บท ความที่นำมาเสนอนี้ สืบเนื่องมาจากการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมไทยซึ่งถูกพูดถึงกันมานานแล้วรวม ทั้งเรื่องกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ และเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
บท ความที่นำมาเสนอนี้ สืบเนื่องมาจากการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมไทยซึ่งถูกพูดถึงกันมานานแล้วรวม ทั้งเรื่องกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ และเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ ได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแหงประเทศไทย ทั้งนี้เป็นไปตามกำหนดการที่ได้ตกลงกันไว้ในที่ประชุมของ WTO หรือองค์การการค้าโลก ก็คือ ปี ค.ศ. 2006 หรือ พ.ศ. 2549 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล หรือภาคเอกชนต่างก็มีความตื่นตัวในการเตรียมการรับกับการแข่งขันที่จะเกิด ขึ้นอยางไรก็ตาม เชื่อว่าส่วนใหญ่ยังคงมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลงนี้มากนักว่าเกิดขึ้น มาจากสาเหตุใด ดังนั้น จึงขอนำเนื้อหาบางส่วนมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบกันอีกครั้ง |
ความตกลงทั่วไป ว่าด้วย การค้าบริการ (The General Agreement on Trade in Service GATS) เกิด ขึ้นจากการที่ในเวทีระหว่างประเทศนั้นได้มีการพูดถึง อุปสรรคในการเข้าตลาดซึ่งรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อกีดกันสินค้าของต่างประเทศ ทำให้การค้าระหว่างประเทศไม่ขยายตัว GATS จึงเป็นความตกลงระหว่างประเทศ ฉบับที่หนึ่ง ในบรรดาความตกลงระหว่างประเทศสิบกว่าฉบับ อันเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย การเจรจาเพื่อทำความตกลงนี้ใช้เวลากว่า 7 ปี จึงสามารถสรุปปิดรอบลงได้ โดยมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และทำให้เกิดการจัดตั้งองค์การการค้าโลกตามความตกลง Marrakech Agreement Establishlng the World Trade Organization เพื่อบริหารความตกลง GATS และความตกลงอื่นอันเป็นผลจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยรวมทั้งกำกับ ดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติดามพันธกรณีและข้อผูกพันภายใต้ความดกลงต่าง ๆ ดังกล่าว ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้วัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ก็คือ การมีกรอบว่าด้วย กฎและหลักการต่าง ๆ เกี่ยวกับการค้าบริการระหว่างประเทศ ให้ประเทศสมาชิกถือปฏิบัติเพื่อให้การค้าบริการระหว่างประเทศ ดำเนินไปด้วยความโปร่งใส และมีการเปิดเสรีแบบก้าวหน้าเป็นลำดับทั้งนี้จะต้องไม่ละเมิดกฎหมาย และข้อบังคับภายในและคำนึงถึงการดำเนินงานของ WTO ด้วยได้มีแผนการที่จะหาข้อสรุปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตั้งแต่ ปี พ ศ. 2542 ที่ผ่านมาแต่ไม่สำเร็จเนื่องจาก ได้เกิดการประท้วงขึ้นที่เมือง Seattle ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถูกกำหนดให้จัดการประชุม GATS ประกอบด้วย 3 ส่วน ใหญ่ ๆ ได้แก่ กรอบความตกลง ซึ่งเป็นการกำหนดพันธกรณีหลักที่สมาชิกทุกประเทศจะต้องถือปฏิบัติ, ภาคผนวก จะ ระบุสถานการณ์ของบริการบางสาขาที่ต้องมีข้อกำหนดเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากกรอบความตกลง เช่น สาขาโทรคมนาคม สาขาการเงิน สาขาการขนส่งทางอากาศ ฯลฯ และสุดท้าย คือ ตารางข้อเสนอผูกพันของประเทศต่างๆ ที่ เสนอเปิดตลาดบริการสาขาต่าง ๆ ของตนภายใต้หลักการเปิดเสรีตามลำดับ (Progressive Lieralization) ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะผู้ที่เสนอคือรัฐบาลสำหรับกิจการโทรคมนาคมนั้น ได้ถูกวางบทบาทต่อโลกยุคปี 2000 ไว้ว่า สามารถเป็นธุรกิจได้เองหรือเป็นตัวทำให้ธุรกิจอื่นๆ ขยายตัว ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การรวมกลุ่มกันนี่คือการกระทำเพื่อพึ่งพาอาศัยกัน ดังนั้น ประเทศที่เป็นสมาชิกจึงต้องมีพันธะกรณีที่จะต้องถือปฏิบัติการใช้มาตราการ เกี่ยวกับ การค้าบริการหรือผู้ให้บริการของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกทุกประเทศ เหมือนกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ หลักความโปร่งใส (Transparency) เป็นอีก ตัวอย่างหนึ่งของพันธกรณี ซึ่งหมายถึง ประเทศสมาชิกต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตราการ ต่าง ๆ ที่บังคับใช้แก่การค้าบริการในประเทศ ของตนในเรื่องของการใช้กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ภายในประเทศ (Domestic Regulation) มีเหตุผล มีหลักเกณฑ์และไม่ลำเอียง ตัวอย่างสุดท้าย คือการเข้าร่วมเจรจาเปิดเสรีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับใน ทุก ๆ 5 ปีข้อผูกพันเฉพาะ (Specific Commitments) คือบท บัญญัติที่กำหนดให้ ประเทศสมาชิกต้องเจรจาจัดทำข้อผูกพันเปิดเสรีให้แก่กัน โดยให้จัดทำข้อผูกพันเปิดตลาดบริการสาขาต่าง ๆ (Market Access) และการให้การบริการต่อธุรกิจบริการหรือผู้ให้บริการของประเทศสมาชิกองค์การ การค้าโลกเช่นเดียวกับที่ให้การปฏิบัติต่อบริการที่เป็นคนของชาติของตนเอง (NationaI Treatment) การที่รัฐบาลยอมให้ต่างชาติ เข้ามาร่วมลงทุนกับธุรกิจไทยนั้น ทำให้เกิดผลในทางบวกต่อประเทศมากกว่าทางลบที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ ต่างชาติ นำเงินตราเข้ามาด้วยมิใช่การนำธุรกิจไปขายต่างชาติ หากไม่ทำเช่นนั้นผู้ประกอบการไทยก็จะต่อสู้ผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้ามา ไม่ได้เมื่อทำการเปิดเสรีแล้ว แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลด้วยว่าจะควบคุมอย่างไร จะเปิดแค่ไหนประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมแน่ ๆ สิ่งที่ต้องทำให้เร็วที่สุดก็คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคเอกชนจะต้องเจรจากันและบอกให้รัฐบาลรู้ด้วยว่า อยากได้อะไร แค่ไหนแต่ที่ต้องมาพบกันที่การเปิดเสรี โดยให้ธุรกิจอยู่ได้ด้วย ที่ไม่ค่อยเห็นด้วยก็คือ การที่รัฐบาลบอกว่ายอมเปิดเสรีแต่มีเงื่อนไขว่าต่างชาติเข้ามาได้แต่ต้องทำ ตาม WTO คือ เข้ามาดำเนินการในลักษณะ Build Transfer Operate : BTO การร่วมทุนต้องร่วมทุนกับคนไทยไม่เกิน 40% ของทุนจดทะเบียนและจำนวนผู้ถือหุ้นต่างชาติก็ต้องไม่เกิน 40% ของผู้ถือหุ้นในธุรกิจ ดังกล่าวเช่นกันและยอมให้บุคคลธรรมดาของ ประเทศสมาชิกเข้ามาทำงานได้เป็นการชั่วคราว ครั้งละไม่เกิน3 ปี ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญหรือพนักงานระดับบริหาร ทำให้ไม่มี ใครอยากเข้ามา ซึ่งเท่ากับไม่มีอะไรดีขึ้นกับประเทศไทยสิ่งที่ไม่ควรทำในการวางนโยบายการเปิดตลาดเสรี คือ การจำกัดจำนวนผู้ให้บริการ การจำกัดมูลค่าการค้า ขายบริการ หรือสินทรัพย์ ทำให้ธุรกิจไม่โต, การจำกัดจำนวนการให้บริการหรือ จำนวนผลผลิตจากการให้บริการ, การจำกัดจำนวนพนักงานที่ว่าจ้าง, การจำกัดประเภทของนิติบุคคลที่จะให้บริการ และสุดท้าย การจำกัดสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติ เปิดตลาดจริง แต่ส่วนใหญ่อยากเข้ามาเกินจากที่กำหนดไว้ให้อยู่แล้ว กล่าวคือ ธุรกิจทั่วไปกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 49% ธุรกิจเฉพาะ เช่น ธนาคารไม่เกิน 25% |