UPS ยุค 2000 ใช่แค่ใช้ Stand Alone ไฟสำรองก๊อกสอง เรื่องง่ายๆ เล่าสู่กันฟัง


948 ผู้ชม

ปัญหา ไฟฟ้าติดๆ ดับๆ ตกๆ เกินๆ ไฟกระโชก ไฟกระชาก สัญญาณรบกวนปนเปื้อน คลื่นไฟฟ้าผิดเพี้ยน หรือบางทีก็ดับไปเลยให้มันรู้แล้วรู้รอดไปยังไม่ทันจะสั่งจะเสียเลยก็มี การป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น



UPS ยุค 2000 ใช่แค่ใช้ Stand Alone ไฟสำรองก๊อกสอง เรื่องง่ายๆ เล่าสู่กันฟัง
 

 

เฉพาะ ในยามหงุดหงิด ๆ.. เซ็งสุด ๆ.. และสุดจะเซ็ง...ครับ! ท่านผู้บริหารคงปฏิเสธอารมณ์นี้ไม่ได้อย่างแน่นอน โดยที่ทีมงานของท่านต้องเตรียมงานประมูลเพื่อเข้า Bid ในวันรุ่งขึ้น แต่ไฟฟ้าเจ้ากรรมดันมาดับ โดยที่ระบบ LANยังไม่ได้เซฟข้อมูลสำคัญชุดล่าสุดของทีมงาน จึงต้องคีย์ใหม่.. พิมพ์ใหม่.. วาดใหม่.. คำนวณใหม่โอ๊ยย..ปวดหัว แต่..ต้องทำครับ !!

ปัญหา ไฟฟ้าติดๆ ดับๆ ตกๆ เกินๆ ไฟกระโชก ไฟกระชาก สัญญาณรบกวนปนเปื้อน คลื่นไฟฟ้าผิดเพี้ยน หรือบางทีก็ดับไปเลยให้มันรู้แล้วรู้รอดไปยังไม่ทันจะสั่งจะเสียเลยก็มี การป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น ไอ้เรื่องอย่างนี้ท่านๆทราบดีและเคยเจอมากันนักต่อนักแล้วหละ ว่ามันมีผลเสีย มีผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ การผลิตหยุดชะงัก ไฟล์เสีย ข้อมูลหาย รถไฟชนกัน ฯลฯ แต่ยังไม่ค่อยจะเข็ดกันหรอกครับ เลยคิดว่าไม่สำคัญหรือไม่ก็เพราะอาจมีงบน้อย หรือเจ้านายก็อาจเหนียวสุดๆ... ทั้งๆ ที่เดี๋ยวนี้ เขาพัฒนากันแล้ว… มีอุปกรณ์จ่ายไฟสำรองก๊อกสองที่เรียกกันติดปากว่า ยูพีเอส (UPS)ให้เลือกตามความเหมาะสมการใช้งานมากมายหลายชนิด หลายสนนราคา ซึ่ง แบ่งเกรดออกไปตามการใช้งาน เช่น เครื่องสำหรับใช้ตามบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่มีข้อมูลหรือเครื่องใช้ ไฟฟ้าที่ต้องการ Back up ไม่สำคัญนัก ก็ให้ใช้เครื่องเกรดต่ำปานกลางราคาถูกได้ แต่ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือข้อมูลที่มีความสำคัญมากๆ อย่างเช่น เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือวัด เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางทหาร Server หรือ Workstation ก็ควรต้องเลือกยูพีเอสที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือ (Reliability) รวมถึงมีคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น มีซอฟท์แวร์ สำหรับติดต่อ บันทึก และควบคุม ผ่านสาย Serial หรือ ผ่านเน็ตเวิร์คโดยใช้ SNMP เป็นต้น ซอฟท์แวร์ที่ดีจะช่วยวิเคราะห์ หาปัญหาและแก้ไขปัญหาของระบบไฟฟ้าได้ หรือสามารถสั่งปิดไฟล์ ปิดเครื่องได้ ซึ่งจะช่วยได้มากโดยเฉพาะในระบบใหญ่ๆ และนอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาถึงการตัอต่อระบบอัตโนมัติ เมื่อเครื่องมีปัญหา (Auto Bypass) หรือเมื่อต้องการซ่อมบำรุง (Malntenance Bypass) ด้วยยูพีเอสที่ดี จะมีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่ครบพร้อมทำงานรับใช้ท่านอย่างอัตโนมัตเสมอ แหม.. เล่ามาตั้งนานสองนาน ขอเหล้าเอ๊ยเล่าต่อ ซะหน่อยนะครับว่า เจ้ายูพีเอส นี่มันทำงานอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางความคิดอีกมุมหนึ่งให้ท่านได้ใช้วางแผนจัดซื้อจัดหามาใช้งาน ให้ถูกทาง

หลักการและระบบต่างๆ ของยูพีเอส
หลักการพื้นฐานของยูพีเอส ก็คือการเก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ที่แบตเตอร์รี่ แล้วแปลงพลังงานจากแบตเตอรี่ (DC) กลับเป็นพลังงานไฟฟ้า (AC) ด้วยวงจรคอนเวิร์ทเตอร์ (Converter) ยูพีเอสส่วนมากจะมีวงจรป้องกันไฟกระชาก (TVSS-Transient voltage Surge Suppression) เพิ่มเข้าไปด้วย เพื่อป้องกันไฟกระชากที่อาจจะเข้าไปทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ได้ ยูพีเอสแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 4 แบบคือ

1. แบบ Off Line หรือ Standby หรือ single conversion หรือจะ เรียกว่าแบบราคาถูกก็ได้ครับ คือเวลาใช้งานปกติยูพีเอสแบบนี้ วงจร lnveter จะไม่ถูกต่อใช้งาน (Off line) ไฟ AC ที่จ่ายออกเป็นไฟ Bypass จากไฟฟ้าฯ หรือไฟจากเครื่องปั่นไฟ ที่ท่านใช้โดยตรง ต่อเมื่อไฟ AC ที่แปลงมาจากแบตเตอรี่ โดยผ่านวงจร Inverter Wave ซึ่งอาจทำให้อายุการใช้งานของวงจร TVSS ภายใน ยูพีเอสเอง หรือวงจรภายในของเครื่องไฟฟ้า เช่น Power Supply ของคอมพิวเตอร์สั้นลงได้

2. แบบ Off Line หรือ Standby หรือ single conversion หรือ จะเรียกว่าแบบราคาถูกก็ได้ครับ คือเวลาใช้งานปกติยูพีเอสแบบนี้ วงจร lnveter จะไม่ถูกต่อใช้งาน (Off line) ไฟ AC ที่จ่ายออกเป็นไฟ Bypass จากไฟฟ้าฯ หรือไฟจากเครื่องปั่นไฟ ที่ท่านใช้โดยตรง ต่อเมื่อไฟ AC ที่แปลงมาจากแบตเตอรี่ โดยผ่านวงจร Inverter Wave ซึ่งอาจทำให้อายุการใช้งานของวงจร TVSS ภายใน ยูพีเอสเอง หรือวงจรภายในของเครื่องไฟฟ้า เช่น Power Supply ของคอมพิวเตอร์สั้นลงได้

3. แบบ Online หรือ Double Conversion แบบนี้เหมาะสำหรับเครื่อง ใช้ไฟฟ้าที่มีความสำคัญ เช่น เครื่องมือแพทย์หรือ ระบบข้อมูลใหญ่ สำคัญๆ เพราะว่ายูพีเอสแบบ Online นี้จะจ่ายไฟ AC จากวงจร Inverter ตลอดเวลา ดังนั้นจึงตัดปัญหาไฟตก ไฟดับ ไฟกระโชก ไฟกระชาก สัญญาณรบกวนปนเปื้อนของไฟที่ป้อนเข้าสู่ยูพีเอสไปอย่างสิ้นเชิง และยิ่งสำหรับเครื่องที่เป็นแบบ True Online ด้วยแล้ว จะมีการปรับค่า Power Factor ให้ และคลื่นที่ได้ก็จะมีลักษณะเป็น Sine wave บริสุทธิ์ขึ้นและจ่ายไฟได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น 220VAC Sine wave 50 Hz ตลอดเวลา เป็นต้น

4. แบบ Continuous Power System แบบนี้จะเป็นนวัตกรรมรุ่นล่าสุด ในเวลานี้ แบบนี้จะคล้ายกับแบบ Online แต่จะเป็นแบบ Online Triple Conversion UPS ซึ่งคลื่น Sine Wave จะเป็นการสร้างใหม่โดยวงจรดิจิตอล และ การมีการใช้วงจร DC to DC Conversion ซึ่งจะทำให้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าทางด้านการปรับไฟให้นิ่ง Power Factor nี่ดี มีการ Isolatlon ที่ดี เครื่องไม่ร้อนมีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา เพราะใช้ความถี่สูง จึงไม่ได้ใช้หม้อแปลงขนาดใหญ่

เห็นมั๊ยครับ... UPS ง่ายนิดเดียว ปัจจุบันมีพี่ๆ น้องๆ วิศวะฯลาดกระบังที่เชี่ยวชาญด้านยูพีเอสอยู่หลายคน บ้างก็เป็นตัวแทนนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ บ้างก็ผลิตเองก็มี คนที่อยู่ในวงการ UPS จะทราบดีมียี่ห้ออะไรบ้าง ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวชงโคด้วยกันทั้งนั้น ท่านผู้บริหารครับ ไม่ต้องหนักใจนะครับ ว่าจะเลือกใช้ UPS แบบไหนดี ยี่ห้ออะไรดี ผู้เชี่ยวชาญยูพีเอสชาวชงโค เหล่านี้รอให้คำปรึกษาและให้บริการท่านอยู่แล้วครับ ลองกริ๊งกร๊างกันดู ก่อนจบบทความนี้ ผมฝากข้อคิดการเลือกใช้ UPS ว่าควรวางแผนเผื่อการขยายโหลดของทานในวันข้างหน้าด้วย หากมีโหลดเพิ่มขึ้น มี Network ใหญ่ขึ้น แล้ว UPS ตัวใหม่ของทานจะต่อพ่วงกันเข้าไปได้เลยหรือเปล่า หรือตัวเก่าต้องโยนทิ้งไป หรือถ้าจะต่อพ่วงกับเครื่องปั่นไฟจะมีปัญหามั๊ย เป็นต้น เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว... ยูพีเอสของท่านมี Software สำหรับ Shut Down Network เพื่อป้องกันความเสียหายของข้อมูลสำคัญของท่านได้ทุกวง LAN ไดั้ สามารถตรวจสอบสถานะของเครื่อง จากระยะไกลได้ด้วยหรือเปล่า ผู้ผลิตมี Know How Support และพัฒนาต่อเนื่องหรือเปล่า มีบริการหลังการขายที่มีประสิทธิภาพ น่าไว้วางใจ หรือเปล่า…??? น่าคิดนะครับ…


ที่มา : www.kmitl.com

อัพเดทล่าสุด