสอบคุณภาพการรู้จำ มีผลงานบริการวิชาการให้กับหน่วยงานรัฐหลายแห่งที่เกี่ยวกับงานระบบ เทคโนโลยีสารนเทศในระดับแผนแม่บทและระดับโครงการ

  การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์ การออกแบบกระบวนการทำงาน ให้เหนือคู่แข่งอยู่เสมอ
 
ที่มา www.kmitl.com

อัพเดทล่าสุด