การถ่ายโอนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ความจำเป็นและการยกฐานะอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยสู่มาตรฐานระดับโลก


1,061 ผู้ชม

ในกรณีที่มีการานำเข้าเทคโนโลยีและบุคลากรจากต่างประเทศเพื่อให้การ ถ่ายโอน เทคโนโลยี ประสบความสำเร็จ จะต้องพิจารณาทั้งทางด้านผู้ให้หรือ บุคลากรต่างชาติ และทางด้านผู้รับหรือบุคลากรภายในประเทศ



การถ่ายโอนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
 

(Technology Transfer in Construction Industry)
ในกรณีที่มีการานำเข้าเทคโนโลยีและบุคลากรจากต่างประเทศเพื่อให้การถ่ายโอน เทคโนโลยี ประสบความสำเร็จ จะต้องพิจารณาทั้งทางด้านผู้ให้หรือ บุคลากรต่างชาติ และทางด้านผู้รับหรือบุคลากรภายในประเทศ

การถ่ายโอนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ความจำเป็นและการยกฐานะอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยสู่มาตรฐานระดับโลก
 


1.บทนำ
อุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทยกำลังจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เช่น สนามบิน เขื่อน ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ทั้งแบบยกระดับและใต้ดิน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนและเศรษฐกิจของ ประเทศในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ทั้งในกระบวนการออกแบบและการก่อสร้างเทคโนโลยีนี้มักนำมาสู่อุตสาหกรรมก่อ สร้างไทย โดยผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่เคยมีประสบการณ์ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่มา ก่อนความจำเป็นในการอาศัยผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศสามารถยอมรับได้ในกรณี ที่เป็นงานใหม่สำหรับประเทศไทย แต่เมื่อมีโครงการต่อเนื่องเกิดขึ้นในอนาคต การพึ่งพาบุคลากรและเทคโนโลยีจากต่างประเทศยงคงจำเป็นหรือไม่ บทบาทของรัฐบาลไทยและวิศวกรไทยควรเป็นอย่างไร บทความนี้ได้นำเสนอมุมมองในเรื่องนี้ ที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันโดยเฉพาะในเรื่องของการถ่ายโอนเทคโนโลยี
2.ความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีและบุคลากรต่างประเทศ
ความต้องการสาธารณูปโภคที่สำคัญเพิ่มขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจที่จะต้องขยายตัว ตามการพัฒนาของประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทยยังคงขาดแคลนสาธารณูปโภคที่จะอำนวย ประโยชน์แก่ประชาชนอีกจำนวนมาก ขอยกตัวอย่าง โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ที่จะช่วยให้ประชาชนได้เดินทางใน กรุงเทพและปริมณฑลโดยสะดวก มีทางเลือกที่ดีขึ้นกว่าการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลที่ ทั้งเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอย่างมาก ถึงแม้ว่าโครงการขนส่งมวลชนทั้งแบบยกระดับและแบบใต้ดินจะมีการก่อสร้างมา นานกว่าร้อยปีแล้วในต่างประเทศแต่ในประเทศไทยยังคงเป็นโครงการที่ใหม่อยู่ โดยเฉพาะการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนใต้ดิน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญที่เคยทำมาก่อน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย อีกทั้งปัญหาและความท้าทายในการก่อสร้างยิ่งมีความซับซ้อนมากในปัจจุบัน เนื่องจากข้อจำกัดทั้งทางด้านพื้นที่ สิ่งแวดล้อม และการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของประชาชน นอกจากนี้แล้วถึงแม้เป็นโครงสร้างยกระดับที่มีความซับซ้อนทางด้านการก่อ สร้างน้อยกว่าในหลายกรณียังคงมีความท้าทาย โดยเฉพาะในการออกแบบให้ประหยัดและปลอดภัย ทั้งหมดนี้ยังคงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ที่เคยทำ เคยเห็น หรือเคยประสบปัญหามาก่อน ดังนั้นยังคงเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธ การนำเข้าทั้งทางเทคโนโลยีและบุคลากรจากต่างประเทศ ในกรณีของงานที่มีความซับซ้อนทางด้านเทคนิค และในเรื่องที่บุคลากรในประเทศยังมีความรู้อยู่อย่างจำกัด

 

3.บทบาทของรัฐบาลและหน่วยงานในกำกับในการถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างการ นำเข้าของเทคโนโลยีและบุคลากรจากต่างประเทศมักมีราคาสูง เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญที่มาปฏิบัติการในประเทศไทยต้องย้ายถิ่นฐาน ต้องเดินทาง ดังนั้นจึงต้องได้ค่าจ้างที่สูงกว่าประเทศแม่ ดังนั้นการนำเข้าผู้เชี่ยวชาญในทุกกรณี ประเทศไทยควรได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมรัฐบาลและหน่วยงานในกำกับ ควรให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
3.1 คุณภาพของบุคลากร
ที่จะต้องให้คำปรึกษาหรือต้องนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมในโครงการ หากผู้เชี่ยวชาญที่นำเข้าจากต่างประเทศมีความรู้จริง มีทัศนคติที่ดีในการให้คำปรึกษาและปฏิบัติงานในประเทศไทย อีกทั่งยังสามารถร่วมงานกับบุคลากรในประเทศได้อย่างดี ดังนั้นการนำเข้าบุคลากรจากต่างประเทศที่มีคุณภาพ จะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
3.2 สนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ
ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ การจัดการข้อมูลทางด้านเทคนิคมีความจำเป็นมาก ทั่งในขั้นตอนการออกแบบก่อสร้างและช่วงหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้ว ทั้งนี้เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินความสำเร็จของโครงการ ข้อมูลนี้นอกจากจะมีประโยชน์แก่โครงการแล้ว ยังจะมีประโยชน์อย่างทวีคูณหากนำมาเผยแพร่ได้ทั้งนี้เนื่องจากโครงการขนาด ใหญ่ย่อมเป็นที่สนใจต่อวิศวกรไทยและนักศึกษาในการเรียนรู้ และสามารถนำไปต่อยอดในโครงการอื่นที่มีความคล้ายคลึงกันได้ อีกทั้งการให้ความร่วมมือในการจัดการประชุมทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่แก่กลุ่มเป้าหมาย
3.3 สนับสนุนและให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตออกสู่อุตสาหกรรม หากมหาวิทยาลัยมีความทันสมัยและพัฒนาความรู้ทั้งด้านการเรียนการสอนและการ วิจัยก็ย่อมที่จะผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพได้ปัจจุบันแม้ว่ารัฐบาลพยายามส่ง เสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษาในโครงการก่อสร้างที่สำคัญต่าง ๆ แต่ยังคงไม่เกิดเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลและเทคโนโลยียังคงเข้าถึงได้ยาก โดยเฉพาะหากอยู่ในการบริการงานของเอกชนถึงแม้ไม่มีการกีดกัน แต่ขาดการผลักดันจากรัฐบาลให้เกิดเป็นกระบวนการที่จำเป็นในเรื่องของการถ่าย โอนข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นหากมหาวิทยาลัยได้เข้ามาร่วมในโครงการตั้งแต่ต้น จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการประสานประโยชน์ โดยรัฐบาลาจะได้รับคำปรึกษาจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในประเทศที่จะนำเสนอและ วิเคราะห์ในแง่มุมที่หลากหลาย อีกทั้งยังสามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม ก่อสร้างได้
  การถ่ายโอนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ความจำเป็นและการยกฐานะอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยสู่มาตรฐานระดับโลก
 


4. บทบาทของบุคลากรชาวไทย
ปัจจุบันมีคนพูดถึงเรื่องการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เป็น สังคมแห่งภูมิปัญญา เราต้องยอมรับวาการจัดการศึกษาไทยที่ผ่านมาในอดีต ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการผลักดันให้นักเรียน นักศึกษา รู้จักการคิดเชิงวิเคราะห์มากว่าท่องจำ และการหมั่นขวนขวายหาความรู้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐบาลจะผลักดันเรื่องงานวิจัยและการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่มีการนำเข้าเทคโนโลยีประสบความสำเร็จจะต้องพิจารณาทั่งทางด้านผู้ ให้หรือบุคลากรต่างชาติ และทางด้านผู้รับหรือบุคลากรภายในประเทศดังที่กล่าวมาแล้ว ดึงการที่รัฐบาลและหน่วยงานในกำกับจะต้องผลักดันในการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ ต่างประเทศที่มีคุณภาพ และมีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานในประเทศไทย ส่วนทางด้านผู้รับยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งกว่าเพราะแม้ผู้ให้จะมีคุณภาพและดี เพียงใด หากผู้รับไม่ใส่ในการเรียนรู้การถ่ายโอนเทคโนโลยีย่อมไม่ได้ผล ทั้งนี้การพัฒนาทางด้านผู้รับสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การปลูกฝังการเรียนรู้ และการวิจัยในระดับก่อนมหาวิทยาลัยและในระดับมหาวิทยาลัย การช่วยเหลือและจัดการจากสมาคมวิชาชีพ เช่น วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและสภาวิศวกร เป็นต้น ในการผลักดัน โครงการ CPD (Continuous Professional Development) ส่งเสริมวิศวกรให้จะต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้รับมีความตระหนักถึงความสำคัญในการหาความรู้เพิ่มเติม และขวนขวาย เมื่อต้องทำงานกับบุคลากรต่างประเทศ

 
5.บทสรุป
การถ่ายโอนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการ พัฒนาประเทศในระยะยาวแม้ว่าการนำเข้าผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ยังคงมีความจำเป็นในกรณีของโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องการผู้มีประสบการณ์อย่างมากแต่การเลือกบุคลากรต้องได้คุณภาพ ทั้งด้านความรู้ ความสามารถและทั้งด้านทัศนคติในการทำงานร่วมกับคนไทย ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานในกำกับ ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นหลัก อีกทั้งจะต้องเผยแพร่ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและวิจัยในประเทศ ขณะเดียวกันบุคลากรไทยจะต้องมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้รับความรู้ใหม่ อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมวิชาชีพให้เกิดในรูปธรรม



  การถ่ายโอนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ความจำเป็นและการยกฐานะอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยสู่มาตรฐานระดับโลก
 

Assistant Professor
Suchatchavee Suwansawas
B.Eng., Construction Engineering, King Mongkut’s Institute of Technlogy Ladkrabang, KMITL (Thailand)
M.Sc., Civil and Environmental Engineering, University of Wisconsin Madison (USA)
M.Sc., Technology and Policy, Massachusetts Institute of Technology, MIT (USA)
Sc.D., Geotechnical and GeoEngineering, Massachusetts Instiute of Technology, MIT (USA)
Technical Areas of Specialization: Underground Construction and
Tunneling, Geoenvironmental Engineering, Advanced Geotechnical
Engineering, Soil Mechanics, Policy Analysis and Management,
Political Economy

 

ที่มา www.kmitl.com

อัพเดทล่าสุด